read:http://petmaya.com/bringing-extinct-animals-wooly-mammoth
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์มากมาย พยายามที่จะคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหรือสัตว์ดึกดำบรรพ์ แต่การกระทำแบบนี้อาจไม่ส่งผลดีเสมอไป เพราะในผลการวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การคืนชีพสัตว์เหล่านั้น อาจส่งผลให้สัตว์ในยุคนี้สูญพันธุ์ก็เป็นได้
กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออตโตวาประเทศแคนาดา ได้ออกมาต่อต้านความพยายามในการในคืนชีพ “แมมมอธขนยาว” จากภาพที่เห็นคือ ลิวบา ซากแมมมอธที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ที่เคยถูกจัดแสงที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในปี 2014
ดร.โจเซป เบนเนตต์ จากมหาวิทยาลัยออตโตวาและทีมงานของเขาได้พยายามศึกษาต้นทุนและผลประโยชน์ของการคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และการนำมันกลับคืนสู่ธรรมชาติ
แต่จากการศึกษาพบว่า การคืนชีพสัตว์เหล่านั้นจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลยิ่งกว่า การใช้เงินเพื่ออนุรักษ์สัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และมันอาจไม่คุ้มถ้าเราเลือกที่จะใช้เงินไปกับสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้หรือเปล่า
แต่จากการศึกษาพบว่า การคืนชีพสัตว์เหล่านั้นจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลยิ่งกว่า การใช้เงินเพื่ออนุรักษ์สัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และมันอาจไม่คุ้มถ้าเราเลือกที่จะใช้เงินไปกับสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้หรือเปล่า
อย่างเช่น เสือแคสเปียน ที่มีความยาวกว่า 10 ฟุต ถือเป็นสัตว์สายพันธุ์แมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หากมันคืนชีพกลับมา นักอนุรักษ์ชีววิทยามีแผนที่จะส่งมันกลับไปอยู่ในแถบเอเชียกลาง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยกับเรื่องนี้
นอกจากนั้นยังพบว่า เงินทุนของรัฐบาลเพื่อการฟื้นคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในนิวซีแลนด์ 11 สายพันธุ์ อาจทำให้ต้องเสียสละสัตว์ที่อนุรักษ์อยู่มากถึง 31 สายพันธุ์
ส่วนเงินลงทุนเพื่อการอนุรักษ์สัตว์จำนวน 42 สายพันธุ์ในนิวเซาท์เวลส์ อาจต้องหมดไปเพื่อที่จะคืนชีพสัตว์ท้องถิ่นที่สูญพันธุ์ไปเพียงแค่ 5 สายพันธุ์ ซึ่งแตกต่างกันถึง 8 เท่า
แต่ความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวเสมอไป เพราะหลายคนยังมองว่า ไม่ควรวิเคราะห์เพียงแค่ต้นทุนและผลประโยชน์ในลักษณะนี้เพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น เพราะยังมีข้อดีอีกมากมายที่เราจะได้จากการคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ในปัจจุบันนี้ การคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วยังคงเป็นโครงการที่สำคัญของมหาวิทยาลัยลอนดอน โดยเฉพาะ “แมมมอธขนยาว” ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการทดลองนี้จะประสบผลสำเร็จในอีก 2-3 ปีนี้แน่นอน
ที่มา http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-4257542/De-extinction-cause-existing-animals-die-out.html