รูปแบบของ"เกราะ"ในแต่ละชนชาติ(๓)----The Indo-Iranian Armour

คราวก่อน เราได้กล่าวถึงรูปแบบเกราะของชาวอาหรับ เติร์ก และเปอร์เซียไปแล้ว ซึ่งคราวนี้ เราจะขยับมาอีกนิดแถวดินแดนที่เรียกกันว่า"ชมพูทวีป"อันได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาณ บังคลาเทศ และศรีลังกานั่นเอง

เดิมที ภูมิภาคนี้ ก็เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชนผิวดำที่เรียกว่า"ฑราวิท"(Dravidian)ซึ่งชนกลุ่ม นี้เอง ที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ต้นธารแห่งอารยธรรมอินเดีย(ราว ๒,๕๐๐-๑,๘๐๐ ปีก่อนค.ศ.)ก่อนที่จะถูกคนเร่ร่อนจากทุ่งหญ้ารอบทะเลสาปแคสเปียนที่เรียกตัว เองว่า"อารยัน"เข้ามารุกไล่่ในภายหลัง

ไม่ปรากฏหลักฐานว่ารูปแบบของ เกราะนักรบชาวฑราวิทในสมัยโมเฮนโจ-ดาโรเป็นอย่างไร แต่หลังจากนั้นมาในสมัยพระเวท(ราว ๑,๐๐๐ปีก่อนค.ศ.) ชาวอารยันครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของอินเดีย มีการรบพุ่งกันระหว่างกลุ่มเผ่าเนืองๆ มีสงครามระหว่างเผ่าครั้งหนึ่งที่เป็นสงครามครั้งใหญ่ ซึ่งได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นมหากาพย์"มหาภารตะยุทธ"

การ แต่งกายของนักรบ ขุนศึกสมัยพระเวท



ตั้งแต่ สมัยพระเวทจนถึงสมัยพุทธกาล อินเดียยังอยู่ในช่วงยุคโลหะ ก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยนั้นคงจะมีสงครามระหว่างแคว้นประปราย แต่เนื่องจากาดการบันทึกอย่างเป็นระบบ จึงเหลือหลักฐานมาถึงทุกวันนี้น้อยมาก

ต่อมา ในดินแดนมาเซโดเนีย ได้มีบุรุษผู้หนึ่งทำสงครามรวบรวมกรีกให้เป็นหนึ่ง และยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อครองครองดินแดนเหล่านั้น เขาคืออเล็กซานเดอร์มหาราช

ทัพกรีกอันเกรียงไกรของพระเจ้าอเล็กซาน เดอร์มหาราชได้บุกตะลุยตีทัพแห่งจักรวรรดิเปอร์เซียที่เป็นมหาอำนาจในขณะ นั้นย่อยยับ และข้ามช่องเขาไคเบอร์มาถึงดินแดนภารตะ ที่ซึ่งทำให้นักรบหลังม้าชาวกรีกได้รู้จักกับสัตว์สงครามขนาดมหึมาที่เรียก ว่า"ช้างศึก"
(ภาพจากหนัง"Alexander" ซึ่งฉากนี้ถ่ายทำในบ้านเรานี่เองครับ)



สุด ท้าย ทัพกรีกที่อ่อนล้าจากสงครามได้ตัดสินใจกลับบ้าน แต่ก็ยังมีแม่ทัพกรีก และทหารกรีกจำนวนหนึ่งคอยปกครองเมืองต่างๆเหล่านี้ จนต่อมา จันทรคุปต์ โมริยะ ได้ซ่องสุมกำลังคนขับไล่กรีกออกจากอินเดีย และสถาปนาอาณาจักรมคธขึ้น

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสมัยที่อาณาจักรมคธแผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางด้วยแสนยานุภาพที่เข้ม แข็ง จนเมื่ิอหลังสงครามกับแคว้นกลิงคราษฎร์ พระองค์เกิดความรู้สึกสลดใจจากการเข่นฆ่าในสงคราม จึงเปลี่ยนแนวทางการสร้างอำนาจด้วยคมดาบ มาเป็นการสร้างบารมีด้วยเมตตาธรรมแทน
(ชอบจัง หนังเรื่องAshoka)

ราชวงศ์ โมริยะครองแผ่นดินมาจนถึง ๑๘๓ ปีก่อนค.ศ. ก็ถึงคราวล่มสลาย มีราชวงศ์ศุงคะขึ้นมามีอำนาจในอินเดียตอนเหนือ ณะที่ราชวงศ์อานธระมีอำนาจทางตอนใต้ ซึ่งต่อมาไม่นาน ก็เกิดมีการรุกรานจากเผ่าทางเอเชียกลางเข้ามาในอินเดีย ซึ่งมีทั้งพวกกรีกแบคเตรีย,ไซเธียนส์(ศกะ),ปาร์เธียน,กุษาณ มารุมกินโต๊ะอินเดียเป็นระลอกๆ ทำให้อินเดียแตกออกเป็นแคว้นน้อยใหญ่จำนวนมาก ซึ่งยุคนี้จัดเป็นยุคมืดของอินเดียเลยทีเดียว

กุษาณ



พวกปาร์เธียน


ไซ เธียนส์


จนราว ค.ศ.๓๐๐ จึงได้มีราชวงศ์คุปตะรวบรวมอินเดียอีกครั้ง จักรวรรดิคุปตะขยายตัวออกไปครอบคลุมถึงเนปาล และลังกา

สมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ ปราบราชวงศ์ศักกะ(ไซเธียนส์)ที่ปกครองทางเหนือได้ ทำให้จักรวรรดิเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น และพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ นี้เองที่เป็นองค์เดียวกับพระเจ้าวิกรมาทิตย์(นิทานเวตาล)



การ แต่งกายทหารม้าคุปตะ จากภาพวาดในถ้ำอชันตะ

หลัง หมดสมัยราชวงศ์คุปตะ ก็เป็นช่วงของราชวงศ์เมาขรี หรรษะ ปาละ เสนะ และราชวงศ์ใหญ่น้อยอื่นๆ ซึ่งตรงนี้ขออนุญาตข้ามไปนะครับ เพราะเรื่องมันยาวและชวนปวดหัว มากๆ.............................................

รวบรัดตัดข้ามมา ที่ราวคริสศตวรรษที่ ๑๐ถึง ๑๔ ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดิอิสลามรุ่งเรือง ได้มีกองทัพนักรบมุสลิมบุกอินเดียเป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นพวกอาหรับ เปอร์เซีย อัฟกัน เติร์ก มองโกล


ในที่สุด เหล่ามหาราชาในหลายแคว้นของอินเดียต้องยอมแพ้ให้กับผู้ปกครองชาวมุสลิมแห่ง ราชวงศ์โมกุล (คำว่าMogulนี้ มาจากMughalในภาษาเปอร์เซียแปลว่ามองโกล เพราะบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์เป็นชาวเติร์กมีเชื้อสายของเจงกิสข่าน)
ทำ ให้วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลต่ออินเดียในด้านต่างๆ
ชุดเกราะอินเดีย ในช่วงนี้ จึงมีรูปแบบที่คล้ายกับชุดเกราะเติร์กและเปอร์เซีย



helmet


chainmail


cuirasses[Chahar Aina]


Chahar Aina in India




และค่อยๆพัฒนาจนเป็นรูป แบบของตนเองในเวลาต่อมา



คุรุ หริ สิงห์ นาลวา หนึ่งในคุรุแห่งศาสนาสิกข์


Chilta Hazar Masha (เสื้อเกราะ Brigandine สมัยราชวงศ์โมกุล)




อีก แบบหนึ่ง


--------------------------------------------------------------------------------
credit:
http://www.irontowerstudio.com
http://www.gnwtc.com
เว็บ บล็อกของน้องอัศวินอโยธยา ณ เด็กดีดอทคอม

Credit: http://atcloud.com/stories/85234
2 ก.ค. 53 เวลา 21:25 4,903 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...