?เครื่องจับเท็จ? จับอะไรได้แค่ไหน และยังไง?

“เครื่องจับเท็จ” จับอะไรได้แค่ไหน ยังไง?

เชื่อได้เลยว่า “เครื่องจับเท็จ” ต้องเป็นที่นึกถึงทุกครั้ง 
เมื่อใครต่อใครต้องการสิ่งที่เรียกว่า “ความจริง” ที่พยายามยังไงก็ไม่ยอมออกมาจากปากผู้ต้องสงสัยเสียที 
แต่ทว่า “เครื่องจับเท็จ” ที่พูดถึงและใช้กันบ่อยๆ นี้มีกระบวนการทำงานอย่างไร 
และจะจับเท็จได้จริงหรือไม่ ยังเป็นที่สงสัยตลอดมา

ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนว่า คนทั่วไปโกหกและหลอกลวงผู้อื่นด้วยเหตุผลต่างๆ นานา 
ส่วนใหญ่การโกหกนับเป็นกระบวนการป้องกันตัวเอง เพื่อเลี่ยงการเกิดปัญหาต่อกฎหมาย 
เจ้านาย หรือผู้ที่มีอำนวจเหนือกว่า บางครั้งเราก็รู้ว่าใครโกหกเราอยู่ 
แต่บางครั้งก็ไม่ง่ายเลยที่จะจับให้ได้ว่าใครกำลังโกหก

จริงๆ แล้วเครื่องที่เราเรียกว่า “เครื่องจับเท็จ” นั้นที่แท้คือเครื่อง ”โพลีกราฟ” (polygraph) 
เป็น เครื่องมือที่ตรวจจับปฏิกิริยาทางสรีรศาสตร์ หรือการทำงานของร่างกายของแต่ละ บุคคล 
แต่ว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ทำหน้าที่จับเท็จอย่างที่เรียกๆ กัน 
เพียงแค่บอกได้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมาในขณะนั้นจริงหรือลวงตา

ถ้าใครได้ดูหนังสายลับก็คงจะมีโอกาสได้เห็นเครื่องโพลีกราฟนำมา ประกอบฉากบ่อยๆ 
แต่ว่าสายลับส่วนใหญ่ต่างก็มีทักษะในการหลอกเครื่องจับเท็จได้ แล้วในโลกแห่งความจริงล่ะ? 
เคยคิดไหมว่า เราสามารถหลอกเครื่องโพลีกราฟและผู้ตรวจสอบได้

 
โพลีกราฟแบบอนาล็อก คุ้นหน้ากันดีตามหนังสายลับ แต่ตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็นดิจิตอลไปแล้ว

เครื่องกลจะจับเท็จคนได้หรือ?
เครื่องโพลีกราฟนี้เป็นการผสมผสานอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย 
ขณะผู้ต้องสงสัย ที่ถูกถามคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้ตรวจจะดูอัตราการต้นของหัวใจ 
ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และการเปลี่ยนแปลงกระแสคลื่นไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนัง 
โดยเปรียบเทียบกับภาวะปกติ ถ้าเส้นกราฟที่ได้มีการแกว่งหรือขึ้นๆ ลงๆ ที่ต่างกันมาก 
นั่นก็อาจจะชี้ได้ว่า ผู้ที่ถูกตรวจสอบในขณะนั้นกำลังหลอกลวง 
แต่ว่าผลการตรวจสอบนั้นก็แล้วแต่ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะตีความว่า นี่ใช่การโกหกหรือไม่

การจับเท็จด้วยเครื่องโพลีกราฟนั้น
มักจะใช้ในการสอบสวนคดีอาญา แต่บางทีก็นำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ด้วยเช่นกัน 
ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจจะมีการจับผู้สมัครงานเข้าเครื่องจับเท็จขณะสัมภาษณ์งาน 
ซึ่งปัจจุบันนี้ในบางหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนบางแห่งสหรัฐฯ 
ก็นำว่าที่พนักงานเข้าเครื่องจับเท็จก่อนว่าจ้างกันไปแล้ว

การ ตรวจสอบผู้ต้องสงสัยด้วย “โพลีกราฟ” นี้สร้างขึ้นเพื่อมองหาการแสดงออกที่ไม่ได้ตั้งใจอันเป็นนัยสำคัญ
ขณะที่ผู้ ต้องสงสัยอยู่ในสภาวะที่กดดันหรือเคร่งเครียด (เพราะพยายามจะปกปิดสิ่งที่ตัวเองซ่อนไว้) 

แต่ ดร.บ็อบ ลี (Dr.Bob Lee) อดีตผู้อำนวยการบริหารแอกซ์ไซชัน ซิสเต็ม (Axciton Systems) 
ผู้ผลิตเครื่องโพลีกราฟ ระบุว่าการ ตรวจแบบนี้ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้หากผู้นั้นโกหกจริง 
แต่ก็จะปรากฏการตอบสนองทางร่างกาย อันเป็นสิ่งที่ปรากฏในคนทั่วไปขณะที่พยายามหลอกลวงผู้อื่น 
ด้วยการถามคำถามกดดันพิเศษขณะสอบสวนและตรวจสอบ ซึ่งมีผลต่อปฏิกิรยาทางร่างกาย 
ส่วนโพลีกราฟก็จะช่วยแสดงว่าพฤติกรรมเช่นนี้โกหกอยู่หรือไม่


เมื่อต้องถูกทดสอบ ผ่านเครื่องจับโกหก ร่างกายก็จะถูกพันธนากรไว้ด้วยสายอุปกรณ์ระโยงระยาง 
ที่พาดอกและช่องท้องเพื่อจับอัตราการหายใจ ที่ต้นแขนเพื่อจับความดันโลหิต
และที่ปลายนิ้วเพื่อดูปริมาณเหงื่ออันเป็นตัวนำไฟฟ้า

• อัตราการหายใจ – กราฟ 2 เส้นที่จับการทำงานของปอด (Pneumographs) โดยใช้สายยางที่เติมอากาศไว้ 
นำมารัดไว้รอบอกและช่องท้อง เมื่อรอบอกหรือท้องขยายอากาศในท่อดังกล่าวจะถูกเบียด

ถ้าเป็นอานาล็อกโพลีกราฟ ท่ออากาศที่ถูกแย่งที่ ก็จะย่นเหมือนเวลาเราเล่นแอคคอร์เดียนที่พับเมื่อโดนเบียด 
และคลี่ตัวเมื่อโดนดึงขยาย และตัวสูบลมนี้ก็ติดอยู่กับแขนกล ที่ต่อกับปากกา
เพื่อลากไปบนกระดาษตามแรงหายใจ ส่วนดิจิตอลโพลีกราฟก็ใช้ท่อจับการทำงานของปอดเช่นกัน
แต่จะบรรจุเครื่องแปลงกำลัง (transducers) ไว้
เพื่อเปลี่ยนพลังงานของอากาศที่ถูกเบียดให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า

• ความดันโลหิต/อัตราการเต้นของหัวใจ - พันแถบวัดความดันโลหิตไว้รอบต้นแขน 
พร้อมกับต่อเข้ากับโพลีกราฟ ขณะที่เลือดสูบฉีดผ่านแขนก็จะเกิดเสียง 
การเปลี่ยนแปลงแรงดันเลือด ทำให้เสียงไปแทนที่อากาศในหลอดที่เชื่อมต่อตัวสูบ ลมที่เป็นจีบเพื่อขยับปากกา 
ซึ่งถ้าในดิจิตอลโพลีกราฟก็ใช้หลักการเช่นเดียวกับอัตราการหายใจ

• ความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนัง (Galvanic skin resistance : GSR) 
หรือจะเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงกระแสคลื่นไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนัง” โดยทั่วไปก็จะวัดปริมาณเหงื่อที่ปลายนิ้ว 
เพราะที่ปลายนิ้วเป็นบริเวณที่มีรูมากที่สุดในร่างกาย และเป็นตำแหน่งที่สังเกตเหงื่อได้ง่าย 
คนเราเมื่ออยู่ในสถานการณ์กดดันแล้วจะมีเหงื่อออกมาผิดปกติ 
จานรองนิ้วมือซึ่งก็คือ “เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า” (galvanometers) จะติดอยู่กับนิ้ว 2 นิ้ว 
โดยวัดความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้า 
เมื่อผิวหนังชื้นหรือเหงื่อออกมาก ก็จะนำกระแสไฟฟ้าได้ง่ายกว่าผิวหนังที่แห้ง

โพลีกราฟบางชนิดยังเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของแขนและขา ขณะที่ผู้ตรวจสอบตั้งคำถาม 
โดยสัญญาณจะส่งมาจากเครื่องตรวจจับที่ติดอยู่กับร่างกาย และแสดงผลผ่านกระดาษออกมา

 
สิ่งที่แสดงผลผ่านเครื่องโพลีกราฟขณะสอบสวน นั่นคือ 
ความถี่ในการหายใจ เหงื่อแตกมากหรือไม่ ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติแค่ไหน


ถูกชัวร์หรือมั่วนิ่ม
ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ “โพลีกราฟ” กล่าวว่า การจับเท็จด้วยเครื่องแบบนี้ถือเป็น “ไสยศาสตร์” 
เพราะโพลีกราฟไม่เที่ยงตรงในการจับโกหก มันเหมือนการหมุนเหรียญที่ไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือก้อย 
และที่สำคัญอย่างที่รู้กันว่า เครื่องโพลีกราฟไม่สามารถจับผิดได้ทั้งหมด 
แต่แค่วัดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของร่างกายเท่านั้น

ทางด้านของลี ที่ทดสอบเครื่องโพลีกราฟมากว่า 18 ปีก็ยังเห็นด้วยว่าจะใช้เจ้าเครื่องนี้จับโกหกไม่ได้ 
แต่ก็ยืนยันว่าทำได้แค่เพียงตรวจสภาพร่างกาย 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดอันเป็นผลพวงมาจากอาการโกหก แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้อย่างลึกซึ้ง


เราใช้ “โพลีกราฟ” ร่วมจับโกหกอย่างไร
หลายปีที่เราเห็นโพลีกราฟในภาพยนตร์เป็นเครื่องที่มีเข็มอันเล็กๆ ขีดเส้นผ่านกระดาษกราฟออกมา 
ซึ่งนั่นเรียกกว่า “อนาล็อก โพลีกราฟ” (analog polygraph) 
แต่เครื่องดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันเมื่อมีการใช้ คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย 
ใน ปัจจุบันโพลีกราฟส่วนใหญ่กลายเป็นดิจิตอลไปแล้ว 
โดยตัวเข็มขีดเส้นกราฟถูกแทนที่ด้วยการวิเคราะห์จำแนกอย่างสมัยใหม่ และแสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์

หากคุณต้องถูกจับทดสอบผ่านโพลีกราฟ 
ทันทีที่นั่งลงทั้งท่อและสายไฟต่างๆ ก็จะมาติดอยู่กับตัวคุณตามตำแหน่งที่ร่างกายจะแสดงกิจกรรมบางอย่าง 
อันเป็นสัญญาณแห่งการโกหก และพฤติกรรมแห่งการหลอกลวงก็จะถูกจับได้ด้วยโพลีกราฟ
หรือผู้ตรวจสอบที่ได้ รับการฝึกฝนมาอย่างดี 
บางทีในกระบวนการยุติธรรมก็มีเจ้าหน้าที่ที่เป็น “นักจิตสรีรวิทยา” มาช่วยจับผิดการทำงานของร่างกาย
อันมีผลต่อจิตใจเป็นการเฉพาะ 
ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะคอยดูการแสดงผลกราฟ ที่แกว่งของกิจกรรมภายในร่างกายดังต่อไปนี้

ใน การตรวจโกหกโดยใช้โพลีกราฟนั้นจะมีคนอยู่ในห้องเพียงแค่ 2 
โดยเป็นผู้ตรวจสอบกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก 
และในบางครั้งก็ต้องการเจ้าหน้าที่จิตสรีรวิทยาของศาล มาช่วยอีกแรงหนึ่ง 
เพราะว่าบางครั้งผู้ตรวจสอบที่อยู่กับเครื่องโพลีกราฟ อาจตีความผิดพลาดได้ 
ซึ่งนักจิตวิทยาจากศาลจะดำเนินการขณะตรวจจับเท็จ โดยตั้งเครื่องโพลีกราฟ และเตรียมบุคคลที่จะนำขึ้นเครื่อง 
ถามคำถาม ตรวจสอบสังเกตผู้ที่ถูกทดสอบ วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการทดสอบ


พูดจริงหรือโกหก สันนิษฐานได้จากเส้นกราฟที่ออกมา ถ้าพูดจริงกราฟจะราบรื่น 
แต่ถ้าโกหกกราฟจะแกว่งนั่น ก็เพราะปฏิกิริยาของร่างกายที่ต้องการปกปิดซ้อน เร้น

 





Credit: http://www.manager.co.th
2 ก.ค. 53 เวลา 10:03 5,129 10 108
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...