แฟชั่นโหด การพันเท้าของวัฒนธรรมจีน

แฟชั่นของผู้หญิง จีนสมัยก่อนที่เรียกว่าการพันเท้า
มัดเท้าหรือรัดเท้าที่นิยมพันให้เท้า เล็กและมีรูปร่างเหมือนดอกบัวเค้าว่าสวย
แต่เราว่าน่าสงสารผู้หญิงที่จะ ต้องพันเท้าจัง น่าจะเจ็บนะ







 



ประเพณีพันเท้าเริ่มตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ถังใต้ สมัยนั้น
พระชายาของจักรพรรดิหลี่ยฺวี่ทรงนำผ้ามาพันเท้า ให้เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว
แล้วทรงใส่ถุงเท้าสีขาวไปฟ้อนรำบนดอกบัวที่ ทำด้วยทองคำ
จักรพรรดิหลี่ยฺวี่ทรงพอพระทัยการฟ้อนรำนี้มาก และยังทรงชื่นชมว่า
พระชายาทรงมีปณิธานสูงกว่าเมฆ ดังนั้น ประเพณีการพันเท้าจึงเริ่มจาก
พระราชวังแล้วค่อยแพร่ไปยังหมู่ชาวบ้าน ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ
การพันเท้าได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้อง ปฏิบัติสำหรับผู้หญิง
คนในสมัยนั้นเชื่อกันว่า การพันเท้าเป็นสิ่งที่ดีงามอย่างหนึ่งสำหรับผู้หญิง
การไม่พันเท้าเป็น ความอัปยศอย่างหนึ่ง

ราชินีของจักรพรรดิที่สถาปนาราช วงศ์หมิงถูกหัวเราะและถูกดูถูกจากคนทั่วประเทศจีน
ก็เพราะมีเท้าที่ไม่ ได้พันมาตั้งแต่เด็ก

ในสมัยโบราณ ผู้หญิงเริ่มพันเท้าตั้งแต่อายุห้าหกขวบ
แล้ววิธีพันคือใช้ผ้าทำให้นิ้ว เท้าทั้งหมดยกเว้นหัวแม่เท้า
 รวมทั้งฝ่าเท้าหักแล้วงอไปกลางฝ่าเท้า ทำให้รูปเท้ากลายเป็นรูปหน่อไม้

เรา สามารถจินตนาการได้ว่า ผู้หญิงที่ถูกพันเท้าจะมีความทุกข์ทรมานมากขนาดไหน



แต่เพื่อประกันว่าลูกสาวจะ ได้ออกเรือน คุณแม่หรือคุณย่าจะไม่สนใจการร้องไห้และการขอร้องใดๆ ท่าน จะต้องทำหน้าที่ของตัวเองในการพันเท้าให้ลูก สมัยนั้น เท้าที่ถูกพันของผู้หญิงถูกเรียกว่า  ดอกบัวทอง แล้วการเดินของผู้หญิงที่มีเท้าเป็น "ดอกบัวทอง" ก็ได้รับการชมว่า  ทุก ก้าวล้วนก่อเกิดดอกบัว ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ชิง ประเพณีการพันเท้าเป็นที่นิยมมาก ผู้หญิงชาวฮั่นไม่มีใครไม่พันเท้า การทำแบบนี้ได้สร้างอุปสรรคแก่ผู้หญิงในด้านการเดิน จึงทำให้ออกจากบ้าน ไปไหนมาไหนไม่สะดวก แต่ที่จริงแล้ว ในสมัยที่ประเทศจีนยังค่อนข้างยากจนนั้น นอกจากผู้หญิงที่เกิดในครอบ ครัวที่ร่ำรวยแล้ว ผู้หญิงที่เกิดในครอบครัวที่ยากจนยังต้องตะเกียก ตะกายไปทำมาหากินข้างนอก เพราะฉะนั้นการพันเท้า
ทำให้ผู้หญิงประสบความ ยากลำบากขึ้นหลายสิบเท่า

ในประวัติศาสตร์ของจีน การพันเท้าก็เคยถูกห้าม

ตัวอย่างเช่นในสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคางซีทรงสั่งว่าห้ามพันเท้าเด็ดขาด
แต่กลับไม่ได้ผลเท่าไร จนถึงช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง การปฏิวัติซินไฮ่ทำให้ราชวงศ์ชิงค่อยๆ เสื่อมลง แล้วประเพณีนี้จึงจะค่อยๆ หายไป แต่ว่าบางทีในชนบท เรายังสามารถเห็นผู้หญิงที่มีเท้าเป็นแบบ  ซึ่งก็คือการพันเท้าเพียง ครึ่งส่วน แต่เท้าแบบที่ถูกพันจริงๆ เหมือนกับสมัยโบราณนั้น ไม่มีให้ เห็นอีกแล้วในปัจจุบัน

ประเพณีพันเท้านี้ สะท้อนให้เป็นถึงความชอบที่มีลักษณะพิเศษและโครงสร้างสังคม
ที่ฐานะทาง สังคมของผู้ชายสูงกว่าผู้หญิงในสมัยโบราณของประเทศจีน
การสูญหายของ ประเพณีนี้ในปัจจุบัน ทำให้ชาวโลกได้เห็นว่า
ผู้หญิงจีนมีฐานะทางสังคม สูงขึ้น และประเทศจีนก็ได้ก้าวจากยุคโบราณ
มาสู่ยุคที่ทันสมัยและเจริญ ขึ้น






 ธรรมเนียม การรัดเท้า 



การห้ามผู้หญิงมัดเท้า เป็นผลพวงครั้งใหญ่จากการปฏิวัติซินไฮ่ แต่อันที่จริงเมื่อศึกษาดูจากประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า การพันเท้าไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติต่อกันมาของสาวจีนจาก การขุดค้นพบศพหญิงสาวสมัยฮั่น ที่หม่าหวางตุย และซากศพแห้งของหญิงสาวที่ซินเกียง ล้วนเป็นซากศพที่มีเท้าใหญ่ ไม่ได้มีร่องรอยของการมัด หรือพันเท้าแต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่น นั้นแล้ว ประเพณีการมัดเท้าแท้จริงแล้ว เริ่มมีมาแต่สมัยใด?



หลังจากสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีนได้เกิดช่วงเวลาแห่งการแตกแยกครั้งใหญ่ขึ้นช่วงหนึ่ง
ในบันทึก ประวัติศาสตร์ เรียกช่วงเวลานี้ว่า "5ราชวงศ์ 10อาณาจักร"
ใน ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์ถังใต้ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า หลี่โฮ่วจู่
มีนิสัยชอบอ่านหนังสือ มีฝีมือด้านอักษรศาสตร์ และจิตรกรรม
แต่กลับขาดความสามารถด้านการปกครองประเทศ
พระองค์ ทรงมีพระสนมนางหนึ่ง เต้นรำอ่อนช้อยงดงาม ใช้ผ้าพันเท้า
เท้า นางเล็กโค้งงอดั่งพระจันทร์เสี้ยว นางสวมถุงเท้าขาว
เต้นระบำอยู่บนดอก บัวที่ทำด้วยทองสูง 6 ฟุต ลอยละล่องดุจเทพธิดา
นางได้รับความรักใคร่เอ็น ดูจากโฮ่วจู่เป็นอย่างมาก



หลังจากสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีนได้เกิดช่วงเวลาแห่งการแตกแยกครั้งใหญ่ขึ้นช่วงหนึ่ง
ในบันทึก ประวัติศาสตร์ เรียกช่วงเวลานี้ว่า "5ราชวงศ์ 10อาณาจักร"
ใน ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์ถังใต้ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า หลี่โฮ่วจู่
มีนิสัยชอบอ่านหนังสือ มีฝีมือด้านอักษรศาสตร์ และจิตรกรรม
แต่กลับขาดความสามารถด้านการปกครองประเทศ
พระองค์ ทรงมีพระสนมนางหนึ่ง เต้นรำอ่อนช้อยงดงาม ใช้ผ้าพันเท้า
เท้า นางเล็กโค้งงอดั่งพระจันทร์เสี้ยว นางสวมถุงเท้าขาว
เต้นระบำอยู่บนดอก บัวที่ทำด้วยทองสูง 6 ฟุต ลอยละล่องดุจเทพธิดา
นางได้รับความรักใคร่เอ็น ดูจากโฮ่วจู่เป็นอย่างมาก

คนสมัยต่อมาใช้คำ "จินเหลียน (ดอกบัวทอง)"
มาบรรยายเท้าเล็กของหญิงสาวจาก นั้นเป็นต้นมา กระแสนิยมมัดเท้าภายใต้การริเร่มของนักปกครองในสมัยศักดินา ก็ ได้สืบทอดต่อๆกันมา ยุคแล้วยุคเล่า นับวันกระแสความนิยมนี้ ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกระทั่งส่วผู้มีเท้าใหญ่แทบไม่มีโอกาสได้แต่ง งาน
หญิงสาวชาวจีนถูกกระทำอย่างทารุณเช่นนี้นับเป็นเวลาถึงพัน กว่าปี

จน กระทั่งปัจจุบัน พวกเราสามารถเห็นบรรดาหญิงสาวสูงอายุที่มีเท้าเล็ก
เดินเหินด้วยความยาก ลำบาก ตามถนนหนทาง หรือตามตรอกซอกซอยได้โดยบังเอิญ
หญิงสาวเหล่านี้คือ หลักฐานที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมของสตรีเพศ ภาย ใต้การปกครองในระบอบศักดินา


 

ใน สมัยจักรพรรดิคังซี ( ค.ศ. 1662-1721 ) แห่งราชวงศ์ชิง
แฟชั่น การรัดเท้าดำเนินถึงจุดสูงสุด โดยเฉพาะในมณฑลซันซี
 เหอเป่ย ปักกิ่ง เทียนจิน ซันตง เหอหนัน ส่านซี กันซู่
แต่ชนเผ่าแมนจูไม่มี ประเพณีให้ลูกสาวรัดเท้าอย่างชนชาวฮั่น
ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อจักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชบัลลังก์ได้ 3 ปี
ทรงมีพระราชโองการให้ เลิกประเพณีดังกล่าวเสีย โดยจะลงโทษพ่อแม่ของผู้ที่ฝ่าฝืน

อย่างไรก็ ตาม ความพยายามของจักรพรรดิแมนจู
ไม่ได้สร้างความหวั่นเกรงในหมู่ ประชาชนเลยแม้แต่น้อย
ประเพณีที่ดำเนินมาหลายร้อยปี ยังคงฝังแน่นอยู่ในระบบคิดของคนในสังคม
อย่างยากที่จะเปลี่ยนแปล ง ในที่สุดราชสำนักก็ต้องยกเลิกกฎข้อบังคับนี้ไป
หลังจากประกาศใช้ได้ เพียง 4 ปี



ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เด็กสาวลูกหลานชาวแมนจูก็เริ่มฮิตรัดเท้า
ตามหญิงสาวชาวฮั่นบ้าง จักรพรรดดิซุ่นจื้อ ( ค.ศ. 1644-1661)
ได้มีพระราชโองการ ห้าม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดิม
จนถึงสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ( ค.ศ. 1736-1795)
ก็ได้ทรงออกคำสั่งห้ามหลายครั้งไม่ให้รัดเท้า ความคลั่งไคล้ในแฟชั่นรัดเท้า
จึงค่อยลดลงไปได้บ้าง แต่ก็ยังมีการลักลอบทำกันอยู่ สาวๆแมนจูที่เดิม
ใส่รองเท้าไม้ก็สู้อุ ตสาห์ออกแบบรองเท้าไม้มีส ้นตรงกลาง
แต่มีหน้าตาภายนอกเหมือนรองเท้าดอก บัวทองคำ สำหรับหญิงสาวชาวฮั่นแล้ว
ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ พวกคลั่งไคล้แฟชั่นรัดเท้าต่างได้ใจว่า
แม้แต่จักรพรรดิก็ยังไม่สามารถ ขัดขวางพวกตนได้ ถึงขนาดร่ำลือกันไปว่า
การรัดเท้าเป็นสัญลักษณ์แห่งการ ไม่ยอมศิโรราบต่อผู้ปกครองแมนจู ของผู้หญิง ฮั่น



เพราะ เหตุใดจึงต้องรัดเท้า

เพราะเท้าเล็ก ดุจดอกบัวทองคำ ยาวแค่ 3 นิ้ว เป็นมาตรฐานที่สังคมจีน
เมื่อร้อยหลายปีมา แล้วประกาศว่า นั่นคือความสวยงามของผู้หญิง 
ผู้หญิงซึ่งไม่มีแม้แต่ สิทธิในความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเป็นได้แค่ ของเล่น 
ที่คอยรองรับอารมณ์ ของผู้ชาย การกดขี่ทางเพศเป็นเรื่องปกติของสังคม

และเพื่อสนองความ รู้สึกทางเพศของผู้ชายเ มื่อได้เห็นเท้าเล็กจิ๋ว
ที่เล็ดลอดชายกระโปรง ยาวมิดชิด พร้อมกับจินตนาทางเพศอันบรรเจิด
ทุกครั้งที่เห็นสะโพกขยับขึ้น ลง ในขณะเดิน อันเป็นผลจากลักษณะของฝ่าเท้า
ที่ไม่เสมอกัน เช่นเดียวกับท่าเดินของผู้หญิงสมัยนี้เวลาที่ใส่รองเท้าส้นสูง 
หญิงสาว นับไม่ถ้วนยอมทำร้ายเท้าที่สวยงามตามธรรมชาติของตัวเอง

แม่ ที่ " มองการณ์ไกล" ยอมทำร้ายลูกสาวที่ยังไม่ประสีประสาของตน 
เพราะกลัวว่า เมื่อโตขึ้น จะไม่มีผู้ชายมาสู่ขอหรืออาจถูกดูหมิ่นจากคนทั่วไปว่าเป็นผู้หญ ิงชั้นต่ำ 
แม้จะรู้ซึ้งดีว่าจากนี้ไปทุกคืนวันลูกสาวตัวน้อยๆต้องเจ็บ ปวดท รมานเหมือน 
ถูกเข็มหลายพันเล่มทิ่มแทงอย่างที่ตนเคยผ่านมาก็ตาม



ทำไมต้องเป็น ดอกบัวทองคำ 3 นิ้ว

ผู้ เชี่ยวชาญหลายคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า 
หลังจากที่พุทธ ศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศจีนและเป็นที่ยอมรับนับถ ืออย่างแพร่ 
หลาย กรปอกับอิทธิพลของพุทธศิลปะที่นิยมวาดรูปพระโพธิสัตว์ภาคเจ้าแม่กวนอิมยืน บน 
ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความดีงาม สะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า และเป็นมงคล ดอกบัว 
จึงถูกนำมาใช้เรียกเท้าเล็กจิ๋วของหญิงสาวราวกับ เป็นสิ่งดีงาม เพราะผู้หญิงที่ดีต้องอ่อนแอ 
ช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังของพ่อ สามีหรือลูกชาย 
เป็นกรอบความคิดที่สังคม ผู้ชายเป็นใหญ่วาง กับดักไว้

นอก จากนี้ สิ่งที่มีค่าสูงส่งมักจะได้รับการเปรียบเปรยว่ามีค่าดุจดั่งทอง ใ
นยุค สมัยนั้น ผู้คนต่างชื่นชมยินดีกับการมีเท้าเล็กจิ๋วกับรองเท้าดอกบัวทองค ำคู่จิ๋ว 
แม้แต่ในยามที่เสพสังวาสกัน สตรีก็ไม่ยอมถอดรองเท้าดอกบัวทองคำที่หวงแหน
ราวกับเป็นเครื่องป ระดับล้ำค่า ของนาง



 ในปลายสมัยชิง ทุกปีในวันที่ 6 เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ ที่เมืองต้าถง มณฑลซันซี จะมี 
งานประกวดเท้าสวย โดยหญิงสาวจะแข่งกันอวดเท้าเล็กจิ๋วของตนให้คนที่เดินผ่านไปมา 
ชื่นชม และตัดสิน โดยดูจากขนาดของเท้าและความสวยงามของรองเท้า 
ที่มีลวดลาย ประณีตงดงาม ซึ่งเกิดจากฝีมือการเย็บปักถักร้อยของหญิงสาว 
แสดงให้เห็น ว่าเท้าที่ถูกรัดจนพิกลพิการกับรองท้าคู่จิ๋ว 
ได้รับการเทิดทูนเพียงใด ในสังคมศักดินายุคนั้น

ผู้หญิงสมัยนั้นบ้า คลั่งประเพณีการรัดเท้ามากถึงขั้นตั้งเกณฑ์ว่า 
หากเท้าผู้ใดยาวไม่เกิน 3 นิ้วจะเรียกว่าเป็น เท้าดอกบัวทองคำ 
ถ้ายาวกว่า 3 นิ้วแต่ไม่เกณฑ์ 4 นิ้วให้เรียกว่า 
เท้าดอกบัวเงิน หากยาวกว่า 4 นิ้วก็จะถูกลดชั้นเป็น ดอกบัวเหล็ก 






 
Credit: http://atcloud.com/stories/85195
1 ก.ค. 53 เวลา 02:08 17,059 19 186
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...