15 อีกฟากของชะตา ของคนที่อยู่บนอเมริกาดินแดนแห่งความฝันแต่ชีวิตแตกสลาย!!

http://www.meekhao.com/news/american-poverty

ความยากจนเป็นปัญหาที่ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลกใบนี้ เพราะแม้แต่หนึ่งในประเทศที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ยังมีประชากรที่ทนทุกข์กับปัญหาความยากจนอยู่เป็นจำนวนมหาศาล

ประชากร 1 ใน 7 คน มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า “เส้นแบ่งความยากจน” ของสหรัฐฯ หรือคิดเป็นจำนวน 45 ล้านคนจากประชากรทั้งสิ้นราว 318 ล้านคน ขณะที่ชนชั้นกลางและคนร่ำรวยไขว่คว้าหาความสำเร็จแบบ American Dream พวกเขาเหล่านี้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดไปวันๆ คนบางคนไม่ได้เกิดมาพร้อมความยากจนข้นแค้น และพวกเขาก็ไม่ใช่คนขี้เกียจหรือไร้ความสามารถจนหาเงินทองไม่ได้ แต่บางครั้งอุบัติเหตุ โรคร้าย หรือโชคชะตาบางอย่างก็ทำให้พวกเขากลับต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้ นี่คือ 15 ผลงานของช่างภาพชาวเดนมาร์ก Joakim Eskildsen ที่ออกเดินทางไปทั่วสหรัฐฯ เพื่อบันทึกภาพอีกมุมหนึ่งของอเมริกาที่ซ่อนเร้นอยู่ในเงามืด

Kate Three Legs หลบหนีจากสามีผู้เหี้ยมโหดออกมาอาศัยอยู่กับลูก พี่สาว และลูกของพี่สาว ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้ที่ร้ายแรงจนเผาทำลายทุกอย่างในบ้านของพวกเธอไปจนหมดสิ้น 

Darlene Rosas เคยฝึกฝนอย่างหนักเพื่อเตรียมพร้อมที่จะประกอบอาชีพพยาบาล แต่วันหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุซึ่งทำให้เธอได้รับบาดเจ็บอย่างหนักจนพิการ ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในรัฐเซาท์ดาโคตาบนรถพ่วงคันเก่าโดยไม่มีน้ำประปาหรือไฟฟ้า และต้องใช้เงินผู้พิการ 800 ดอลลาร์ร่วมกับลูกๆ อีก 2 คน

Ronald Major สูญเสียบ้านของเขาไปในเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาถล่ม ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ใต้สะพาน Claiborne Avenue เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา และต้องรอรับอาหารจากอาสาสมัครเพราะไม่สามารถเดินทางไปไหนได้โดยไม่มีเก้าอี้ล้อเข็น

Terry Fitzpatrick อาศัยอยู่กับแฟนสาวในเต็นท์กลางป่าใกล้กับห้างสรรพสินค้าในเมืองเอเธนส์ รัฐจอร์เจีย เพื่อ “ความสงบและเป็นส่วนตัว” เทอร์รี่เริ่มออกเดินทางไปเรื่อยๆ หลังจากมารดาของเขาเสียชีวิต

Frank และ Jessica Whitehill ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์อสังหาริมทรัพย์ที่ทำให้บ้านถูกยึด พวกเขาและลูกชายวัยรุ่นอีก 3 คนพยายามย้ายเข้าไปอาศัยในบ้านหลังอื่นแต่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่และถูกโยนข้าวของออกมาจากบ้านเป็นประจำ

Aleena Arnesen และ Elizabeth ลูกพี่ลูกน้อง อาศัยอยู่แถบชายฝั่งรัฐลุยเซียนา พ่อของ Aleena มีอาชีพเป็นชาวประมง แต่เขามีรายได้ลดลงกว่าครึ่งหลังเกิดเหตุน้ำมัน BP รั่วไหลเมื่อปี 2011 แม่ซึ่งรับจ้างทำความสะอาดบอกว่า “รัฐบาลบอกว่าไม่มีอะไรผิดปกติขณะที่สามีของฉันต้องจับปลาโดยมีสารเคมีสีดำลอยอยู่ด้านบน”

พ่อแม่ของ Quintavius Scott แยกทางกันแต่ยังคงทำหน้าที่พ่อและแม่ที่ดี Quinton ผู้เป็นพ่อซึ่งภาคภูมิใจในตัวลูกชายมากมักจะกังวลอยู่เสมอว่าเด็กชายจะถูกทำร้ายหรือฆาตกรรมเนื่องจากการเหยียดเชื้อชาติที่รุนแรง

Spirit Grass เป็นชนพื้นเมืองอเมริกันหรือชาว Lakota ปัจจุบันแม่ของเธอตกงานส่วนพ่อก็ต้องออกไปทำงานรับจ้างไกลจากบ้านถึง 40 ไมล์ Spirit พยายามเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยด้วยทุนนักกีฬาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวให้ดีขึ้น

Marla และ Darren Sumner เคยเป็นสถาปนิกและนักออกแบบภายใน จนกระทั่งถูกไล่ออกในปี 2008 และยังไม่สามารถหางานที่เหมาะสมกับทักษะความสามารถของตัวเองได้

Javier Hernandez และ Albino Lopez เป็นผู้อพยพจากประเทศเม็กซิโก ที่ย้ายมาอาศัยอยู่ในสหรัฐฯตั้งแต่ช่วงปี 1970 ปัจจุบันพวกเขาทำงานรับจ้างเก็บผักและผลไม้ ส่วนในฤดูหนาวจะเดินทางไปรัฐอลาสก้าเพื่อรับจ้างทำประมง

Felicia Ogbodo เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ถูกไล่ออกจากงาน ด้วยวุฒิปริญญาโทเธอไม่เคยคิดว่าตนจะตกอยู่ในสภาพแบบนี้ ส่วน Ermaline ลูกสาวของเธอกำลังจะเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยโดยได้รับทุนการศึกษา

หนูน้อย Eric ต้องเดินเท้าเป็นระยะทาง 2 ไมล์จากบ้านใน Firebaugh รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อไปรับอาหารแจกฟรีกับคุณยาย หนูน้อยอาศัยอยู่ในลานจอดรถพ่วงกับคนงานผู้อพยพคนอื่นๆ โดยครอบครัวของเขาซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 5 คนได้รับเงินช่วยเหลือสัปดาห์ละ 350 ดอลลาร์

Madai Nunez ทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็กในที่พักสำหรับผู้อพยพในเมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะที่พ่อแม่ของเด็กๆ อย่างเช่นหนูน้อย Amy ออกไปทำงานรับจ้าง

James และ Diane Kinley อาศัยอยู่ในเมืองเอเธนส์ รัฐจอร์เจีย เจมส์ต้องออกจากงานเพราะป่วยเป็นโรคหัวใจ ประกันสุขภาพจากที่ทำงานไม่ได้ครอบคลุมถึงโรคของเขา ปัจจุบันเจมส์ต้องใช้ประกันสุขภาพของรัฐบาลแต่ก็ยังไม่พอต่อค่าใช้จ่ายและเกรงว่าจะต้องสูญเสียบ้านไปเพราะค่ารักษาพยาบาล

Yolanda Rodriguez อาศัยอยู่ในเมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่เต็มไปด้วยปัญหาอาชญากรรมและคนไร้บ้าน Yolanda ป่วยเป็นโรคเบาหวานจนต้องตัดนิ้วเท้าออกไป ปัจจุบันเธอมีชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยอาหารและสิ่งของจากมูลนิธิและองค์กรต่างๆ

ที่มา http://www.dailymail.co.uk/news/article-3783055/One-photographer-takes-unflinching-look-poverty-US.html

Credit: http://www.dailymail.co.uk/news/article-3783055/One-photographer-takes-unflinching-look-poverty-US.html
8 ธ.ค. 59 เวลา 05:07 5,318 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...