http://www.meekhao.com/education/converse-fuzzy-bottom
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมรองเท้าผ้าใบ Converse คู่โปรดของใครหลายคนถึงมีวัสดุคล้ายผ้าเป็นเส้นๆ อยู่ตรงพื้น? บางคนอาจคิดว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการเกาะติด แต่เหตุผลที่แท้จริงอาจจะทำให้คุณต้องผิดหวัง
นี่คือพื้นผิวที่ทำมาจากผ้าเหนียวๆ ใต้รองเท้าผ้าใบ Converse ที่เราคุ้นเคยกันดี
Converse เป็นรองเท้าที่มีการออกแบบสวยโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แม้จะบางไปสักหน่อยแต่ดูยังไงมันก็เป็นรองเท้าผ้าใบ
แต่จริงๆ แล้วมันถูกจัดอยู่ในหมวด “รองเท้าแตะในบ้าน” ต่างหาก!?
รองเท้าผ้าใบสุดคลาสสิกคือคำนิยามของแบรนด์ Converse แต่รู้หรือไม่ว่าอัตราการจัดเก็บภาษีศุลกากรการนำเข้ารองเท้าผ้าใบนั้นสูงลิ่ว จึงทำให้เกิดเทคนิคที่เรียกว่า “วิศวกรรมเพื่อภาษีศุลกากร” ขึ้น
นั่นหมายความว่า…เมื่อเราทำให้รองเท้าถูกจัดอยู่ในหมวดของรองเท้าแตะ ก็จะเสียเงินค่าภาษีน้อยลงนั่นเอง
อัตราภาษีนำเข้า “รองเท้าผ้าใบ” ในสหรัฐอเมริกานั้นสูงสุดอยู่ที่ 37.5% ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ในขณะที่ของ “รองเท้าแตะ” อยู่ที่เพียง 3% เท่านั้น บริษัทที่มีการขนส่งรองเท้ามากมายอย่าง Converse จึงอาจเสียภาษีในระดับที่ทำให้ล้มละลายได้เลยทีเดียว นั่นทำให้ต้องมีการใช้เทคนิคเล็กน้อย
พวกเขาได้นำเอาผ้าสำลีและถ่านโค้กมาเป็นวัสดุสำคัญในการแปะลงใบบนพื้นผิวด้านล่างของรองเท้า ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ จึงทำให้รองเท้า Converse ถูกจัดอยู่ในหมวดของรองเท้าที่ทำจากผ้าไม่ใช่รองเท้าที่มีพื้นเป็นหนังเหมือนรองเท้าผ้าใบอื่นๆ
และนั่นทำให้การจดสิทธิบัตรของ Converse นั้นจดในสถานะของรองเท้าแตะ ด้วยหมายเลขสิทธิบัตร 6,430,844
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ว่ามันถูกจัดอยู่ในหมวดของรองเท้าที่ใช้สวมใส่ในบ้านจริงๆ
เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้วอาจทำให้สาวก Converse ใจสลาย และไม่อาจทำใจนิยามว่ามันคือ “รองเท้าผ้าใบ” สุดคลาสสิกได้อีกต่อไป แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในไม่ใช่ว่ามันถูก “จัด” ว่าเป็นอะไร แต่อยู่ที่ดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์และสภาพการใช้งานจริงต่างหาก
ที่มา http://www.businessinsider.com/heres-why-converse-sneakers-have-fuzzy-bottoms-2015-8