รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (ภาษาอังกฤษ: Stigmata) คือเครื่องหมาย แผลหรือความรู้สึกในบริเวณที่ตรงกับรอยแผลของพระเยซูเมื่อทรงถูกตรึงกางเขน ...คำว่า “รอยแผลศักดิ์สิทธิ์” มาจากบรรทัดสุดท้ายของจดหมายที่นักบุญพอลแห่งทาซัส เขียนถึงชาวกาเลเทีย (Galatians) ซึ่งกล่าวว่า “บนร่างข้ามี “แผล” ของพระเยซู” ("I bear on my body the stígmata of Jesus")
“Stigmata” เป็นพหูพจน์ของคำภาษากรีก “στ?γμα” (Stígma) ซึ่งแปลว่าเครื่องหมายหรือตรา ซึ่งอาจจะใช้เป็นเครื่องหมายประทับความเป็นเจ้าของของสัตว์หรือทาส ผู้ที่มี “รอยแผลศักดิ์สิทธิ์” เรียกว่า “ผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์” (Stigmatist) ...สาเหตุของการเกิด “รอยแผลศักดิ์สิทธิ์” ก็แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล “รอยแผลศักดิ์สิทธิ์” ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับโรมันคาทอลิก ผู้ที่ได้รับมักจะเป็นนักบวชในนิกายโรมันคาทอลิก และผู้ที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็นสตรี
หลักฐานชิ้นแรกที่มีการบันทึกถึงเรื่อง รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ และได้รับการรับรองจากผู้มีอำนาจของโบสถ์ (Church authorities) และมีความน่าเชื่อถือ คือ กรณีของ นักบุญฟรานซิส แห่งอัสซิซี (Saint Francis of Assisi) (1182–1226) ซึ่งท่านได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ในปี 1224 ที่เมือง ลา เวอร์นา, ประเทศอิตาลี (La Verna, Italy) ...หลังจากกรณีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญฟรานซิส ได้มีกรณีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นมากกว่า 20 กรณี ที่ถูกบันทึกไว้ เรื่องราวของรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ได้รับการบันทึกติดต่อกันมากว่า 300 กรณี (นับจนถึงศตวรรษที่ 19) ...ต่อมาในศตวรรษที่ 20 ผู้ที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นรวดเร็วอย่างน่าประหลาด ขณะนี้มีมากกว่า 500 กรณีที่ได้รับการบันทึกไว้ ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้ ผู้ที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์มีทั้งผู้ที่เคร่งศาสนา บุคคลธรรมดาสามัญ ผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องราวลึกลับ รวมทั้งในผู้ที่ไม่ได้รับถือศาสนาคริสต์ด้วย
สตรีคนแรกที่ได้รับการบันทึกว่าได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์คือ โคเดกซ์ ไอเออไลเซนซิส (Codex Iuliacensis) (1320-1350) บุญราศีจากสตอมเมล (Blessed Christina von Stommeln) (1312) ซึ่งว่ากันว่า ยังคงมองเห็นรอยแผนที่เกิดจากมงกุฏหนามบนกระโหลกศีระษะของบุญราศีท่านนี้ ซึ่งรอยแผลดังกล่าวจะปรากฏให้เห็นทุกๆ 6 พฤศจิการยน เป็นประจำทุกปี
รอยแผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นจะปรากฎอยู่บนร่างกายผู้ที่ได้รับรอยแผลเหล่านี้อย่างลึกลับ โดยรอยแผลศักดิ์สิทธิ์จะเกิดในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับรอบแผลทั้งห้าที่พระเยซูเจ้าทรงได้รับในขณะที่พระองค์ทรงถูกตรึงกางเขน คือที่มือและเท้าทั้งสองข้างจากตะปู ที่สีข้างจากหอก ในบางกรณีก็เกิดขึ้นที่บริเวณศีรษะในตำแหน่งใกล้เคียงกับรอยแผลที่เกิดจากมงกุฎหนาม นอกจากนี้ยังมีในลักษณะของน้ำตาเลือด (Tears of Blood) รอยแผลที่หลังที่เกิดจากการถูกหวดด้วยแส้หรือรอยแผลที่ไหล่จากการแบกไม้กางเขน
นอกจากนี้ยังมีบุคคลอีกหลายๆ คนที่ประสบความเจ็บปวดสุดขีดตามตำแหน่งรอยแผลดังกล่าวโดยไม่มีรอยแผลที่มองเห็นได้จากภายนอก ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (Invisible Stigmata) ในบางกรณีกล่าวกันว่า เลือดที่ไหลออกจารอยแผลศักดิ์สิทธิ์จะมีกลิ่นหอม เรียกกันว่า กลิ่นแห่งความศักดิ์สิทธิ์ (Odour of Sanctity)
ผู้ที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์หลายครั้ง เรียกกันว่า ผู้บรรลุภวังค์แห่งปิติสุขหรือภวังค์มหาทุกข์ (Ecstatics) ผู้ที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์นั้น รอยแผลดังกล่าวจะได้รับการเยียวยาและหายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เลือดซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเลือดที่ผสมระหว่างเลือดของพระคริสต์และผู้ที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์จะไหลออกมาจากแผลและแห้งไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงแผลดังกล่าวก็จะได้รับการรักษาให้หายเอง ผู้ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ เช่น นักบุญฟรานซิสได้รับผลจากรอยแผลศักดิ์สิทธิ์เป็นระยะเวลายาวนาน แต่อย่างไรก็ตามแผลที่ได้รับไม่เคยเน่าหรือส่งกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด
รายชื่อผู้ที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียง เช่น
St. Francis of Assisi (1186-1226);
St. Lutgarde (1182-1246), a Cistercian;
St. Margaret of Cortona (1247-97);
St. Gertrude (1256-1302), a Benedictine;
St. Clare of Montefalco (1268-1308), an Augustinian;
Bl. Angela of Foligno (d. 1309), Franciscan tertiary;
St. Catherine of Siena (1347-80), Dominican tertiary;
St. Lidwine (1380-1433);
St. Frances of Rome (1384-1440);
St. Colette (1380-1447), Franciscan;
St. Rita of Cassia (1386-1456), Augustinian;
Bl. Osanna of Mantua (1499-1505), Dominican tertiary;
St. Catherine of Genoa (1447-1510), Franciscan tertiary;
Bl. Baptista Varani (1458-1524), Poor Clare;
Bl. Lucy of Narni (1476-1547), Dominican tertiary;
Bl. Catherine of Racconigi (1486-1547), Dominican;
St. John of God (1495-1550), founder of the Order of Charity;
St. Catherine de' Ricci (1522-89), Dominican;
St. Mary Magdalene de' Pazzi (1566-1607), Carmelite;
Bl. Marie de l'Incarnation (1566-1618), Carmelite;
Bl. Mary Anne of Jesus (1557-1620), Franciscan tertiary;
Bl. Carlo of Sezze (d. 1670), Franciscan;
Blessed Margaret Mary Alacoque (1647-90), Visitandine (who had only the crown of thorns);
St. Veronica Giuliani (1600-1727), Capuchiness;
St. Mary Frances of the Five Wounds (1715-91), Franciscan tertiary.
(หมายเหตุ St. ย่อมาจาก Saint [นักบุญ] ส่วน Bl. ย่อมาจาก Blessed [บุญราศี] และบุญราศีบางท่านตามรายชื่อนี้อาจได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในปัจจุบันแล้วก็ได้)
ในศตวรรษที่สิบเก้า มีบุคคลที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์จำนวน 29 ท่าน โดยผู้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ
Catherine Emmerich (1774-1824), Augustinian;
Elizabeth Canori Mora (1774-1825), Trinitarian tertiary;
Anna Maria Taïgi (1769-1837);
Maria Dominica Lazzari (1815-48);
Marie de Moerl (1812-68)
and Louise Lateau (1850-83), Franciscan tertiaries.
ในจำนวนนี้ มารีย์ เดอ เมอร์ล อาศัยอยู่ที่ คัลเทอร์น (1812-1868) ตอนอายุยี่สิบ เธอได้เป็นผู้ที่บรรลุภวังค์มหาทุกข์และการเข้าภวังค์มหาทุกข์ก็ได้กลายเป็นกิจวัตรปกติของเธอตลอดระยะเวลาสามสิบห้าปีที่เหลือในชีวิตเธอ โดยเธอจะออกจากภวังค์ก็ต่อเมื่อมีคำสั่ง (หรือบางครั้งจากการสื่อสารทางจิต) จากนักบวชฟรันซิสกันซึ่งเป็นวิญญานอารักษ์ของเธอ ท่าปกติของเธอคือ การคุกเข่าบนเตียงพร้อมกับเอามือไขว้กันที่หน้าอก โดยมีสีหน้าที่เป็นที่ประทับใจอย่างมากต่อผู้ที่เห็น ตอนอายุยี่สิบสอง เธอได้รับแผลศักดิ์สิทธิ์ โดยตอนเย็นวันพฤหัสบดีและในวันศุกร์จะมีโลหิตที่ใสมากหลั่งออกมาจากแผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ทีละหยดๆ ส่วนในวันอื่นๆ แผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้จะแห้งไม่มีโลหิตหลั่งออกมา มีผู้คนจำนวนหลายพันคนที่เห็น มารีย์ เดอ เมอร์ล โดยในจำนวนนี้มี กอร์เรส (ผู้ซึ่งได้บรรยายการเข้าพบของเขาไว้ในหนังสือ "Mystik", II, xx), ไวส์แมน และ ลอร์ดชริวส์เบอร์รี่ ผู้ซึ่งได้เขียนจดหมายปกป้องผู้ซึ่งบรรลุภวังค์มหาทุกข์ท่านนี้ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในหน้งสือพิมพ์ "The Morning Herald" และ "The Tablet"
หลุยส์ ลาทู ใช้ชีวิตของเธอที่หมู่บ้าน Bois d'Haine, Belgium (1850-1883) เนื่องจากคาทอลิกบางคนได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือคลาดเคลื่อนตามที่ Canon Thiery ได้ให้ไว้ในรายงาน "Examen de ce qui concerne Bois d'Haine", Louvain, 1907, จึงทำให้คาทอลิกเหล่านี้ไม่ยอมรับว่าเธอได้รับพระหรรษทาน (Grace) จริง ...ตอนอายุสิบหก เธอได้ทุ่มเทชีวิตของเธอในการพยาบาลคนป่วยด้วยโรคอหิวาต์ที่ถูกทอดทิ้งโดยคนส่วนใหญ่ในตำบลของเธอ ในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว เธอได้พยาบาลคนป่วยถึงสิบคนและทำการฝังพวกเขา โดยในบางครั้งถึงกับต้องแบกศพไปที่ป่าช้าด้วยตัวเอง ...พออายุสิบแปดเธอก็เป็นผู้ที่บรรลุภวังค์มหาทุกข์จนได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นช่างเย็บผ้าเพื่อจุนเจือครอบครัวของเธอ แพทย์จำนวนหลายต่อหลายท่านได้เป็นประจักษ์พยานต่อการบรรลุภวังค์มหาทุกข์ของเธอทุกวันศุกร์และยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เธอไม่รับประทานอาหารใดๆ ตลอดระยะเวลาสิบสองปี นอกจากการรับศีลมหาสนิทประจำสัปดาห์ ส่วนน้ำนั้นเธอจะดื่มน้ำเพียงสัปดาห์ละสามถึงสี่แก้วเท่านั้น เธอไม่เคยหลับเลย แต่ใช้เวลากลางคืนในการรำพึงและสวดภาวนาในขณะที่คุกเข่าที่ปลายเตียงของเธอ
หลังจากที่ได้ให้ข้อเท็จจริงแล้ว ต่อไปจะขอกล่าวถึงคำอธิบายถึงที่มาของปรากฎการณ์แห่งรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาบางคน ทั้งที่เป็นคาทอลิกและที่มีความคิดอิสระ ต่างยืนยันว่าแผลเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมชาติล้วนๆ โดยเป็นผลจากจินตนาการผนวกกับภาวะจิตอันเร่าร้อน ความหมกมุ่นที่บุคคลนั้นได้ทุ่มเทให้กับความสะเทือนใจอย่างใหญ่หลวงอันเป็นผลจากการทุกข์ทรมานของพระผู้ไถ่ ในขณะเดียวกับที่ถูกซึมแทรกด้วยความรักอันยิ่งใหญ่นั้นมีผลกระทบต่อเขาทางด้านสรีระ จนมีผลให้เกิดแผลศักดิ์สิทธิ์แห่งพระคริสตเจ้า ...ถึงแม้ว่าสาเหตุโดยตรงของปรากฎการณ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์อาจจะไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความดีงามของเขาในการยอมรับความทุกข์ทรมานนั้นลดน้อยลงแต่อย่างไร
เราจะไม่พยายามหาข้อยุติในประเด็นนี้ แต่สรีรวิทยาดูเหมือนว่าจะยังไม่ก้าวหน้าพอที่จะให้คำตอบที่แน่นอนได้ และผู้เขียนบทความนี้ยึดถือแนวสายกลาง ซึ่งในสายตาของผู้เขียนเป็นแนวความคิดที่ไม่มีช่องโหว่ โดยเห็นว่าข้อโต้แย้งที่อธิบายว่ารอยแผลศักดิ์สิทธิ์เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาตินั้นเป็นเพียงภาพลวงตา ข้อโต้แย้งเหล่านั้นบางครั้งก็เป็นสมติฐานที่ตั้งขึ้นโดยพลการ โดยเป็นเพียงการกล่าวอ้างเท่านั้นและบางครั้งก็เป็นการโต้แย้งที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนหรือเกินความจริง ...แต่ถ้าหากความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์และด้านจิต-สรีรวิทยาจะก้าวหน้าไปจนถึงขั้นที่เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวง (ต่อข้อสมมติฐานว่าเป็นปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ) แล้วก็เป็นการสมควรที่จะระลึกอยู่เสมอว่าทั้งศาสนาและเรื่องอัศจรรย์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อยุติแห่งประเด็นเหล่านี้ และในขบวนการสถาปนานักบุญนั้นไม่ได้ถือว่า ปรากฎการณ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์เป็นอัศจรรย์ที่ไม่อาจโต้แย้งได้
ไม่เคยมีใครที่อ้างว่าจินตนาการสามารถก่อให้เกิดแผลในบุคคลธรรมดาได้ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๔ ได้กล่าวไว้ใน De canoniz., III, xxxiii, n. 31 ว่า ถึงแม้ว่าจินตนาการสามารถก่อให้เกิดผลเล็กน้อยทางร่างกาย แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่ามันได้ก่อให้เกิดผลต่อเนื้อเยื่อ ...แต่ในกรณีบุคคลที่อยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่นในระหว่างการถูกสะกดจิตหรือในระหว่างการบรรลุภวังค์มหาทุกข์ ประเด็นนี้ก็ยิ่งเป็นการยากขึ้นอีกในการวินิจฉัย และถึงแม้ว่าจะได้มีการพยายามมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว การสะกดจิตก็ไม่ได้ให้ผลลัพท์ที่ชัดเจนว่าสามารถก่อให้เกิดแผลบนร่างกายได้ โดยในกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากๆ การสะกดจิตได้ก่อให้เกิดการซึมออกมาซึ่งเหงื่อที่มีสีเจือปนบ้างเล็กน้อย แต่นั่นก็เป็นเพียงการเลียนแบบที่ยังห่างไกลมากจากโลหิตจริงๆ ที่ไหลออกมาจากรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนั้นยังไม่มีใครสามารถให้คำอธิบายถึงสาเหตุของปรากฏการณ์สามอย่างในกรณีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญหลายองค์
โดยแพทย์ไม่สามารถรักษาแผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ให้หายได้ กับทั้งรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่คงอยู่ยาวนานก็ไม่ได้ส่งกลิ่นเหม็นเช่นในกรณีบาดแผลธรรมดาแต่อย่างใด แต่มีข้อยกเว้นอยู่ในกรณีของท่านนักบุญ ริตา แห่งคาสซีอา ซึ่งได้รับแผลจากจากหนามซี่หนึ่งซึ่งหลุดจากมงกุฎหนามบนกางเขนซึ่งเป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่คิ้วของท่าน ถึงแม้ว่าแผลนี้จะส่งกลิ่นเหม็นสุดๆ แต่ก็ไม่มีหนองหรือการเน่าของแผล ...ในบางกรณี เช่นในกรณีของซิสเตอร์ฮวนน่าแห่งไม้กางเขน ซึ่งเป็นอธิการิณีอารามฟรันซิสกันแห่งโทเลโด และท่านบุญราศีลูซีแห่งนาร์นี แผลศักดิ์สิทธิ์ของท่านทั้งสองส่งกลิ่นหอม
สรุปก็คือ หากจะพิสูจน์ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ว่า จินตนาการ (ซึ่งก็คือการคิดไปเอง) สามารถก่อให้เกิดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ได้จริงๆ แทนที่จะเป็นเพียงสมมติฐานก็จะต้องมีข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์นี้จากสาเหตุตามธรรมชาติ ซึ่งก็คือบาดแผลที่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากความศรัทธาทางศาสนา ยังไม่เคยมีใครสามารถก่อให้เกิดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ด้วยจินตนาการอันปราศจากศรัทธาได้แม้แต่กรณีเดียว