รอยพระบาทแห่งสันติสุข


      


    จากสถานการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ในปีพุทธศักราช 2497 พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง เข้าสู่ทางภาคเหนือ ของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว ไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ ทางแนวชายแดน ในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน รวมทั้งพื้นที่ชายแดนด้านจังหวัด พะเยา ในปัจจุบันบางส่วน


   ภาย หลังจากการปลุกระดมชาวไทยภูเขาบางพื้นที่ ได้ประสบผล สำเร็จในปีพุทธศักราช 2507 พคท.ได้คัดเลือกแนวร่วมบางส่วนเพื่อส่งไปอบรมวิชาการ เมืองและการทหารเป็นรุ่นแรก ที่เมืองฮิวมันต์ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อ กลับมาปฏิบัติงานและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์


   ภายในปีพุทธศักราช 2507 สมาชิก พคท. ส่วนนี้ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในการชี้นำ ด้านการเมืองและการทหารในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อสามารถขยายเขตงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท.จึงเปิดฉากการต่อสู้ด้วย อาวุธกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในภาคเหนือเป็นครั้งแรก ที่บ้านน้ำปาน ตำบลนาไร่หลวง อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2510 ซึ่งถือเป็น วันเสียงปืนแตก การต่อ สู้รุนแรงขึ้นตามลำดับ การต่อสู้ ระหว่าง พคท. และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ครั้งแรกที่จังหวัด เชียงราย ที่บ้านชมภู ตำบลยางฮอม อำเภอเทิง (ปัจจุบันอำเภอขุนตาล)


         


   เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2510 ซึ่งเกิดการปะทะกันในเขตพื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น นับตั้งแต่พุทธ ศักราช 2521 พคท.สามารถตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงในภาคเหนือได้ถึง 9 แห่ง และฐานที่มั่นคงที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ฐานที่มั่นดอยยาว - ดอยผาหม่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พคท. ได้จัดตั้งคณะ ทำงานโดยใช้ชื่อว่า คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตงาน หรือเขต งาน 52 เขตงาน 7 และเขตงาน 8 พื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของเขตงาน 8 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมทั้งที่อำเภอเวียงแก่นและอำเภอขุนตาลในปัจจุบัน


   กองกำลังติดอาวุธของ พคท. ในขณะนั้นมีประมาณ 600 คน มวลชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ 2,300 คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของ กองกำลัง และมวลชนดังกล่าว คือขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ในการสร้างเส้นทางและพัฒนาพื้นที่ เพื่อความมั่นคงในการสู้รบระหว่าง พคท.และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ (หนองเตา) ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรมเนิน 1188 ดอยพญาพิภักดิ์) ) ในปี พ.ศ. 2524 กองพัน ทหารราบที่ 473 ภายใต้แกนนำของพันโท วิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพัน ซึ่งจัดกำลังจากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 ได้ส่งกำลังเข้าปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในพื้นที่ ดอยยาว - ดอยผาหม่น หลายยุทธการด้วยกัน จนกระทั่งถึงยุทธการสำคัญ คือ ยุทธการเกรียงไกร (วีรกรรมเนิน 1188) บนดอยพญาพิภักดิ์ ส่งผลให้ พคท. ล่มสลาย....


   บนดอยพญาพิภักดิ์ ส่งผลให้ พคท. ล่มสลายไปในที่สุดใน ห้วงการต่อสู้กับ ผกค. พื้นที่ภาคเหนือนั้น สถานการณ์ในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย มีความรุนแรงมาก ส่งผลทำให้ ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงรายและผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต้องสูญเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ บริเวณบ้านหัวกว้าน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การสูญเสียบุคคลสำคัญไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ร้อยโททายาท คล่องตรวจโรค และร้อยโทปิยวิพากษ์ เยี่ยมยาติ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก จากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 กองพันทหารราบที่ 473 ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างห้าวหาญ และเสียสละอย่างสูงสุดในการปราบปราม ผกค. ก็ต้องสูญเสียชีวิต ในการปราบปราม ผกค.ก็ต้องสูญเสีย ชีวิตพร้อมกันทั้ง 2 ท่าน  นอกจากนั้นก็ยังมีข้าราชการตำรวจ และพลเรือนอีกจำนวนมากที่อุทิศชีวิตเป็นราชพลี เพื่อปกป้อง ผืนแผ่นดินให้รอดพ้นจากภัยคุกคามของ ผกค.


  ด้วยพระบารมี ปกเกล้าฯ แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์จอมทัพไทย ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เพื่อ ทรงเยี่ยมทหารหาญ และราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว อำเภอเทิง (ปัจจุบันอำเภอขุนตาล) จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2525

           


    ในการเสด็จฯ ทรงเสด็จเยี่ยมทหารหาญ และพสกนิกรชาว อำเภอเทิง และอำเภอใกล้เคียง ในวโรกาสอันมิ่งมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าประทับรอยพระบาทของพระองค์ลง บนแผ่นปูนพลาสเตอร์ตามคำกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระราชานุญาต ของพันโทวิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพันทหาร ราบที่ 473 ณ ที่ศาลาบนดอยพญาพิภักดิ์แห่งนี้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารหาญและพสกนิกรฯ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความ สันติสุขตลอดไป ..


         ปัจจุบันรอย พระบาทฯ ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลารอยพระบาท ค่ายเม็งรายมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นมิ่งขวัญของกำลังพลในค่ายเม็งรายมหาราชตลอดจน ประชาชนทั่วไป

ประมวลภาพแห่งความสันติสุข..












































 




















  “ขอเป็นฐาน รองบาท ราชวงศ์ ด้วยจำนง จงรัก และภักดี”


เครดิต : http://www.yanghom.com/index.php?name=original&file=readoriginal&id=21

http://romphosai.com/forums/forum11/thread2022.html

ภาพจาก : GooGle..

Credit: http://atcloud.com/stories/85095
29 มิ.ย. 53 เวลา 16:52 6,659 25 230
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...