ตารางเวลาปิดปรับปรุง สะพานข้ามแยกทั่วกรุงเทพ กทม.ทยอยปิดสะพานข้ามแยกเพื่อซ่อมแซม 10 แห่ง โดยสะพานแรกคือ สะพานข้ามแยกรัชโยธิน ดูกำหนดเวลา ซ่อมสะพาน พร้อมเช็คเส้นทางเลี่ยง ได้ที่นี่ค่ะ
สำหรับสะพานแรกที่จะทำการปิดซ่อมแซม คือ สะพานข้ามแยกรัชโยธิน เริ่มปิดการจราจรวันที่ 1 กันยายน 2552 ใช้เวลาปิด 30 วัน โดยปิดการจราจรด้านละ 15 วัน สำหรับเส้นทางเลี่ยงสะพานข้ามแยกรัชโยธิน ผู้ที่ใช้ถนนรัชดาภิเษกต้องการมุ่งหน้าพระราม 7 ให้เลี้ยวซ้ายที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว เข้าปากทางลาดพร้าว ไปขึ้นสะพานต่างระดับรัชวิภาไปสะพานพระราม 7 ได้ ในทิศทางกลับกันจากพระราม 7 ใช้ต่างระดับรัชวิภาให้ลงที่วิภาวดีแล้วเข้าถนนลาดพร้าวที่ปากทางลาดพร้าว นอกจากนี้ยังมีเส้นทางลัดในซอยใกล้เคียง 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางจากซอยพหลโยธิน 33 - รัชดาภิเษก 46
2. ซอยวิภาวดี 32 - ซอยพหลโยธิน 23
3. ซอยวิภาวดี 38, 42 ไปออกซอยพหลโยธิน 35 หรือไปออกซอยรัชดาภิเษก 46/1 ได้
สะพาน ข้ามแยกพระราม 9-รามคำแหง, สะพานพระราม 9-อสมท, สะพานอโศก-เพชรบุรี ทั้ง 3 สะพานแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ที่กำลังก่อสร้าง รวมทั้งมีการซ่อมถนน โรคัลโรด กทม. จึงจำเป็นต้องชะลอการปรับปรุงไว้ก่อน รอให้โครงการต่างๆ เสร็จเรียบร้อยค่อยดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นตัวเลือกในการเลี่ยงเส้นทางเมื่อมีการซ่อม สะพาน ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือน ต.ค.
โดย สะพานพระราม 9-อสมท และพระราม 9-รามคำแหง ทั้ง 3 แห่ง จะใช้เวลาปรับปรุงแห่งละ 90 วัน ส่วนสะพานอโศก-เพชรบุรี ก็ต้องรื้อสร้างใหม่ จะใช้เวลาประมาณ 10 เดือน การทำงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 งานตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้างวัตถุประสงค์ เพื่อรองรับการใช้เส้นทางจราจรให้สอดคล้อง กับปัจจุบัน ได้แก่
1. ปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น
2. น้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายใหม่
3. ข้อกำหนดการต้านทานแรงแผ่นดินไหว
ส่วน ที่ 2 งานปรับปรุงโครงสร้างสะพาน โดยมี ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ในส่วนของการจัดการจราจรแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1. งานที่ดำเนินการได้ก่อนทำการปรับปรุงโครงสร้างสะพาน และไม่ต้องปิดจราจรหรือปิดจราจรชั่วคราว
2. งานปรับปรุงโครงสร้างสะพาน ที่ดำเนินการได้โดยต้องทำการปิดจราจร บนสะพาน ทิศทางละ 45 วัน
3. งานที่ต้องดำเนินการหลัง จากงานปรับปรุงโครงสร้างสะพานแล้ว เสร็จ โดยไม่ต้องปิดจราจรหรือปิดจราจรชั่วคราว
สิ่ง จำเป็นที่ต้องดำเนินการภายหลังทำการปรับปรุงโครงสร้างหลัก ได้แก่ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำบนสะพาน ปรับปรุงพื้นทางเท้าใต้สะพาน และปรับปรุงรั้วตาข่ายเชิงลาด เป็นต้น เสร็จเมื่อไหร่รับรองคนกรุงได้ใช้รถใช้ถนนกันสบายใจเหมือนเดิมแน่นอน
เว็บไซต์ตรวจสอบเส้นทางลัด
ประชาชน สามารถตรวจสอบเส้นทางหลีกเลี่ยง เส้นทางลัด และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการปรับปรุงสะพานเหล็กข้ามแยก ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ที่ http://www.bangkok.go.th/ และ http://bkkbridge.homeip.net/ พร้อมแจ้งปัญหาอุปสรรคการเดินทางจากผลกระทบการจราจรได้ที่สายด่วน กทม.1555