2.
ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกจึงวางแผนใช้ทหารพลร่มยึดกรุงเบอร์ลิน แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากนายพลไอเซนฮาวน์ (Eisenhower)ของสหรัฐ เขาบอกว่าเพราะไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก(กับฝ่ายไหนก็ไม่รู้) เขาจึงให้เกียรติสหภาพโซเวียตในการยึดกรุงเบอร์ลินนครหลวงของประเทศคู่แค้น ตลอดกาล พอสงครามจบลงก็ยังไม่ทราบตัวเลขของทหาร และเสบียงที่ต้องใช้ในปฏิบัติการดังกล่าวของฝ่ายพันธมิตรตะวันตก
3.
4.
และ อย่างที่สอง คือทำการยึดเมืองหลวงของเยอรมัน คือกรุงเบอร์ลินที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องทำการจับกุมอดอฟ ฮิตเลอร์ บุคคลที่เขาและชาวรัสเซีย( รวมถึงประเทศอื่นๆ )เกลียดนักเกลียดหนา มาลงโทษให้สาสมกับเคราะห์กรรมที่ได้ก่อไว้ อีกทั้งยังหวังที่จะยึดโครงการ วิจัยสร้างระเบิดอะตอมของเยอรมัน (German atomic bomb programme)ไว้ในกำมือของกองทัพแดงด้วย
วัน ที่ 9เมษายนปีค.ศ.1945 กองทัพแดงก็บุกเข้ายึด คอนนิกซ์เบิรก์( Konigsberg )ในแคว้นปรัสเซียตะวันออกไว้ได้ กองทัพของนายพล โรโคซอฟสกี้ (Rokossovsky) แห่งกองทัพเบลารุสเซี่ยนที่2 (2st Belorussian Front) หรือเรียกสั้นๆว่า 2 บีเอฟ ( 2BF ) สามารถเคลื่อนทัพได้อย่างสะดวกมุ่งไปทางทิศตะวันตก ถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโอเดอร์ ในสองสัปดาห์แรก ของเดือนเมษายน กองทัพโซเวียตรุกไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว นายพลจอร์จี ซูคอฟ(Georgy Zhukov) ได้รวมกำลังกองทัพเบลารุสเซียที่ 1 ของเขาประจำตำแหน่งเตรียมพร้อมรบตามริมแม่น้ำโอเดอร์ เป็นทางยาวตั้งแต่เมือง แฟรงเฟริท (Frankfurt) ทางใต้ของทะเลบอลติก ไปถึงเขตที่ราบสูงซีโลวฟ์(Seelow Heights )
5
เมื่อ กองทัพ 1บีเอฟมุ่งหน้าไปทางเหนือสู่ที่ราบสูงซีโลวฟ์ กองทัพ 2บีเอฟก็จะเข้ามาประจำในพื้นที่ว่างแทน โดยมีกองทัพเยอรมัน 2กองทัพอยู่ด้านซ้ายของแนว ซึ่งจะถูกบีบวงล้อมจับใกล้ๆกับดานซิก ปิดทางหนีออกจากแม่น้ำโอเดอร์ ในทางทิศใต้นายพล โคเนฟ(Konev) เป็นผู้กุมกองทัพใหญ่คือกองทัพยูเครนเนี่ยนที่ 1( 1st Ukrainian Front ) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า 1ยูเอฟ (1UF) ได้ออกจากตอนบนของแคว้นไซลิเซีย (Upper Silesia) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันเฉียงเหนือสู่แม่น้ำไนซ์ซี(Neisse)
6.
กอง ทัพใหญ่ทั้งสามของสหภาพโซเวียตนี้ ประกอบไปด้วยทหาร สองล้านห้าแสนคน! รวมทหารจากกองทัพโปแลนด์ที่1 (1st Polish Army) จำนวน 78,556คนเข้าไปด้วย,ใช้รถถังจำนวนมากถึง 6,250คัน,เครื่องบิน 7,500ลำ,ปืนใหญ่และปืนครกรวมกันกว่า 41,600กระบอก,รถบรรทุกเครื่องยิงจรวดแบบคัตยูซา(Katyushas) หรือที่มีชื่อเล่นว่าออแกนของสตาลิน(' Stalin Organs')จำนวน 3,255คัน และยานยนต์แบบต่างๆกว่า 95,383คันที่ส่วนใหญ่ผลิตใน สหรัฐอเมริกา
7.
ตั้งแต่วันที่20มีนาคม นายพลก็อดฮารด์ เฮนริกซี่ (Gotthard Heinrici) ได้เข้ามาทำหน้าที่ผู้บังคับบัญชากลุ่มกองทัพวิสตูล่า แทนนายฮิมเลอร์ ก็อดฮารด์ ได้วางแผนป้องกันประเทศที่ดีที่สุด ที่กองทัพเยอรมันในขณะนั้นสามารถทำได้ เขาคาดว่ากำลังหลักของโซเวียตจะต้องรุกมาทางแม่น้ำโอเดอร์ รวมทั้งจากทางตะวันออกตามทางด่วนสำหรับรถยนต์ในเยอรมัน ที่เรียกว่าออโตบาน (autobahn) เขาไม่ได้พยายามป้องกันฝั่งแม่น้ำโอเดอร์แต่อย่างใด จะใช้ก็แต่กำลังส่วนน้อยเข้าต่อสู้อย่างประปราย เพราะก็อดฮารด์ได้สั่งให้ทหารช่างของเขาสร้างป้อมปราการและแนวป้องกันบนที่ ราบสูงซีโลวฟ์ ที่สามารถมองเห็นแม่น้ำโอเดอร์ได้อย่างชัดเจนทำให้ฝ่ายโซเวียตที่คิดจะข้าม แม่น้ำเสียเปรียบ
นอกจากนี้ที่ราบสูงซีโลวฟ์ยังเป็นที่ตัดกันกับถนนออโตบานด้วย เขายังให้ทหารช่างสร้างแนวป้องกันนอกแนวป้องกันหลักซึ่งจะเป็นเพียงแนวบางๆ อาศัยชัยภูมิที่อยู่สูงกว่าข้าศึกให้เป็นประโยชน์แก่การรบ ทหารช่างเยอรมันยังได้ใช้น้ำจากแม่น้ำโอเดอร์ปล่อยให้ท่วมใส่ที่ราบ ไปตามทางของแม่น้ำ รวมทั้งหนองบึงที่เกิดจากหิมะละลายในฤดูใบไม้ผลิ เป็นเครื่องป้องกันตามธรรมชาติ ด้านหลังแนวน้ำขังพวกเขาได้สร้างแนวตั้งรับถึง 3 แนวป้องกันชานกรุงเบอร์ลิน ในแนวป้องกันประกอบไปด้วยหลุมดักรถถัง (anti-tank ditches) ,ที่ตั้งปืนต่อสู้รถถัง ( anti-tank gun emplacements) และเครือข่ายสนามเพลาะและบังเกอร์ที่เชื่อมต่อกัน ( extensive network of trenches and bunkers )
8.
เมื่อ เริ่มต้นชั่วโมงแรกของวันที่ 16เมษายน การรบก็เริ่มขึ้น ฝ่ายโซเวียตยิงปืนใหญ่จำนวนมากถึง พันกระบอกถล่มแนวของเยอรมัน ผสมโรงด้วยเครื่องยิงจรวดคัตยูซา หลังจากนั้นกองทัพที่ 1บีเอฟ (เบลารุสเซี่ยน) ก็ได้โจมตีข้ามแม่น้ำโอเดอร์ ส่วนกองทัพ 1ยูเอฟ(ยูเครนเนี่ยน )โจมตีข้ามมาจากแม่น้ำไนซ์ซี่ ทั้งหมดนี้เริ่มโจมตีในตอนรุ่งอรุณ กองทัพเบลารุสที่ 1เป็นกองทัพที่แข็งแกร่ง แต่ก็ต้องสู้รบอย่างลำบาก เพราะฝ่ายเยอรมันมีจำนวนมาก การโจมตีครั้งแรกของกองทัพเบลารุสที่ 1ต้องกลายเป็นหายนะ เฮนริกซี่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่า สนามเพลาะแนวแรกจะต้องถูกปืนใหญ่โซเวียตยิงถล่มจนสิ้น จึงสั่งให้ถอนทหารกลับไปก่อน ตามแผนของฝ่ายโซเวียตนั้น จะทำการเปิดไฟค้นหา (searchlights) ที่ปกติใช้ค้นหาเครื่องบินในเวลาการคืน เพื่อชี้เป้าให้ปืนต่อสู้อากาศยาน จำนวน 143หลอด (หรือจะเรียกเป็นอันดีหว่า)
9.
ส่อง ไปทางฝ่ายตั้งรับให้เกิดอาการแสบตา และตาฝ้าฟางหรือตาพร่า ยิงปืนไม่ถูก ( ตอนนั้นยังมืดอยู่ ) แต่กลับกันก็ทำให้เห็นกลุ่มทหารโซเวียต ที่วิ่งเข้ามาหา ปรากฏเป็นเงาสีดำของทหาร ตัดกับพื้นสีขาวสว่างของแสงไฟ (ยิ่งเห็นชัดๆ) หน่ำซ้ำพื้นดินที่กลายเป็นโคลนตม ก็กลายเป็นอุปสรรค์ต่อการเดินเท้าของทัพทหารโซเวียตยิ่งนัก เพราะทำให้เดินได้ช้า ด้วยเหตุข้างต้น พอฝ่ายเยอรมันเริ่มทำการยิงขัดขวาง ทหารโซเวียตจิงต้องตกเป็นเหยื่อกระสุนนาซี เกิดการสูญเสียชีวิตทหารแดงอย่างหนัก ทำให้การรุกคืบเป็นไปอย่างเชื่องช้าและเป็นไปไม่ได้ นายพลซูคอฟจึงให้ทหารกลับมาตั้งหลักก่อน เพื่อทำการบุกอีกในตอนเย็น
10
ด้วยการบุกอย่างกล้าหาญ ทหารแห่งสหภาพโซเวียตก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันเข้าไป ได้สำเร็จลึกเข้าไปกว่า 6 กิโลเมตร แต่แนวป้องกันของเยอรมันยังคงหลงเหลืออยู่ ในทางทิศใต้ทหารของกองทัพยูเครนที่ 1ซึ่งบัญชาการโดยซูคอฟเช่นกัน รายงานผลการรบแห่งที่ราบสูงซีโลวฟ์(Battle of the Seelow Heights) ว่าไม่สามารถรุกคืบหน้าตามแผนได้ สตาลินจึงส่งนายพล โคเนฟมาช่วยทำหน้าที่บุกกรุงเบอร์ลินทางทิศใต้ด้วยกองทัพรถถังแดง
11
ใน วันที่สองกองทัพที่ 1เบลารุส อยู่ที่สันเขาด้านหลังเขตการรบเพื่อให้พักผ่อน ยุทธวิธีที่ฝ่ายโซเวียตใช้คือ การใช้การรุกด้วยคลื่นมนุษย์จำนวนมากๆ โดยยอมสูญเสียอย่างหนักเพื่อแลกมาซึ่งชัยชนะ ในคืนวันที่ 17เมษายนกองทัพเยอรมันที่เคยสู้รบกับกองทัพของซูคอฟมาก่อน แต่ยังไม่ถูกตีแตกซึ่งอยู่ทางทิศใต้ คือกลุ่มกองทัพกลาง(Army Group Centre) ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล เฟอร์ดินันด์ สชอร์เนอร์(Ferdinand Schorner) กองทัพรถถังแพนเซอร์ที่สี่ (IV Panzer Army) ที่อยู่ทางเหนือของปีกกองทัพของเขา ไม่ได้เป็นอุปสรรค์กีดขวางฝ่ายโซเวียตเลย เมื่อต้องเจอกับการบุกอย่างหนักของกองทัพยูเครนที่ 1ก็ต้องยอมถอยทัพ นายพล สชอร์เนอร์ ได้เก็บกองพลรถถังแพนเซอร์สองกองพล ไว้ทางทิศใต้เพื่อป้องกันศูนย์กลางของกองทัพ และได้ถูกแทนที่ด้วยกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ที่เพิ่งหนีโซเวียตมา ทำให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนของการรบครั้งนี้
12
เพราะเมื่อกลุ่มกองทัพวิสตูล่า และ กลุ่มกองทัพกลางภาคใต้ ไม่สามารถป้องกันที่มั่นได้ จึงต้องสูญเสียไปในตอนกลางคืน กองทัพแพนเซอร์ที่ 4ต้องมาเผชิญหน้ากับกองทัพของนายพล โคเนฟพอดิบพอดี( เรียกว่าหนีเสือประจระเข้โดยแท้ ) ทัพของนายพลโคเนฟ สามารถตีการป้องกันที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ของนายพลสชอร์เนอร์ เสียแตกกระเจิงในการรบทางทิศใต้ ของการรบแห่งที่ราบสูงซีโลวฟ์ เป็นการทำลายการป้องกันของนายพลเฮนริกซี่ไปขั้นหนึ่ง
13
วันที่ 18เมษายนกองทัพสหภาพโซเวียตยังคงรุกไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โดยต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของทหารแดงจำนวนไม่น้อย เมื่อการรบในตอนกลางคืนของวันที่ 17สิ้นสุดลง กองทัพเบลารุสที่ 1ก็มาถึงแนวตั้งรับที่สาม และเป็นแนวสุดท้ายของเยอรมัน และแล้วกองทัพยูเครนที่ 1ก็สามารถยึดป้อมปราการได้สำเร็จ และเตรียมพร้อมสำหรับการบุกไปบนภูมิประเทศที่เปิดโล่ง
14
วันที่ 19เมษายน วันที่สี่ของการรบ กองทัพเบลารุสที่ 1สามารถโจมตีแนวตั้งรับสุดท้ายของที่ราบสูงซีโลวฟ์แตก กองทัพเยอรมันที่เหลือถอยเข้าป้องกันกรุงเบอร์ลิน กองทัพที่ 9 (IX Army) ของเยอรมันคอยอยู่กับที่บนที่สูง และทางทิศเหนือของปีกกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ซึ่งเหลืออยู่ยังคงเป็นอันตรายต่อกองทัพเบลารุสที่ 1 กองทัพทหารการด์ที่ 3(3rd Guards Army) และกองทัพรถถังการด์ที่ 3และ 4 (3rd and 4th Guards Tank Armies) ได้ตีกองท้พแพนเซอร์ที่ 4แตกพ่ายไป และมุ่งสู่ทางเหนือของเบอร์ลิน กองทัพเบลารุสที่ 1บุกไปทางตะวันตก เพื่อไปหาฝ่ายอเมริกัน เมื่อสิ้นสุดวันที่ 19แนวตั้งรับของเยอรมันทางตะวันออก ได้ทำการหยุดยิง ส่วนที่ยังต่อต้านอยู่ก็ถูกทหารแดงล้อมจับหรือทำลาย
15
ฝ่ายโซเวียตได้ลงทุนไปอย่างมากในการรบ ครั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1เมษายน จนถึงวันที่ 19เมษายน ต้องสูญเสียรถถังไปเป็นจำนวนมากกว่า 2,807คันในขณะเดียวกัน ที่แนวรบด้านเยอรมันตะวันตกฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้สูญเสียรถถังไปถึง 1,079คัน นับว่าเป็นจำนวนมากแต่ก็เป็นจำนวนแค่ 1ในสองหรือสามของโซเวียตเท่านั้น
ในวันที่ 20เมษายน กระสุนปืนใหญ่ของกองทัพเบลารุสที่1ได้ตกลงสู่ใจกลางของกรุงเบอร์ลิน นับเป็นกระสุนปืนใหญ่ลูกแรกของโซเวียตที่ถูกยิงใส่เบอร์ลิน แม้แต่หลังจากกรุงเบอร์ลินได้ยอมแพ้แล้วฝ่ายโซเวียตก็ยังไม่หยุดยิงปืนใหญ่ ภายหลังสงครามสงบลงได้มีการคำนวณกันว่า โซเวียตได้ใช้ปืนใหญ่ยิงใส่กรุงเบอร์ลินเป็นดินระเบิดน้ำหนักรวมกว่าหลายตัน และมากกว่าที่เครื่องบินของพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดลงใส่เมืองซะอีก
16
กอง ทัพเบลารุสที่ 1ได้บุกเข้าสู่ทางตะวันออก และทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง กองทัพยูเครนที่ 1ได้เข้าผลักดันกลุ่มกองทัพกลางภาคใต้ และผ่านทางตอนเหนือของ จูเตอร์บอง (Juterbog) มุ่งหน้าไปหากองทัพอเมริกาบนแม่น้ำเอลเบ(Elbe) ที่แม็กเด็นเบิรก์ (Magdeburg) ส่วนทางทิศเหนือระหว่างเมืองสเต็นไตน์ (Stettin) กับเมืองเชอร์เวนท์ (Schwedt ) กองทัพเบลารุสที่ 2ได้เข้าตีปีกทิศเหนือของกลุ่มกองทัพวิสตูล่า ซึ่งมีกองทัพแพนเซอร์ที่ 3(III Panzer Army) ยึดที่มั่นอยู่
17
พอ ถึงวันที่ 21เมษายน กองทัพการด์ที่ 2(2nd Guards Army )ของโซเวียตได้บุกเข้าไปใกล้กรุงเบอร์ลินที่สุด คือห่างจากเมืองทางตอนเหนือ 50กิโลเมตร และยังได้โจมตีทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง เวอร์นัวเชนท์(Werneuchen) กองทัพโซเวียตหน่วยอื่นๆได้มาถึงแนวป้องกันด้านนอกของนครหลวง แผนขั้นแรกของโซเวียตก็คือล้อมกรุงเบอร์ลินไว้ทุกด้าน เพื่อไม่ให้อดอฟ ฮิตเลอร์สามารถหลบหนีออกไปได้ รวมทั้งโอบล้อมกองทัพที่เก้าของเยอรมันด้วย ผู้บัญชาการของกองทัพแพนเซอร์ที่ 4ได้ร่วมมือกับกองทัพที่เก้า วางกับดักกองทัพโซเวียตไว้ทางตอนเหนือของป้อม ระหว่างช่องว่างของกองทัพทั้งสองซึ่งรออยู่ที่ ค็อตบัซ (Cottbus)
18
เมื่อปีกทางใต้ของกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ถูกยึดได้สำเร็จโดยกองทัพแดง กองทัพยูเครนที่หนึ่ง ก็เริ่มเข้าตีอีกทางด้านเหนือ ฮิตเลอร์ได้สั่งให้กองทัพที่ 9หยุดข้าศึกไว้ที่ค็อตบัชให้จงได้ และให้แนวหน้าทางตะวันตกเตรียมรับมือการโจมตีของโซเวียตที่จะบุกขึ้นไปทาง เหนือ และให้กองทัพที่เก้า บุกไปทางเหนือเสมือนคีมที่ได้มาบรรจบพบกับกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ซึ่งกองทัพยูเครนที่ 1ได้มาอยู่ในคีมนี้เรียบร้อยแล้ว จึงถูกทำลายล้าง ทางด้านใต้กองทัพแพนเซอร์ที่ 3 ก็บุกเป็นรูปคีมล้อมกองทัพเบลารุสที่ 1ได้อีกราย ซึ่งถูกทำลายโดยกองกำลังเอสเอสที่ 3 (III SS Corps) ของพลโทเอสเอสชื่อ ฟีลิกซ์ สใตน์เนอร์ (SS Lieutenant-General Felix Steiner's) ที่บุกมาจากทางเหนือของเบอร์ลิน ต่อมาสไตเนอร์ก็ไม่เหลือกองพลอยู่เลย
19.
เฮนริกซี่ได้ขอคำสั่งถอนกำลังกองทัพที่เก้า จากกองบัญชาการของฮิตเลอร์ ไม่เช่นนั้นกองทัพที่เก้ามีหวังจะต้องถูกพวกแดงล้อมกรอบ และยำเละแน่ๆ เขาได้เน้นกับฮิตเลอร์เป็นอย่างมาก ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป กองทัพที่เก้าจะต้องมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สู่กรุงเบอร์ลินและถอยไปทางตะวันตก แต่ไม่ว่าจะพูดยังไง ฮิตเลอร์ก็ไม่ยอมฟังและไม่อนุญาตให้ถอยทัพเด็ดขาด
ในตอนเย็นของวันที่ 22เมษายน ฮิตเลอร์เสียใจและโกรธมาก ที่แผนการรบที่เขาวางไว้ไม่เป็นไปดังที่ตั้งใจ เมื่อนำมาใช้จริง และได้ประกาศเรื่อง การที่เยอรมันกำลังจะแพ้สงคราม ออกมาอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ( ทั้งๆที่ในความจริงเยอรมันมีลางจะแพ้สงคราม มาตั้งนานแล้วแต่ตาลุงหนวดจิ้มแก พึ่งมายอมรับความจริงเอาจนป่านนี้ ที่กองทัพเยอรมันแทบจะต้องคุกเข่ายอมแพ้เอง โดยไม่ต้องรอให้พันธมิตรมายิงปืนใส่ ) เค้ายังได้กล่าวโทษเหล่านายพล( ไม่เคยคิดจะโทษตัวเองเล้ย ว่าตัวเองเป็นคนก่อสงครามครั้งนี้ขึ้นมา ให้ตายสิ ) และประกาศว่า หากกรุงเบอร์ลินจะต้องมีอันเป็นไป ให้ฆ่าเขาให้ตายไปกับนครหลวง และ ประเทศชาติที่เค้าเคยกล่าวอยู่บ่อยๆว่ารักยิ่งชีวิตไปด้วย
20
ได้มีความพยายามที่จะปลอบใจ และ ลดความเดือลดาลใจของท่านผู้นำ นายพลอัลเฟรด โจด์ (Alfred Jodl) ได้เสนอความคิดที่เสี่ยงอันตรายกับฮิตเลอร์ ว่าควรจะนำกองทัพที่ 12( XII Army) ซึ่งคอยกองทัพอเมริกันที่เตรียมพร้อมอยู่ที่แม่น้ำเอลเบ มาช่วยสนับสนุนในการป้องกันกรุงเบอร์ลินดีกว่า เพราะคาดว่าฝ่ายอเมริกาคงไม่บุกไปทางตะวันออก และฮิตเลอร์ก็เห็นได้กับความคิดนี้ จึงได้สั่งให้นายพลวอร์เทอร์ เวซ (Walther Wenck) ส่งกองทัพที่สิบสองมาช่วยเบอร์ลิน
ในตอนเย็นเฮนริกซี่ก็ได้รับอนุญาตให้กอง ทัพที่ 9ได้ไปบรรจบกับกองทัพที่ 12ได้ ภายในห้องวางแผนในบังเกอร์ใต้กรุงเบอร์ลิน ยังคงวางแผนการรบแบบเพ้อฝันแฟนตาซี ว่าจะใช้กองพลที่ร้ายกาจดุจปีศาจ ไล่กองทัพโซเวียตให้ถอยกลับบ้านไป กลับกันฝ่ายสหภาพโซเวียตคิดว่ายังไงๆศึกครั้งนี้ต้องขนะ พวกนาซีได้อยู่แล้วแน่ๆ กองทัพเบลารุสที่ 2ได้สถาปนาหัวสะพานที่มั่นคง บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโอเดอร์ที่ลึกเข้าไปอีก 15กิโลเมตรมีกองทัพแพนเซอร์ที่ 3ของเยอรมันรอคอยรับการบุกอยู่ ในที่สุดกองทัพที่เก้าก็ต้องเสีย ค็อตบัซไป โซเวียตได้ใช้กองทัพรถถังเป็นหัวหอกบุกจากแม่น้ำ ฮาวี่(Havel) เข้าไปทางตะวันออกของเบอร์ลิน โดยได้เจาะทะลุแนวป้องกันนอกเมืองเข้าไปได้สำเร็จ
21
วันที่23เมษายนกองทัพเบลารุสที่1และกองทัพ ยูเครนที่1ได้บีบวงล้อมให้แน่นหนาขึ้นและได้ปิดเส้นทางสุดท้ายที่กองทัพที่ เก้าจะใช้หนีเข้าเมืองไปด้วย ในเบื้องต้นกองทัพยูเครนที่1มุ่งหน้าสู่ทางตะวันตกอีกครั้งและเริ่มโจมตีกอง ทัพที่12จนต้องถอยเข้าเมืองไป ฮิตเลอร์จึงแต่งตั้งนายพล เฮลมุลส์ ไวล์ลิ่ง Helmuth Weidling)เป็นผู้บัญชาการป้องกันนครหลวงเบอร์ลิน ในวันที่ 24เมษายนกองทัพเบลารุสที่1และกองทัพยูเครนที่1จึงสามารถล้อมกรุงเบอร์ลินได้ อย่างสมบูรณ์
ในวันต่อมาคือวันที่ 25เมษายน กองทัพเบลารุสที่2 ได้บุกเข้าทำลายแนวของกองทัพแพนเซอร์ที่ 3 ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับหัวสะพานทางใต้ของเมือง สเต็นใตน์และได้ข้าม บึงแรนโดว์ (Rando Swamp) มุ่งหน้าไปทางตะวันตก จนได้พบกองทัพของอังกฤษ คือกลุ่มกองทัพบริเตนที่21 (British 21st Army Group) และยึดท่าเรือทางเหนือของทะเลบอลติกชื่อ สทราซูด (Stralsund) ในที่สุดเหตุการณ์สำคัญในสงครามโลกครั้งที่สองก็ได้เกิดขึ้น เมื่อกองพลทหารการด์ที่ (58th Guards Division) ในสังกัดของกองทัพการด์ที่ 5 (5th Guards Army) ของสหภาพโซเวียต ได้พบปะกับกองทัพอเมริกันเป็นครั้งแรก นั้นคือกองพลทหารราบที่ 69(US 69th Infantry Division) ใกล้ๆกับตอร์เกา บนแม่น้ำเอลเบ
22
นับเป็นการพบกันครั้งแรกของทหารในกองทัพที่ มีอำนาจมากที่สุดในโลกสองกองทัพ และมีการปกครองที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว คือฝ่ายคอมมิวนิตส์ กับ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย (หรือทุนนิยม) ทหารทั้งฝ่ายได้จับมือกัน และแลกกันชิมวิสกี้กับว็อดก้า ซึ่งคงไม่มีโอกาสได้เห็นภาพแบบนี้ไปจนสิ้นศตวรรษนี้ เพราะพอสงครามโลกครั้งที่2สิ้นสุดล งทั้งสองฝ่ายก็ถอดหน้ากากออกมา แสดงความเป็นศัตรูกันอย่างเต็มตัว เกิดเป็นสงครามเย็นที่ได้ลากเอาเหล่าประเทศเล็กๆไปจนถึงประเทศใหญ่ เข้าไปสู่สงครามและเลือกข้างกันว่าจะเป็นแดง(คอมมิวนิตส์) หรือน้ำเงิน (ทุนนิยม)
กอง กำลังของเยอรมันที่จะสามารถหามาป้องกันนครหลวงได้ในขณะนั้น ประกอบไปด้วยทหารธรรมดา จากกองทัพบกเยอรมันและ ทหารในหน่วยเอสเอสประจำกรุงเบอร์ลิน รวมแล้วเบอร์ลินมีกองกำลังต่างๆดังนี้ กองพลยานยนต์ที่20 (XX Motorised Division) ,กองพลพลร่มที่เก้า ( IX Airborne Division) ,กองพลแพนเซอร์มันเชนท์เบิรก์ (Muncheberg Panzer Division) ,กองพลแพนเซอร์เกรนาเดียร์นอร์แลนด์ (Nordland Panzer Grenadiers Division) และกองพลแพนเซอร์ที่ 18( XVIII Panzer Division) สนับสนุนด้วยกำลัง ตำรวจ,เด็กหนุ่ม หรือ เด็กเล็กที่เกณฑ์เข้ามาในหน่วยยุวชนฮิตเลอร ์(Hitler Youth=ฮิตเลอร์ยังก์) และทหารประชาชน (Volkssturm=โฟคสตัมส์) ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เป็นเพราะคนหนุ่มๆไปเป็นทหารในกองทัพบกกันหมดแล้ว เลยต้องให้คนเฒ่าคนแก่ที่อยู่เฝ้าบ้านนี่แหละออกรบ
23
แต่ลุงๆหรือปู่พวกนี้ตอนหนุ่มๆ ก็เคยออกรบในมหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาแล้วนะเฟ้ย เรียกว่ามีประสบการณ์ (เลเวล100) พอเอามาสู้กับโซเวียตเข้าจริงๆ ประสบการณ์ในสงครามครั้งก่อนไม่ได้ช่วยอะไรเล้ย เพราะมันคนละยุคกันแล้วลุงๆปู่ๆทั้งหลาย นาซีให้อาวุธแค่ปืนยาวเมาเซอร์ ที่นำมาใช้ค้ำแทนไม้เท้าได้จะไปสู้ทหารโซเวียตที่มีอาวุธครบมือ กับรถถังแดงได้ยังไงกั๊น สมัยหนุ่มๆยังไม่เคยเห็นว่ารถถังของพวกอังกฤษฝรั่งเศส มันจะวิ่งเร็วแข็งแรงทนทานลูกปืนใหญ่ และมีปืนใหญ่ประจำป้อมลำกล้องยาวเฟ้ย กับปืนกลแบบนี้นี่หว่า? ทหารประชาชนพวกนี้ เหมาะสมกับการสวนสนามให้พวกนาซีมากกว่า พอได้ยินเสียงปืนและโดนทัพแดงถล่มหนักเข้าๆ ก็ไม่เป็นอันจะต่อสู้ไม่สมกับที่อุตสาห์ฝึกสอนมา ต้องให้ทหารนาซีขู่บังคับให้ยิงสู้ไป
ตอนนี้ ถ้าให้หมอดูหมอเดาชื่อดังของไทย ดูชะตาเมืองและชะตาผู้นำนายฮิตเลอร์แล้วละก็ กรุงเบอร์ลินก็เหมือนกับถึงคราวซวยที่สุดในประวัติศาสตร์ ของเยอรมัน และกำลังจะล่มจมแบบกรุงโรมสมัยก่อน และฮิตเลอร์ก็ดวงตกสุดๆ คล้ายๆนายกไทยบางคนที่เป็นคนเหนือแต่ชื่อเป็นทิศใต้ (ใครก็ไม่รู้เนอะ) แต่พวกนาซี ก็ยังทำเป็นไม่ยอมรับกันในข้อนี้ ยังคงต่อสู้ต่อไปอย่างไม่ลดละ ทหารเยอรมันต้องทำการต่อสู้อย่างหนักกับกองทัพที่เหนือกว่ามาก ทหารเยอรมันนั้นไม่ถูกทำลายล้างตายเรียบ ก็ยกธงขาวกับยกไม้ยกมือออกมายอมจำนน กองทัพแดงรุกต่อไป จนถึงศูนย์กลางของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งมีกองกำลังหลักของเยอรมันจากทางตะวันออกและใต้ป้องกันอยู่ ตามทางจากฟรานฟือเทอร์ อัลลี (Frankfurter Allee) ยาวไปจนหยุดอยู่ตรงที่ อเล็กซานเดอร์พาซ (Alexanderplatz)
24.
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมสถานที่ตรงนี้ถึงคล้ายชื่อของกษัตริย์รัสเซียจัง? นั้นเป็นเพราะในช่วงศตวรรษที่ 19กษัตริย์ของรัสเซียพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่1(Tsar Alexander I) ได้มาเยี่ยมกรุงเบอร์ลินในปี ค.ศ.1805 ทางเยอรมันจึงได้ตั้งชื่อสถานีที่กำลังก่อสร้างอยู่ ให้เป็นชื่อของพระองค์รวมทั้งตลาดสาธารณะที่อยู่ใกล้ๆกันด้วย บริเวณนี้ เป็นสถานีขนส่งมวลชนของกรุงเบอร์ลิน อยู่ใจกลางเมืองและใกล้ๆกับแม่น้ำสพรี (Spree river) กลับมาเข้าเรื่องต่อทางใต้ป้องกันตั้งแต่ ซันเนน อัลลี (Sonnen Allee) ไปจนถึงทางเหนือของเบล แอ็ลไลแอ็นซ์ พาซ (Belle Alliance Platz) อ่านถูกผิดยังไงอย่าว่ากันนะแต่ช่วยบอกทีครับ จากทางใต้สิ้นสุดใกล้ๆกับ พอร์ซแดมเมอร์ พาซ (Potsdamer Platz) และจากทางเหนือ ไปสิ้นสุดที่สภาไรค์ชตาก ซึ่งอยู่ใกล้กับสะพาน โมลทเคะ( Moltke bridge )อเล็กซานเดอร์ พาซ และสะพานฮาเวล (Havel bridges) ที่สแพนดัวร์(Spandau) ซึ่งที่สภาไรค์ชตากได้เกิดการต่อสู้กันอย่างหนักของทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายเยอรมันต้องรักษาสภาไรค์ชตากไว้ให้ ได้ เพราะมันเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งอำนาจของพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ส่วนฝ่ายโซเวียตก็ต้องการยึดไว้ให้ได้ เพื่อนำธงแดงของสหภาพโซเวียตไปโบกบนสภาเป็นการประกาศชัยชนะ และแสดงการล่มสลายของนาซีและฮิตเลอร์เช่นกัน การต่อสู้เป็นแบบบ้านต่อบ้าน( house-to-house) ไปจนถึงมือเปล่าต่อมือเปล่า (hand- to-hand combat ) เกิดการใช้ปืนยิงกันในระยะเผาขน และใช้ระเบิดมือขว้างใส่กัน ทหารต่างด้าวในหน่วยเอสเอสนั้นมีฝีมือร้ายกาจ เพราะผ่านศึกมามาก และเชื่อในลัทธิสงครามว่าเยอรมันจะไม่มีวันแพ้!
25
ใน วันที่ 28เมษายน นายพลเฮนริกซี่ได้ปฏิเสธคำสั่งของฮิตเลอร์ที่ให้หยุดยั้งกองทัพแดงให้ได้ เพราะไม่มีประโยชน์อีกแล้วที่จะต่อต้านต่อไป ( แบบนี้อยากยอมแพ้ชัดๆ )จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการป้องกันกรุงเบอร์ลินในทันที ฮิตเลอร์ได้หาคนมาเป็นแทนนั้นคือนายพล สติวเดนท์(General Kurt Student) ซึ่งเข้ารับหน้าที่ในวันต่อมา
ในวันที่ 30เมษายนนับเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์โลก และได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในสงครามครั้งนี้ขึ้นนั้น คืออดอฟ ฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมในบังเกอร์ผู้นำพร้อมกับเอวา บราวน์ ภรรยาของเขา ที่พึ่งแต่งงานก่อนฆ่าตัวตายเพียงวันเดียว (วันที่29เมษายน) ฮิตเลอร์ยิงตัวตายตาม เอวาที่กินยาพิษไซยาไนด์เข้าไปก่อนจนหมดลม
26
สาเหตุ ที่ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายเป็นเพราะเขารู้ดีว่า โซเวียตกำลังใกล้เข้ามาและต้องการจับกุมเขาไปลงทัณฑ์ ซึ่งคนที่เคยเป็นถึงผู้นำที่เกือบจะครองโลกคงไม่ยอมแน่ๆ ก่อนฆ่าตัวตายเขายังสั่งให้ทหารข้างกาย ช่วยเผาศพของเขาในสวน ( แต่กลายเป็นคนขับรถไปซะ ที่ต้องวิ่งไปหาน้ำมันจากรถซะทั่ว จนพอเผาศพได้ )อย่าให้พวกคอมมิวนิตส์ที่เค้าเกลียดนักเกลียดหนา เอาศพไปประจานได้ ในเมื่อผู้นำก็ตัดช่องน้อยแต่พอตัว ปลิดชีพตัวเองเป็นผีนาซีไปแล้วเ หล่าลูกสมุนนาซีก็ไม่รู้จะทำยังไงดี ในที่สุดผู้บัญชาการป้องกันกรุงเบอร์ลิน นายพลไวด์ลิงค์(General Weidling) ก็ได้ยอมจำนนต่อกองทัพแดง และยกเมืองให้แก่สหภาพโซเวียตควบคุมในวันที่ 2พฤษภาคม
27
การรบแห่งฮอลเบ(The battle of Halbe)