การ ระเบิดที่ทังกัสก้า (Tunguska explosion)
หรือ " Tunguska Event "
ในภาษารัสเซียเรียกว่า " ตุนกุสสกี้ ฟีโนเมน " หรือปรากฏการณ์ ทังกัสก้า
ผ่าน ไป 100 ปี เหตุการณ์อุกกาบาตถล่มป่า “ทังกัสกา” ยังคงเป็นปริศนา และมีคำถามที่คาใจว่าวัตถุที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรงนี้คืออะไร จานบินเหรอ อุกกาบาตจากนอกโลกเหรอ หรือจะเป็นฝีมือมนุษย์ ปรากฏการณ์นี้ยังหาคำตอบไม่ได้ในปัจจุบัน
การระเบิดครั้งนี้เกิดขึ้นที่แม่น้ำพอดกาเมนนายา ทังกัสกา (บางที่เรียกโปดคาเมนนายา ทังกัสก้า)} (Podkamennaya Tunguska River) แคว้นคราสนายาร์ส์ค ในไซบีเรียดินแดนในครอบครองที่หนาวเหน็บทุรกันดารอันขึ้นชื่อของรัประเทศรัส เซีย วันนั้นเป็นวันที่ 30 มิ.ย.1908(ในยุคนั้น ถือกันว่าเป็นวันที่ 17 มิถุนายน เนื่องจากรัสเซียยุคนั้น ใช้ปฏิทินแบบเก่า ซึ่งช้ากว่าปฏิทินแบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันหลายวัน)
เวลาประมาณ 7 โมง 14 นาที ชาวบ้านที่อยู่ที่นั้นเห็นลูกไฟดวงมหึมารูปร่างลักษณะเป็นรูปกรวยหรือกระบอก กลม แล่นมาด้วยความเร็วสูงประมาณ 42 กิโลเมตรต่อ วินาที มีหางเป็นลำแสงยาว ส่งเสียงดังกึกก้อง พุ่งผ่านท้องฟ้าทิ้งควันดำเป็นทาง
วัตถุดัง กล่าวแล่นมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วจู่ๆก็เปลี่ยนทิศอย่างกระทันหัน มุ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือแทน แต่แรกบินอยู่บนความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร แล้วเปลี่ยนระดับความสูงลงมาอยู่ที่ประมาณ 10 กิโลเมตร และได้ชะลอความเร็วลงเหลือประมาณ 1 กิโลเมตรต่อ วินาที ชาวบ้านบางคนรู้สึกร้อนวูบที่มากระทบผิวกายด้วย เมื่อลูกไฟดวงนั้นเข้าใกล้พื้นโลก มันก็ระเบิดออกเหนือป่าทึบ ส่งเสียงดังสะเทือนไปไหลเกือบครึ่งค่อนโลกถึงขนาดบางคนแทบจะล้มทั้งยืนเลยที เดียว ไฟป่าลุกขึ้นติดเป็นบริเวณกว้าง ส่งควันหนารูปเห็ดขึ้นไปบนอวกาศนานนับเดือน ดูเหมือนผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่ใช้กำจัดที่ไซบีเรียเท่านั้น หากเมืองอื่นๆ ของรัสเซียที่อยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์ก็เกิดพายุลมกระโชกและเสียงดังสนั่น กึกก้อง ผู้โดยสารรถไฟทรานส์ไซบีเรียรู้สึกได้ว่าตัวรถไฟโยนคลอนเหมือนถูกผลัก สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่อยู่ไกลลิบลัยถึงอเมริกาและ อินโดนีเซียสามารถจับคลื่นสะท้อนขนาดมหึมาที่แล่นออกไปทั้งโลก อีกทั้งยังทำให้เกิดความรุนแรงเทียบเท่าแผ่นดินไหว 5 ริกเตอร์ ซึ่งรับรู้ได้ไกลถึงประเทศอังกฤษเลยทีเดียว และในคืนนั้นท้องฟ้าก็ดูสว่างไสวเป็นพิเศษขนาดที่นักกอฟล์ บางคนสามารถเล่นหวดลูกได้จนถึงเที่ยงคืนจนไม่กลับบ้าน
ที่สต็อกโฮล์ม ช่างภาพสามารถถ่ายรูปได้ในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องใช้แฟลช ลูกไฟดังกล่าว เผาผลาญต้นไม้เป็นล้านๆต้น กินพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร จากเหนือไปใต้ และอีกกว่า 40 กิโลเมตร จากทิศตะวันออกไปตะวันตก จากสภาพความเสียหายดังกล่าว นักวิชาการคำนวณเอาไว้ว่า วัตถุดังกล่าวมีมวลประมาณ 3-10 ล้านตัน
ด้วยความรุนแรงที่ สเปซดอตคอมระบุว่า เทียบเท่าระเบิดทีเอ็นที 10-20 เมกะตัน เรียกได้ว่ารุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นกว่า 1,000 เท่าเลยทีเดียว และสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่โดยรอบ 2,150 ตาราง กิโลเมตร แรงระเบิดเผาผลาญต้นไม้ในป่าแถบไซบีเรียไป 80 ล้านต้น
ถึง แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก แต่สถานการณ์การเมืองโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 การปฏิวัติ รัสเซียไปจนถึงสงครามกลางเมืองต่างๆ ก็ได้เบียดบังความสนใจชาวโลกอีกทั้งป่าทังกัสก้ามีอาณาบริเวณ 750,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นป่าทึบมาก ด้วยเหตุนี้ทางรัฐบาลโซเวียตรัสเซีย(ในสมัยนั้น)เข้าใจว่า เป็นเพียงปรากฏการณ์อุกกาบาตขนาดใหญ่ตกธรรมดา จึงไม่ได้ส่งทีมสำรวจเข้าไปแต่อย่างใด
จนกระทั้ง 20 ปีต่อมา จึงได้เริ่มมีการส่งทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าไปสำรวจ โดยมีศาสตราจารย์ลีโอนิด กูลิก (Leonid Kulik) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแร่ประจำสถาบันวิทยาศาสตร์โซเวียตเป็น หัวหน้าชุดสำรวจ พวกเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ ไล่ไปตั้งแต่ ทุ่งหิมะอันหนาวเหน็บ ธารน้ำแข็งอันเชี่ยวกราก รวมไปถึงการเดินทางที่ลำบากยากเย็น ท้ายที่สุด พวกเขาก็บรรลุถึงจุดหมาย เมื่อเดือนเมษายน ปี 1927 ภาพที่พบ ทำให้คูลิกและลูกทีมตะลึงงัน แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองกับสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ภาพของต้นไม้ที่ถูกเผาเกรียมจนเป็นถ่าน บ้างก็ยืนต้นตรงบ้างก็ล้มระเนระนาดเป็นทางยาวไกลสุดลูกหูลูกตา ซากไม้ล้มไปทางเดียวกันโดยชี้ปลายออกจากศูนย์กลางที่ประมาณ 25 กิโลเมตรทางเหนือแม่น้ำทังกัสนา ความเสียหายประเมินได้นับล้านๆต้น แต่เรื่องที่แปลกก็คือ
อุ กาบาตรที่ว่าหายไปไหน??
ณ ที่เกิดเหตุไม่เห็นมีอุกกาบาตขนาดยักษ์ปรากฏอยู่ตามที่คาดกันไว้ มันหายไปไหน ทั้งที่ขนาดมันต้องไม่ใช่เล็กๆเป็นแน่ ดังนั้นทีมสำรวจจึงได้พยายามขุดหาร่องรอยของอุกกาบาตอย่างสุดชีวิต
แต่ท้ายที่สุดก็ไม่พบ......ณ จุดศูนย์กลางของการระเบิดนั้น ไม่มีแม้แต่อุกกาบาตก้อนจิ๋ว หรือ แร่ อะไรที่คาดว่าจะมาจากอวกาศแต่อย่างใด กูลิกถึงกับ งง เขากลับมา ที่นั้น 3 ครั้งในช่วง 12 ปีต่อมาเพื่อหาร่องรอยของอุกกาบาตร แต่ผลสุดท้ายก็ล้มเหลว
อีก 10 ปี ต่อมา ก็มีการสำรวจอีก 3 รอบ และ ก็ไม่พบหลุมอุกาบาตแต่อย่างใด ส่วนการสำรวจในยุค 50 และ 60 ก็พบสะเก็ดธาตุนิเกิ้ล และ อิริเดียม อยู่แถบนี้มาก โดยธาตุ 2 ตัวนี้ เรามักจะพบในอุกาบาต ซึ่งเรื่องนี้ชี้ว่า สะเก็ดธาตุที่พบ มาจากอวกาศ
รายงานของทังกัสกากลายเป็นที่แพร่หลายของนักวิทยาศาสตร์และนักดารา ศาตร์ ก่อให้เกิดการตื่นตัวค้นหาสาเหตุมาอธิบาย ปรากฏการณ์ในครั้งนี้ สรุปออกมาแล้วรวมถึง 77 ทฤษฎี โดยที่เด่นๆ มีดังต่อไปนี้
อุกกาบาตขนาดเล็ก เมื่อ ทศวรรษก่อน นักวิจัยหลายคนคาดเดาว่า อุกกาบาตที่พุ่งชนโลกนั้นน่าจะมีความกว้างราวๆ 30 เมตร และมีมวล 560,000 ตัน แต่เมื่อจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ล่าสุดบ่งชี้ว่า อุกกาบาตที่เป็นสาเหตุของความเสียหายใหญ่โตนี้มีขนาดเล็กกว่าที่เคยคาดไว้ มาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร ส่วนที่มันมีแรงระเบิดมหาศาลก็เพราะเกิดก๊าซที่ร้อนยิ่งยวด และมีความเร็วเหนือเสียง ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงกว่าที่คิด
ระเบิดใต้แผ่นดิน มีบางทฤษฎีว่า การระเบิดในทุ่งทังกัสกานั้นน่าจะเกิดขึ้นจากใต้แผ่นดินนี่เอง โดยโวล์ฟกัง คุนด์ท (Wolfgang Kundt) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จาก มหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) ในเยอรมนี และนักวิทยาศาสตร์บางส่วนแสดงความเห็นว่า เปลวไฟซึ่งสว่างถึงขั้นที่ชาวลอนดอน สามารถอ่านหนังสือในย่ามค่ำคืนได้อย่างสบายๆ นอกจากนั้นนั้นก็มีหลักฐานจากลักษณะของต้นไม้และสารเคมีที่ผิดปกติ ซึ่งน่าจะเกิดจากการปะทุของก๊าซธรรมชาติในคิมเบอร์ไลต์ (kimberlite) หินภูเขาไฟซึ่งรู้จักกันดีว่าบางครั้งเราอาจพบเพชรในหิน ชนิดนี้ ซึ่งของเหลวนี้อยู่ใต้โลกลึกลงไป 3,000 กิโลเมตร ก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักเก็บไว้ในรูปของเหลว และเมื่อสัมผัสอากาศก็กลายเป็นก๊าซที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้นเป็นพันเท่า แล้วเกิดระเบิดครั้งใหญ่ขึ้น
เป็นส่วนหนึ่งของดาวหาง อีกทฤษฎีที่น่าสนใจ คือ อุกกาบาตที่ถล่มทังกัสกาอาจเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเองเค (Encke) ซึ่งสายธารฝุ่นของดาวหางดวงนี้ ทำให้เกิดฝนดาวตกเบตาทอริดส์ (Beta Taurids) ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ค.ของทุกปี และเป็นช่วงเดือนใกล้เคียงกับที่เหตุการณ์ทังกัสกา ซึ่งมันอาจหลงเข้ามาในระบบสุริยจักรวาลและเข้าสู่โลก โดยส่วนประกอบของมันจะเป็นพวกแก๊สและฝุ่นรวมตัวกันเป็นมวลมหึมาเมื่อถูกแรง เสียดทานของบรรยากาศจะระเบิดแตกกลางฟ้าจนเป็นจุลมหาจุณจนเป็นเหตุที่คูลิ กไม่พบอุกกาบาตหรือหลุมอุกกาบาตเลย
อุกกาบาต นั้นฝังลึกบนพื้นดิน ทฤษฏีนี้เป็นของ จูเซปเป ลองโก (Giuseppe Longo) และคณะจากมหาวิทยาลัยโบโลญญา (University of Bologna) อิตาลี พวกเขาสันนิษฐานจากทะเลสาบเชกโก (Lake Cheko) ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ทังกัสกา อีก ทั้งตำแหน่งของทะเลสาบยังอยู่กึ่งกลางทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางที่อุกกาบาตลึกลับตกสู่โลก นอกจากนั้นก็ยังมีสัญญาณเรดาร์นั้นแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง อยู่ก้นทะเลสาบ โดยฝังลึกลงไป 10 เมตร
ฝีมือมนุษย์(ระเบิดปรมาณู) Aleksander Kazansev เป็นนักวิทยา ศาสตร์รัสเซียคนแรก ที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์มองเห็นความเกี่ยวพัน ระหว่างระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า และภัยพิบัติปริศนาที่ทังกัสก้า หลักฐานที่ยืนยันว่า การระเบิดที่ทังกัสก้า เป็นผลจากระเบิดปรมาณูนั้น เนื่องจากได้มีการสำรวจในบริเวณศูนย์กลางการระเบิด พบว่าต้นไม้สดๆได้ถูกเผาไหม้จนเป็นเถ้าถ่าน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความร้อนราว 5000 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น ไม่เช่นนั้นต้นไม้ที่อยู่ไกลออกไปอีก 15-18 กิโลเมตร จะไม่สามารถลุกเป็นไฟได้อย่างเด็ดขาด ลูกอุกกาบาตที่ไหนกันครับ จะมีความร้อนได้ขนาดนั้น นอกจากนี้สภาพต้นไม้ที่ทุก สิ่งทุกอย่างเอนระเนระนาดเพราะแรงระเบิด คลื่นความร้อน และพิษสงของกัมมัตภาพรังสี เพลิงและควันรูปดอกเห็ดที่เกิดจากการระเบิด ฝนสีดำที่ตกลงมาหลังการระเบิด สิ่งที่เกิดขึ้นในฮิโรชิม่าเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน
ฝีมือ มนุษย์(ยานอวกาศ) นอกจากนี้ นักออกแบบเครื่องบินชาวรัสเซีย ชื่อ แอล.ยู. โมนอตสคอฟ ได้เสนอความคิดเห็นว่า แรงระเบิดดังกล่าวเป็นยานอวกาศที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานปรมาณู ซึ่งมาตกลงที่ป่าทังกัสก้า เนื่องจากมีผู้พบเห็นยานดังกล่าวชะลอความเร็วเป็น 0.7-1 กิโลเมตรต่อ วินาที ซึ่งนับว่าเป็นความเร็วปกติของเครื่องบินเจ็ต เพราะถ้าหากเป็นดาวกตกแล้ว ความเร็วปกติของมันก็น่าจะอยู่ที่ 20-60 กิโลเมตรต่อวินาที
แบล็คโฮลจิ๋ว นักวิทยาศาสตร์บางท่านเสนอว่า การระเบิดที่ทังกัสก้า อาจจะมาจากแบล็คโฮลขนาดจิ๋ว ที่เราเรียกกันว่า mini-black hole ที่บังเอิญโคจรผ่านโลก แล้วก็พุ่งเข้ามาชนแบบพอดิบพอดี อันว่าพิษสงของแบล็คโฮลนั้นเราก็รู้ๆกันอยู่ การพุ่งชนแบบนี้ทำให้เกิดแรงระเบิดขึ้น แบล็คโฮลเจ้ากรรมกะทะลุออกไปอีกซีกหนึ่งของโลก หรือไม่ก็ผ่าน Hyper Space แบบที่เราเรียกกันว่า warp หาย แว่บไปเลย ถึงได้ไม่มีหลักฐานเหลือให้คูลิกเห็น
ล่าสุด Christopher Chyba แห่งองค์การ NASA ได้ลองทำคอมพิวเตอร์ซิมูเลเตอร์ จำลองสถานการณ์การระเบิดที่ทังกัสก้า โดยอาศัยพื้นฐานและทฤษฎีที่ว่า ป่าทังกัสก้าถูกชนด้วยดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็ก โดยให้การระเบิดอยู่เหนือพื้นดินไป วัตถุนั้นจำลองขนาดไว้ราวๆร้อยฟุต ซึ่งผลที่ออกมาได้แรงระเบิดใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริงมาก แถมการระเบิดบนอากาศแบบนั้น ยังไม่มีเศษหรือหลักฐานเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยหลงเหลืออีกด้วย การทดลองของ Christopher Chyba จึงดูน่าเชื่อถือ และเป็นแนวคิดใหม่ที่มาแรงอีกแนวคิดหนึ่ง ทว่า…….อย่าง ไรก็ตามเมื่อขาดวัตถุพยานที่แน่ชัด นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ไม่ยอมรับสมมุติฐานทั้งหลายนี้มากนัก จนเป็นเหตุให้หลายๆ คนตั้งทฤษฏีที่พันลึกยิ่งขึ้น เช่น บ้างก็ว่ามาจากจานบินลึกลับ ปฏิสสาร วันสิ้นโลกและหลุมดำ แต่ก็ไม่มีทฤษฎีใดที่มีหลักฐานชี้ชัด ซึ่งเมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จากทั่วรัสเซียก็ได้รวมตัวกันเพื่อถกเถียงเรื่องนี้ในการ ประชุมว่าด้วยเรื่องทังกัสกาโดยเฉพาะ และมีการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากกว่าเทคนิคดั้งเดิม เพื่อหาสาเหตุที่ทำลายพื้นที่ไซบีเรียอันห่างไกล แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ออกมา
ผู้แต่ง : Cammy
http://en.wikipedia.org/wiki/Tunguska_event