กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields and Pastures

สำหรับคนรุ่น ใหม่ ที่เกิดในยุคดิจิทัล กล้องฟิลม์ อาจเป็นเพียงอุปกรณ์ถ่ายภาพในอดีต
ที่ ถึงยุคร่วงโรย หรือสินค้าตกยุค เพราะกล้องถ่ายรูปในปัจจุบันมีการพัฒนาแข่งขันกันไปอย่างไม่หยุดยั้ง สามารถตอบสนองความต้องการของนักถ่ายภาพ ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งมือสมัครเล่น และมืออาชีพ และก็ยังไม่มีทีท่าว่า จะจบลงเมื่อใด กลับมีแต่ข่าวการพัฒนาของเทคโนโลยี่ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง มีการคิดค้น ผลิตกล้องรุ่นใหม่ๆ ที่แก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ




การ ปรับปรุงคุณภาพของตัวรับภาพและบันทึกภาพ ให้มีความสวยงาม คมชัด หรือเหมือนจริง ได้ดีกว่าฟิลม์ธรรมดา ทำให้ตากล้องมืออาชีพยอมรับ และยังได้ใจมือสมัครเล่นกลุ่มใหญ่ๆ ก็คือความง่ายในการใช้งาน ความสะดวกรวดเร็วทันใจ ในการได้ภาพมาชมหลังการถ่าย และเครื่องช่วยให้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น เช่นการโฟกัส การวัดแสง และการแก้การสั่นไหว ทำให้ใครๆ ก็ถ่ายภาพได้ โลกของการถ่ายภาพในปัจจุบันจึงขยายตัวมากกว่าครั้งใดๆในอดีต







กล้อง ฟิลม์ในอดีต มากมายหลากหลาย brand เช่น Nikon , Leica , Canon , Hasselblad , Pentax , Contax , Minolta , Olympus , Fujica , Yashica , Ricoh , Rollei , Yashica , Voigtlander , Bronica , Kodak , Argus , Zorki ฯลฯ บางส่วนจากหายไป ด้วยการแข่งขันกันเอง แม้เกิดก่อน... ดังกว่า.... แต่ถ้าขาดการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้ใช้แล้ว ก็ยากที่จะยืนอยู่ได้ ต้องทยอยปิดตัวไปหลายๆ brand โดยเฉพาะรายเล็ก รายน้อย ที่สู้กับ brand ใหญ่ๆไม่ได้ หรือแม้แต่ Brand ใหญ่ๆบาง Brand เอง ที่ผ่านจุดสูงสุดของมันมาแล้ว ก็ยังไม่วายต้องโดน take over โดยค่ายยักษ์ของญี่ปุ่น ที่กินตลาดไปได้เรื่อยๆ (แม้กระทั่งตลาดรถยนต์ พี่ยุ่นแกก็กวาดไปซะ !!)







กล้อง ฟิลม์ในอดีต มีการพัฒนาจากหลักการง่ายๆ ใช้งานก็ไม่ยาก แต่จะถ่ายให้สวยนั้นค่อนข้างยาก เพราะไม่ค่อยมีตัวช่วย ชัตเตอร์มีไม่กี่สปีด ไม่มีเครื่องวัดแสง ต้องอาศัยการจดจำและประสบการณ์ แต่เดี๋ยวนี้ นอกจากกล้องจะช่วยผู้ถ่ายได้เยอะแล้ว ยังมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยตกแต่งภาพได้อีกสารพัด จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมกล้องฟิลม์ จึงถูกทอดทิ้ง เก็บเข้ากรุ หรือขายต่อกันถูกๆ อย่างน่าเสียดาย







แต่ สำหรับคนที่เติบโตมาพร้อมกับวิวัฒนาการยุคเก่านี้ กล้องเปรียบเสมือนคู่ขาหรือเพื่อนเก่า ที่ยังมีคุณค่า ทั้งการใช้งาน และทางจิตใจ (ไม่มากก็น้อย) กล้องเก่าๆที่มีคุณภาพดี ส่วนใหญ่ยังใช้การได้ดี ด้วยระบบกลไกที่แข็งแรงทนทาน โดยเฉพาะเลนส์มือหมุน ที่ให้ภาพได้สวยงามสุดยอด (ที่กล้องดิจิทัล ยังไม่มีเทคโนโลยี่อย่างอื่น มาทดแทน) ทำให้การใช้กล้องฟิลม์มีอะไรให้เล่นได้สนุก และมีเสน่ห์ในตัวเอง แม้ว่าอะไรๆมันจะทำได้เชื่องช้าอืดอาดกว่า ระบบ “ สารพัด auto ” ในปัจจุบัน ในทางกลับกัน คนรุ่นก่อนๆ (เช่นผม) ก็สับสนและไม่คุ้นเคยกับโปรแกรมและ mode การใช้งานของกล้อง ดิจิทัล ด้วยเหมือนกัน








กล้อง ยุคกลางๆที่เป็นอิเลคโทรนิค ก็ถูกกระแสการตลาดกลืนกินไปเช่นกัน เพราะเมื่อขาด battery เสียแล้ว มันก็กลายเป็นกล้องง่อย กล้องพิการ ทำงานไม่ได้ไปเลย สู้กล้องรุ่นเก่ากว่าที่เป็นแมคคานิคไม่ได้ นอกจากกล้องที่ช่างภาพอาชีพทั่วโลกยอมรับเช่น Leica หรือ Hasselblad แล้ว ยังมีกล้องฟิลม์ระดับรองๆลงมาอีกหลาย Brand ที่ยังใช้งานได้ดี และราคาไม่แพง เช่น Nikon , Canon , Pentax , Olympus ที่คนรุ่นใหม่ ที่เริ่มถ่ายภาพจากกล้องดิจิทัล และเริ่มสนุกกับการถ่ายภาพ น่าจะลองหันมาเล่นกันได้ พวกกล้อง SLR จะมีให้เลือกมากหน่อย เลนส์มือหมุนก็มีเยอะแยะ ราคาไม่แพง ส่วนใครเล่นจนติดใจ อยากจะลองข้ามไปเล่นพวก rangefinder หรือ medium format อีก ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด เพราะเดี๋ยวนี้ ในต่างประเทศเขาเก็บสะสมกล้องพวกนี้กันแบบจริงๆจังๆ ขนาดซ่อมได้ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ หรือมีชมรมเฉพาะกล้องเก่าแต่ละ brand กันเลย










ข้อ เสียอย่างหนึ่งของกล้องฟิลม์ (หรือกล้องดิจิทัลก็คงไม่น้อยไปกว่า) คือการ “เสีย” ที่ซ่อมไม่ได้ หรือซ่อมไม่คุ้ม ก็ต้องหา body ตัวใหม่มาแทน แต่บางส่วนที่เสีย ก็ไม่จำเป็นต้องซ่อม ก็สามารถใช้งานได้ เช่น ตัววัดแสง ส่วนใหญ่จะใช้งานไม่ได้ ใช้ได้ไม่เที่ยงตรง หรือไม่มี แบตเตอรี่ เราก็สามารถหาเครื่องวัดแสงเป็นตัวมาใช้แทนได้ (จะดีกว่าเสียด้วยซ้ำ) เช่นของ Sekonic หรือ Gossen ที่ใช้งานได้ดี และเมื่อเราใช้งานจนคล่องแล้ว เราก็จะใช้แทนกล้องทุกตัวได้เลย






แม้ เลนส์มือหมุนรุ่นเก่าๆ จะมีข้อเสียเรื่องการเคลือบผิว ที่ไม่ดี เหมือนเลนส์รุ่นใหม่ๆ เพราะเขาใช้ถ่ายภาพขาว-ดำ แต่ข้อดีก็ยังมีอยู่บ้าง เช่น ภาพจะนุ่มนวลกว่า contrast น้อยกว่า เหมาะกับการถ่ายภาพ portrait และเลนส์เก่าของค่ายดังๆ อย่าง Rokkor , Super-Takumar หรือ Zuiko ก็มีคุณภาพดี น่าใช้ ไม่แพงมาก และยังได้รับความนิยมจากทั้งคนชอบมือหมุน และดิจิทัล








ที่ อยากจะพูดประเด็นหนึ่ง นอกจากที่จะมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกล้องฟิลม์ กับกล้องดิจิทัล ว่าอะไรจะดีกว่ากัน คือเรื่องของ “ศิลปในการถ่ายภาพ” เพราะกล้อง ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน มันก็เป็นเพียงเครื่องมือในการบันทึกภาพเท่านั้น ภาพที่ดีหรือสวย มันจะออกมาจากสายตาและมันสมองของช่างภาพมากกว่า หรือที่ฝรั่งมันพูดไว้ว่า “ Great photographers can take good pictures with any equipment. ” (ซึ่งก็ถูก แต่ไม่ทั้งหมด เพราะ ไอ้ photographers ที่ว่านั่น ก็มักจะบ้ากล้องและอุปกรณ์ที่ดีๆ เสมอ)






สำหรับตัวผมเอง นอกจากการถ่ายภาพ ด้วยกล้อง ทั้งสองประเภท แล้วแต่โอกาสและการใช้งานแล้ว การสะสมกล้องฟิลม์ หรือกล้องโบราณ ก็ยังเป็นความสุขอีกอย่างหนึ่ง ที่ได้เล่น ได้จับ ได้ดูรูปร่าง รูปแบบและวิธีคิด ของการสร้างกล้อง ให้ตอบสนองการใช้งานของแต่ละ brand ออกมา ไล่ตั้งแต่พวก BOX มาเป็นพวก Folding เรื่อยมา แต่ละแบบ แต่ละประเภท ก็มีความน่าสนใจ ความสวยงาม หลากหลาย แตกต่างกันไป เป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ที่ยากจะปฏิเสธ ...... และน่าเสียดาย ถ้ากล้องเหล่านี้ จะถูกละเลย ลืมเลือน ไปจากวิถีชีวิตของ “คนถ่ายภาพ”

 

Magic Colors of Fields and Pastures

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures

 

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures
 
กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures
 
กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures
 
กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures


.
.
.

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures


.

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures


.

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures


.

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures
 

 

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures
 
กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures


.

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures


.

กล้องฟิลม์...อดีตที่ยังมีลมหายใจ & รูป Magic Colors of Fields 
and Pastures
Credit: http://atcloud.com/stories/85199
1 ก.ค. 53 เวลา 20:41 5,291 9 104
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...