คลองสุเอซ คลองของโลกที่ไม่ได้เป็นแค่คลอง

คลองสุเอซ คลองของโลกที่ไม่ได้เป็นแค่คลอง

ถอดมาจากสารคดีทางยูบีซี บางชื่ออาจสะกดผิดได้ต้องขออภัยด้วยนะครับ

คลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ากับทะเลแดง ผ่านช่องแคบสุเอซ
ในอียิปต์ตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 101 ไมล์ เดิมทีมันถูกขุดขึ้นด้วยมือ
ปัจจุบันมันสามารถรองรับเรือยาว 500 ม. กว้าง 70 ม. ลึก 70 ม. 
ไม่มีประตูกั้นน้ำเพราะทะเลทั้ง 2 แห่งมีระดับเดียวกัน นับตั้งแต่ที่มัน
แล้วเสร็จในปี 1869 คลองสุเอซเป็นตัวเชื่อมสำคัญในการค้าระดับโลก
เนื่องจากเป็นเส้นทางลัด ระหว่างยุโรปและเอเซีย ขจัดการเดินทางอ้อมแอฟริกา 



ตั้งแต่สมัยโบรณแล้วที่มนุษย์หาวิธีสร้างเส้นทางน้ำผ่านอียิปต์ 
1900 ปีก่อนคริสตกาลนั้นทะเลแดงขยายไปทางทิศเหนือถึงทะเลสาปบิตเตอร์
และทะเลสาบทิมซาห์ ฟาร์โรห์เซนเซอเตรสที่ 1 สั่งให้สร้างคลองเพื่อเชื่อม
ทะเลสาบเข้ากับแม่น้ำไนล์ ฟาร์โรห์องค์ต่อๆ มาก่อสร้างทางน้ำระหว่างทะเลแดง
และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งกว้างพอที่ จะรองรับเรือในสมัยนั้นได้ 
คลองของฟาร์โรห์ยืนยงมาถึง 1200 ปีจนกระทั้ง 664 ปีก่อนคริสตกาล 
พายุทรายได้พัดถมทะเลสาบบิตเตอร์และทะเลแดงทำให้ เส้นทางถูกตัดขาด 
ต่อมาปี 609 ก่อนคริสตกาล ฟาร์โรห์นีโช พยายามขุดคลองใหม่แต่กล่าวกันว่า
คนงานกว่า 1 แสนคนเสียชีวิตในความพยายามนั้นเนื่องจาก
ความอดอยากและความร้อนในทะเลทราย 



100 ปีต่อมา เดเวฟพระราชาแห่งเปอร์เซียร์ หาทางขุดส่วนล่างของคลอง ขุดเสร็จใน 200 ปีต่อมา
เมื่อปโตเรมีที่ 2 ขุดคลองจากเมดิเตอร์เรเนียนถึงทะเลแดงได้สำเร็จ 



ระหว่างการยึดครองของโรมัน จาก 30 ปี ก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ.14 
คลองได้รับการรักษาและบูรณะ ระหว่างนี้การค้าขายเฟื่องฟูมาก
พ่อค้าชาวกรีกอียิปต์และอื่นๆ เดินทางผ่านทะเลทรายทุกวัน 
ทั้งทางเรือ ทางคลองทางบกเป็นกองคาราวานขนาดใหญ่ 
พวกเขาบรรทุกสินค้าเพื่อไปแลกเปลี่ยนกับทองคำของโรมัน 



ศรรตวรรษที่ 7 ในระหว่างการครอบครองของมุสลิมในอียิปต์ 
คลองได้รับการสร้างใหม่จากคำบัญชาของการิฟโอมา คลองถูกใช้ไปได้อีก 100 ปี 
หลังจากนั้นถูกทะเลทราย ทวงคืนอีกครั้ง และถูกฝั้งไปถึง 1000 ปี 
การค้าจึงต้องมาอยู่บนบกผ่านทางกองคาราวาน 
แต่ต้องเผชิญกับโจรสลัดแห่งทะเลแดงอยู่ตลอดเวลา



ปี 1845 ทางรถไฟสายแรกในอียิปต์สร้างเสร็จ เป็นทางเชื่อมต่อระหว่าง
เมืองท่าอเล็กซานเดรียของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับเมืองท่าสุเอซของทะเลแดง
แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการบรรทุกสินค้าได้ 



ปี 1850 ยุโรปอยู่ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และเศรฐษกิจครั้งใหญ่ ความร่ำรวยกำลังไหลเข้าสู่ชนชั้นกลางรุ่นใหม่
การค้ากับตะวันออกไกลไม่ใช่เรื่องหรูหราอีกต่อไป แต่มันเป็นความสำคัญ
สำหรับการเจริญเติบโตทาง เศรฐษกิจในยุโรป 
โรงงานต่างๆ ในยุโรปต้องการมะพร้าว ปอ สินแร่และฝ้าย



ขณะนั้นการปฏิวัติทางทะเลกำลังเกิดขึ้น เรือกลไฟเหล็กกำลังมาแทนที่เรือใบแบบเก่า
ทำให้เรือสามารถบรรทุกสินค้าได้เป็นจำนวนมหาศาล แต่การเดินทางอ้อมแอฟริกา
ยังใช้เวลานานไป ทำให้ทุกสายตาในโลกกลับมามองช่องแคบสุเอซอีกครั้ง 



ในช่วงต้นศรรตวรรษที่ 19 โมฮัมเหม็ด อาลี ผู้นำอียิปต์ ได้รับแรงกระตุ้นจากที่ปรึกษาชาวยุโรปของเขา 
ให้ขุดคลองผ่านช่องแคบสุเอซ แต่เขาไม่สนใจ เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟ ฑูตหนุ่มและวิศวกรชาวฝรั่งเศส 
สนิทสนมกับโมฮัมเหม็ด อาลี และครอบครัว เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟมีความคิดที่จะขุดคลอง 
แต่เขารู้ว่าไม่ควรเอ่ยถึงเรื่องนี้ หากยังต้องการเป็นที่โปรดปราณของโม ฮัมเหม็ด อาลี
(รูป เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟ) 



เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟ จึงไปผูกมิตรกับ โมฮัมเหม็ด ซาอิด ผู้เป็นลูกชายแทน เนื่องจากลูกชายของ 
โมฮัมเหม็ด อาลีอ้วนมากจึงถูกบิดาแข้มงวดเรื่องอาหารทำให้ โมฮัมเหม็ด ซาอิดต้องมาที่บ้านของ 
เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟ เป็นประจำเพื่อที่จะได้กินอาหารตามที่เขาต้องการได้
ทำให้ เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟและโมฮัมเหม็ด ซาอิดมีความสนิท สนมกันมากขึ้น 
(รูป โมฮัมเหม็ด ซาอิด) 



หลังจากที่ โมฮัมเหม็ด ซาอิด ได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการของประเทศอียิปต์ ในปี 1854 
เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟ จึงได้รีบเดินทางมายังอียิปต์อีกครั้ง เพื่อพบเพื่อนเก่าของเขา
และพูดถึงเรื่องการสร้างคลองในสุเอซ 



30 พ.ย. 1854 โมฮัมเหม็ด ซาอิด ได้ร่างสัมปทานฉบับแรกอนุมัติการสร้างคลองสุเอซ 
ผู้อำนวยการคนแรกคือ เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟสัมปทานจะมีอายุ 99 ปี นับจากวันเปิดคลอง 
และที่ดินทุกแห่งที่จำเป็นจะต้องถูกยกให้บริษัท กำไร 15% ให้รัฐบาลอียิปต์อีก 75% เป็นของบริษัทคลอง
และ 10% เป็นของผู้ลงทุนดั้งเดิมที่ออกทุนให้ เดอเลเซฟและคลองจะเปิดให้บริการแก่เรือทุกประเทศ



เพื่อทำให้มั่นใจว่าคลองสุเอซจะเป็นคลองระหว่าง ประเทศอย่างแท้จริง
ผู้บริหารชุดแรกจึงประกอบด้วนตัวแทนจาก 14 ประเทศ 
ทุกอย่างดูเหมือนพร้อมแล้วสำหรับการก่อสร้างแต่... 



อังกฤษทำทุกวิถีทางเพื่อต่อต้าน เนื่องจากอังกฤษกลัวว่าฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ควบคุมการขุดคลอง
จะเป็นผู้ควบคุมคลองไปด้วยและอาจถูกเอาเปรียบจากฝรั่งเศสได้ ทั้งๆ ที่อังกฤษมีกองเรือ
ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น และน่าจะได้ประโยชน์จากคลอง มากที่สุดด้วยกล่าวได้ว่า 
"คลองเหมาะที่สุดสำหรับอังกฤษ แต่มันไม่ใช่ของอังกฤษ"
และนั้นเป็นเหตุผลที่อังกฤษต้องคัดค้าน 



อังกฤษใช้อิทธิพลของตนในแวดวงธนาคารยุโรป เพื่อกันเดอเลเซฟไม่ให้ได้รับเงินกู้ 40 ล้านดอลล่าร์ 
เพื่อใช้ขุดคลอง เดอเลเซฟ จึงจัดตั้งสำนักงานขึ้นในฝรั่งเศสเพื่อขายหุ้นให้กับทุกคนที่ต้องการซื้อ
และต้องขายให้ได้ 4 แสนหุ้น เขาขายหุ้นได้ 2 แสน 7 พันหุ้นในไม่กี่สัปดาห์ แต่ยังเหลืออีกเกือบ 2 แสนหุ้น
เขาจึงกลับไปหาโมฮัมเหม็ด ซาอิด ให้ช่วยซื้อแต่ซาอิด มีเงินซื้อได้แค่ 9 หมื่นหุ้นเมื่อขายหุ้นได้ไม่หมด 
เดอเลเซฟจึงประกาศเองไปว่า ซาอิดได้รับซื้อหุ้นที่เหลือไว้ทั้งหมดทั้งที่ซาอิดไม่ได้ซื้อทั้งหมด 
ทำให้ซาอิดจำใจต้องไปกู้เงินในยุโรป เพื่อมาซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก
และเขาก็ได้เป็นเจ้าของคลองเกือบครึ่งหนึ่งตามจำนวนหุ้นที่เขาซื้อไว้



การก่อสร้างคลองสุเอซเริ่มเมื่อวันที่ 25 เม.ย.1859 โดยได้ขุดตามเส้นทางผ่านทะเลสาบทิมซา 
และทะเลสาบบิตเตอร์ด้วย ทำให้เหลือระยะทางที่ต้องขุดไม่ถึง 40 ไมล์บนพื้นที่ๆ เป็นทะเลทรายเกือบทั้งหมด
ซาอิดเป็นผู้หาแรงงาน 6 หมื่นคน มาจากชาวไร่ชาวนาในอียิปต์ซึ่งมาโดยไม่เต็มใจนัก 
กล่าวกันว่าคนงานไม่ได้รับเครื่องมือสำหรับขุดคลอง บางคนต้องขุดด้วยมือเปล่าๆ 
และไม่มีการจัดที่พักให้คนงาน ทำให้มีคนงานอียิปต์ต้องตายถึง 2 หมื่น 5 พันคน
และซาอิดยังต้องเป็นผู้ขุดคลองเพื่อส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์ เป็นระยะทาง 50 ไมล์มาให้คนงานใช้ด้วย 



แผนการก่อสร้างคลองสุเอซคือ ขุดคลองบริการเล็กจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถึงอ่าวสุเอซ
ซึ่งกว้างไม่เกิน 20 ฟุต ลึกไม่เกิน 6 ฟุตก่อน แล้วค่อยขยายและขุดลอกให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 
ทำพร้อมกันทั้งทิศเหนือและใต้ แล้วมาบรรจบกันตรงกลางคลองซึ่งการขยายคลองบริการให้ใหญ่ขึ้น
จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรซึ่งเดอเลเซฟเองก็ยังไม่มีเงินพอที่จะซื้อ ........... 



ปี 1863 โมฮัมเหม็ด ซาอิด ได้เสียชีวิตลง ผู้รับหน้าที่ผู้สำเร็จราชการต่อคือหลานชายที่ชื่อ อิสมาอิล 
ขณะนั้นการใช้แรงงานทาสเริ่มถูกต่อต้านจากหลายประเทศและเรียกร้องให้เลิกทาส 
อังกฤษฉวยโอกาสนี้กล่าวหาอียิปต์ว่าใช้แรงงานทาสในการสร้างคลอง 
ทำให้ อิสมาอิล จำต้องส่งแรงงานชาวอียิปต์กลับบ้านอย่างไม่เต็มใจเพราะ 
สัญญาระบุว่าฝ่ายอียิปต์จะต้องเป็นผู้หาแรงงานมาให้ 
(รูป อิสมาอิล) 



เมื่อหาแรงงานไม่ได้ อิสมาอิล จึงถูกบีบให้ต้องกู้เงินจากธนาคารในยุโรปด้วยดอกเบี้ยที่สูงมากอีกครั้ง 
เดอเลเซฟใช้เงินนี้ซื้อเครื่องจักรขุดคลองจากฝรั่งเศส เครื่องขุดเป็นเครื่องจักรไอน้ำติดอยู่บนเรือ
มีสายพานยาวส่งโคลนขึ้นมาบนฝั่งหรือเรือเพื่อเอาไปทิ้งในทะเล เรือขุดสามารถขุดได้ถึง 6 ล้าน ลบ.ฟุตต่อเดือน 
งานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โคลนจากก้นคลองเป็นตัว ประสานอย่างดีและกลายเป็นหินแข็งเมื่อโดนความร้อน 
ทำให้ทรายไม่ไหลกลับลงมาในคลอง 



15 ส.ค.1869 สิบปีหลังจากเริ่มขุดคลอง น้ำทะเลแดงไหลเข้ามาตามช่องรับน้ำจากสุเอซ
ไหลเข้าสู่ทะเลสาบบิตเตอร์ รวมกับน้ำที่ไหลลงมาจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นครั้งแรก 
มีแขกระดับประเทศจากทั่วโลกมาร่วมพิธีเปิดคลองมีการฉลองหลายวันโลกมีคลองของตนเองแล้ว 
แต่สำหรับอียิปต์มันเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความคาดหมาย



เมื่อถึงปี 1875 อียิปต์ต้องเผชิญกับภาวะล้มละลาย ไม่มีสถาบันการเงินใดในยุโรปให้เงินกู้อีกต่อไป 
แหล่งรายได้สำคัญคือไร่ฝ้ายถูกนำไปจำนองเพื่อจ่ายค่าขุดคลองที่กู้มา
รายได้จากค่าผ่านคลองก็ยังไม่พอจะใช้หนี้ อิสมาอิลจึงต้องการขายหุ้นของบริษัทคลองสุเอซ 
และผู้ที่ปรากฏตัวอย่างรวดเร็วก็คือประเทศอังกฤษนั่นเองเบนจามิน ดิสราเอลี่ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
ตัดสินใจซื้อทันที เป็นจำนวนเงิน 20 ล้านดอลล่าร์
(รูป เบนจามิน ดิสราเอลี่ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ) 



อังกฤษที่ทำทุกอย่างเพื่อขัดขวางการสร้างคลองสุเอซ บัดนี้เป็นจ้าของเกื่อบครึ่งหนึ่ง
อียิปติ์ที่ประชากรของตนถูกใช้แรงงานหนักหลายปี 
และภาระผูกพันที่นำประเทศไปสู่สภาพล้มละลาย ไม่ได้เป็นเจ้าของคลองสุเอซอีกต่อไป 

ปี 1882 ฝ่ายรักชาติอียิปต์ก่อการกบฏ กองทัพอังกฤษบุกเข้ามาในอียิปต์เพื่อปกบ้องผลประโยชน์ของตัวเอง 
ฝ่ายกบฏพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว แต่อังกฤษไม่ยอบกลับใช้การกบฏเป็นข้ออ้าง 
ในการยึดครองอียิปต์ แล้วอียิปต์ก็ถูกปกครองโดยอังกฤษไปเป็นเวลา 75 ปี 



ปี 1936 อังกฤษยุติการปกครองของตนต่อรัฐบาลอียิปต์ ปี 1952 พระราชาฟารุตแห่งอียิปต์ถูกโค่นล้ม 
โดยกลุ่มทหารนำโดยกาเมาอับดุลนาสเซอร์นาสเซอร์ได้ปกครองประเทศอียิปต์ 
ที่ไม่มีดินอุดมสมบูรณ์มากพอ ที่จะเลี้ยงดูประชากรที่กำลังเพิ่มขึ้น อย่างมากของอียิปต์ 
เขาเชื่อว่าต้องสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำไนล์ เพื่อจะทำให้เพิ่มผลผลิดทางการเกษตร 
และผลิตไฟฟ้าให้แก่ชาวอียิปต์ แต่ค่าก่อสร้างเขื่อนสูงประมาณ 1000 ล้านดอลล่าร์ 



นาสเซอร์พยายามหาเงินกู้จากชาติตะวันตก แต่เป็นช่วงสงครามเย็นกำลังร้อนระอุ 
อเมริกาเชื่อว่านาสเซอร์ฝักไฝ่กลุ่ม โซเวียต คำขอเงินกู้ของอียิปต์ถูกปฏิเสธทำให้นาสเซอร์ไม่พอใจ 
นาสเซอร์ตัดสินใจทำสิ่งที่เป็นไพ่ใบสุดท้ายของเขา 



26 ก.ค. 1956 หนึ่งสัปดาห์หลังการตัดสินใจไม่ให้เงินกู้ของธนาคารโลก 
ทหารอียิปต์บุกเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของประเทศ โดยอ้างว่า
คลองสุเอซจะเป็นแหล่งทุนสำหรับสร้างเขื่อน 
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวอียิปต์อย่างท่วมท้น 



เจ้าของคลองอังกฤษและฝรั่งเศสโกรธจัด ทั้งสองประเทศรวมกับกองกำลังอิสลาเอล บุกอียิปต์ 
และยึดครองพื้นที่รอบคลอง อียิปต์ทำท่าว่าจะต้องถูกตกอยู่ใต้การปกครองของต่างชาติอีกครั้ง 
แต่ฝ่ายอเมริกาและโซเวียตรู้สึกว่ามันไม่เหมาะสม ที่อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ายึดคลองสุเอซ
โดยไม่ปรึกษาพวกเขาก่อน เมื่อได้รับแรงกดดันสหประชาชาติได้สั่งให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส
และอิสลาเอล ถอนกำลังออกไป ต่อมาสหประชาชาติก็ประกาศให้คลองเป็นสมบัติของอียิปต์ 



อนุสาวรีย์ของ เฟอร์ดินาน เดอเลเซฟ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา 
ที่เมืองท่าซาอิดกลายเป็นสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์อันยาวนาน 
ของความขมขื่นของอียิปต์ที่ถูกกดขี่โดยมหา อำนาจต่างชาติในความรู้สึกของชาวอียิปต์ 
ไม่กี่เดือนหลังจากอียิปต์เข้ายึดคลอง ฝ่ายรักชาติอียิปต์ใช้ระเบิดทำลายอนุสาวรีย์จนตกจากฐาน
และรูปปั้นของเขาถูกนำไปตั้งเก็บไว้ที่คลองบริการแทน 



นาสเซอร์ได้สร้างเขื่อนอัซวาลกั้นแม่น้ำไนล์ โดยสหภาพโซเวียตเป็นผู้ออกค่าก่อสร้างให้



ปี 1967 อียิปต์เกิดสงครามกับอิสลาเอล อิสลาเอลเข้ายึดคาบสมุทรไซนาย ที่อยู่ตรงข้ามคลองได้ 
อียิปต์จมเรือในคลองเพื่อปิดเส้นทางเรือรบอิสลาเอล คลองถูกปิดต่อไปอีก 8 ปี 
อียิปต์ ต้องสูญเสียรายได้ไปถึง 2000 ล้านดอลล่าร์ จากค่าผ่านทาง 



ทุกเช้าก่อนตะวันขึ้นเรือจะรวมตัวกันที่ทิศเนือและใต้ของคลอง 
และจะถูกเรียงเป็นขบวนเนื่องจากคลองกว้างพอแค่เรือลำเดียวเท่านั้น 
ไม่สามารถเล่นสวนกันได้จึงต้องมีทางเบี่ยง 5 แห่งในคลอง 
และต้องกะเวลาของขบวนเรือให้มาพบกันพอดีที่ทางเบี่ยง
ทุกวันนี้คลองเป็นของอียิปต์ และมันก็เป็นคลองของโลกด้วยเช่นกัน 



----------- จบแล้วครับ -----------


Credit: http://www.bloggang.com
2 ก.ค. 53 เวลา 12:51 17,536 24 324
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...