Lance of Longinus: หอกแห่งลองกินุส

หอกแห่งลองกินุส (Lance of Longinus, Spear of Longinus) หรือรู้จักกันในนาม หอกแห่งโชคชะตา (Spear of Destiny) หอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Lance, Holy Spear) หอกแห่งพระคริสต์ (Spear of Christ) ชื่อเหล่านี้ถูกตั้งให้กับหอกที่ใช้ในการทิ่มแทงพระเยซูในการตรึงกางเขน
 
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของหอกแห่งลองกินุสนี้ปรากฏอยู่เฉพาะในวรสารของยอห์นเท่านั้น จึงนักวิชาการส่วนหนึ่งที่มองว่าเรื่องราวของหอกศักดิ์สิทธิ์นี้น่าจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในภายหลังเพื่อขยายความการไถ่บาปของพระเยซูเสียมากกว่า ซึ่งไบเบิ้ลฉบับพันธสัญญาใหม่ วรสารของยอห์น (19:34) ได้กล่าวว่า เมื่อพระเยซู
ทรงสิ้นลมหลังจากถูกตรึงบนไม้กางเขน โดยปกติแล้วจะมีการพิสูจน์ว่านักโทษตายจริงหรือไม่ด้วยการทุบกระโหลกศีรษะ หากนายทหารโรมันชื่อ กาลิอัส คาสเซียส ลองกินุส (Gaius Cassius Longinus) ซึ่งมีอาการตาใกล้บอดและได้รับหน้าที่ตรึงกางเขนพระเยซูต้องการจะหลีกเลี่ยงที่จะทำลายพระศพ เขาจึงใช้หอกแทงไปยังสีข้างของพระองค์ และเมื่อพระโลหิตของพระเยซูกระเด็นมาโดนก็ทำให้ตาของเขากลับมามองเห็นได้ดีอีกครั้ง (โดยปกติแล้วศพจะไม่มีเลือดไหลออกมา การที่พระโลหิตหลั่งออกมาทั้งที่พระองค์ทรงสิ้นลมไปแล้วนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นปาฏิหารย์อย่างหนึ่ง) จากนั้นทหารผู้นี้เกิดศรัทธาจนออกจากกองทัพและบวชเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ หลังจากนั้นเขาถูกทรมานโดยโรมันจนเสียชีวิตและกลายเป็นนักบุญลองกินุสในภายหลัง
 
 
ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่า หอกแห่งลองกินุสเล่มไหนเป็นของจริง เนื่องจากมีวัตถุโบราณ (Relic) หลายชิ้นที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นหอกแห่งลองกินุส เช่น
 
 
หอกแห่งลองกินุสที่วาติกัน (Vatican Lance)
 
กล่าวกันว่าหอกเล่มนี้ถูกค้นพบโดยนักบุญอันโทนินัสแห่งปิอาเซนซา (St. Antoninus of Piacenza) ในปี ค.ศ. 570 โดยนักบุญท่านนี้ได้ค้นพบหอกเล่มดังกล่าวที่โบส์บาซิลิกาแห่งภูเขาไซอน (Basilica of Mount Zion) ต่อมาในปี ค.ศ. 615 กรุงเยรูซาเลมและวัตถุโบราณต่างๆ ถูกยึดครองโดยกองทัพของกษัตริย์คอสโรที่ 2 (King Khosrau II (Chosroes II)) จาก โครนิคอน พาสเชล (Chronicon Paschale) กล่าวว่าหอกเล่มนี้ได้เกิดการแตกหัก (Broken off) และถูกส่งมอบต่อในแก่ ไนซีตัส (Nicetas) ในปีเดียวกัน ไนซีตัสได้นำหอกเล่มนี้ไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) และฝากไว้ที่โบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย (Hagia Sophia) และกลายมาเป็นสิ่งบูชา (Ycona หรือ Icon)
 
ในปี ค.ศ. 1244 กษัตริย์บัลด์วินที่ 2 แห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Baldwin II of Constantinople) ได้ขายหอกเล่มนี้ให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส  (Louis IX of France) และถูกนำไปวางไว้เพื่อบูชาพร้อมกับมงกุฎหนาม (Crown of Thorns) ที่โบสถ์เซนต์ชาเปล (Sainte Chapelle) ในกรุงปารีส ต่อมาในระหว่างช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส วัตถุโบราณเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศส (Bibliotheque Nationale) แต่ต่อมากลับหายสาบสูญไป
 
สำหรับชิ้นส่วนอีกชิ้นหนึ่งของหอกเล่มนี้ ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 670 ที่โบสถ์โฮลี่แซพพัลเคอร์ (Holy Sepulchre) ในเยรูซาเลมโดยอาคัลปัส (Arculpus) แต่อีกกระแสหนึ่งกลับกล่าวว่า หอกในส่วนดังกล่าว ได้หายสาบสูญไปตั้งแต่ในปี ค.ศ. 615 ...อีกกระแสหนึ่งได้อ้างว่าชิ้นส่วนดังกล่าวถูกนำไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างศตวรรษที่ 8 เป็นไปได้ว่าจะเป็นช่วงเดียวกับการขนย้ายมงกุฏหนามนั่นเอง อย่างไรก็ตามหอกเล่มดังกล่าวที่ปรากฏอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลดูเหมือนจะได้รับการยืนยันรับรองจากนักแสวงบุญหลายท่านอย่างชัดเจน และคาดว่าถูกนำไปฝากไว้กับโบสถ์หลายๆ แห่ง ...ต่อมาในปี ค.ศ. 1357 เซอร์ จอห์น แมนดีวิล (Sir John Mandeville) กล่าวว่า เขาได้เห็นคม (Blade) ของหอกศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองเล่มนี้ที่กรุงปารีสและที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล
 
ไม่ว่าวัตถุโบราณที่อยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะเป็นอะไรก็ตาม วัตถุชิ้นนั้นได้ตกไปอยู่ในมือของชาวเติร์กในปี ค.ศ. 1492 และสุลต่านบายาซิดที่ 2 (The Sultan Bayazid II) ได้ส่งเป็นเครื่องอภินันนาการให้สังฆราชอินโนเซนต์ที่ 8 (Pope Innocent VIII) ซึ่งได้นำไปไว้ที่เสาต้นหนึ่งในวิหารนักบุญปีเตอร์ที่กรุงโรมจนถึงปัจจุปันนี้ แต่ไม่มีการยืนยันว่าเป็นของแท้หรือไม่
 
 
หอกแห่งลองกินุสที่เอสมิแอดซิน (Echmiadzin Lance)
 
หอกเล่มดังกล่าวปัจจุบันอยู่เมืองเอสมิแอดซิน ประเทศอาร์เมเนีย ...หอกเล่มนี้ถูกค้นพบในระหว่างช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ...ในปี ค.ศ. 1098 นักรบครูเสด (The Crusader) ชื่อ ปีเตอร์ บาร์โธโลมิว (Peter Bartholomew) ได้กล่าวว่า เขานิมิตเห็นนักบุญแอนดรู (St. Andrew) มาบอกเขาว่าหอกศักดิ์สิทธิ์ถูกฝังไว้ใต้โบสถ์เซนท์ปีเตอร์ ที่เมืองอันติออกซ์ (Antioch) จึงมีการขุดค้นหาและพบในที่สุด หลังจากมีการค้นพบหอกเล่มนี้ก็ทำให้เหล่านักรบครูเสดสามารถมีชัยเหนือกองทัพชาวมุสลิมได้
 
 
 
หอกแห่งลองกินุสที่กรุงเวียนนา หรือหอกแห่งฮอฟเบิร์ก (Vienna Lance, Hofburg Spear)
 
 
หอกเล่มนี้เชื่อกันว่าเป็นของจักพรรดิ์แห่งโรมัน ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงว่าอยู่ในช่วงกษัตริย์ออตโตที่ 1 (Otto I, 912-973) ในปี ค.ศ. 1000 กษัตริย์ออตโตที่ 3 (Otto III) ได้มอบหอกจำลอง (Replica of the Lance) ให้แก่กษัตริย์โบลสลาพที่ 1 แห่งโปแลนด์ (Boleslaw I of Poland) ต่อมาในปี ค.ศ. 1084 กษัตริย์เฮนรีที่ 4 (Henry IV) ได้เพิ่มแถบเงิน (Silver Band) ที่สลักข้อความว่า "Nail of Our Lord" บนหอกเล่มนี้ หอกเล่มนี้เชื่อกันว่าเป็นของคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great) ในปี ค.ศ. 1273 หอกนี้ได้ถูกใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ในตะวันตก ต่อมาในปี ค.ศ. 1350 กษัตริย์ชาร์ลที่ 4 (Charles IV) ได้ทำปลอกทองคำทับแถบเงินนี้ ซึ่งสลักคำว่า "Lancea et clavus Domini" (Lance and nail of the Lord) ในปี ค.ศ. 1424 กษัตริย์ซิจีสมุนด์ (Sigismund) ได้รวบรวมวัตถุโบราณต่างๆ รวมถึงหอก เคลื่อนย้ายจากเมืองหลวงของพระองค์คือ ปราก (Prague) กลับไปยังบ้านเกิดคือที่ นูเรมเบิร์ก (Nuremburg) และได้บัญญัติกฎขึ้นมาเพื่อให้เก็บรักษาวัตถุโบราณเหล่านี้ไว้ที่นั่นตลอดไป วัตถุโบราณเหล่านี้รู้จักกันในนาม เรซไคลโนเดียน (Reichskleinodien) หรือ สัญลักษณ์แห่งจักพรรดิ (Imperial Regalia)
 
 

 
 Vienna Lance
 
 
 
เมื่อกลุ่มปฏิวัติฝรั่งเศสไปถึงเมืองนูเรมเบิร์กในช่วงฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1796 สภาเมือง (The City Councilors) ได้ตัดสินใจเคลื่อนย้าย เรซไคลโนเดียน ไปยังกรุงเวียนนาเพื่อความปลอดภัย วัตถุโบราณเหล่านี้ถูกมอบหมายให้ บารอน วอน ฮูเจล (Baron von Hügel) เป็นผู้ดูแล ซึ่งบารอนท่านนี้ได้ให้สัญญาว่าจะเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านี้กลับคืนที่เดิมเมื่อความสงบกลับคืนมาและแน่ใจได้ว่าสมบัติเหล่านี้จะได้รับการดูแลรักษา อย่างไรก็ตาม เมื่อจักวรรดิโรมันล่มสลายในปี ค.ศ. 1806 - วอน ฮูเจล ไม่สามารถระบุถึงเจ้าของที่แท้จริงได้และได้ขายสมบัติเหล่านี้ รวมทั้งหอกไปให้กับตระกูลฮับสเบิร์ก (The Hubsbergs) เมื่อสภาเมืองทราบว่าสมบัติเหล่านี้ตกไปสู่ตระกูลฮับสเบิร์กก็ได้ทวงสมบัติคืน แต่ได้รับการปฏิเสธ เนื่องจากเรซไคลโนเดียนเป็นสมบัติของกษัตริย์ จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่ ซาทซคาเมอร์ (Schatzkammer; Imperial treasury; ท้องพระคลัง) ในกรุงเวียนนา และรู้จักกันในนามของ หอกแห่งนักบุญมัวไรซ์ (The Lance of Saint Maurice)
 
ในระหว่างช่วงผนวกออสเตรียเข้ากับเยอรมัน (Anschluss) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้นำหอกไป และหอกดังกล่าวได้กลับคืนสู่ออสเตรียอีกครั้งโดยนายพลจอร์จ เอส. แพทตัน ของกองทัพสหรัฐ (American General George S. Patton) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ กุนสทิสโทไรซเซส (Kunsthistorisches Museum) และในปัจจุบันหอกเล่มนี้อยู่ที่ ซาทซคาเมอร์ (ท้องพระคลัง)
 
 
หอกแห่งลองกินุสอื่นๆ (Other Lances)
 
หอกแห่งลองกินุสอันอื่นถูกเก็บรักษาไว้ที่เมืองคราโคว (Krakow) ประเทศโปแลนด์ ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 1200 อย่างไรก็ตาม จากบันทึกของเยอรมันชี้ว่าหอกเล่มนี้เป็นของเลียนแบบหอกลองกินุสที่อยู่กรุงเวียนนา จักพรรดิ์เฮนรี่ที่ 2 (Emperor Henry II) ได้สั่งทำขึ้น และหอกอีกเล่มหนึ่งที่ถูกทำเลียนแบบถูกนำไปมอบให้กับกษัตริย์แห่งฮังการีในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง
Credit: http://lonesomebabe.spaces.live.com
4 ก.ค. 53 เวลา 10:49 6,514 3 1,122
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...