Masabumi Hasono ชายชาวญี่ปุ่นวัย 42 ปี เขาทำงานเป็นข้าราชการในกระทรวงการขนส่งให้กับประเทศญี่ปุ่น และในปี 1910 เขาก็ถูกส่งตัวไปยังประเทศรัสเซียเพื่อทำการวิจัยระบบรถไฟ และในตอนกลับไปประเทศญี่ปุ่นนั้น เขาต้องเดินทางนั่งที่เซาแธมป์ตันในกรุงลอนดอน จากนั้นก็ขึ้นเรือไททานิคเมื่อวันที่ 10 เมษายน 1912
แล้วในคืนวันที่ 14 เมษายน ขณะที่เรือไททานิคกำลังจมนั้น Hasono กำลังนอนหลับอยู่ในห้องของเขาจากชั้นสองของเรือ แต่แล้วพนักงานบนเรือก็ปลุกเขาให้ตื่นขึ้นและไปยังดาดฟ้าเรือ
เมื่อเขาขึ้นไปถึงบนดาดฟ้าเรือก็เห็นเรือชูชีพลำหนึ่งถูกปล่อยลงในทะเล ตอนนั้นเขาตกใจมากและพยายามทำใจยอมรับความตาย แต่แล้วในขณะที่เขาเฝ้ามองดูเรือชูชีพที่กำลังจะถูกปล่อยลงไปก็มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งตะโกนขึ้นว่า "มีที่นั่งสำหรับอีกสองคน"
หลังจากนั้นก็มีชายคนหนึ่งกระโดดลงไปในเรือชูชีพที่อยู่บริเวณใกล้เคียง การกระทำของชายคนนั้นกระตุ้นความคิดของเขาและด้วยความที่อยากรอดตายเขาจึงกระโดดลงไปในเรือตามชายคนนั้น
หลังจากที่เขารอดชีวิตมาได้และถูกช่วยเรือพาตัวไปยังนิวยอร์ก Hasono ต้องตกเป็นจำเลยของสังคมเเละสื่อมวลชนที่ต่างวิพากษ์วิจารณ์เขาว่าเป็นคนขี้ขลาดเพราะเขาไม่ยอมช่วยเหลือคนอื่น แถมยังพยายามเอาตัวรอดอีกด้วย
และเมื่อเขากลับไปประเทศญี่ปุ่น ตอนแรกเขาจะถูกไล่ออกจากงาน แต่เป็นเพราะยังมีความเมตตาอยู่บ้าง เขาจึงได้ทำงานในกระทรวงต่อไป เพียงแต่ว่าเขาและครอบครัวที่ทำงานอยู่ในกระทรวงต้องอยู่กับความอัปยศไปตลอดชีวิต จนกระทั่งเขาเสียชีวิตไป
ต่อมาหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค ถูกฉายไปทั่วโลก คนก็เริ่มเข้าใจและยอมรับเรื่องราวของการกระทำของผู้ที่รอดชีวิตมาได้ เพราะภาพยนตร์ตีแผ่เรื่องราวและสะท้อนให้เห็นมุมมองของคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์ตอนนั้น ซึ่งมันทั้งสับสนและวุ่นวาย เป็นใครก็คงอยากมีชีวิตรอดเพื่อกลับไปหาครอบครัวของตนเอง
หลังจากนั้นครอบครัวของ Hasono ก็ถูกมองในแง่มุมที่เปลี่ยนไปไม่ได้ตกเป็นจำเลยของสังคมอีกต่อไป ซึ่งครอบครัวของเขารู้สึกโล่งใจและเป็นเกียรติอย่างมาก