read:https://knowledge.jarm.com/view/80588
องค์กรอนามัยโลก (WHO) เผยรายชื่อ แบคทีเรียชนิดดื้อยา หรือ "ซุปเปอร์บัก" ที่เป็นอันตรายต่อโลกมากที่สุด เพื่อส่งสัญญานเตือนภัยและกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนายาปฏิชีวนะ
1. เชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอ (Acinetobacter baumannii) ชนิดดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม (Acinetobacter baumannii, carbapenem-resistant) เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) ที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต (Aerobe) สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, ผิวหนัง, กระแสเลือดและอื่น ๆ จากการปนเปื้อนเชื้อที่มาจากผู้ป่วย, บุคลากร, เครื่องมือทางการแพทย์, หรือสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล
2. เชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจีโนซา (Pseudomonas aeruginosa) ดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม (Pseudomonas aeruginosa, carbapenem-resistant) เป็นแบคทีเรีย ที่ก่อโรคในสัตว์ รวมทั้งคน พบได้ในดิน น้ำ ผิวหนังและในสภาพแวดล้อมอื่นๆอยู่ได้ทั้งในสภาพแวดล้อมปกติและสภาพออกซิเจนต่ำ ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งคาร์บอนได้หลายชนิด ในสัตว์ จะเข้าทำลายเนื้อเยื่อที่มีภูมิคุ้มกันต่ำลง
3. เชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอี (Enterobacteriaceae) ดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม และสร้างเอนไวม์ดื้อยา ESBL ( carbapenem-resistant, ESBL-producing) ก่อให้เกิดอาการท้องร่วง อาหารเป็นพิษ และปอดอักเสบ
กลุ่มลำดับที่ 2 - ‘ขั้นสูง’
1. เชื้อ เอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม (Enterococcus faecium) ดื้อยา แวนโคมัยซิน (Enterococcus faecium, vancomycin-resistant) ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ บาดแผล และเนื้อเยื่ออ่อน
2. เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ชนิดดื้อยา methicillin และ vancomycin เป็นแบคทีเรียชนิด facultative anaerobic แกรมบวก รูปกลม เป็นส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อประจำถิ่นในผิวหนังและโพรงจมูก เป็นแบคทีเรียก่อโรคชนิดหนึ่ง เมื่อ S. aureus ปนเปื้อนลงไปในอาหาร จะสร้างสารพิษที่เรียกว่าเอนเทอโรทอกซินขึ้น สารพิษนี้ทนต่อความร้อนได้ดีมาก ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาหารเป็นพิษ หลังจากรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง อาการของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจาก S. aureus คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้องจากสารพิษ อาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนมากไม่มีไข้ ในรายรุนแรงอาจช็อคได้
3. เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ชนิดดื้อยา clarithromycin เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำท่วมขังก่อให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคมะเร้งในกระเพาะอาหาร
4. เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ชนิดดื้อยา fluoroquinolone เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
5.เชื้อแบคทีเรียสกุลซัลโมเนลลา (Salmonellae) ชนิดดื้อยา fluoroquinolone เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปท่อน ไม่สร้างสปอร์ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยที่สุด และจำนวนแบคทีเรียชนิดนี้ในอาหารเพียงเล็กน้อยทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิในขอบเขตระหว่าง 8-45 องศาเซลเซียส ในอาหารที่มีความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 4-9 อาหารที่มาจากสัตว์เช่นเนื้อสัตว์ดิบ/ปรุงไม่สุก หรือซากเป็ดไก่ ไข่ดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีไข่ดิบ นมดิบหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และผลิตภัณฑ์จากนมเช่น เนย ไอศกรีม เนยแข็งและผักบางชนิด สามารถนำเชื้อก่อโรค Salmonella จากสัตว์มาสู่คนได้ การใช้น้ำที่สกปรกทางการเกษตรหรือใช้ล้างอาหารสดทำให้เกิดการปนเปื้อนได้เช่นกัน
6. เชื้อไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria gonorrhoeae) ชนิดดื้อยา ephalosporin และ fluoroquinolone ก่อให้เกิดโรคหนองใน และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กลุ่มลำดับที่ 3 - ‘ขั้นปานกลาง’
1. สเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) ไม่ตอบสนองต่อยา penicillin ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ
2. ฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) ชนิดดื้อยา ampicillin เป็นแบคทีเรียแกรมลบ สาเหตุที่่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่
3. เชื้อสกุลชิเกลลา (Shigella spp) ชนิดดื้อยา fluoroquinolone เป็นสาเหตุให้เกิดโรคบิดชิเกลลา หรือโรคบิดไม่มีตัว ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง
ขอบคุณข้อมุลจาก washingtonpost, Wiki Common