เจ้านายฝ่ายเหนือที่ฆ่าตัวตายเพราะ...ไม่รู้จะเป็น สยาม หรือ ลาว

เจ้านายฝ่ายเหนือที่ฆ่าตัวตายเพราะ...ไม่รู้จะเป็น"สยาม"หรือ"ลาว"

เจ้าชายพระองค์นี้มักมีคำกล่าวกันว่า...ท่านเป็น "เจ้าชายผู้ถูกลืม"

ย้อนไปก่อนที่เจ้าดารารัศมีจะถวายตัวในปี 2429นั้น




(รูปพระราชชายาเจ้าดารารัศมี)


ยังมีเจ้าหญิงจากราชนิกุลเชียงใหม่เคยถวายตัวมาก่อนถึง 3 ปี มาแล้ว(พ.ศ.2426)

คือ เจ้าหญิงทิพเกษร ธิดาของ เจ้าสุริยะวงศ์ และเจ้าแม่สุวัณณา

โดยเจ้าอุตรการโกศลนครเชียงใหม่ ได้นำ "เจ้าทิพเกษร" เข้าเฝ้าถวายเป็นบาทบริจาริกาใน "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" 

ร.5 ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ "เจ้าทิพเกษร" ทรงเข้าศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ในสำนักของ "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค)"ผู้เป็นพระสนมเอกผู้ใหญ่ หัวหน้าพระสนมทั้งปวง





พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี









ประวัติการศึกษา

1.ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาทางเศรษฐศาสตร์
2.ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทำการศึกษาวิจัยสถานภาพและปัญหาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย
3.ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกและเป็นคนไทยคนที่ ๒ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
4. พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรส ๑ ใน ๔ พระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสำเร็จการศึกษาด้านพลเรือนได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย ซึ่งทรงได้รับปริญญา "ดอกเตอร์วิทสตาตส์ วิสเซนชัฟท์" จากทึบบิงเงน เยอรมนี





(รูป ส.ธรรมยศ ค่ะ)

ส. ธรรมยศ กล่าวไว้ในบทความเรื่องดังกล่าว ว่า การที่พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ต้องปลงพระชนม์พระองค์เองนั้น เนื่องจากสภาพความกดดันต่าง ๆ มากมายในสมัยนั้น 

หนึ่ง ด้วยการที่พระองค์มีดีกรีเป็นถึง ดอกเตอร์ ซึ่งเจ้านายในสมัยนั้น ไม่มีใครที่ได้ดีกรีถึงขึ้นนี้ อย่างมากก็แค่ปริญญาโท เท่านั้นเอง ความอิจฉาริษยาของผู้คนรอบข้าง มักจะนำมาซึ่งความเดือนเนื้อร้อนใจอยู่เสมอ ๆ 

และประเด็นใหญ่ ก็ด้วยเหตุที่พระองค์ มีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้น สยามยังมองเชียงใหม่ว่า เป็น “ลาว” ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ระหว่างสยามและล้านนายังมีอยู่ในใจลึก ๆ ของชาวสยามอยู่นั่นเอง จนถึงขั้นที่กล่าวหาพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐว่า จะคิดแยกล้านนาออกจากสยามประเทศ ซึ่งทำให้พระองค์ช้ำใจมาก ทั้งที่พระองค์ได้เสด็จไปดินแดนล้านนาเพียงครั้งเดียว ซึ่งข้อกล้าวหานี้ จะเป็นเพียงเพราะที่พระองค์มีพระมารดาเป็นชาวเชียงใหม่เท่านั้นเอง ซึ่งข้อหานี้เป็นข้อหาที่หนักหน่วงเอาการ …. 


ความเศร้าโศกาดูร ความกดดันกับมรสุมที่เข้ามาในชีวิต ที่ต้องฟันฝ่ากับการดูหมิ่นหยามจากชาวสยามในสมัยนั้น จนประสบความสำเร็จยิ่งกว่าใคร 

ด้วยความที่ความสามารถของพระองค์ยังใช้ได้ไม่เต็มที่ก็มาสิ้นพระชนม์ลงเสีย นับเป็นความสูญเสียบุคคลที่มีค่า ของทั้งสยาม และ ล้านนา อันที่จะเรียกคืนไม่ได้ 

ก็ได้เพียงแต่ เสียดาย หากไม่เช่นนั้น ประเทศจะพัฒนาไปได้ดีกว่านี้อีกมากนัก

(ภาพประกอบ รูปหมู่พระราชโอรส ฉายที่ประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๔๔
จากซ้าย พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์, พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ, สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ, พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์, พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์)





(โชคดีที่ระบบการศึกษาของเยอรมนีกำหนดให้ผู้ที่จะรับปริญญา "ดอกเตอร์ของรัฐ" ต้องพิมพ์วิทยานิพนธ์ออกมาเป็นหนังสือให้แพร่หลายทั่วไป ซึ่งทำให้พระวิทยานิพนธ์เป็นภาษาเยอรมันที่มีชื่อว่า "เกษตรกรรมในสยาม บทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยาม" ถูกเก็บไว้ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก)



ที่มา

"พลเมืองเหนือ" ปีที่ 2 ฉบับที่ 64 ประจำวันที่ 20 - 26 ม.ค. 2546



หมายเหตุ :

-ปัจจุบันท่านคือ "เจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์ของไทย"

-วังของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี" ปัจจุบันคือ ที่ทำการของ การไฟฟ้านครหลวง สามเสน 

- สยามมักปล่อยข่าวว่าพระองค์ฆ่าตัวตายเพราะเสียพระทัยเพราะพระชายาสิ้นพระชนม์ เพื่อ "กลบ" ความโหดร้ายของตนเอง

 


 

Credit: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mamarine&month=07-01-2010&group=7&gblog=2
26 มิ.ย. 53 เวลา 00:51 28,333 7 134
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...