18 การซ้ำรอย ที่เกิดขึ้นเมื่อนำชะตาชีวิต ‘เหยื่อสงคราม’ ต่างยุคมาเทียบกัน!

http://www.meekhao.com/news/people-in-war-era

แม้จะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ‘สงคราม’ ก็ยังคงเกิดขึ้นเสมอ และที่น่าตกใจก็คือเมื่อลองนำ ‘เหยื่อสงคราม’จากยุคสมัยที่แตกต่างมาเปรียบเทียบกัน ก็จะพบความคล้ายคลึงที่แทบจะซ้อนทับกันเลยก็ว่าได้ ต้องยอมรับว่าขณะนี้วิกฤติในซีเรียร้ายแรงจริง สงครามการแผ่อำนาจของ ISIS ยังคงดำเนินไปไม่หยุด และเครื่องจักรสงครามก็ทำให้ชาวซีเรียต้องข้ามถิ่นเอาชีวิตรอด กลายเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งเมื่อทาง UNICEF ลองเอาภาพชาวซีเรีย มาทาบเปรียบเทียบกับผู้ลี้ภัยตอนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ต้องสะเทือนอารมณ์

ภาพซ้ายคือรูปจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พี่ชายกำลังอุ้มน้องที่ร่ำไห้ไว้ ส่วนภาพด้านล่างเกิดขึ้นในซีเรีย และมันคือเหตุการณ์ใจสลายแบบเดียวกัน

ที่สมรภูมิกรีซตอนปี 1950 เด็กชายไม่มีแม้แต่รองเท้าที่พอดีกับเท้าของตนใส่ ส่วนในปี 2015 เด็กซีเรียก็ประสบปัญหาขาดแคลนรองเท้าเช่นกัน ภาพขวาคือความซึ้งที่เกิดขึ้นขณะที่เจ้าหน้าที่ Jamal Majati ผูกเชือกรองเท้าให้กับเด็กซีเรีย หลังจากมอบมันให้หนูน้อยที่ลี้ภัยมาถึงศูนย์ UNICEF

เด็กกำพร้าในอิตาลีจากปี 1949 ยืนอมยิ้ม หลังจากมีเจ้าหน้าที่มาวัดตัวเธอ เพื่อตัดเสื้อผ้าใหม่ให้…ส่วนในปี 2015 ชาวซีเรีย,อัฟกานิสถาน,อิรัก กำลังสัมผัสกับความหวัง และเลือกหยิบเสื้อกันหนาวที่มีคนนำมาบริจาคไว้ที่เมือง Tabanovce

เด็กชาวกรีซจากปี 1946 ยืนเกาะกรงเหล็กหน้าต่าง ส่วนตอนปี 2015 หนูน้อยจากสาธารณรัฐมาซิโดเนีย ก็ยืนเกราะลูกกรงของปากทางเข้าที่จะนำข้ามไปสู่อีกประเทศ

ในปี 1946 ที่โปแลนด์ ครอบครัวชาวกรีซจำเป็นต้องพักอยู่ในฟาร์มระหว่างเดินทางลี้ภัย ส่วนในปี 2015 เด็กชายผู้ลี้ภัยจากมาซิโดเดียกำลังพักอยู่ริมทางระหว่างการเดินทางอันยาวไกล พร้อมกับห่มผ้าห่มกันความหนาวเหน็บ

ในปี 1946 ผู้ลี้ภัยชาวกรีซต้องกินสิ่งที่เรียกว่า ‘halva’ ลักษณะมันคล้ายขนมปังผสมน้ำมันมะกอก,น้ำตาล หรือมาการีน ส่วนในปี 2015 เด็กลี้ภัยที่กำลังร่อนเร่ไปตามทางรถไฟต้องกินซากขนมเท่าที่จะหาได้เพื่อประทังชีวิต และนี่สะท้อนให้เห็นว่าเหยื่อของสงครามต่างล้วนต้องกินสิ่งที่หาได้เพื่อความอยู่รอด แม้ว่ามันจะอนาถแค่ไหนก็ตาม

เด็กชายผู้ลี้ภัยในปี 1955 จากกรีซ พยายามหาความสุขน้อยๆด้วยการอ่านหนังสือ  ส่วนในเซอร์เบีย หนูน้อยผู้อพยพได้รับการเยียวยาหัวใจ ด้วยสมุดภาพระบายสีที่คนบริจาคให้

ในปี 1945 ที่อัลบาเนีย คุณแม่โอบอุ้มลูกน้อยและเฝ้าหลบภัยสงครามอย่างสิ้นหวังอยู่ในค่ายที่ Kavaja  ส่วนในปี 2015 คุณแม่ผู้ปวดร้าวก็อุ้มลูกน้อยวัย 18 เดือน ขณะเฝ้ารอความช่วยเหลืออย่างสิ้นหวังอยู่ในค่ายลี้ภัยชั่วคราวที่กรีซ

ในปี 1950 ที่อิตาลี เด็กพิการผู้ลี้ภัยหาความเพลิดเพลินท่ามกลางความโหดร้ายด้วยการเตะฟุตบอล ในปี 2015 การเล่นฟุตบอล ก็นับเป็นสิ่งบันเทิงเพียงไม่กี่อย่างที่หลงเหลืออยู่ในค่ายอพยพ

หมีขาวหวังว่าสงครามจะจบในเร็ววัน เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน สงครามก็ยังโหดร้ายเสมอ

ที่มา https://www.buzzfeed.com/hayesbrown/these-pictures-show-how-refugee-children-havent-changed-sinc?bffbmain&utm_term=.ju8M1EKw4D#.tqKE05blLy

 

Credit: https://www.buzzfeed.com/hayesbrown/these-pictures-show-how-refugee-children-havent-changed-sinc?bffbmain&utm_term=.ju8M1EKw4D#.tqKE05blLy
20 พ.ย. 59 เวลา 03:21 1,794
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...