http://www.meekhao.com/news/reflection-in-movies
การแสดงอารมณ์กับกระจกเงาเป็นวิธีการสื่อสารที่ลึกซึ้งอย่างหนึ่งของภาพยนตร์ ซึ่งการแสดงอารมณ์กับตัวตนของเราเองในกระจกก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเรื่องราว ลักษณะนิสัย และ “เพศ”
สมาชิกเว็บไซต์ vimeo ผู้ใช้ชื่อว่า Fandor ได้ทำการวิเคราะห์ภาพยนตร์สะเทือนอารมณ์กว่า 46 เรื่องในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์ลักษณะอารมณ์ที่ตัวละครแสดงออกต่อหน้า “กระจกเงา”
ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้หญิงมักจะร้องไห้คร่ำครวญอย่างเศร้าโศกเสียใจหน้ากระจก ส่วนผู้ชายจะสบถและแสดงออกถึงอารมณ์กราดเกรี้ยวรุนแรง
สำหรับภาพยนตร์ที่สะท้อนเรื่องราวของความรุนแรงก็จะมีการแสดงออกที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างการสื่อให้เห็นถึงลางร้าย ส่วนภาพยนตร์เรื่อง “Heathers” ฉากผู้หญิงถ่มน้ำลายใส่เงาของตนเองในกระจก สะท้อนความรู้สึกรังเกียจตัวเอง
ภาพยนตร์บางเรื่องก็เลือกให้ตัวละครชายแสดงออกถึงอารมณ์อ่อนไหวหน้ากระจกเช่นกัน
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าผู้ชายจะแสดงออกถึงอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดและความแข็งกร้าว ซึ่งเป็นธรรมชาติของเพศชาย
ส่วนผู้หญิงจะแสดงออกถึงความอ่อนไหว ซึ่งเป็นธรรมชาติของเพศหญิงเช่นกัน
และบางครั้งทั้งสองเพศก็จะแสดงออกถึงความสับสน ความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งส่วนใหญ่แล้วฉากหน้ากระจกเงาล้วนเป็นฉากที่ตัวละครแสดงอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ภายในออกมานั่นเอง
สงสารกระจกเหลือเกิน
ที่มา http://sploid.gizmodo.com/how-men-and-women-react-to-their-own-reflections-in-mov-1773351057