Post-Mortem Photgraphy หรือเรียกกันว่า Memorial Portraiture หรือ Memento Mori (ภาษาละติน) เป็นการถ่ายภาพบุคคลที่เสียชีวิตแล้วไว้เป็นที่ระลึก
กิจการถ่ายภาพนี้ได้รับความนิยมหลังจากมีการคิดค้นวิธีถ่ายภาพแบบ ดูแกรีโอไทพ์ (Daguerreotype) ในปี 1839 เนื่องจากบางคนไม่สามารถนั่งเป็นแบบในการเขียนภาพเหมือนบุคคลได้ (Painted Portrait) และการถ่ายภาพดังกล่าวยังมีราคาถูกว่าและรวดเร็วกว่า จึงเป็นที่นิยมสำหรับชนชั้นกลางที่ต้องการถ่ายภาพบุคคลอันเป็นที่รักที่เสียชีวิตไปแล้วเก็บไว้เป็นที่ระลึก
กิจการการถ่ายภาพแบบนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ทางแถบทวีปยุโรป และค่อยๆ สูญหายไป (Die out) หลังจากมีการคิดค้นการถ่ายรูปแบบ Snapshot
ในช่วงยุควิกตอเรียน (Victorian Era) อัตราการตายของเด็กและทารกนั้นสูงมาก ภาพถ่ายส่วนใหญ่จึงเป็นภาพถ่ายของเด็กทารกหรือเด็กเล็กๆ และเมื่อมีการคิดค้นภาพแบบ Carte de Visite (ภาพเล็กๆ ที่อยู่บนการ์ด) ทำให้สามารถทำสำเนาภาพแจกจ่ายให้กับบรรดาญาติทั้งหลายได้อีกด้วย
การถ่ายภาพ Post-Mortem Photgraphy มีทั้งแบบที่ถ่ายใกล้ๆ (Close up) ใบหน้า และแบบถ่ายเต็มตัว ส่วนมากจะไม่นำเอาโลงศพเข้ามาประกอบ ศพที่นำมาถ่ายจะมีลักษณะเหมือนกำลังหลับลึกหรือมีการจัดท่าทางให้ดูเหมือนมีชีวิต ศพผู้ใหญ่จะถูกจัดท่าให้นั่งอยู่บนเก้าอี้โดยใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆ มาช่วยค้ำ หรือไม่ก็ผูกติดกับวัสดุที่เอามาค้ำ บางครั้งก็ใช้วัสดุมาช่วยค้ำเปลือกตาเพื่อให้ดูเหมือนกำลังลืมตา หรืออาจจะใช้วิธีเขียนตาลงไปบนภาพเพื่อให้ดูมีชีวิตมากยิ่งขึ้น สำหรับภาพถ่ายช่วงแรกๆ (โดยเฉพาะแบบ แอมโบรไทพ์ (Ambrotypes) และแบบทินไทพ์ (Tintype)) จะมีการนำเอาสีชมพูอ่อนๆ มาแต้มที่แก้มศพด้วย ในกรณีที่เป็นการถ่ายภาพเด็กมักจะจัดท่าให้เหมือนนอนอยู่บนที่นอน หรือถ่ายภาพคู่กับของเล่นชิ้นโปรด รวมทั้งมีการถ่ายคู่กับสมาชิกในครอบครัว (ส่วนใหญ่จะถ่ายคู่กับผู้เป็นมารดา) นอกจากนี้มักจะนำเอาดอกไม้มาประดับตกแต่งด้วย
ในปัจจุบัน การถ่ายภาพแบบนี้ยังคงเป็นกิจการที่ได้รับความนิยมในบางพื้นที่ เช่น แถบยุโรปตะวันออก รวมถึงชาวคริสเตียนนิกายออโธดอกทางแถบตะวันออก
ตัวอย่างภาพ:
ภาพซ้าย: เป็นภาพชายวัยกลางคน มีการจัดท่าทางให้ดูเหมือนมีชีวิต (ถ่ายประมาณ ปี 1860)
ภาพขวา: เป็นภาพที่พ่อ-แม่ ถ่ายรูปคู่กับบุตรสาวที่เสียชีวิตไป
ภาพซ้าย: เป็นภาพบิชอฟแ่ห่งซีเรีย จัดท่านั่งบนแท่นในพิธีศพ (ถ่ายประมาณปี 1945)
ภาพขวา: -