การรบแห่งเบอร์ลิน ค.ศ.1945 ยุทธการ...ถล่มนาซี ( ตอนแรก)

การรบแห่งเบอร์ลินเป็นการรบครั้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ในทวีปยุโรป กองทัพอันมหาศาลของสหภาพโซเวียตได้บุกขยี้กรุงเบอร์ลินมาจากทางด้านยุโรป ตะวันออกตั้งแต่ช่วงท้ายเดือนเมษายนไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ.1945 ส่งผลให้อดอฟ ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมประเทศเยอรมันต้องยอมแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตรใน อีก5วันต่อมาสงครามในยุโรปก็สิ้นสุดลง

เมื่อเริ่มเข้าสู่ปีค.ศ.1945 สถานการณ์ของแนวรบด้านตะวันออก (Eastern Front) นับว่าคงที่และแน่นอนแล้วว่าฝ่ายเยอรมันไม่สามารถที่จะรุกได้ต่อไป คงได้แต่เป็นฝ่ายถอยอยู่ฝ่ายเดียว ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี ค.ศ.1944ในยุทธการแบ็กเกรชั่น (Operation Bagration) เยอรมันต้องสูญเสียบูดาเปสต์ ( Budapest )เมืองหลวงของฮังการี รวมทั้งประเทศพันธมิตรของตนให้กับสหภาพโซเวียตไป ได้แก่ฮังการี,โรมาเนียและบัลแกเรีย ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยเป็นพันธมิตรร่วมในกลุ่มประเทศอักษะ บัดนี้กลับหันไปญาติดีกับโซเวียตเพื่อเอาตัวรอด โดยได้เซนต์สัญญาสงบศึกกับโซเวียต หักล้างกับการประกาศสงครามตอนส่งทหารไปร่วมเหยียบแผ่นดินโซเวียตกับนาซี เยอรมัน แถมตอนนี้ยังหันมาประกาศสงครามกับเยอรมันซะอีก โดยได้ทำการไล่ให้เยอรมันถอยด้วยอาวุธของเยอรมันเอง นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกกองทัพแดง ปล่อยให้เข้าประเทศเพื่อไล่พวกเยอรมันที่กำลังถอย ในขณะเดียวกันกองทัพโซเวียตก็เริ่มบุกมาทางที่ราบสูงโปแลนด์


 

กองทัพโซเวียตยึดกรุงวอร์ซอร์เมือง หลวงของโปแลนด์ได้สำเร็จ ในเดือนมกราคมปีค.ศ.1945 หลังจากรอดูการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายเยอรมันกับฝ่ายใต้ดินโปแลนด์ ในการลุกฮือของกรุงวอร์ซอร์( Warsaw Uprising ) ต่อมากองทัพแดงก็เปิดแนวรบขนาดกว้างใหญ่ไพศาล ด้วยกำลังพลถึง 4 กองทัพ บุกผ่านแม่น้ำนาริว และบุกจากวอร์ซอร์ โดยใช้เวลาแค่ 3 วัน อีก 4 วันต่อมากองทัพแดงเคลื่อนพลไปได้ ไกลเป็นระยะทางถึง 30-40กิโลเมตร ภายในวันเดียว สามารถยึดรัฐต่างๆในทะเลบอลติก (Baltic states) อันประกอบไปด้วยดานซิก (Danzig) ปรัสเซียตะวันออก(East Prussia) และโพชแนน (Poznan) บัดนี้กองทัพแดงได้มาอยู่หน้าแม่น้ำโอเดอร์ ห่างจากกรุงเบอร์ลินทางทิศตะวันออกเพียง 60กิโลเมตรเท่านั้น

 

การโจมตีตอบโต้ของฝ่ายเยอรมันนั้น ใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่ากลุ่มกองทัพวิสตูลา (Army Group Vistula) ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริกส์ ฮิมเลอร์( Heinrich Himmler )ผู้บัญชาการของหน่วยเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว ในวันที่ 24กุมภาพันธ์ รัสเซียก็สามารถขับไล่เยอรมันออกจากแคว้นโปมีราเนีย (Pomerania) และเคลียร์ด้านขวาของแม่น้ำโอเดอร์ ทางทิศใต้ เยอรมันพยายามเข้าล้อมกรุงบูดาเปสต์ เพื่อยึดคืนจากฝ่ายโซเวียตแต่ก็ล้มเหลวอีก ในวันที่ 13กุมภาพันธ์ เมืองก็อยู่ในความครอบครองของโซเวียตอีก เยอรมันยังจะทำการรุกโต้อีกครั้งเพราะฮิตเลอร์ ยังคงดื้อรั้นและไม่ฟังคำคัดค้านของใครทั้งสิ้น เขายังคิดว่ามีโอกาสที่จะยึดแม่น้ำดานูบ( Danube )กลับคืนมาได้ การโจมตีก็ประสบความล้มเหลวอีกครั้ง ในวันที่ 16 มีนาคม คราวนี้ฝ่ายรัสเซียจึงทำการรุกบ้างในวันเดียวกัน พอถึงวันที่ 30มีนาคม กองทัพแดงก็รุกเข้าไปในประเทศออสเตรีย และยึดกรุงเวียนนาเมืองหลวงของประเทศได้ในวันที่13 เมษายน

 

ในตอนนี้กองทัพบกเยอรมัน ( ซี่งต่อไปนี้ขอเรียกว่าแวร์มัคส์ ) มีความต้องการน้ำมันเป็นอย่างมากเพราะในตอนนี้ ในกองทัพเหลือน้ำมันเพียงน้อยนิด ไม่เพียงพอกับเครื่องบินขับไล่และรถถังที่มีอยู่ รวมทั้งยังต้องใช้สำหรับเครื่องจักรโรงงานผลิตอาวุธต่างๆด้วย ตั้งแต่ปีค.ศ.1944 เป็นต้นมาอาวุธต่างๆของเยอรมันนั้นผลิตออกมาด้วยคุณภาพที่ต่ำมาก หากยังเป็นเช่นนี้เยอรมนีจะสามารถทำการรบ ต่อไปได้อีกเพียงสองสามสัปดาห์เท่านั้น แต่ฝ่ายเยอรมันก็จำเป็นต้องต่อสู้ต่อไปจนถึงที่สุด เพราะฝ่ายพันธมิตรใช้นโยบายคือ การยอมแพ้โดยปราศจากเงี่อนไข (unconditional surrende ) และความถือศักดิ์ศรีของชาตินักรบเยอรมัน (ส่วนใหญ่น่าจะมาจากเพราะยังมีฮิตเลอร์อยู่บนแผ่นดินเยอรมนี) ด้วยความกลัวความป่าเถื่อนโหดร้าย ของคอมมิวนิสต์กองทัพแดง จะทำการแก้แค้น ชาวเยอรมันส่วนใหญ่จึงเริ่มอพยพไปทางตะวันตกของประเทศ (ที่ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกยึดครองอยู่)

อดอฟ ฮิตเลอร์จะต้องยังคงมีชีวิตอยู่ในกรุงเบอร์ลินแน่นอน

Credit: http://atcloud.com/stories/85020
27 มิ.ย. 53 เวลา 14:50 4,981 3 62
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...