ทหารอังกฤษทดลองใช้ “ผ้าคลุมล่องหน” ที่พรางตัวได้เนียนราวกับใช้เวทมนตร์!!

http://www.meekhao.com/news/invisibility-cloak

“ผ้าคลุมล่องหน” จากแฮร์รี่ พอตเตอร์ จะไม่เป็นเพียงผ้าคลุมในฝันอีกต่อไป เพราะขณะนี้กองทัพอังกฤษได้ทดสอบการใช้งานผ้าคลุมที่พรางตัวได้เนียนราวกับใช้เวทมนตร์ในระหว่างการซ้อมรบ

ทหารจากกองพันที่ 3 แห่งกองทัพอังกฤษได้ทดลองใช้ผ้าคลุมล่องหนหรือมีชื่อเรียกว่า “Vatec” ระหว่างจำลองการรบภาคสนามในสหรัฐฯ

นอกจากผ้าคลุมนี้จะสามารถซ่อนตัวจากการมองเห็นด้วยตาเปล่าได้แล้ว ยังสามารถหลบการค้นหาด้วยสัญญาณอินฟราเรดหรือการจับพลังงานความร้อนได้อีกด้วย โดยพัฒนาแนวคิดมาจากปลาหมึกที่สามารถพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อหลบศัตรูหรือซุ่มโจมตีเหยื่อ

นักวิทยาศาสตร์เรียกนวัตกรรมนี้ว่า “visual appearance modulation” โดยด้านหนึ่งของอุปกรณ์จะมีเซลล์ไวต่อแสงเพื่อตรวจหาเฉดสีของสภาพแวดล้อมภายนอก จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านขึ้นมาเพื่อแสดงผลให้ตรงกับการประมวลภายในเวลาเพียง 2-3 วินาที

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้เวลากว่า 5 ปีเต็มในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผู้ที่ริเริ่มคนแรกคือ Xuanhe Zhao ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบัน MIT

ก่อนหน้านี้กองทัพได้มีความพยายามในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทุ่มค่าใช้จ่ายไปหลายล้านดอลลาร์แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในที่สุดนวัตกรรมนี้ก็กำลังจะถูกนำมาใช้ในการสู้รบแบบอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายคือการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามและกลุ่มตาลีบัน และการทดสอบครั้งแรกก็เกิดขึ้นระหว่างการซ้อมรบของกองทัพสหรัฐฯ และอังกฤษ

ทหารทุกนายยืนยันว่าแม้กระทั่งในตอนที่ทหารฝ่ายเดียวกันรับบทบาทเป็นฝ่ายตรงข้าม พวกเขาก็ไม่สามารถตรวจพบมือปืนสไนเปอร์ที่กำลังสวม Vatec ได้

ถ้าหากนวัตกรรมนี้ถูกพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์และถูกนำไปใช้งานอย่างจริงจังเชื่อว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ทางการทหารได้อย่างมหาศาลแน่นอน

ที่มา http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-3500893/Military-tests-Hogwarts-style-device-shields-troops-projecting-surroundings-surface.html

Credit: http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-3500893/Military-tests-Hogwarts-style-device-shields-troops-projecting-surroundings-surface.html
26 พ.ย. 59 เวลา 05:10 4,288
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...