ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของเวียดกงและกองทัพประชาชนเวียดนาม

ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของเวียดกงและกอง ทัพประชาชนเวียดนาม
Viet Cong and PAVN strategy and tactics

 

ทหารเวียดนามเหนือเดินแถวหน้าทำเนียบประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 
หลังไซง่อนแตกในปี ค.ศ.1975 ทำให้รวมชาติได้สำเร็จ

"วิธีการรบของเวียดนาม ที่ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
ทั้งด้านการเมืองและการทหาร "

 

เรื่อง โดยสังเขป

ประวัติศาสตร์การพัฒนาของ เวียดกงและเวียดนามเหนือ

การ สร้างขบวนการเวียดกง (Formation of the VC)

ฝ่าย เหนือสร้างการก่อกบฏในทางใต้

ความ สำเร็จระยะแรกของเวียดกง

ยุทธศาสตร์ของเวียดกงและเวียดนามเหนือ

รูป แบบการทำสงครามแบบยืดเยื้อ

เดา ทราน ด้านการเมือง

เดา ทราน ด้านการทหาร

ความขัดแย้งและเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับยุทธศาสตร์

"ใต้ ก่อน" ปะทะ "เหนือก่อน"

การรุกใหญ่ในช่วงเทศกาลตรุษญวน

เต็ต คือความพ่ายแพ้ของเวียดกง

วี ซีได้ชัยชนะทางจิตวิทยาและการเมือง

หลัง จากเต็ตกลับมาใช้ยุทธวิธีกองโจร

สงคราม ปฏิวัติยืดเยื้อ ปะทะ รูปแบบการต่อสู้ของอเมริกัน/เวียดนามใต้

การเกณฑ์และฝึกทหารของเวียดนาม เหนือ

การ เกณฑ์และฝึกระยะเริ่มต้น

ประเมิน นักรบเวียดนามเหนือ

การ เกณฑ์และฝึกของเวียดกง

ความ สำคัญของคนในพรรค

ใช้ ความเจ็บใจของคนในท้องถิ่น

สร้าง และแยกย้ายกลุ่มแนวหน้า

ความ“เสมือน เป็นผู้ปกครอง”

การ ข่มขู่

Tips: หลังจากกดหัวข้อแล้วต้องการกลับมาที่รายชื่อเรื่องนี้อีกให้กดปุ่มBackspace

 

     ยุทธวิธี ภาคพื้นดินของกองกำลังหลักเวียดกง ( Main Force VC= เมน ฟอร์ซ วีซี  วีซีเป็นชื่อเรียกย่อมาจากคำว่าเวียดกง =VietCong ) และกองทัพเวียดนามเหนือ หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า กองทัพประชาชนเวียดนาม (North Vietnamese Army นอร์ท เวียดนาม อาร์มี่ เรียกสั้นๆว่า NVA=เอ็นวีเอ /People's Army of Vietnam= พีเพิล อาร์มี่  ออฟ เวียดนาม เรียกสั้นๆว่า PAVN=พีเอวีเอ็น) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในวงการทหารทั่วโลก หลังจากทำให้กองทัพที่(น่าจะ)ยิ่งที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา และสมุนเวียดนามใต้ (Government of Vietnam=โกเวอเมนท์ ออฟ เวียดนาม หมายถึงรัฐบาลเวียดนาม เรียกสั้นๆว่าGVN=จีวีเอ็น/Army of the Republic of Vietnam =อาร์มี่ รีพับบิค ออฟ เวียดนาม หมายถึงกองทัพแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม เรียกย่อๆว่า ARVN=เออาร์วีเอ็น) พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ในสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ( Second Indochina War=เซกคั่น อินโดไชน่า วอร์ )หรือที่เราท่านรู้จักกันดีในชื่อว่า สงครามเวียดนามนั้นเอง  จึงได้มีการสรุปโดยสังเขปเกี่ยวกับการปฏิบัติการและวิธีการรบของเวียดนาม เหนือและเวียดกงนี้ขึ้นมา

 

โฮจิมินห์เป็นทั้งนักการเมือง
และนักปฏิวัติที่เก่งกาจ

 

     วิธีการรบของเวียดกงและเวียดนามเหนือ ยังคงชวนให้เกิดความน่าฉงน และเข้าใจยากอยู่บ้าง แต่ก็พอจะทราบว่าเป็นการทำสงครามที่ผสมทั้ง การเมือง(political=โพลิทิคอล ) และการทหาร (Military= มิลิทารี่) เข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า เดา ทราน (dau tranh) ซึ่งมียุทธการของฝ่ายสหรัฐฯที่มีความคล้ายคลึงกันและเกือบเทียบเท่า? ก็คือ ยุทธการค้นหาและทำลาย (search and destroy=เสิร์ซ แอนด์ เดสทรอย) เป็นการแยกเวียดกงออกจากชาวบ้าน (ซึ่งก็ทำไม่สำเร็จเพราะเวียดกงกับชาวบ้านก็คือ คนๆเดียวกัน) และบุกทะลายแหล่งซ่องสุ่มกำลังรบของเวียดกงตามป่าตามเขา(ที่ต้องแลกมาด้วย ความสูญเสียอย่างหนักกว่าจะไล่ไปได้แต่ละที่)

 

ทหารอเมริกันช่วยดึงเพื่อนขึ้นมาจาก อุโมงค์เวียดกง
ในระหว่างยุทธการ ค้นหาและทำลายล้าง

 

พวกเวียดกงมีวิธีการหาคนมารบ ดังนี้

การเกณฑ์หรือหาอาสาสมัคร (recruit=รีครูท) การฝึกฝนอาวุธ อุดมการณ์ และการรบ(train=เท รน) การจัดหาจัดส่งอาวุธ(resupply=รีซัพพลาย) ติดอาวุธให้กับผู้ที่ผ่านการฝึก(arm=อาร์ม)

 

     จากวิธีการนี้ ทำให้เวียดกงสามารถแผ่ขยายอิทธิพล ครอบคลุมเหนือหมู่บ้านในเวียดนามใต้ได้อย่างกว้างขวางและเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าแทบทุกหมู่บ้านจะต้องมีคนเป็นเวียดกงอยู่อย่างแน่นอน เวียดกงได้จัดเตรียมการซุ่มโจมตีต่อทหารของศัตรู ทดแทนการเสียเปรียบด้านอำนาจการยิง( firepower=ไฟเพาเวอร์) ของฝ่ายสหรัฐฯที่รุนแรง เพราะการซุ่มโจมตีทำให้ศัตรูไม่ทราบที่ตั้งของฝ่ายตรงข้าม จึงไม่สามารถใช้อำนาจการยิงของปืนใหญ่ และเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เหมือนอย่างในสงครามเกาหลี ที่ศัตรูบุกมาเป็นกองทัพ จึงสามารถใช้อำนาจการยิงที่มีอยู่ถล่มศัตรูได้อย่างราบคาบ

 

รถปืนใหญ่อัตราจรขนาด 175มม.ขณะทำการยิงในสงครามเวียดนาม
สหรัฐใช้ปืนใหญ่เป็นจำนวนมากในการสนับสนุนทหารราบ

 

     เวียดกงกองกำลังหลัก หรือทหารเต็มเวลา (full-time soldiers =ฟูลไทม์ โซลเยอร์) ภาษาเวียดนามเรียกว่า ชูลัก (Chu Luc) จะอยู่ในความควบคุมของ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (National Liberation Front=เนชั่นแนล ริเบอเรชั่น ฟอนท์) ซึ่งเวียดนามเหนือเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในการก่อกบฏและก่อการร้าย ภายในประเทศเวียดนามใต้ และได้มีการส่งทหารในกองทัพเวียดนามเหนือเข้ามาช่วยงานของเวียดกงด้วย จนในที่สุดก็ยาตราทัพเวียดนามเหนือบุกเข้าไปในเวียดนามใต้อย่างเต็มที่

 

ทหารป่าเวียดกงกับเครื่องยิงจรวดอาร์พี จี 2
หรือรุ่นจีนก็อปปี้แบบ บี-40

 

     พวกเขาถูกเรียกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น วีซี(VC)  เอ็นวีเอ(NVA) ชาลี(charlie) ไชคอม(Chicom) กองกำลังปฏิวัติ(Revolutionary Forces=รีโวลูชั่น ฟอร์ซ) พวกเคร่งการปกครอง(regime=รีจิม) และอื่นๆอีกมากมาย ที่ออกจะหยาบคายด้วย เวียดกงอาจมีการทำงานแบบหน่วยใต้ดิน ของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง (partisan=ปาร์ตีซาน) แต่มีการรวมเข้าไว้ในรูปแบบองค์กรหรือบริษัท  เรียกว่าฝ่ายเวียดนามใช้ทุกวิธีการในการโค่นล้มรัฐบาลเวียดนามใต้ และลูกพี่ใหญ่อเมริกัน ไม่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะเป็นทหาร หรือพลเมืองก็ไม่ละเว้น จนกลายเป็นตำนานอันน่าเศร้า ของสงครามเวียดนามมาจนถึงทุกวันนี้

 

เรื่องโดยสังเขป (Overview)


     ระหว่างสงครามเวียดนามได้มีความพยายามกวาดล้าง เวียดกงและทหารเวียดนามเหนือในเวียดนามใต้ ซึ่งเวียดกงมียุทธวิธีและยุทธศาสตร์ แบบเดียวกันกับเวียดนามเหนือหรือ เวียดมินห์ในช่วงสงครามอินโดจีนครั้งแรกที่ทำให้กองทัพฝรั่งเศส ต้องประสบกับความปราชัยมาแล้ว อีกทั้งเวียดกงยังมีความเชื่อมโยงกับเวียดนามเหนือ โดยเวียดนามเหนือได้ให้การสนับสนุนเวียดกงอย่างเต็มที่ มีการจัดหาอาสาสมัครชาวเวียดนามเหนือ ส่งลงมาทางช่วยเวียดกงในเวียดนามใต้ รวมทั้งการฝึกสอนชาวเวียดนามใต้ หรือเวียดกงในเวียดนามเหนือ จนสำเร็จหลักสูตรจรยุทธ์แล้วก็ส่งกลับไปปฏิบัติงานในเวียดนามใต้ และส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆทุกชนิดจากจีนแผ่นดินใหญ่,ประเทศกลุ่มวอร์ซอใน ยุโรป และสหภาพโซเวียต ให้เวียดกงได้ใช้ทำสงครามกองโจร นักประวัติศาสตร์ ดักลาส ไพค์ (Douglas Pike) ได้กล่าวว่าเวียดกงมีระบบสายการบัญชาการ แบบเดียวกันกับกองทัพเวียดนามเหนือด้วย โดยฝ่ายเหนือจะเป็นผู้กำหนดการดำเนินยุทธการของเวียดกง  ให้อยู่ในวงจำกัดไม่เป็นฝ่ายเปิดศึกใหญ่ ก่อนจะถึงเวลาที่ได้เปรียบที่สุด จนกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ ลาวดอง(Lao Dong)จะเป็นผู้อนุมัติ

 

ประวัติศาสตร์การพัฒนาของ เวียดกงและเวียดนามเหนือ (Historical development of the VC/NVA)

การสร้างขบวนการเวียดกง (Formation of the VC)


     การก่อตั้งขบวนการเวียดกงและเวียดนามเหนือ เริ่มมาตั้งแต่สมัยต่อต้านฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 โดยเริ่มขึ้นในทางเหนือของเวียดนาม ด้วยสงครามกองโจรแบบลอบโจมตี ไม่มีการยกพลอย่างใหญ่โตแบบฝ่ายตรงข้าม  เมื่อคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว สหประชาชาติได้มีมติให้เวียดมินห์ต้องถอนทหารออกจากเวียดนามทางใต้ ขึ้นไปบนเวียดนามเหนือให้หมด ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีชาวเวียดนามใต้ ประมาณพันคนขึ้นไปทางเหนือด้วย (ซึ่งต่อมาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ถูกนำไปเป็นครูฝึกสอนชาวเวียดนามใต้ในประเทศ) ต่อมาเวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ คือมีเวียดนามเหนือภายใต้การปกครองในระบอบสังคมนิยม ของโฮจิมินห์หรือชาวเวียดนามเรียกกันว่า ลุงโฮ  ผู้ซึ่งได้รับความเคารพนับถือจากชาวเวียดนามในการปลดเปลื้องประเทศจาก ฝรั่งเศส ส่วนทางใต้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย(ไม่ค่อยจริงเท่าไรออกๆแนวเผด็จการด้วย ซ้ำ)โดย ประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียม เค้าเป็นคาธอริกที่เคร่งครัด จนชาวพุทธซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในเวียดนามใต้ เกิดความไม่พอใจในตัวเค้าอยู่บ่อยๆ เดียมต้องการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ให้สิ้นซาก จึงได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่

 

ประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียม

 

     แต่เดียมก็ไม่ประสบผลตามที่ได้หวังไว้ เพราะในสังคมเวียดนามใต้ส่วนใหญ่(โดยเฉพาะในชนบท)ไม่สนับสนุนเค้า อีกทั้งในสมัยต่อต้านฝรั่งเศส ชาวเวียดนามใต้ส่วนใหญ่ได้ช่วยพวกเวียดมินห์ในการต่อต้านด้วย กองทัพเวียดนามใต้มักใช้ความรุนแรงต่อชาวบ้าน พอมาลาดตะเวนหาคอมมิวนิสต์ทีไร ก็เอาอาหารและเสบียงไปจากชาวบ้าน(ออกแนวปล้นไปแบบฟรีๆ ถึงจะไม่ได้ข่มขู่แต่พอเห็นทหารมีปืน ชาวบ้านก็ต้องกลัวตายยอมมอบให้ หากขัดขืนก็โดนกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวฯอีก ) จนทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจไปสนับสนุนคอมมิวนิสต์กันเป็นจำนวนมาก เพราะผิดกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เป็นมิตรกับชาวบ้าน และได้ดำเนินการทางจิตวิทยา ในการหามวลชนมาเป็นพวกได้ดีกว่าฝ่ายรัฐบาลมาก

 

ทหารอเมริกันจับเวียดกงเค้นข้อมูลทาง ทหาร ด้วยการใช้ผ้าคลุมหัว
แล้วใช้น้ำจากกระติกน้ำรดใส่หน้าวิธีการนี้จะทำให้เวียดกงหายใจไม่ออก

 

     การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ของเดียม ดำเนินต่อไป จนถึงช่วงต้นปี ค.ศ.1959 เวียดนามเหนือก็ได้ส่งชาวเวียดนามใต้ ที่ได้ผ่านการฝึกก่อการร้ายแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้ โดยหน่วยส่งกำลังบำรุงที่ 559 (559th Transport Group= ไฟร์ฮันเดรดฟิบตี้นาย ทรานสปอต์ กรุ๊ป) ได้ลำเลียงอาวุธ,กระสุน และอุปกรณ์การรบต่างๆ ส่งไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการรบ สนับสนุนคอมมิวนิสต์ในการต่อสู้กับรัฐบาล  พอถึงปี 1960 แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติหรือ NLF ก็ได้กลายสภาพเป็น กองกำลังปลดปล่อยประชาชนติดอาวุธ (People's Liberation Armed Forces=พีเพิล ลิเบอเรชั่น อาร์ม ฟอร์ซ หรือเรียกย่อๆว่า  PLAF=พีแอลเอเอฟ) แต่รู้จักกันดีในชื่อว่า เวียดกง ซึ่งแปลว่าคอมมิวนิสต์เวียดนาม ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดกงซึ่งได้รับการติดอาวุธจึงเริ่มทำการโจมตีทหาร เวียดนามใต้ ในรูปแบบของกองโจรติดอาวุธ จนฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถขยายอิทธิพลครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ

 



อเมริกันพยายามเพิ่มประสิทธิภาพของทหารเวียดนามใต้
เพื่อให้สามารถสู้รบปรบมือกับเวียดกงได้

 

 

ฝ่ายเหนือสร้างการก่อกบฏในทางใต้ (Northern build-up of early southern insurgent forces)

 

เวียดนามเหนือมีขั้นตอนการสร้างขบวนการกบฏในเวียดนามใต้ 4 ขั้นตอนดังนี้

ส่งชาวเวียดนามเหนือประมาณพันคน ไปเป็นหัวหน้าในเวียดนามใต้ ให้การฝึกสอนชาวเวียดนามใต้ ฝึกสอนการใช้อาวุธในการสู้รบ ไม่ว่าจะเป็นปืนไรเฟิลจู่โจม เอเค-47 (อาก้า) ปืนกลหนักและเบาซึ่งมีลำกล้องหลายขนาดผสมปนเปกันไป และเครื่องยิงจรวด อาร์พีจี 2 รวมทั้งปืนไร้แรงสะท้อน ขยายขบวนการเวียดกงให้กว้างขวาง ตั้งแต่ขนาดกองพันไปจนถึงขนาดกรมทหาร กองพลแรกของเวียดกงคือ กองพลที่ 9 สร้างเครือข่ายการส่งกำลังบำรุงจากเวียดนามเหนือ (หน่วยส่งกำลังบำรุงที่559) จนสามารถส่งทหารเวียดนามเหนือ กองพลที่352 ( 325th Division) ข้ามพรมแดนเข้ามาในพื้นที่อันห่างไกลของเวียดนามใต้ได้สำเร็จ

 

ความสำเร็จระยะแรกของเวียดกง (Early effectiveness of the VC)



โปสเตอร์โฆษณาของเวียดกงแสดงความสำเร็จของฝ่ายตน
เป็นภาพวาดทหารรัฐบาลนอนตายอยู่บนรถหุ้มเกราะ เอ็ม 113
(คลิกเพื่อขยายภาพครับ)

 

     ในปี 1964 เวียดกงได้รับการสนับสนุนจาก ทหารเวียดนามเหนือจำนวนน้อย ต่อมาเมื่อความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น และกองกำลังมีความแข็งแกร่งขึ้นจนสามารถจัดตั้งกรมทหารได้ เวียดกงก็ได้รับคำสั่งตรงจากฮานอยในเวียดนามเหนือ เพื่อเปิดยุทธการเชิงรุกครั้งแรกในการโจมตีฝ่ายรัฐบาลที่จังหวัด บินห์ เกียร์ และ ภูล็อก  ถู (Binh Gia, Phuoc Tuy  ชื่อจังหวัดหรือเมืองของเวียดนามถ้าอ่านจากภาษาอังกฤษมักจะผิดเพี้ยนนะครับ หากทราบว่าจริงๆอ่านยังไง จะมาแก้ไขให้อีกที) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า การรบแห่งบินห์ เกียร์ ( Battle of Binh Gia ) เป็นการทดสอบความสามารถของเวียดกงและความพร้อมของกองทัพเวียดนามใต้และหน่วย รบพิเศษของสหรัฐที่ประจำการอยู่บริเวณนั้น ด้วยการโจมตีอย่างหนักหน่วง ต่อทหารของเดียมซึ่งอยู่ป้องกันภายในเมืองเป็นจำนวนมาก

 



ในปี 1962 สหรัฐส่งนักบินและเฮลิคอปเตอร์แบบ ซีเอช 21 ฉายา
"กล้วยบิน" บินรับส่งทหารเวียดนามใต้ออกปฏิบัติการสร้างความ
ตระหนกแก่เวียดกงในระยะแรกแต่สักพักเวียดกงก็เริ่มปรับตัวได้

 

     นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงให้ฝ่ายอเมริกาที่เข้ามา แทรกแซงในเวียดนามใต้ทั้งกำลังพลและอาวุธ ได้เห็นศักยภาพของเวียดกง และต้องคิดให้หนักในการที่จะส่งทหารมารบอย่างเต็มตัว ด้วยการโจมตีเน้นไปที่พักของทหาร และที่ปรึกษาทางทหาร(advisers =แอ็ดไวเซอร์) ของสหรัฐฯ รวมทั้งจมเรือขนส่งเครื่อง บินของสหรัฐฯมายังเวียดนาม ซึ่งเทียบท่าอยู่ที่ไซง่อนเมืองหลวงของเวียดนามใต้ นั้นคือเรือ ยูเอสเอสการ์ดนั้นเอง

 

ในปี 1964 เรือ ยูเอสเอส การด์ USS Card) ถูกหน่วยก่อวินาศกรรมของเวียดกงฝ่าการป้องกันของสหรัฐ
วางระเบิดจนจมลง นับเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงในการก่อวินาศกรรมของเวียดกง

 

     จากรายงานในปี 1964 ของอเมริกันโดย หน่วยงานให้ความช่วยเหลือและบัญชาการทางทหารแก่เวียดนาม (American Military Assistance Command- Vietnam=อเมริกัน มิลิทารี่ แอ็ซซีซแท็นซ์ คอมมาน เวียดนาม) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อย่อว่า แม็กวี (MAC-V)ได้สรุปประมาณความแข็งแกร่ง ของกองกำลังผสมเวียดกงและเวียดนามเหนือในเวียดนามใต้ ว่ามีกำลังพลจำนวนกว่า 180,000 คน ส่วนฝ่ายเวียดนามใต้มีกำลังพล 300,000 คน และทหารสหรัฐฯทุกระดับชั้น ทั้งนักบินเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินโจมตี และเจ้าที่ด้านต่างๆ 16,000 คน  (โดยประมาณจากเอกสารหลายๆแหล่ง) ซึ่งตัวเลขของแต่ละฝ่ายก็เพิ่มมากขึ้นในปีถัดมา

 

โลโก้ของแม็ก-วี

 

 

ยุทธศาสตร์ของเวียดกงและเวียดนามเหนือ ( VC/NVA strategy )

รูปแบบการทำสงครามแบบยืดเยื้อ ( The Protracted War conflict model )

ประธานเหมา เจ๋อ ตง ผู้คิดรูปแบบการทำ
สงครามแบบยืดเยื้อ ซึ่งสามารถทำสงคราม
ได้ยาวนานกว่าฝ่ายอเมริกัน(คลิกรูปเพื่อขยาย)


     การทำสงครามของเวียดนามดำเนินไปตามรูปแบบสงครามของประธานเหมา (Maoist model=เหมารี โมเดล) ผู้ซึ่งเคยแสดงตัวอย่างในการได้รับชัยชนะในจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อกองทัพก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็กมาแล้ว เป็นการทำสงครามทั้งในทางการเมืองและทางทหารควบคู่กันไป ด้วยความพยายามอย่างอุตสาหะ หรือที่เรียกว่า เดา ทราน ซึ่งเป็นยุทธวิธีพื้นฐานที่กองทัพประชาชนเวียดนามใช้ในทุกยุทธการ และใช้ในทุกการต่อต้านข้าศึกด้วยความรักชาติของชาวเวียดนาม การยึดมั่นในความคิดของ มาร์กและเลนิน (Marxism-Lennism=มาร์กซิส เลนินนิสต์ )เป็นสำคัญ รวมทั้งการยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรค (Party =พาร์ตี้) ด้วย ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก ต่อการกู้ชาติของชาวเวียดนาม  สงครามเวียดนามจึงเป็นสงครามทุกแนวรบหรือทุกวิธีการ ทั้งในทางการทูต(diplomatic=ดิพโพลแมททิค),ทางความคิดหรือ อุดมการณ์(ideological=ไอเดียโลจิคอล),ทางระบอบ(organizational=ออร์กาไนเซ ชั่นแนล),ทางเศรษฐกิจ(economic=อีโคโนมิก) และทางทหาร เดา ทราน มีการแบ่งออกดังนี้

 

แผนภาพ เดา ทราน ดูคำอธิบายด้านล่างครับ

 

เดา ทราน ด้านการเมือง 3 ขั้น(Political dau tranh: 3 elements)

ดาน วาน– ปฏิบัติในหมู่ประชาชนของคุณ (Dan Van- Action among your people)

ชาวเวียดนามเหนือเข้าร่วมการส่งยุทธปัจจัยบนเส้นทางสาย โฮจิมินห์เป็นจำนวนมาก


     เป็นการเกณฑ์คนและระดมพล ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อหรือสร้างมวลชนสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือในระบอบ และเข้าร่วมในหน่วยต่อสู้เป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่าง เช่น การสอนอุดมการณ์สังคมนิยมในหมู่ประชาชนและทหาร ในเวียดนามเหนือให้ซึมซับเข้าไปอยู่ในความคิด

 

บินห์ วาน– ปฏิบัติในหมู่กองทัพข้าศึกของคุณ (Binh Van- Action among enemy military)

       

คนหนุ่มในสหรัฐฯต่างไม่ยอมไปรายงานตัวเมื่อได้รับหมาย เรียกให้ไปรบในเวียดนาม
และพากันฉีกหมายเรียกทิ้ง คนซ้ายของภาพคือ จอนห์ เคอรี่ ซึ่งเคยไปรบในเวียดนาม
พอกลับมาสหรัฐฯก็เข้าร่วมต่อต้านสงคราม และนำมาเป็นเรื่องหาเสียงชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แข่งกับนาย จอร์ซ ดับเบิ้ลยู บุช


     ล้มล้างการปกครอง (Subversion=ซับเวอร์ชั่น),ล้มล้างการนับถือศาสนา (proselytizing=พรอสลีไทซิ่ง) และโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda=พรอบพาเกนด้า) เพื่อเป็นการยุแหย่ให้ทหารของข้าศึก หนีทัพ(deserters=ดีเซอเตอร์) หรือขวัญกำลังใจในการรบตกต่ำ ยกตัวอย่าง เช่น ทหารจำนวนมากในกองทัพเวียดนามใต้หนีทัพ และชาวเวียดนามใต้หลบเลี่ยงหมายเรียกเกณฑ์ทหาร (draft evaders =ดาร์ฟ อีวาเดอร์)

 

ดิก วาน ปฏิบัติในหมู่ประชาชนข้าศึกของคุณ ( Dich Van- Action among enemy’s people)

ประชาชนสหรัฐประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนาม นับเป็นความสำเร็จของ ดิก วาน


     กระทำด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้พลเมืองของศัตรู เกิดความไม่พอใจ (discontent=ดิสคอนเทน),เกิดลัทธิยอมแพ้(defeatism=ดีฟีททิมส์), เกิดความไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน (dissent=ดิสเซนท์) และเกิดความไม่ซื่อสัตย ์(disloyalty=ดิสลอยยัลตี้) และสร้างกลุ่มแกนนำให้พลเมืองส่วนใหญ่ เห็นด้วยในความคิดร้ายต่อรัฐบาลฝ่ายข้าศึก ยกตัวอย่าง เช่น การจัดทำสื่อต่างๆเข้าไปในหมู่ทหารเวียดนามใต้และอเมริกัน รวมทั้งการแฝงตัวเข้าไปเป็นอาจารย์ สอนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่างๆในเมือง

 

เดา ทราน ด้านการทหาร 3 ระยะ (Military dau tranh: the 3-phases)


     ยุทธศาสตร์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั้น จะมุ่งเน้นไปที่การทำสงครามยืดเยื้อเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม “รูปแบบการทำสงครามปฏิวัติของประธานฯเหมาในจีนแผ่นดินใหญ่” (Revolutionary Warfare model of Mao in China=รีโวลูชั่นนารี่ วอร์แฟร์ โมเดล ออฟ เหมา อิน ไชน่า) ซึ่งการทหารจะกระทำควบคู่ไปกับการเมือง โดยจะใช้กองกำลังทำสงครามในรูปแบบกองโจร เช่น การกบดานอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อต่อประชาชนในชนบทให้มาเป็นแนวร่วม และทำการก่อการร้าย เดา ทราน 3 ระยะประกอบไปด้วย

 

ระยะแรก เตรียมความพร้อมรวบรวมกำลังพลและโฆษณาชวนเชื่อ (Preparation, organization and propaganda phase)

     

ตามหมู่บ้านในเวียดนามใต้ ได้มีการเปิดโรงเรียนสอนให้เด็กๆเรียนรู้
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และปลูกฝังอุดมการณ์รวมชาติให้ตั้งแต่ยังเล็ก


     สร้างเซลล์ (cells) เซลล์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนะครับ แต่หมายถึงหน่วยลับของคอมมิวนิสต์ที่จะไปฝังตัวอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวฯ แล้วก็หาคนมาเป็นพวก หรือการจับเกณฑ์เอา (recruiting=รีครูตติ้ง) คนเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่นั้นเอง ขั้นต่อไปคือทำการแทรกซึม(infiltrating organizations=อินฟีลเทรทติ้ง ออกาไนเซชั่น) สมาชิกเหล่านี้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ของฝ่ายข้าศึก เมื่อมีจำนวนมากพอก็ทำการ สร้างกลุ่มแนวหน้า (Creating front-groups=ครีเอทติ้ง ฟอนต์ กรุ๊ป) เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ (spreading propaganda=ซพเร็ดดิ้ง พอบพาเก็นด้า) เกี่ยวกับลัทธิ เมื่อมีสมาชิกมากเข้าๆ ก็เริ่มทำการสะสมอาวุธไว้ (stockpiling weapons=สต็อกไพล์ เวฟพอท)

 

ระยะที่สอง ทำสงครามกองโจรและก่อการร้าย (Guerrilla warfare, terrorism phase)

นักรบหญิงของเวียดกงกำลังซุ่มโจมตี ในมือถือปืนคาร์ไบน์
เอ็ม 1 ซึ่งยึดมาจากทหารเวียดนามใต้ พวกเธอรบเคียงบ่า
เคียงไหล่ทหารชายได้อย่างเข้มแข็ง

     ลักพาตัวเด็ก (kidnappings=คิดแน็พปิ้ง) เพื่อนำมาเป็นแนวร่วม ,ใช้ผู้ก่อการร้าย(terrorist=เทอโรริส) โจมตีก่อวินาศกรรม (sabotage=ซาโบนเทจ) ,ใช้กองโจร (guerrilla=กอริวเลอ) ทำการปล้นหรือโจมตีโดยไม่ให้ทันตั้งตัว (raid=เรด) ,ซุ่มโจมตี (ambushes=แอมบุซชีน) และขยายอาณาเขตของฝ่ายกบฏเข้าไปในเขตของฝ่ายรัฐบาลเรื่อยๆ

 

 ระยะที่สาม ทำการบุกตามแบบด้วยกองกำลังขนาดใหญ่และหน่วยยานยนต์ (General offensive - conventional war phase including big unit and mobile warfare)

 การรุกใหญ่ของเวียดกงและเวียดนามเหนือในช่วงเทศกาลตรุษญวน ปี 1968 
เป็นการดำเนินการในขั้นตอนนี้ 
ในภาพทหารเวียดนามใต้จับกุมเวียดกงพร้อมอาวุธสงครามที่นำมาซุกซ่อนไว้ใน
เมืองก่อนการบุก


     เปลี่ยนรูปแบบทหารจากกองโจร มาเป็นทหารรบตามแบบ เข้ายึดจุดสำคัญในทางภูมิศาสตร์(Key geographical=คีย์ จีโอกราฟฟิคคอล)  และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการเมือง

     ในขั้นตอนสุดท้ายที่มีความสำคัญ เรียกว่า คอย ไน (Khoi Nghia) หรือ การก่อจลาจลทั่วไป (General Uprising=เจเนรัล อัฟไรซิ่ง) ด้วยคนของฝ่ายปลดแอก ทำให้ประชาชนและกองกำลังข้าศึกเกิดความระส่ำระส่ายทั่วประเทศ ทำให้เป็นการง่ายต่อการปฏิบัติการของฝ่ายปฏิวัติ ซึ่งจะกระทำได้ในระยะเวลาอันสั้น เมื่อสิ้นสัปดาห์ด้วยกองโจรและกองกำลังยานเกราะ ซึ่งหัวหน้าของฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าใจในจุดนี้อย่างแจ่มชัด จึงนำไปใช้เป็นวิธีการในการรุกใหญ่ในช่วงเทศกาลตรุษญวน (Tet offensive=เท็ต ออฟเฟนซีฟ)หรือ เต็ต (ฝรั่งออกเสียงว่า เท็ต) การรุกกระทำในช่วงที่ทหารเวียดนามใต้,สหรัฐฯ ลางานหรือได้หยุดพักผ่อน และประชาชนเวียดนามใต้ กำลังไหว้ เจ้าไหว้บรรพบุรุษกับเฉลิมฉลองกันอยู่ การรุกเกือบประสบความสำเร็จ แต่ฝ่ายสหรัฐฯและเวียดนามใต้สามารถยันฝ่ายเวียดนามเหนือและเวียดกงไว้ได้ และเป็นฝ่ายรุกไล่ จนฝ่ายคอมมิวฯต้องถอยกลับไปอยู่ตามป่าเขาในชนบทเหมือนเดิม

 

 

ความขัดแย้งและเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ ของกองบัญชาการสูงสุดฝ่ายคอมมิวนิตส์ (Strategy disputes and shifts in Communist high command)



"ใต้ก่อน" ปะทะ "เหนือก่อน" ("Southern-firsters" versus "Northern-firsters")

        

         นายพล โว เวียน ยับ
 ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเหนือ
        คลิกที่รูปเพือขยายภาพ

     ยุทธศาสตร์การทำสงครามของฝ่ายเวียดนามนั้น ได้ถูกกำหนดจากนายทหารระดับสูงในฮานอย ยุทธศาสตร์ถูกกำหนดขึ้นมาสองรูปแบบ แบบแรกเรียกว่า "เหนือก่อน" (Northern-firsters= นอร์ทเทริน์ เฟิร์ซเทอร์) กำหนดขึ้นโดยนายพลผู้โด่งดังของเวียดนามเหนือ นั้นคือท่านนายพล Vo Nguyen Giap = โว เวียน ยับ (วิกิไทยบอก) หรือ หวอเหวียนย้าป,โง เงียน เกี้ยป (หนังสือไทยบอก) ร่วมกับอีกท่านหนึ่ง (ชื่ออ่านยากอีกแล้วแปลจากอังกฤษอาจจะไม่ถูกก็ได้ ไว้ผมจะไปหาจากหนังสือไทยมาพิมพ์ให้ถูกอีกทีครับ)คือ ตรุง ซิน (Truong Chinh) ซึ่งได้ถูกนายทหารระดับสูงหลายๆท่าน โต้แย้งว่าเวียดนามเหนือยังไม่ควรจะส่งทหารเข้าไปยุ่งกับการรบในเวียดนามใต้ อย่างเต็มตัว (เดี๋ยวจะโดนสหรัฐฯยกโขยงบุกแบบเกาหลีเหนือโดนมาแล้ว) จนกว่าประเทศจะมีความแบ็งแกร่งทั้งในด้านระบอบสังคมนิยมและกำลังรบเสียก่อน แล้วจะทำอะไรค่อยว่ากันต่อทีหลัง พูดง่ายๆก็คือปล่อยให้พวกเวียดกงทำการปฏิวัติปลดแอกเวียดนามใต้กันเอาเอง ยุทธศาสตร์แบบนี้เรียกว่า "ใต้ก่อน" (Southern-firsters=เซาว์เทิร์น เฟิร์ทเทอร์) กำหนดขึ้นโดย เล เดือน (Le Duan ) และ เวียน(หรือเหงียน) ไช ทราน (Nguyen Chi Thanh ) โดยวิธีนี้เป็นการ "ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม" หรือการรุกเพื่อให้ได้ชัยชนะในเวลาอันสั้นและรวดเร็ว กว่าทำไวไวควิก(พิมพ์ไปหิวไป) โดยอาศัยช่วงที่รัฐบาลของเดียมยังมีการปกครองที่ไม่มั่นคง และกองทัพเวียดนามใต้ยังไม่แข็งแกร่งหรืออ่อนแอ ใช้เวียดกงเข้าโจมตีกองทัพรัฐบาลและยึดการปกครองเวียดนามใต้ เรียกว่าเป็นการรบแบบดู

Credit: http://atcloud.com/stories/85242
2 ก.ค. 53 เวลา 22:05 9,402 2 68
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...