ภาพเขียนสุดแปลกประหลาดเมื่อ 454 ปีมาแล้ว ของจุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด (Giuseppe Arcimboldo)

จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด (Giuseppe Arcimboldo)





ภาพเหมือนตนเอง





"เวอร์ทัมนัส" เทพแห่งฤดูกาล 
ภาพเหมือนของสมเด็จพระจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์






จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด (Giuseppe Arcimboldo หรือ Giuseppe Arcimboldi) (ค.ศ. 1527 - 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1593) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้เขียนภาพเหมือนแบบมีจินตนา การเช่นเขียนเป็นภาพที่ใช้ผลไม้ ผัก ดอกไม้ ปลา และหนังสือ ที่จัดประกอบเข้าด้วยกันจนเป็นหน้าตาที่ทราบว่าเป็นภาพเหมือนของผู้ใด

อาร์ชิมโบลโดเกิดที่มิลานในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1527 เป็นลูกของจิตรกรบิอาจิโอผู้ทำงานที่มหาวิหารมิลาน ในปี ค.ศ. 1549 อาร์ชิมโบลโดได้รับจ้างให้ออกแบบหน้าต่างประดับกระจกสี ให้แก่มหาวิหารที่รวมทั้งหน้าต่างที่เป็นเรื่องราวของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1556 อาร์ชิมโบลโด ก็ทำงานร่วมกับจุยเซ็ปเป เมดาเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่มหาวิหารมอนซา ในปี ค.ศ. 1558 ก็ได้ร่างภาพสำหรับทอพรมทอแขวนผนัง ที่เป็นภาพการสิ้นพระชนม์ของพระแม่มารี ซึ่งยังแขวนอยู่บนผนังของมหาวิหาร ที่โคโมมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ในปี ค.ศ. 1562 จุยเซ็ปเปก็ได้รับตำแหน่งเป็นช่างเขียนภาพเหมือนประจำราชสำนัก ของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเวียนนา 

และต่อมากับสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 2 และพระราชโอรสสมเด็จพระจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 ที่ราชสำนักในกรุงปราก นอกจากจะเป็นช่างเขียนแล้วก็ยังเป็นนักตกแต่ง และนักออกแบบเครื่องแต่งกาย พระเจ้าออกัสตัสแห่งแซกโซนี 

ผู้เสด็จมาเยี่ยมเวียนนาระหว่างปี ค.ศ. 1570 และ ค.ศ. 1573 ได้ทรงมีโอกาสเห็นผลงาน พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้วาดภาพ "The Four Seasons" ซึ่งเป็นภาพที่รวมสัญลักษณ์การเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์

งานปกติของอาร์ชิมโบลโดที่เป็นหัวข้อทางศาสนาก็หมดความนิยมกันไป แต่งานที่เป็นภาพเหมือนที่เขียนจากผัก ผลไม้ สัตว์ทะเล และรากไม้ที่เป็นที่ชื่นชมของผู้คนร่วมสมัย ก็ยังเป็นที่นิยมกันจนถึงทุกวันนี้ 

นักวิพากษ์ศิลปะถกเถียงกันว่าการวาดภาพประเภทนี้ เป็นการวาดของผู้ที่เพียงมีความคิดที่แปลก หรือเป็นเพราะเป็นผู้มีอาการผิดปกติทางจิต 

นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นสมัยที่ผู้คนนิยมปริศนาและของแปลกต่างๆ ฉะนั้นพฤติกรรมของอาร์ชิมโบลโดก็คงจะเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสมัย มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของความผิดปกติทางจิต

อาร์ชิมโบลโด เสียชีวิตที่มิลานหลังจากที่ยุติการรับราชการในกรุงเวียนนา ในระหว่างช่วงหลังของอาชีพที่ได้ทำการเขียนภาพเหมือนของสมเด็จพระจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 และภาพเหมือนตนเองเป็นคนสี่ฤดู 

ชาวอิตาลีร่วมสมัยสรรเสริญเกียรติคุณของงานของอาร์ชิมโบลโดด้วยโคลงกลอนและบทสรรเสริญ

เมื่อกองทัพสวีเดนเข้าโจมตีกรุงปรากในปี ค.ศ. 1648 ระหว่างสงครามสามสิบปี ภาพเขียนหลายภาพของอาร์ชิมโบลโดก็ถูกนำไปจากงานสะสมของสมเด็จพระจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2

งานของอาร์ชิมโบลโดพบได้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะในกรุงเวียนนาในประเทศออสเตรีย ปราสาทอัมบราสในอินสบรุค พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส และในพิพิธภัณฑ์หลายพิพิธภัณฑ์ในสวีเดน อิตาลี และ สหรัฐอเมริกา

ผลงาน

งานอันมีลักษณะที่พิศดารของอาร์ชิมโบลโด โดยเฉพาะภาพซ้อนมาพบอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยจิตรกรลัทธิเหนือจริงเช่นซัลบาดอร์ ดาลี ในปี ค.ศ. 1987 ก็ได้มีการแสดงนิทรรศการงานของอาร์ชิมโบลโดที่พาลัซโซกราสซิที่เวนิส 

ที่รวมทั้งงานหลายชิ้นที่เป็นภาพที่มีความหมายซ้อน อิทธิพลของงานเขียนของอาร์ชิมโบลโดพบในงานของชิเกโอะ ฟูคูดะ, อิสท์วาน โอโรสซ์, อ็อคตาวิโอ โอแคมโพ และ ซานโดร เดล เพรเท 

และในงานภาพยนตร์ของ Jan Švankmajer นอกจากจะปรากฏในงานจิตรกรรมแล้ว งานเขียนที่มีลักษณะไปในแนวเหนือจริงของอาร์ชิมโบลโดก็ยังปรากฏในนวนิยายด้วย เช่นในนวนิยาย “2666” ที่เขียนโดย Roberto Bolaño 

ที่เป็นเรื่องของตัวละครที่เป็นนักเขียนเยอรมันชื่อเบนโน ฟอน อาร์ชิมโบลดิ หรือในนวนิยาย “The Coming of Vertumnus” โดยเอียน วัตสัน

ภาพเขียนสุดแปลกประหลาดเมื่อ 454 ปีมาแล้ว ของจุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด





“บรรณารักษ์” ค.ศ. 1556 Skokloster Castle สวีเดน





“อากาศ” ราว ค.ศ. 1566 งานสะสมส่วนบุคคล





“ไฟ” ราว ค.ศ. 1566 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ เวียนนา





“อากาศ” ราว ค.ศ. 1566 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ เวียนนา



"ฤดูใบไม้ผลิ" ค.ศ. 1573 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีส





"ฤดูร้อน" ค.ศ. 1573 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีส





"ฤดูใบไม้ร่วง" ค.ศ. 1573 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีส





"ฤดูหนาว" ค.ศ. 1573 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีส





พระ เจ้าออกัสตัสแห่งแซกโซนี เสด็จมาเยี่ยมเวียนนาระหว่างปี ค.ศ. 1570 และ ค.ศ. 1573 ได้ทรงมีโอกาสเห็นผลงานของ จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด

พระองค์จึง ทรงมีพระบรมราชโองการให้วาดภาพ "The Four Seasons" ซึ่งเป็นภาพที่รวมสัญลักษณ์การเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์


... 437 ปีที่ผ่านมา ของจิตรกรผู้มีความคิดก้าวหน้ามาก ... การคิดนอกกรอบ ที่น่าทึ่งมาก



... อยากทราบว่า คราจรดฝีแปรงนั้น ... จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด คิดอะไรอยู่หนา ...
คงรังสรรค์งานไปยิ้มไปกระมังหนอ... 
อารมณ์ขันอันเหลือเฟือ ที่ธรรมชาติให้มวลมนุษยชาติ ได้มาต่างกัน ...


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


 


Credit: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=03-2010&date=05&group=12&gblog=133
#ภาพเขียน #Giuseppe #Arcimboldo
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
25 มิ.ย. 53 เวลา 23:49 4,238 12 116
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...