เตือนภัย วางมือถือไว้ข้างหมอน

 
 
 
 
เราคงเคยได้ยินข่าวมือถือระเบิดกันมาบ้างแล้ว ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดในประเทศไทยเท่านั้น แต่พบได้ทั่วโลก

ตลอดสองปีที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกา ได้มีรายงานเกี่ยวกับกรณีมือถือระเบิด หรือไหม้ ถึง 83 ราย ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุมาจาก การใช้แบตเตอรี่ หรือที่ชาร์จ ที่ไม่ตรงรุ่น หรือของปลอม โดยแผลส่วนใหญ่เป็นแผลไฟไหม้ที่บริเวณหน้า คอ ขา และสะโพก

“ทางหน่วยงานของเรา ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของสินค้าอุโภค บริโภค (CPSC) ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับมือถือมากขึ้นทุกทีๆ และเราก็เป็นห่วงมากว่า ต่อไปจะมีอุบัติเหตุที่รุนแรงกว่านี้หรือไม่” Scott Wolfson โฆษกของ CPSC กล่าว



อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ อ้างว่า การระเบิดส่วนใหญ่นั้นเกิดจาก การใช้แบตเตอรี่ของเลียนแบบ และเน้นว่า ในอเมริกานั้นมีผู้ใช้มือถือถึง 170ล้านคน เมื่อคิดดูแล้ว เปอร์เซนต์ของการเกิดระเบิดนั้นน้อยมากๆๆ

หน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า สาเหตุ ไม่ได้อยู่แค่ที่ว่า มีการขายแบตเตอรี่ของปลอมในตลาดอย่างเกลื่อนกลาดเท่านั้น แต่ชี้ว่า การพยายามเพิ่มหน้าที่ของแบตเตอรี่ หรือการพยายามผลิตมือถือที่มี function มากๆในขนาดเล็กๆ ก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญได้เหมือนกัน “ถ้าคุณพยายามอัดพลังงานจำนวนมากลงในพื้นที่เล็กๆ มันก็เหมือนคุณกำลังผลิตลูกระเบิดขนาดย่อมๆทีเดียว” Carl Hilliard ประธานสหพันธ์เพื่อผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สาย ใน California ซึ่งได้ติดตามเหตุการณ์มือถือไหม้ไฟ และระเบิดมาตลอด กล่าว



ถึงแม้ว่า แบตเตอรี่ ที่ถูกกฎหมาย ก็มีสิทธิ์ระเบิดได้ แต่แบตเตอรี่ของปลอมที่ผลิตอย่างไม่ได้มาตรฐานนั้น จะไม่มีระบบที่คอยตรวจ overheating หรือ overcharging แบตเตอรี่ lithium ionที่ใช้ในมือถือส่วนใหญ่ จะoverheat ได้ถ้าที่ระบายอากาศถูกปิดรู ทาง CPSC กำลังตรวจสอบว่า การปรับปรุงระบบระบายความร้อนให้ดีขึ้น เพียงพอที่จะรับประกันความปลอดภัยได้หรือไม่



ทาง CPSC ได้ประกาศเรียกเก็บไม่ให้มีการจำหน่ายแบตเตอรี่ ถึงสามครั้ง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยสองครั้งเป็นแบตเตอรี่ของ Kyocera Wireless Corp. ซึ่งกล่าวว่า สาเหตุมาจาก supplier ไม่มีมาตรฐานในการทำงานที่ดี และมีการสอดแทรกของเลียนแบบเข้าไปในตลาด และหลังจากที่โดนเรียกเก็บแบตเตอรี่ไป 1ล้านอัน ทาง Kyocera ก็ได้เปลี่ยน supplier และเพิ่มการตรวจคุณภาพแบตเตอรี่เป็นสองเท่าแล้ว



เพื่อเป็นการแก้ปัญหานอกเหนือจากเรื่อง supplier ขี้โกงแล้ว สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไร้สายได้จับมือกับ สถาบันวิศวกรเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานต่างๆ เพื่อช่วยกันสร้างแบบของแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐาน Wolfson จาก CPSC ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ร่วมประชุมในการจับมือกันนี้ กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพสูงสำหรับมือถือ เพราะประเด็นมันคือว่า คุณต้องใช้พลังงานอย่างมากกับของชิ้นเล็กๆพวกนี้”



ข้อแนะนำในการป้องกัน overheating ของแบตเตอรี่

๑ เวลาถอดแบตเตอรี่ พยายามอย่าให้สัมผัสกับวัสดุโลหะ เช่น เหรียญ กุญแจ

๒ อย่าให้โดนน้ำ หรือเก็บในที่ร้อนมากๆ

๓ พยายามอย่าทำหล่น หรือให้กระทบกับพื้นผิวแข็งๆ โดยเฉพาะเวลาที่ชาร์จเต็มแล้ว

๔ ตรวจสอบให้ดีว่าซื้อถูกรุ่น ไม่ใช่ของปลอม ของใช้แล้ว และไม่ได้ผลิตสำหรับโทรศัพท์ของประเทศอื่น ซื้อจากตัวแทนที่ถูกกฎหมายเท่านั้น



ตัวอย่างกรณีมือถือระเบิดในต่างประเทศ

๑ เด็กผู้หญิง อายุ 16 ปี บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ ความรุนแรงระดับสอง เมื่อมือถือของเธอติดไฟในกระเป๋ากางเกงด้านหลัง ผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวว่า ตอนแรกได้ยินเสียงดัง whoosh ซึ่งตอนนั้นเจ้าตัวก็ยังไม่รู้ด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น นึกว่าเป็นเสียงพลุ ต่อมาก็เห็นกระเป๋ากางเกงระเบิด มีควันและไฟออกมา โชคดีที่เด็กอยู่ในห้องครัวจึงดับไฟได้อย่างรวดเร็ว

๒ Mohamed Radzuan ชาวมาเลย์ที่อาศัยอยู่ทางใต้ของกัวลาลัมเปอร์ ได้ซื้อแบตเตอรี่ใหม่มา หนึ่งอาทิตย์ ก่อนเหตุการณ์ เขาเล่าว่า ก่อนนอนได้ชาร์จแบตทิ้งไว้ และก็ตื่นมากลางดึกจากแรงระเบิด ที่ไหม้เตียง กำแพง และโดนก้นเขานิดหน่อยด้วย โดยตอนแรกเขาก็ไม่ทราบว่าอะไรระเบิด จนกระทั่งเห็นมือถือแตกเป็นเศษเล็กเศษน้อยนั่นแหละ

๓ Angela Karasek ได้ซื้อมือถือใหม่พร้อมแบตเตอรี่ และเมื่อไม่นานมานี้ เธอก็ตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะได้ยินเสียงแปลกๆ และพบว่าไฟกำลังไหม้ตุ๊กตาของเธอ ซึ่งสาเหตุก็มาจากแบตเตอรี่มือถือระเบิด โชคดีที่พ่อของเธอช่วยดับไฟได้ทัน

๔ ขณะที่ Michael Sarthe หยิบมือถือที่ชาร์จเต็มแล้วขึ้นจากพื้น มันก็ระเบิด มือของเขาเต็มไปด้วยเลือด และมีเขม่าดำตามตัว เศษของมือถือได้กระเด็นเข้าที่ระหว่างตา และทิ้งรอยไว้ที่เพดาน Michael ใช้เวลากว่าสองเดือนกว่าที่เขาจะกล้าเข้าใกล้มือถืออีก ทางครอบครัวไม่ได้ฟ้องบริษัท แต่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาศึกษาว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อหาทางป้องกันต่อไป



แหล่งข่าว

Exploding Cell Phones Spur Recalls
http://www.cbsnews.com/stories/2004/10/28/tech/main652128.shtml
Credit: เครดิต เอ็มไทยนะครับบ
1 ก.ค. 53 เวลา 23:12 7,268 32 376
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...