วันนี้เกิดปราก ฎการณ์ประหลาด มีดวงอาทิตย์โผล่3ดวง
ที่จังหวัดศรีสะเกษ สร้างความตื่นเต้นกับผู้พบเห็น
วันนี้(19มิ.ย.) เมื่อเวลา07.30 น. ชาวบ้านจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้
เคียงแห่ดูปรากฎการณ์ผิดธรรมชาติที่ เกิดขึ้น พบว่ามีดวงอาทิตย์โผล่เหนือ
ท้องฟ้าถึง3ดวง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้พบเห็นอย่างมาก ต่างพากันเก็บ
ภาพ ด้วยกล้องจากโทรศัพท์มือถือบ้าง กล้องถ่ายวีดีโอบ้าง
เกิดเป็นกระแสวิพากษ์ วิจารณ์บนโลกอินเตอร์ เน็ต ถึงปรากฏการณ์พระ
อาทิตย์3ดวง โดยบรรดาชาวไซเบอร์ถกเถียงกันว่าจะเกี่ยวข้องกับ
สถานการณ์ทางการเมืองหรือ ไม่อย่างไร
ทั้ง นี้ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปรากฎการณ์ประหลาดดังกล่าวเป็น
ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า "ซัน ด็อก" ที่เกิดจากการหักเหของแสง
อาทิตย์ที่ตกกระทบกับเกล็ดน้ำแข็งในชั้นบรรยากาศ จนสะท้อนเป็นภาพให้ผู้
ที่อยู่บนโลกเห็นเป็นดวงอาทิตย์3ดวง ซึ่งโดยมากจะเกิดบริเวณขั้วโลก
คลิปวีดีโอ ดวงอาทิตย์สามดวงที่จังหวัดอุบลราชธานี : 16 มิถุนายน 2553
ไม่ใช่เรื่องประหลาด ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่ผิดแปลก
แต่เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่มักไม่เกิด บ่อยและพบเห็นได้บ้างบางพื้นที่เท่านั้น
ไปดูกันว่า มันคืออะไร....
กลุ่มสาระ การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ทุกระดับชั้น
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
......ซันด๊อก Sun Dog......
ซันด๊อก เป็นปรากฏการณ์ทางแสงอย่างหนึ่ง มักเกิดเป็นคู่ อยู่ด้านซ้าย-ขวา ในแนวระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์ ขนานกับพื้นดิน ซันด๊อกอาจปรากฏเป็นจุดสว่างบนฮาโล หรืออาจมีรูปร่างคล้ายกับดาวหางก็ได้ ซันด๊อกอาจมีสีรุ้งได้ โดยที่สีแดงจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ และสีฟ้าขาวปรากฏในส่วนหาง
ซันด๊อก เกิดจาการหักเห และการสะท้อนของแสงอาทิตย์ กับผลึกน้ำแข็งแท่ง 6 เหลี่ยมภายในเมฆเซอรัส (cirrus) หรือ เซอโรสตราตัส (cirrostratus) เมฆน้ำแข็งอื่นๆ เช่น ice fog และ diamond dust ก็สามารถทำให้เกิดซันด๊อกได้เช่นกัน
เมฆเซอรัส (cirrus) หรือ เซอโรสตราตัส (cirrostratus)
ที่มา : http://i159.photobucket.com/albums/t139/raystormsama/cirrocumulus.jpg
http://airlineworld.files.wordpress.com/2008/07/cirrus1.jpg
ซันด๊อกมัก เกิดเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับขอบฟ้า คือหลังพระอาทิตย์ขึ้น หรือ ก่อนพระอาทิตย์ตก หรือในช่วงเดือนในฤดูหนาวในเขต mid-latitudes โดยจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นมุม 22 องศา และจะปรากฏบนวงของฮาโลถ้าเกิดปรากฏการณ์ฮาโล เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ในมุมที่สูงขึ้น ซันด๊อกจะเคลื่อนตัวออกห่างจากดวงอาทิตย์ แต่จะยังรักษาตำแหน่งอยู่ในแนวระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่เกิน 45 องศา เหนือขอบฟ้า ซันด๊อกจะจางลง และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า 22 องศา
ซัน ด๊อกจะ หายไป เมื่อดวงอาทิตย์อยู่สูงกว่าขอบฟ้าเกิน 61 องศา
ซันด๊อกมัก เกิดร่วมกับฮาโล ฮาโลจะเกิดในกรณีที่ผลึกน้ำแข็งมีการเรียงตัวในลักษณะผสม ส่วนซันด๊อกจะเกิดในกรณีที่ผลึกน้ำแข็งมีการเรียงตัวในแนวระนาบ (เราจะเห็นเฉพาะซันด๊อกเท่านั้น ถ้ามีแต่ผลึกน้ำแข็งในแนวระนาบ)
Parhelion เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Sun Dog ซึ่งแปลว่า "ข้างดวงอาทิตย์"
ปรากฏการณ์ นี้ หากเกิดกับดวงจันทร์ จะเรียกว่า "มูนด๊อก" (Moon Dog) และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paraselene หรือ Paraselenae (พหูพจน์ของ paraselene) มูนด๊อกจะหาดูได้ยากกว่า และจะเกิดได้เมื่อดวงจันทร์มีความสว่างมากเท่านั้น ซันด๊อกจะพบได้ง่ายในเขตหนาว เช่น ทวีปแอนตาร์คติค และ ทวีปอาร์คติค แต่ก็เกิดได้ในเขตร้อนเช่นกัน แม้แต่ในประเทศไทย
Sundog & Moondog Gallery : http://www.atoptics.co.uk/halo/dogim0.htm
ข้อมูลและภาพ ประกอบจาก : http://sci4fun.com/skyobserve/skyobserver.html
ภาพเพิ่มจากที่ต่างๆ
คลิปนี้ที่แคนาดา
คลิปนี้จากอาร์ คติก