http://www.meekhao.com/news/nuclear-fuel
ชมภาพบรรยากาศจากโรงงานผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศรัสเซีย ผู้นำการผลิตเชื้อเพลิงที่ส่งออกพลังงานนิวเคลียร์ไปยังหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงการขั้นตอนสุดท้ายก่อนการขนส่ง
Novosibirsk Chemical Concentrates Plant คือบริษัทผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ในประเทศรัสเซีย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์นั้นไม่ได้มีแต่ด้านที่เป็นอันตรายอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะนอกจากจะเป็นพลังงานที่มีราคาถูกที่สุดแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาล เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดจากการสกัดแร่ยูเรเนียมออกจากแร่ธาตุอื่น จากนั้นก็นำไปบดเป็นผง อัดแท่ง และผ่านกระบวนการเผาไหม้ ยูเรเนียม 1 ตันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้กว่า 45 ล้านกิโลวัตต์เป็นเวลา 4 ชั่วโมง เทียบได้กับถ่านหิน 20,000 ตัน หรือก๊าซธรรมชาติ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร
โรงงาน Novosibirsk Chemical Concentrates Plant ถือได้ว่าเป็นโรงงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องสวมเครื่องป้องกันรังสีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
ภายในโรงงานมีสัญลักษณ์เตือนถึงอันตรายของรังสีติดไว้ทั่วทุกพื้นที่
รวมทั้งคำอธิบายและรายละเอียดที่ควรรู้เกี่ยวกับโรงงาน
อุปกรณ์เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและครบครัน
นี่คือหน้าตาของเครื่องจักรที่ใช้ผสมแร่ยูเรเนียมเข้ากับพลาสติไซเซอร์
จากนั้นก็นำแท่งยูเรเนียมมาบรรจุลงในกล่องเหล็ก
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกระบวนการเผาไหม้
ไฟจากไฮโดรเจนถูกจุดไว้ที่อุณหภูมิ 1,750 องศาเซนติเกรด ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 20 ชั่วโมงในการเตรียมการ
ยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเผาเรียบร้อยแล้วจะต้องมีขนาดและรูปร่างที่เท่ากันทุกชิ้น
หนึ่งแท่งมีน้ำหนัก 4.5 กรัม ให้พลังงานเท่ากับน้ำมัน 2 บาร์เรล
จากนั้นก็นำไปบรรจุในท่อเซอร์โคเนียม
ซึ่งสามารถบรรจุแท่งยูเรเนียมได้ครั้งละ 312 แท่ง
นี่คือหน้าตาของเครื่องจักรจากยุคของสหภาพโซเวียตที่มีลักษณะเหมือนตู้กดน้ำ
ไก่หน้าตาประหลาดที่คาดว่าได้รับผลกระทบจากรังสี
ในโรงงานแห่งนี้มีพนักงานอยู่มากกว่า 2,277 คน
หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดแท่งพลังงานนิวเคลียร์ก็จะถูกใส่เข้าไปในท่อ
และเตรียมพร้อมสำหรับการขนส่งไปทั่วโลก
บรรยากาศภายในโรงงานผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นั้นดูแล้วไม่ได้แตกต่างจากโรงงานทั่วไป เพียงแต่พนักงานทุกคนต้องมีความระมัดระวังในการทำงานอย่างสูงเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ที่มา http://wonderfulengineering.com/these-pictures-show-how-nuclear-fuel-is-produced/