ต่อจากเรื่องเกราะในอินเดีย ในตอนนี้จะขอกล่าวถึงดินแดนทางตอนเหนือของอินเดียขึ้นไป คือบริเวณเทือกเขาหิมาลัยที่เราเรียกกันว่า"หลังคาโลก" ซึ่งในพื้นที่สูงเสียดฟ้าแห่งนี้ คือดินแดนที่มีวัฒนธรรมที่งดงามในความขรึมขลัง ได้แก่ ทิเบต ภูฏาณ สิกขิม และเนปาล
รูปแบบของชุดเกราะนักรบในดินแดนหิมาลัยมีเค้าอิทธิพลจาก เกราะแบบอิสลามผสมกับเกราะแบบจีน-มองโกลอยู่มาก โดยมักจะเป็นเกราะแบบเกราะโซ่เหล็กถัก(Chainmail)เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ
แต่ จะพบได้ว่าชุดเกราะบางแบบก็มีลักษณะเป็นเกราะแบบLamellar
เกราะ ทิเบต
การ แต่งเครื่องยศของนักรบทิเบตในงานพระราชพิธีขององค์ทะไล ลามะ
เกราะทิเบตอีกแบบหนึ่ง
นัก รบภูฏาณแบกโล่กลม(สังเกตว่าจะมีรูปร่างคล้ายโล่กลมแบบอินเดีย)
สังเกต ดีๆจะเห็นสัญลักษณ์"โอม"ปรากฏอยู่ด้วย
เสื้อเกราะที่ยังเหลือใน ปัจจุบัน
มา ดูหมวกศึกกันบ้าง
หมวกใบนี้ลงยันต์อักขระ ไว้ด้วย
หมวกใบนี้คล้ายหมวกศึกของ นักรบมองโกล
แต่ เท่าที่เห็น หมวกนักรบแถบนี้มักจะเป็นลักษณะนี้เสียมาก
โดย ปกติ หมวกแบบนี้จะมีกระบังข้าง ทำจากหนัง,ผ้า
ปัจจุบันจะยังเห็นได้ใน งานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
ในภาพเป็นบรรดาราชองครักษ์ในพระราชพิธี ราชาภิเษกกษัตริย์จิกมี แห่งภูฏาณครับ
สนับ ขาทำจากหนังสัตว์ และมีชิ้นส่วนโลหะตกแต่งเพื่อความสวยงาม+ช่วยป้องกันคมอาวุธ
ทหาร ม้าหนัก
จาก ภาพบนๆที่ผ่านมา เห็นอะไรไหมครับ
แผ่นโล่กลมที่สวมทับเกราะข่ายโซ่ ดูคล้ายเกราะแบบ Chahar Ainaเหลือเกิน
ซึ่งมักจะสวมใส่คู่ไปกับ แถบเกราะโลหะแบบนี้
จากหลายรูปข้างต้น จะเห็นได้ว่ารูปแบบของเกราะทางทิเบต-ภูฏาณนั้น จะค่อนข้างใกล้เคียงกับเกราะแบบอิสลาม(เติร์ก,เปอร์เซีย)เช่น เกราะโซ่เหล็กถัก และแผ่นเกราะส่วนป้องกันลำตัว(Chahar Aina) แต่ขณะเดียวกันก็มีการดัดแปลงให้เป็นรูปแบบเอกลักษณ์ของตนเอง
-----------------------------------------------------------------------
credit:
http://www.metmuseum.org
http://www.tibetcollectibles.com
http://tibet.prm.ox.ac.uk
http://tibettalk.wordpress.com
หนังสือ Warriors of the Himalayas: Rediscovering the Arms and Armor of Tibet