การอ่านอักขระ อียิปต์โบราณขั้นพื้นฐาน

เรามาเริ่ม ที่การอ่านกันเลย

อักษรอียิปต์โบราณทั้ง 24 ตัวที่พบบ่อยในจารึก
ใช้เขียนกำกับการออกเสียงเป็นหลัก

เทียบกับเสียงในภาษาไทย

A อะ, อา
j ย, เย
jj อี, เย
a อ๊ะ, อ๋า
w ว, อู
b บ
p ป, พ
f ฟ
m ม
n น
r ร
h ฮ
H ฮ (มีลมออกมากกว่าปกติ)
x ค (เสียงเสียดสีจากลำคอ)
X ค (เสียงจากเพดานในปาก)
s ส, ซ
z ส, ซ
S ช
q ก
k ค
g ก (เสียงก้องในลำคอ เหมือน g ในคำ gun ภาษาอังกฤษ)
t ต, ท
T ช
d ด
D จ

หมายเหตุ : อักษรโรมันนี้เขียนด้วยระบบ Manuel de Codage

เทพเจ้าธอท เทพเจ้าแห่งการเขียนและศิลปวิทยาการ

อาลักษณ์และผู้เรียนอักษรอียิปต์โบราณถือว่าเทพเจ้าธอทเป็นผู้ประทานอักษร ให้แก่ชาวอียิปต์
ก่อนเขียนอาลักษณ์จะสวดระลึกถึงเทพเจ้าธอทก่อนเพื่อแสดงความเคารพและให้เกิด ความราบรื่นในการทำงาน

ทิศทางการเขียนและอ่านอักษร อียิปต์โบราณ

มี 4 กรณี
A. อ่านจากซ้ายไปขวา
B. อ่านจากขวาไปซ้าย
C. อ่านจากบนลงล่างในแบบซ้ายไปขวา
D. อ่านจากบนลงล่างในแบบขวาไปซ้าย

พระนามฟาโรห์ มเหสี และเชื้อพระวงศ์

พระนามของบุคคลเหล่านี้จะเขียนอยู่ในวงรี
ที่ด้านล่างจะมีฐานรองรับ เรียกว่า คาร์ทูช (Cartouche)

พระนามตัวอย่างนี้เป็นของพระนางเนเฟอร์ตารี

พระนามเต็มคือ Nefertary Meritenmut
อ่านแบบอียิปต์ คือ เนเฟรตารี เมอริทเอนมุต

หมายเหตุ Nefer ตามหลักการอ่านแบบอียิปต์อ่านว่า เน-เฟ (ร) คือ ออกเสียง ร ทีหลัง ไม่ใช่ เน-เฟอ ซึ่งเป็นการอ่านที่อนุโลมตามแบบภาษาอังกฤษ

ตัวเลขอียิปต์ ใช้เลขฐาน 10 วิธีเขียนคือให้นำอักษรภาพที่แสดงจำนวนต่างๆมาเขียนเรียงต่อกัน เพื่อให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ

อักษรไฮโรกลีฟแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ไอดีโอแกรม (Ideograms) เป็นอักษรที่ใช้แทนความหมาย หมายความว่าเราเห็นอักษรเป็นรูปใด ก็จะมีความหมายตามนั้น เช่น

 

 

 

 

 

 

2. โฟโนแกรม (Phonograms) เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียง บางตัวมีเสียงเดียว บางตัวมีสองเสียง และบางตัวมีสามเสียง เช่น

 

เสียงเดียว

สองเสียง

สามเสียง

3. อักษรกำกับความหมาย (Determinative) คำบางคำอาจจะออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายไม่เหมือนกัน อักษรกำกับความหมายคืออักษรภาพที่ต่อท้ายคำ เพื่อระบุว่าคำนั้นๆที่ออกเสียงเหมือนกัน หมายความว่าอะไรกันแน่

เช่นในตัวอย่างนี้
ออกเสียงว่า "รา" เหมือนกัน
แต่คนละความหมาย

รูปพระอาทิตย์ ในคำแรก ทำให้ทราบว่าคำนี้หมายถึง "พระอาทิตย์"

ส่วนรูปเทพเจ้า (ผู้มีเครา-ผมยาว-นั่งชันเข่า) ทำให้คำนี้ หมายถึง "เทพเจ้ารา" (สุริยเทพ)

หรือจะดูจากจารึกจริงๆ เช่น

Monoliteral Sign ที่พบในจารึกจริงๆ
(ดูอักษรอียิปต์โบราณทั้ง 24 ตัวในรูปด้านบนสุดประกอบไปด้วย)
อักษรภาษาอังกฤษที่เขียนกำกับในภาพเป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงตามระบบ Manuel De Codage

หรือจะดูที่คาร์ทู ชฟาโรห์เช่น

พระนามฟาโรห์ตุตันคา เมน บางแห่งเรียก ตุตันคามุน
tut+ankh+amun

พระนามประกอบด้วยอักษรดังในภาพ
แต่ตัวอักษรที่เป็นปัญหาและออกเสียงต่างจากหลักการอ่านแบบอียิปต์คือตัว a ซึ่งควรจะเป็น i

สาเหตุที่พระนามบางครั้งอ่านเป็น ตุตันคาเมน ตุตันคามุน มาจากพระนาม ส่วนที่อ้างถึงเทพอามุน

พระนามเทพองค์นี้พบว่าอ่านได้หลายแบบ แม้ว่าจะหมายถึงองค์เดียวกัน นั่นคือ

อ่านว่า อามุน (Amun) อาเมน (Amen) อามอน (Amon) ตามแต่ว่าผู้กำหนดเป็นนักอียิปต์วิทยาคนใด
หลายๆ คนออกเสียงไม่เหมือนกันทั้งๆ ที่หมายถึงเทพองค์เดียวกัน เพราะในยุคแรกๆ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานร่วมกันในการอ่านภาษาอียิปต์โบราณ

ผลจึงออกมาดังกล่าว คือ สามารถอ่านพระนามฟาโรห์ได้หลายแบบเช่นกัน

ไม่อาจบอกว่าวิธีการอ่านของใครผิด เพราะภาษาอียิปต์ที่มีสอนในปัจจุบันก็ยังถือว่าไม่สมบูรณ์แบบ
เพราะไม่มีคนอียิปต์จริงๆ เมื่อหลายพันปีก่อนมาออกเสียงให้ฟังว่าที่ถูกต้องที่สุดควรออกเสียงอย่างไร ครับ

ส่วนเติมเต็ม (Phonetic complement)

อักษร Biliteral และ Triliteral บางตัว เช่น mn
ดังในภาพ  

อักษร mn เพียงตัวเดียวก็อ่านว่า mn ได้แล้ว
แต่วิธีการเขียนอียิปต์มักเติมอักษร Monoliteral ของ n ติดไว้ด้วย แต่ก็อ่านว่า mn เหมือนเดิม ไม่ใช่ mn-n

mn เมื่อเขียนในลักษณะมีอักษร n เป็น Phonetic Complement   
จะยังอ่านว่า mn เหมือนกับในภาพ            ไม่ใช่ mn-n

หรือตัวอย่างอักษร Triliteral ที่มี Phonetic complement เช่น 

อ่านว่า anx หรือ ankh

เมื่อมี Phonetic complement  
คือมี n และ x (kh) ประกอบอยู่ด้วย

แต่อ่านว่า anx (ankh) เหมือนเดิม

คำนี้หมายถึง มีชีวิต, ชีวิต (to live, life) 

อักษรที่พบบ่อย

  อักษรตัวนี้จะพบบ่อยตามจารึกพระนามกษัตริย์ อยู่ก่อนป้ายพระนาม

อ่านว่า เนซู-บีที
หมายถึง ฟาโรห์แห่งอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง

      คำนี้หมายถึง เทพเจ้า
อ่านว่า เนเชร (nTr)
หมายเหตุ อ่านตามระบบของ Manuel De Codage
T=ช
t=ต/ท

 อักษรตัวนี้อ่าน ว่า เนซู (nsw) หรือ นีซูท (nj-sw.t)
หมายถึง ฟาโรห์

 อักษรตัวนี้อ่านว่า บีที (bi.tj) หรือ บีท (bi.t)
หมายถึง ฟาโรห์แห่งอียิปต์ล่าง (อียิปต์เหนือ)

 อักษรตัวนี้ อ่านว่า เนบที (Nebti)
หมายถึง ฟาโรห์มีความเกี่ยวพันกับเทพีทั้งสองของอียิปต์ คือ
นกแร้ง แทนเทพีเน็คเค็บแห่งอียิปต์บน
งู แทนเทพีวัดเจตแห่งอียิปต์ล่าง

คาร์ทูชของ บุคคลสำคัญ

คาร์ทูชพระนามของพระ นางคลีโอพัตรา
(CLEOPATRA) ระบุตัวอักษรแบบคร่าวๆ ให้เห็นว่าอ่านอย่างได้อย่างไร

แต่ที่ถูกต้องที่สุดเมื่อเขียนด้วยระบบ Manuel De Codage จะเขียนได้ว่า
q-rw-i-wA-p-A-d-r-A

จากภาพจะอธิบายพระนามแยกเป็นรายอักษร
น่าแปลกที่เขียนพระนามแต่ละครั้งสะกดด้วยอักษรที่ไม่เหมือนกัน
แต่พระนามที่ยืนยันว่าเป็น ฟาโรห์ราเมสเสสที่ 2 คือ Usermaatra Setepenra เป็นพระนามอย่างเป็นทางการ ส่วน Ramesses Meriamun เป็นพระนามส่วนพระองค์ครับ

Credit --> คุณ TEP เต็มๆเลยครับ

เรียบเรียงและแก้ไขในบางจุด --> Detectiveoat13

Credit: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=kunnaree2&topic=10
1 ก.ค. 53 เวลา 09:04 37,809 28 214
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...