ครบรอบ 100 ปีการอนิจกรรมเจ้าน้อยศุขเกษม

พ.ศ.2553 ครบรอบ 100 ปีการอนิจกรรมเจ้าน้อยศุขเกษม





มีภาดาและภคินีตามลำดับต่อไปนี้

1. เจ้าอุดรการโกศล (น้อยสุขเกษม) 
2. เจ้าหญิงบัวทิพย์ 
3. เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน) (ลำดับ 1-3 เกิดแต่แม่เจ้าจามรี) 
4. เจ้าพงษ์อิน 
5. เจ้าหญิงศิริประกาย 
6. เจ้าอินทนนท์ (ลำดับ 4-6 เกิดแต่หม่อมเขียว) 

ตอนนั้นเชียงใหม่เป็นประเทศราชของสยาม ทางเชียงใหม่ส่ง เจ้าดารารัศมี ซึ่งเป็นเจ้าอาของเจ้าน้อย 
ไปอภิเษกกับ ร. 5 เป็นการผูกสัมพันธ์ ตอนนั้นเจ้าดารารัศมีอายุแค่ 13 เ อง...

เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สิ้นชีวิตในปี 2440 ลูกสาวที่ถูกเรียกลงเป็นเจ้าจอมที่บางกอกเมื่ออายุได้ 13 ปี (พ.ศ. 2430) คือเจ้าดารารัศมีก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเผาศพพ่อ และแผ่นดินเชียงใหม่ก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครเพราะสยามไม่แต่งตั้งผู้ใด นั่นคือช่วงปี พ.ศ. 2441 - 2442





พ.ศ. 2441 เจ้าน้อยถูกส่งไปเรียนที่ รร.เซนต์แพทริก เป็น รร.แคธอลิกของฝรั่งที่พม่า โดยแอบส่งไป ขี่ช้างไป เพราะตอนนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษซึ่งมีเรื่องกับไทยอยู่ 

เจ้าน้อยไปตอนอายุ 15 เพราะทางบ้านต้องการให้ได้ภาษาอังกฤษ เพราะค้าขายกับอังกฤษในพม่า





เจ้าน้อยได้พบมะเมียะแม่ค้าสาวสวย ซึ่งเพิ่งมาจากตองอู เจ้าน้อยอายุ 19 มะเมียะอายุ 15 ก็ตัดสินใจแต่งงานกัน 


จนอายุ 20 เจ้าน้อยเรียนจบถูกเรียกกลับเชียงใหม่ เจ้าน้อยเลยเอาเมียกลับมาด้วย โดยให้ปลอมเป็น 
เด็กรับใช้ชาย เอาเมียไปแอบในเรือนเล็ก โดยไม่รู้เลยว่าเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้หมั้นเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยฯ เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยฯ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่า



เจ้าน้อยไม่ยอมแต่งงาน เลยเปิดเผยว่ามีเมียแล้วคือมะเมียะ เอามะเมียะมากราบเจ้าพ่อเจ้าแม่แต่ไม่ได้รับการยอมรับ 

ปัญหาใหญ่ในขณะนั้น คือเจ้าน้อยเป็นผู้ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ถัดไปจากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ ซึ่งเป็นพระเจ้าลุง 


เรื่องนี้ไปถึงสยาม ร. 5 กับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเห็นว่าไม่ควร เลยส่งผู้สำเร็จราชการมาเจรจา บอกว่าเจ้าน้อยจะมีเมีย กี่คนไม่ใช่ปัญหาแต่ต้องไม่ใช่สาวพม่า 

เพราะว่าคนพม่า ถือสัญชาติอังกฤษ เดี๋ยวอังกฤษจะถือโอกาสแทรกแซง ว่าแต่งกะพม่า ก็ต้องถือว่าเป็นพม่าด้วย (ช่วงนั้นมีการต่อสู้กันเรื่องดินแดนฝั่งซ้าย-ขวาแม่น้ำโขง)

ที่สำคัญเจ้าน้อย เป็นเจ้าชายของเชียงใหม่ ถูกวางตัวไว้ให้เป็นเจ้าอุปราชเชียงใหม่ เท่ากับว่าสยามอาจต้องเสียเชียงใหม่ให้อังกฤษ ก็เลยบังคับส่งมะเมียะกลับพม่า (ไปส่งกันที่ประตูหายยา)

รูปประตูหายยาค่ะ





เจ้าน้อยฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าภายใน เดือนจะกลับไปหามะเมียะให้จงได้ นางจึงคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้า สยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยฯ ด้วยความอาลัยหา ก่อนที่เธอจะขึ้นไปบนกูบช้าง 

เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่ง (ซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นางก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญ) แก่พ่อแม่และน้อง 

จากนั้นนางได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยฯ จนครบกำหนด เดือนที่ท่านได้รับปากไว้ แต่กลับไร้วี่แววใดๆ 

มะเมียะจึงตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพุทธจักร ครองตนเป็นแม่ชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม 

หลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ (เจ้าหญิงบัวนวลถอนหมั้นไปแล้ว)





แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยฯ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต แต่เจ้าน้อยศุขเกษมผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ ชีวิตที่ไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ท่านไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน ๘๐ บาท ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ ให้กับแม่ชีมะเมียะ 

เจ้าน้อยหลังจากกันกับแม่ชีคราวนั้น.....ก็เอาแต่กินเหล้าไม่มีใจรักเจ้าบัวชุม 
ในที่สุดก็ตรอมใจตายหลังจากแต่งงานได้ไม่กี่ปีในขณะที่อายุแค่ 33 ปี

ในบันทึกบอกว่าสิ้นพระชนม์ด้วยโรคพิษสุรา อีก 6 ปีต่อมาหลังจากพบแม่ชีมะเมี้ยครั้งสุดท้าย 
ส่วนแม่ชีมะเมี้ยะ... บวชจนสิ้นอายุขัยเสียชีวิตในวัย 75 ปี ใน พ.ศ.2505





รูปเจ้าบัวนวล ณ เชียงใหม่ค่ะ





ผู้บันทึกเรื่องนี้คือ เจ้าบัวนวล คู่หมั้นคนแรกที่ถอนหมั้นไปหลังจากรู้ว่าเจ้าน้อยมีมะเมี้ยะ... 
ส่วนเจ้าบัวชุมไม่ผิดอะไรเลย แต่สามีไม่รักก็อยู่เป็นข้าบาทจาริกาจนอายุ 81 ปี 

รูปเจ้าบัวชุม





เจ้าบัวนวลกล่าวไว้ว่า ตลอดชีวิตเจ้าน้อยรักผู้หญิงคนเดียวจนสิ้นลม คือ มะเมี๊ยะ

หลังจากนั้นเรื่องของเจ้าน้อยกับมะเมียะก็ถูกสั่งห้ามพูดถึงไปหลายปีเพราะเป็นเรื่องทางการเมือง ต้องปิดบัง รายละเอียดเลยหายไป






กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ หรือ สุสานราชตระกูล ณ เชียงใหม่ 
เป็นสุสานหลวงที่ เจ้าดารารัศมี 
พระราชชายาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
โปรดฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ของผู้ครองนครเชียงใหม่ 
มาประดิษฐานรวมกัน ณ บริเวณลานวัดสวนดอกวรมหาวิหาร แห่งนี้
ซึ่งรวมถึงกู่ของเจ้าน้อยศุขเกษมด้วย

(เคยเข้าไปดู เพราะ อ.ธเนศวร์เคยบอกว่า กู่เล็กๆ ที่ไม่มีชื่อ ในบริเวณนี้คือกู่ของมะเมียะ)

หมายเหตุ :

- "หมะเมียะ" ภาษาพม่าแปลว่ามรกต; หมะ คือคำนำหน้านาม เมียะ คือชื่อ ค่ะ

- เจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยราชวงศ์กาวิละ (เจ้าเจ็ดตน)





ดัดแปลงที่มาและรูปภาพประกอบ (เพื่อเนื้อหาที่ชัดเจนขึ้น) จาก

http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/E2633434/E2633434.html

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chollaphin&month=06-2006&date=01&group=9&gblog=12

http://www.saochiangmai.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=saochiangmaicom&thispage=25&No=173744

http://th.wikipedia.org/

นอกจากนั้นคือความรู้ที่เคยได้เข้าเรียนกับ รศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง และ ดร.วิโรจน์ อินทนนท์
(วิชาประวัติศาสตร์ล้านนา และวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในล้านนา ตามลำดับ)

อนึ่ง เรียนมาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ที่จำได้...อาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง ต้องขออภัยผู้อ่าน



ป.ล. สังเกตกู่เจ้าน้อยง่ายมาก..มีรูปท่านอยู่หน้ากู่เลย



Credit: http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=mamarine&date=04-01-2010&group=7&gblog=1
26 มิ.ย. 53 เวลา 00:58 20,893 2 62
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...