โรคแปลกประหลาด Guinea worm

ข่าวลือเรื่องตัวอ่อนแมลงเข้าไปอยู่ในคนนี่มันมีบ่อยจริงๆ
เอาของจริงไป อ่านเป็นความรู้ซักตัวละกันครับ guinea worm คนเป็นกันมากมาย
พบในอาฟริกา อินเดีย ปากีฯ ซาอุ เยเมน ติดต่อโดยตัวอ่อนของมันจะอยู่ใน water fleas ซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็กมากในน้ำ



ถ้ามีคนกินน้ำดิบที่มีมันเข้าไป
มันจะออกมาอยู่ที่ขา ตัวเมียอาจยาวถึง 1 เมตร

ดูภาพ ตัวอย่าง





พอ มันจะวางไข่มันจะทำให้เกิดแผลที่ ขา ข้อเท้า หรือ เท้า ลำตัว แม้ตาในลูกตา (สยองมาก) ซึ่งจะปวดแสบปวดร้อนมาก

จนมันมีอีกชื่อว่า fiery serpent ทำให้ผู้ป่วยทนไม่ได้ต้องเอาเท้าไปแช่น้ำ
มัน ก็จะปล่อยไข่ออกมาสู่แหล่งน้ำ วิธีการรักษาที่นิยมคือผ่าเอาออก หรือเมื่อมันโผล่ออกมาจากแผลเปิด



ให้เอาไม้เล็กๆ พันปลายของมันแล้วค่อยๆม้วนดึงออกมาทีละนิดไม่ให้ขาด
(ตามภาพประกอบ)




 

คลิปจะเห็นว่าหนูน้อยคนหนึ่ง โดนเจ้าสัตว์ประหลาดนี่เข้าไป จะเห็นได้ว่าเอามันออกมานี่ไม่ง่ายเลย


อาจใช้เวลาตั้งแต่หลายวัน จนถึงหลายสัปดาห์กว่าจะดึงออกมากหมด
มีนัก ประวัติศาสตร์หลายคนสงสัยกันว่ารูปงูพันคบเพลิง

ที่เป็นสัญลักษณ์ทาง การพทย์ อาจมีต้นกำเนิดมาจากวิธีรักษานี้ก็ได้ครับ (จากเวป .pantip.com/)

ด้านล่างนี่เป็นวงจรชีวิตของGuinea worm



เพิ่มเติม

Dracunculiasis
(Dracontiasis, dracunculosis, guinea worm infection, Medina worm infection)

เกิด จากตัวแก่เพศเมียของพยาธิตัวกลม Dracunculus medinensis โรคนี้ให้ลักษณะอาการทางคลีนิคได้หลายอย่าง แต่ที่ค่อนข้างเป็นลักษณะพิเศษคือ ผิวหนังมีการอักเสบเฉพาะที่ทันทีพร้อมกับเกิดแผล(ulcer) และที่แผลพบตัวพยาธิเป็นเส้นยาว ปกติตัวแก่เพศเมียมีความยาวระหว่าง 70 ถึง 120 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวระหว่าง 0.09-0.17 เซนติเมตร



โดย ธรรมชาติ พยาธิตัวกลม Dracunculus medinensis ไม่ใช่พยาธิตัวกลมชนิด filaria แต่ถูกจัดเพื่อความสะดวกให้อยู่ในกลุ่มนี้ไปก่อน พยาธิตัวกลมชนิดนี้จัดเป็นพยาธิที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่โลกรู้จักมาแต่ โบราณ ดังจะเห็นได้จากสัญลักษณ์ทางการแพทย์(caduceus) ซึ่งได้มาจากวิธีการใช้กิ่งไม้เกี่ยวม้วนตัวพยาธิเพื่อดึงมันออกจากผิวหนัง



โรคนี้พบชุก ชุมในทวีปอัฟริกา และเอเชีย พบระบาดมากทาง ตอนกลางของทวีปอัฟริกา และตามแถบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอัฟริกา ตั้งแต่ประเทศมอริทาเนียไปจนจรดประเทศคาเมรูน สำหรับทวีปเอเชีย พบตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนจรดประเทศตุรกี รวมทั้งประเทศแถบตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศอาหรับ และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศรัสเซีย นอกจากนั้นยังมีรายงานจากหมู่เกาะอินเดียตะวันตก และทวีปอเมริกาใต้



วงจรชีวิต ตัวแก่เพศเมียปล่อยตัวอ่อนผ่านตามรอยแตกของผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมที่มันอาศัยอยู่ ตัวอ่อนเหล่านี้เมื่ออยู่ในน้ำจะถูกตัวไร(cyclops)กิน และเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะที่สามซึ่งเป็นระยะติดต่อ คนเป็นโรคนี้ได้โดยการดื่มน้ำที่มีตัวไรเหล่านี้เข้าไปในทางเดินอาหาร ตัวอ่อนจะไชผ่านผนังลำไส้ไปฝังตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณช่องท้องด้านหลัง เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ หลังผสมพันธุ์ตัวเมียจะไชไปที่ผิวหนังเพื่อปล่อยตัวอ่อนตามบริเวณผิวหนัง ตัวแก่เพศเมียจะตายหลังจากปล่อยตัวอ่อนออกมาปะปนในน้ำ



อาการ ทางคลีนิค อาการส่วนมากพบที่ผิวหนัง เมื่อตัวแก่เพศเมียมาปล่อยตัวอ่อนที่บริเวณนี้ ขณะไชไปตามผิวหนังจะพบขดเป็นทางมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนงูเลื้อย และทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เป็นตุ่มนูนแดง ภายในมีตัวแก่เพศเมียขดอยู่ โดยทั่วไปตุ่มนูนเหล่านี้มักพบที่ขา โดยเฉพาะบริเวณข้อเท้า นอกจากนี้อาจพบที่ แขน มือ เต้านม ถุงอัณฑะ องคชาต หน้าท้อง ตะโพก เบ้าตา และลิ้น เป็นต้น เมื่อตุ่มนูนแดงนี้ถูกน้ำจะแตกเป็นแผล



ผู้ป่วยมีอาการคันที่ผิวหนัง เกิดผื่นลมพิษ หายใจลำบาก หน้ามืดเป็นลม วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ และหอบหืด หรือบางรายพบเป็นอัมพาตของแขนขา พบ eosinophils สูงในเลือด ส่วนมากมีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อบักเตรี

พยาธิ สภาพ: พบพยาธิสภาพตามอวัยวะที่ตัวแก่เพศเมียตาย เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดการอักเสบเป็นหนอง อยู่ภายใน granulation tissue หรือบางรายหนองแห้งไปเหลือแต่เยื่อเกี่ยวพันและพบสารแคลเซี่ยมพอกในชิ้นส่วน ของพยาธิที่ตาย ทำให้มองจากภาพรังสีพบหินปูนจับเป็นเส้นยาวขดเป็นก้อน เช่นพบที่ กะเพาะปัสสวะ กล้ามเนื้อต้นขา ข้อเข่า ทรวงอก และที่กระดูกสันหลัง เป็นต้น ที่ผิวหนังโดยมากพบเป็นเศษเนื้อตายพร้อมตัวพยาธิและเซลล์อักเสบ ล้อมรอบด้วยการอักเสบชนิด granulomatous inflammation เซลล์อักเสบส่วนมากเป็นชนิด giant cell, epitheloid cell, histiocytes, lymphocytes เป็นต้น



การวิ นิจฉัย โดยการพบตัวแก่เพศเมียจากแผลที่ผิวหนัง หรือตรวจพบชิ้นส่วนของพยาธิจากชิ้นเนื้อที่ตรวจ หรือจากการฉายภาพรังสีโดยฉีดสารทึบแสงเพื่อช่วยในการตรวจหาพยาธิสภาพที่อยู่ ภายในอวัยวะของร่างกาย

อ้างอิงจาก : http://cai.md.chula.ac.th/chulapatho/chulapatho/lecturenote/infection/parasite/dracunculiasis.html
และ pantip.com

Credit: http://atcloud.com/stories/85024
27 มิ.ย. 53 เวลา 14:37 11,356 52 396
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...