รูป ญี่ปุ่น วัดประตูสาร....เมื่อขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อลักพานางวันทอง

รูป ญี่ปุ่น วัดประตูสาร....เมื่อขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อลักพานางวันทอง

เมื่อ ศิษย์วัดเปิดพระวิหารให้เราเข้าไป พอผมเห็นภาพกระจกเหล่านั้นปร๊าบ ผมนึกถึง คำกลอน “กระจกใสใส่อย่างยี่ปุ่นกลาง” ได้ทันที

บรรณาลัย

โชติช่วง นาดอน


....

รูปญี่ปุ่น วัดประตูสาร

จังหวัดสุพรรณบุรี



เมื่อขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อลักพานาง วันทอง สำนวนหอพระสมุดมีคำกลอนบรรยายตอนขุนแผนเดินผ่านหอกลางเรือนขุนช้างว่า

๐ เดินถือฟ้าฟื้นขึ้นหอกลาง ของขุนช้างสร้างขึ้นไว้ใหม่ใหม่

หอนั่งตั้งฉากพับไว้ ขุนทองกรงใส่สะอาดตา

กระจกใหญ่ใส่รูปฝรั่งนั่ง ในตาตั้งค้อนคมดูสมหน้า

ชมพลางทางเดินเพลิดเพลินมา รีบเร่งหาเจ้าวันทอง ๐

สำนวนเสภาตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ฉบับหอพระสมุดนั้น ว่ากันว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ถ้าเป็นจริง ก็แสดงว่า ในรัชกาลที่สอง มีรูปฝรั่งใส่กรอบกระจกแพร่เข้ามาถึงกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว

ภาพวาดใส่กรอบภาพสำคัญมากในรัชกาลที่สามคือภาพ “เจ้าวิลาต” เป็นภาพวาดควีนส์วิคตอเรีย ตอนที่ราชาภิเษกขึ้นเสวยราชย์ขณะวัยเพียง 18 ปี ภาพนี้ข้าหลวงส่งให้พระยาไทรบุรี (ตนกูยาดี) แล้วพระยาไทรบุรีส่งถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่สาม พระองค์ทรงโปรดให้ติดไว้ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

ภาพควีนส์วิคตอเรียภาพนั้นเป็นรูปยืน วาดเพียงครึ่งพระองค์

“รูปฝรั่งนั่ง” ในกลอนตอนนี้จึงมิใช่ภาพเจ้าวิลาตอย่างแน่นอน

เรื่องนี้คงไม่มีอะไรจะขยายความ ถ้าผมไม่ได้ศึกษาเสภาตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุน ช้าง สำนวนเก่าอีก 2 สำนวน เมื่อศึกษาดูแล้วพบว่า สำนวนฉบับหอพระสมุดปรับปรุงเขียนให้ไพเราะ ขึ้น โดยดัดแลงแก้ไขจากสำนวนเก่าสองสำนวนนี้นั่นเอง

2 สำนวนดังกล่าวถูกบรรณาธิการ คือ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ และ กรม หมื่นกวีพจน์สุปรีชา คัดออกไม่ใส่ไว้ในฉบับหอพระสมุด สำนวนเก่า 2 สำนวนนั้นมีฉบับพิมพ์ไว้ในชื่อ “เสภา ขุนช้างขุนแผนความเก่า"พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานยืนชิงช้า พ.ศ.2468 และผมนำมาวิเคราะห์และพิมพ์ครั้งที่สองเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว (ประมาณ พ.ศ 2533)

สำนวนเก่าทั้งสองสำนวนนั้น บรรยายภาพหอกลางของขุนช้างไว้ต่างกับสำนวนฉบับกอ พระสมุดนิดหน่อย ที่สำคัญคือคำกลอนว่า 

“กระจกใสใส่อย่างญี่ปุ่นกลาง รูปฝรั่งนั่งไพล่ในกระจก”

ทำให้ผมสงสัยคำว่า “รูปญี่ปุ่นใส่กระจก”

คำกลอนสองสำนวนนั้นมีดังนี้

สำนวนที่หนึ่ง

๐ ขุนแผนยืนดูอยู่หอขวาง ของขุนช้างสร้างขึ้นไว้ใหม่ใหม่

กอนั่งตั้งฉากตลอดไป กระจกใสใส่อย่างยี่ปุ่นกลาง

รูปฝรั่งนั่งไพล่ในกระจก แล้วแขวนนกโนรีที่หน้าต่าง

ดูฝรั่งตั้งหน้าชำเลืองนาง เหมือนอย่างคมค้อนงอนตละเป็น ๐

สำนวนที่สอง

๐ ฉวยถอดฟ้าฟื้นขึ้นหอกลาง ของขุนช้างสร้างขึ้นไว้ใหม่ใหม่

ที่หอนั่งตั้งฉากพับไว้ กระจกใสใส่อย่างยี่ปุ่นกลาง

รูปฝรั่งนั่งไพล่ในกระจก นกโนรีแขวนไว้ที่หน้าต่าง

ดูฝรั่งนั้นใคร่ดูตานาง เหมือนอย่างข้องค้อนงอนดังเป็น ๐

ผมยังไม่เข้าใจ “กระจกใสใส่อย่างยี่ ปุ่น” จนกระทั่งผมไปเก็บภาพและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องขุนช้างขุน แผนที่สุพรรณบุรี โดยมี อาจารย์ถาวร สิกขโกศล เป็นผู้นำพา

สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ผมไปชมคราวนั้นคือ วัดประตูสาร ความตั้งใจครั้งนั้นเพียงเพื่อจะชมภาพจิตรกรรมฝาผนังเท่า นั้น เมื่อแจ้งความประสงค์แก่พระภิกษุผู้รับผิดชอบแล้ว ท่านได้กรุณาให้ ศิษย์วัดเปิดพระอุโบสถให้คณะของเราได้ชม ครั้นเราถ่ายภาพกันพอใจแล้วทำท่าจะ เดินทางกลับ ศิษย์วัดผู้มีความรู้เรื่องมรดกวิเศษของวัดนั้นรีบถามผมว่า “น้า ๆ ไม่ดูรูปกระจกก่อนหรือ” ทำเอาพวกเรางง เพราะไม่ทราบมาก่อนว่าที่วัดนี้มี ศิลปวัตถุรูปกระจกด้วย

เมื่อศิษย์วัดเปิดพระวิหารให้เราเข้าไป พอผมเห็นภาพกระจกเหล่านั้นปร๊าบ ผม นึกถึงคำกลอน “กระจกใสใส่ อย่างยี่ปุ่นกลาง” ได้ทันที

นี่แหละคือ รูปใส่กระจกอย่าง ญี่ปุ่นบนเรือนขุนช้าง?

ภาพญี่ปุ่นเหล่านั้นเป็นภาพทิวทัศน์ในญี่ปุ่น ใส่กรอบกระจกใส พระท่านบอกว่า แต่เดิมกระจกขุ่นเป็นฝ้ามัวหมด มองไม่ออกว่าเป็นภาพอะไร ทางวัดเก็บทับซ้อน ๆ กันเอาไว้โดยยังไม่รู้เหมือนกันว่ามันมีคุณค่าอย่างไร

ผู้ที่มาพบเห็นและช่วยอนุรักษ์ศิลปวัตถุอันมีค่ายิ่งนี้ไว้คือ อาจารย์ สน สีมาตรัง แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัจจุบันนี้กรอบกระจกถูกขัดล้างจนใสพอจะมองเห็นภาพในกรอบได้บ้างแล้ว ภาพ เหล่านี้มีจำนวนมากเก็บเรียงซ้อนไว้ ด้วยความเกรงใจและเกรงชำรุด ผมจึงขยับภาพมาถ่ายรูปไว้เพียงสามสี่ภาพ ไม่กล้ารื้อดูทั้งหมด 

ไม่แน่ใจว่า จะมีรูปฝรั่งนั่งปนอยู่ในภาพเหล่านั้นบ้างหรือไม่

ภาพที่ผมดูสามสี่ภาพ ล้วนเป็นทิวทัศน์ญี่ปุ่น มีมิติความลึก จึงนับเป็นของแปลกสำหรับคนไทยยุคโบราณ

วัดประตูสารและภาพญี่ปุ่นมีความสำคัญอย่างไร

วัดประตูสารนี้ สมัยก่อนโน้น เคยใช้ศาลาการเปรียญเป็น “ศาล” ชำระคดีความกันจริง ๆ ชื่อเดิมน่าจะเรียกว่าวัดประตูศาล

วัดนี้น่าจะเป็นวัดเก่าแก่ แล้วบูรณะ ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่สาม เพราะมีหลักฐานว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ นั้น วาดในสมัยรัชกาลที่สาม ผู้ที่วาดนั้นว่ากันว่า ชื่อนายคำและนายเทศ แต่อีกความเชื่อหนึ่งก็ว่าวาโดยครูอิ้ม ซึ่งมา จากกรุงเทพ

นายคำ ช่างวาดผู้นี้ เป็นผู้ที่วาดจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วัดพระรูป เป็นชาว เวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนมาครั้งศึกปราบเจ้าอนุวงศ์

“วัดพระรูป” อยู่ไม่ไกลจากวัดประตูสาร เป็นวัดเก่าแก่มาก ยุคสุพรรณภูมิ (ก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยา) บูรณปฏิสังขรณ์สมัยรัชกาลที่สาม นาม “วัดพระรูป” นี้ชวนให้นึกไปถึงว่าการปฏิสังขรณ์วัดนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์สูง ศักดิ์ฝ่ายในที่ผนวชเป็นชี เพราะมีหลักฐานคำว่า “พระรูป” เป็นราชาศัพท์เรียกพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทรงผนวชเป็นชี คำสามัญชนเรา มีคำศัพท์ว่า “รูปชี” เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์จึงเรียกว่า “พระรูป”

พระราชชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (ท่านนาค) มเหสีรัชกาลที่หนึ่ง ท่านทรงผนวชเป็นชี ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาให้เป็น “สมเด็จพระรูปศิริโส ภาคย์มหานาคนารี”

“วัดประตูสาร” ก็น่าจะปฏิสังขรณ์ รุ่นเดียวกับวัดพระรูป เพราะใช้ช่างวาดชุดเดียวกัน

ส่วนเรื่องญี่ปุ่นนั้น ผมนึกถึงกาพย์เห่เรือของรัชกาลที่สอง ที่ชมอาหาร คาว มีคำกาพย์ว่า

๐ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา

รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ ๐

แสดงว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นแพร่หลายถึง ไทยแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่า จะมีกรอบกระจกใส่รูปญี่ปุ่นแพร่หลายถึงสยาม มีปรากฏในกลอนเสภาขุนช้างขุนแผน และยังมีตัวจริงหลงเหลืออยู่มี่วัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี


....

ที่มา...นสพ สยามรัฐ











Credit: Opey
29 มิ.ย. 53 เวลา 22:33 11,370 20 298
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...