http://petmaya.com/zeppelin-inside-story
ก่อนที่พี่น้องตระกูลไรท์ประดิษฐ์เครื่องบิน มนุษย์สามารถขึ้นไปบนฟ้าได้ก่อนแล้วด้วยเทคโนโลยีบอลลูน และต่อมาสิ่งที่ดูเจ๋งไม่แพ้เครื่องบินก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นั่นก็คือ “เรือเหาะ” ซึ่งถือเป็นอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นการเดินทางแห่งอนาคต ณ ขณะนั้น
เดิมทีเจ้าเรือเหาะถูกออกแบบมาคล้ายกับบอลลูนยักษ์ เพื่อใช้ในกองทัพฝรั่งเศส โดยมีชื่อว่า La France ตั้งแต่ในสมัย 1884
ส่วนเรือเหาะที่มีชื่อเสียงที่สุดถูกออกแบบโดยท่านเคาท์ เฟอร์ดินานด์ ฟอน เซปเปลิน ซึ่งขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1900 ซึ่งคำว่า เซเปลิน (Zeppelin) ถูกนำมาตั้งเป็นคำที่ใช้เรียกเรือเหาะอีกด้วย
เรือเหาะของเซปเปลินถูกนำมาใช้ในการทหารของเยอรมนี ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จากภาพด้านล่างคือเรือเหาะของเยอรมนี ถูกแสงไฟสปอตไลท์จับได้ ระหว่างการทิ้งระเบิดในปี 1916
จนในระหว่างทศวรรษที่ 1930 เรือเหาะถูกนำใช้เป็นบริการท่องเที่ยวสุดหรูให้กับพลเรือน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาย ณ ขณะนั้น เพราะความหรูหราสะดวกสบายที่อยู่ในเรือเหาะแห่งนี้นั่นเอง
หนึ่งในเรือเหาะที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ LZ129 ฮินเดนเบิร์ก ที่ถือเป็นอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มันมีความยาวเกือบ 4 เท่าของเครื่องบินโบอิ้ง 797 หรือประมาณ 803 ฟุต แถมยังเป็นการเดินทางที่รวดเร็วที่สุดที่ใช้ข้ามมหาสุทรแอตแลนติก โดยใช้เวลาเพียง 43 ชั่วโมงเท่านั้น
และนี่คือภายในห้องโดยสารของเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก ที่หรูหราอลังการ และมีหน้าต่างสำหรับส่องดูวิวทิวทัศน์ภายนอกอีกด้วย
บนกำแพงของห้องรับรองจะมีแผนโลกที่บอกเส้นทางการบิน เส้นทางของนักสำรวจชื่อดัง เส้นแบ่งมหาสมุทร และภายในห้องยังมีเปียโนหรูในปีแรกที่เปิดให้บริการ แต่ด้วยน้ำหนักของมันที่มากมาย ทำให้ต้องถูกยกเลิกไป
ห้องเขียนหนังสือที่อยู่ถัดจากห้องอาหาร ที่ดูสะดวกสบายสำหรับผู้โดยสารมากๆ
ห้องพักผู้โดยสารที่มีความเป็นส่วนตัวสูง รวมถึงมีเตียงนอนให้อีกด้วย
แม้ว่าเรือเหาะลำนี้จะใช้ไฮโดรเจนที่ติดไฟได้ง่ายกว่า 7 ตัน แต่ก็ยังอุตส่าห์มีห้องสำหรับสูบบุหรี่เอาไว้ให้ด้วย
ห้องสูบบุหรี่ที่มีลักษณะเป็นบาร์จะอยู่ใต้ห้องอาหารและห้องพักผู้โดยสาร
นอกจากเรือเหาะฮินเดนเบิร์กแล้ว ยังมีเรือเหาะอีกลำที่มีความหรูหรายิ่งกว่า นั่นก็คือ กราฟ เซปเปลิน
ในห้องครัวจะมีเตาไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น และยังมีเลานจ์ที่สวยงาม
ห้องนอนที่แสนสบาย ห้องพักผู้โดยสารมี 25 ห้อง แต่ละห้องพักได้ 2 คน
มีอาหารรสเลิศ ไวน์ชั้นเยื่ยม ไว้คอยให้บริการ และยังมีหน้าต่างระเบียงชมทิวทัศน์เป็นทางเดินยาว 15 เมตร 2 ฟากเรือ
เบื้องหลังภายในห้องครัว มีเชฟฝีมือดีคอยจัดอาหารอร่อยๆ ไว้ให้ตลอดการเดินทาง
เห็นหรูๆ แบบนี้ แน่นอนว่าค่าโดยสารแพงแบบสุดๆ ถ้าเทียบเป็นราคาปัจจุบันแล้ว ตั๋วเดินทาง 1 เที่ยว ก็พอๆ กับราคารถยนต์หรูหนึ่งคันเลยทีเดียว
ภายในปีแรก เรือเหาะฮินเดนเบิร์กสามารถเดินทางรวมแล้วได้มากถึง 308,323 กิโลเมตร รับส่งผู้โดยสารรวม 2,798 คน ขนส่งสินค้ากว่า 160 ตัน ก่อนที่ปีต่อมาจะประสบอุบัติเหตุเพลิงไหม้กลางอากาศ ก่อนที่จะลุกลามอย่างรวดเร็วจนตกลงพื้น ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่รอดชีวิต จากจำนวนผู้โดยสาร 36 คน และลูกเรือ 61 คน มีผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้โดยสาร 13 คน ลูกเรือ 22 คน มีลูกเรือภาคพื้นดินเสียชีวิตด้วยอีก 1 คน
การเสียชีวิตเกือบทั้งหมดไม่ได้เกิดจากไฟ แต่เป็นการกระโดดลงจากที่สูง ส่วนผู้โดยสารที่อยู่กับห้องโดยสารปลอดภัยทั้งหมดเนื่องจากเปลวไฟที่ร้อนจัดพัดขึ้นเบื้องสูง ลูกเรือที่ตายมากเนื่องจากได้พยายามเข้าไปช่วยผู้โดยสารที่อยู่ในห้องโดยสารหรือที่โดดลงมาก่อน
จากอุบัติเหตุครั้งนี้ ทำให้ผู้คนขาดความเชื่อมั่นในการเดินทางด้วยเรือเหาะ และเห็นว่ามันเป็นการเดินทางที่ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป จนหันไปใช้บริการเครื่องบินที่มีขนาดเล็กและแออัดกว่าแทน ถึงแม้ว่าเรือเหาะอีกลำอย่าง กราฟ เซปเปลิน จะไม่เคยประสบอุบัติเหตุมาก่อน แถมเดินทางมาแล้วกว่า 1.6 บ้านกิโลเมตรก็ตาม ซึ่งถือเป็นการปิดตำนานธุรกิจเรือเหาะไปโดยปริยาย
ที่มา http://gizmodo.com/31-photos-from-the-golden-age-of-airships-when-zepplin-1376407382