มาเลี้ยงสัตว์แปลกๆกันดีกว่า

กิ้งก่าบาซิลิสก์ (Basilisk)

  













    สัตว์แปลกวันนี้หน้าตาอาจดู เหมือนกิ้งก่าธรรมดาๆ แต่ดูแปลกๆตา แต่อย่าเพิ่งตัดสินหน้าตาบ้านๆของมันนะครับ เพื่อนเคยได้ยินข่าวหนึ่งซักเมื่อประมาณปีที่แล้วพูดถึง "กิ้งก่าสะเทินน้ำสะเทินบก" พอพูดอย่างนี้บรรดาคนรักสัตว์เลี้ยงแปลกๆ ชักเริ่มจะสนใจขึ้นมาทันที


     และด้วยความที่เจ้ากิ้งก่าบาซิลิสก์ไม่เป็นกิ้งก่าหน้าตาประหลาดๆ และที่สำคัญหาดูไม่ได้ในเมืองไทยแล้ว "กิ้งก่าบาซิลิสก์" ยังเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่วิ่งบนน้ำได้อย่างน่าทึ่ง ภาพที่หาดูได้ยากนี้มีให้ดูฟรีใน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์"

  เจ้า กิ้งก่าบาซิลิสก์ (Basilisk) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกแห่งแอฟริกาใต้ คงสร้างความมันงงให้กับใครๆ ที่ได้เห็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดโตเต็มวัยได้ถึง 80 เซนติเมตรนี้ วิ่งฉิ่วบนผิวน้ำโดยไม่จม และเพื่อไขปริศนาว่าเจ้าสัตว์เลื้อยคลานนี้เคลื่อนที่ไปบนผิวน้ำได้อย่างไร ทีมสารคดีของสถานีเอ็นเอชเค (NHK) แห่งญี่ปุ่นจึงได้แบกกล้องที่มีความเร็วชัตเตอร์ 1 ในล้านวินาทีไปบันทึก ภาพกิ้งก่าที่ริมบึงประเทศคอสตาริกา




  ภาพจากกล้องคุณสมบัติพิเศษนี้ เอ็นเอชเคนำมาเผยแพร่ผ่านสารคดีมหัศจรรย์ธรรมชาติ ตอน กิ้งก่าบาซิลิสก์ (Nature Wonder Land II: Lizard Dashing on Water – Basilisk, Costa Rica) ในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ (Science Film Festival) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-28 พ.ย.51 นี้ ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์และเยาวชนจำนวนหนึ่งได้รับชมภาพยนต์เรื่องนี้ที่ จัดฉาย ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เอกมัย)

  กิ้งก่าบาซิลิสก์ (basilisk) นั้นเราคงไม่คุ้นเคย เพราะเขาอยยู่ในป่าดิบชื้นแถบอเมริกาใต้โน่น เจ้ากิ้งก่านี้ยาวจากหัวทางประมาณ 60-80 เซนติเมตร แม้จะหนักเพียง 200-600 กรัม แต่เราตึงผิวของน้ำพยุงไว้ก็ไม่อยู่แน่ ดังนั้นถ้ามีอะไรทำให้มันต๊กกะใจ จอมยุทธ์บาซิลิสก์จะใช้เคล็ดวิชาพิสดารกางนิ้วเท้าซึ่งมีพังผืดออก แล้ววิ่งหน้าตั้ง สลับขาโกยแน่บพุ่งไปบนผิวน้ำอย่างรวดเร็ว

  รูปลักษณ์ภายนอกของกิ้งก่าบาซิลลิสก์ จะมีเกล็ดเขียว-ขาว-ดำ มีครีบบนหลังเหมือนปลา และสำหรับตัวผู้จะมีหงอนเพิ่มขึ้นมาด้วย เจ้ากิ้งก่าชนิดนีจะอาศัยอยู่ริมน้ำ เมื่อฟักออกจากไข่แล้วต้องเอาตัวรอดด้วยตัวเอง เนื่องจากพ่อ-แม่จะไม่ดูแล ดังนั้นการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ออกจากไข่จึงช่วยให้สัตว์ชนิด นี้รวดพ้นจากนักล่าที่มีอยู่ชุกชุมในน้ำได้



  หากมองด้วยสายตาปกติ เราแทบจะไม่เห็นว่ากิ้งก่าบาซิลลิสก์เคลื่อนที่ไปบนผิวน้ำด้วยท่าทางแบบใด แม้แต่กล้องที่ใช้กันทั่วไปก็ไม่สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวที่มีความเร็ว 18 เมตรต่อวินาที หรือเกือบ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยกล้องที่มีความเร็วชัตเตอร์เป็นพิเศษ เราได้เห็นภาพกิ้งก่าเคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ถึง 5 ก้าว ในเวลา 0.25 วินาที หรือเพียงแค่เรากระพริบตาครั้งเดียว

  ทั้งนี้จังหวะในการเปลี่ยนก้าวของกิ้งก่าบาซิลิสก์ใช้เวลาเพียงแค่ 0.052 วินาที ซึ่งการเคลื่อนที่อันรวดเร็วนี้ อุ้งเท้าของเจ้าบาซิลิสก์จะฟองอากาศลงไปในน้ำด้วย จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายสรุปได้ว่ามีพลังงาน 3 อย่างที่ช่วยพยุงตัวไม่ให้กิ้งก่าบาซิลลิสก์จมน้ำ คือ แรงบาซิลิสก์ ซึ่งเกิดจากเท้ากระทุ้งผิวน้ำทำให้เกิดแรงพยุงตัว แรงต้านทานและแรงลอยตัวจากอากาศที่ช่วยพยุงเจ้ากิ้งก่าไว้ไม่ให้จม โดยกิ้งก่าจะจุ่มเท้าอีกข้างก่อนที่แรงจะหมด

แมงมุม ทารันทูรา (Tarantula)
 



แมงมุมทารันทูราเป็นแมงมุมดึกดำบรรพ์ จากการสำรวจพบว่าแมงมุมทารันทูรา มีมากกว่า 700 ชนิด ทารันทูราแต่ละชนิดมีความเป็นอยู่หลากหลาย บางชนิด อยู่ในพื้นที่กึ่งทะเลทราย บางชนิดอาศัยในป่าร้อนชื้น บางชนิดอาศัยในรู และบางชนิดอยู่บนต้นไม้ ทารันทูราล่าเหยื่อด้วยการกัดบางชนิดสามารถป้องกันตัวโดยการเตะขนที่ก้น เพื่อให้ปลิวไปถูกศัตรูเพื่อให้เกิดอาการคัน ในธรรมชาติทารันทูรา หาอาหารด้วยวิธีการล่าเหยื่อไม่ใช่สร้างใยให้เหยื่อมาติดแบบแมงมุมในกลุ่ม spider ทารันทูราสามารถอดอาหารได้นานหลายเดือน การที่แมงมุมหยุดกินอาหารในบางช่วงจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่การได้รับอาหารอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้ทารันทูราเจริญเติบโตเร็วอีกด้วยคน ไทยเรียกว่าบึ้ง มี4 ชนิด บึ้งดำ, บึ้งลาย, บึ้งน้ำตาล, บึ้งน้ำเงิน ทารันทูรามีการลอกคราบ ในวัยเล็กจะมีการลอกคราบบ่อย มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง เมื่อโตมากขึ้นระยะห่างการลอกคราบแต่ละครั้งจะเพิ่มขึ้น เช่น เดือนละ 1ครั้ง ถึงปีละ 2 ครั้งเมื่อโตเต็มวัย

อายุของแมงมุมทารันทู รา : 
  ตัวผู้จะมีอายุประมาณ 2 ปี ตัวเมียสามารถมีอายุได้ถึง 20ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดด้วย

  ปัจจุบัน แมงมุมทารันทูราได้ถูกนำออกจากป่ามาเลี้ยงในเมือง โดยผู้หลงใหลในชีวิตสัตว์โลก และได้ทำการเพาะพันธุ์แมงมุม เพื่อดำรงสายพันธุ์แมงมุมให้คงอยู่ในโลกต่อไปในยุคสังคมเมืองขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ท่านผู้สนใจเริ่มเลี้ยงทารันทูราควรตระหนักว่า ทารันทูราทุกชนิดกัดได้ ไม่ควรจับเล่นแม้แต่แมงมุมที่คิดว่าเชื่อง
  ถ้าถามว่าแมงมุมกัดคนตายหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ มีอยู่เพียง 2 สายพันธุ์ที่มีพิษร้ายแรง Pterinochilus, Poecilotheria ไม่รวมจำพวก trapdoor, spider แต่สายพันธุ์อื่นก็ต้องระวังเช่นกันเพราะขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีอาการแพ้ เพียงใด





เลือกชนิดแมงมุมทารันทูรา ที่จะเลี้ยง

ทารันทูรามีหลากหลายชนิด แต่ทารันทูราที่เหมาะกับผู้เริ่มเลี้ยงเป็นตัวแรกมีเพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งที่จะแนะนำมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

Grammostola Rosea














Grammostola Rosea

อาศัยในเขตประเทศชิลี อาศัยในพื้นที่แห้ง ขนจะมีสีชมพูสีขนจะชัดเจนมากในตัวผู้ ทารันทูราชนิดนี้เชื่องมากแทบไม่เคยแสดงอาการก้าวร้าวใดๆราคาถูกและเลี้ยง ง่ายจึงเหมาะสมที่สุดที่จะเลี้ยงเป็นตัวแรกถึงจะเป็นชนิดที่เป็นมิตรที่สุด แต่เคยมีคนโดนกัดมาแล้ว ขอย้ำว่าทารันทูราไม่ควรจับเล่น

Brachypelma Smithi
















Brachypelma Smithi

    อาศัยในเขตประเทศเม็กซิโก อาศัยในพื้นที่แห้งเป็นแมงมุมที่สวยงามได้รับความนิยมอย่างมาก แมงมุมชนิดนี้สามารถเตะขนได้ เมื่อขนปลิวมาสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน ปกติแล้วอาการจะไม่รุนแรงมากนักขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะมีอาการแพ้หรือ ไม่ Brachypelma Smithi เป็นอันดับที่ 2 ที่แนะนำ เพราะไม่ก้าวร้าว กินเก่ง โตเร็ว เลี้ยงง่าย ราคาไม่แพง แต่ความเป็นมิตรน้อย กว่า Grammostola Rosea




สำหรับแมงมุมทา รันทูรา ขอแนะนำเพียง 2 ชนิด สำหรับผู้เริ่มเลี้ยง แมงมุมที่อาศัยในพื้นที่แห้งเลี้ยงง่ายที่สุด เมื่อคุ้นเคยแล้ว อาจเลี้ยงทารันทูรา ที่อาศัยในรู หรืออาศัยบนต้นไม้ เพิ่มขึ้นตามความพอใจ

ตู้-กล่อง เลี้ยง :
  ตู้กระจก ตู้พลาสติก ตู้อคิลิก ก็ได้แล้วแต่ความต้องการของผู้เลี้ยง แต่จะต้องมีช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทได้สะดวก และปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้แมงมุมทารันทูราปีนหนีได้ สำหรับการเลี้ยงนั้น 1 ตู้ควรเลี้ยงเพียง 1ตัว เท่านั้น เพราะแมงมุมทารันทูราหากเลี้ยงรวมกันอาจกัดกินกันได้ และภายในตู้ควรมีถ้วยน้ำใบเล็กๆ วางไว้เพื่อให้น้ำแมงมุมด้วย

วัสดุ รองพื้นตู้ :
  สามารถใช้ได้หลายสิ่ง แต่ที่ต้องการแนะนำ คือ พีทมอส ,ขุยมาพร้าว เหมาะกับแมงมุมทุกประเภท และสามารถเก็บความชื้นได้ดีสำหรับทารันทูราที่ต้องการความชื้น และใส่ให้หนามากขึ้นสำหรับ
ตัวที่อาศัยในรู

อาหารของ แมงมุมทารันทูรา :  

แมงมุมทารันทูราเป็นสัตว์ล่าเหยื่อ มักกินแต่สิ่งมีชีวิต การนำเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วให้เป็นอาหาร อาจทำได้แต่ยากที่แมงมุมทารันทูรายินดีที่จะกินมัน เมื่อให้อาหารที่มีชีวิตแล้ว หากทารันทูราไม่กินให้เอาออก เพราะเหยื่อตัวนั้นอาจทำอันตรายแมงมุมทารันทูรา ตัวอย่างอาหารที่นิยมนำมาเลี้ยงแมงมุมทารันทูรา เช่น จิ้งหรีด หนอนนก หนูแดง ฯ

ภาพตัวอย่างของแมงมุมทารันทูรา











 

จิ้งเหลนจระเข้ หรือ เรด อาย ครอกโคไดล สกินก์ (Red-eyed Crocodile Skink)

  
กิ้งก่าจระเข้  หรือ เรด อาย สกิงก์  เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งเหลน แต่พฤติกรรมและลักษณะของมันเหมือนกิ้งก่ามากกว่าที่จะเป็นจิ้งเหลนแบบที่เรา เคยเห็นโดยทั่วไป โดยเฉพาะลำตัวที่มีลักษณะเป็นเดือยหนามปกคลุมโดยทั่วจรดถึงหางคล้ายจระเข้ ซึ่งแตกต่างจากตระกูลจิ้งเหลนซึ่งจะมีผิวหนังเรียบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นจิ้งเหลนเพียงชนิดเดียวที่มีลักษณะเช่นนี้ กลุ่มคนรักสัตว์จึงรู้จักมันในนามของ กิ้งก่าจระเข้ เป็นส่วนใหญ่

ลักษณะ ภายนอกของ เรด อาย สกิงก์ :

  เรด อาย สกิงก์ หรือ กิ้งก่าจระเข้ ลักษณะคล้ายกิ้งก่า แต่จริงๆ แล้วมันคือ จิ้งเหลน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อย่างที่เราพบเห็นกันมากตัวจิ้งเหลนมันจะออกลื่นๆ ตัวยาวๆ ผิวมันๆ แต่ลักษณะของ เรด อาย สกิงก์ จะต่างออกไป คือมีหนามแหลมทั่วลำตัว หัวทรงสามเหลี่ยม ลำตัวคล้ายทรงสี่เหลี่ยม มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ แถมยังออกลูกเป็นไข่ ขณะที่จิ้งเหลนทั่วไปออกลูกเป็นตัว

 

ขนาด ลำตัวของ"เรด อาย สกิงก์" หรือ "กิ้งก่าจระเข้" :
  ข้อมูลของ เรด อาย คอกโกได สกิงก์ ที่กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ได้บอกเล่าเพิ่มความรู้ในกลุ่มคนรักสัตว์ชนิด เดียวกัน ในเว็บไซต์ siamreptile.com ยังยืนยันได้ว่าขนาดโตเต็มที่ของจิ้งเหลนชนิดนี้ หากนับจากหัวจรดหางมีความยาวเพียง 7-10 นิ้ว เมื่อแรกเกิดที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดราว 2 นิ้ว เท่านั้น โตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 6-8 เดือน ส่วนอายุขัยก็ยาวนานถึง 10-15 ปี นอกจากหนามทั่วตัว และหัวทรงสามเหลี่ยมแล้วนั้น มันยังโดดเด่นด้วยวงแหวนสีส้ม-แดง รอบดวงตา ซึ่งในบางสายพันธุ์จะมีสีน้ำตาลทอง ที่บริเวณใบหน้าและเท้า อันเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งในต่างประเทศมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ อาทิ Caque Headed Skink,Red or Orange or Yellow Eye Crocodilw Skink, Helmeted Skink หรือ เรียกสั้นๆ ว่า "Trib"
  ปัจจุบัน การซื้อขายจิ้งเหลนจระเข้มีการนำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นส่วนใหญ่ แต่มีแหล่งกำเนิดหลักที่ป่าชื้นในบริเวณหมู่เกาะปาปัวนิวกินี โดยยึดพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำเป็นถิ่นอาศัย ดังนั้น จึงเป็นความแปลกใหม่ของผู้เลี้ยงสัตว์กลุ่มเลื้อยคลานที่แตกต่างจากการ เลี้ยงกิ้งก่าแบบทั่วไป นั่นคือ การจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม มีความชื้นเพียงพอ ไม่ร้อนหรือแห้งจนเกินไป ผู้เลี้ยงควรเนรมิตจัดตู้ปลาว่างเปล่าเป็นป่าน้อยผืนเล็กๆ ที่มีต้นไม้ต้นน้อยเป็นกลุ่ม มีขอนไม้เพื่อเป็นที่ปีนป่ายและเป็นที่หลบซ่อน รองพื้นด้วยขุยมะพร้าวสูงมากกว่า 2 นิ้ว แล้วปูหญ้ามอสส์เป็นพรมนิ่มเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น วางถาดใส่น้ำสะอาด หรือจัดเรียงโขดหินเป็นแอ่งน้ำเล็กๆ ไว้ภายใน และหมั่นฉีดฟ็อกกี้เพื่อเพิ่มความชื้นในตู้กระจกทุกวัน และวางตำแหน่งตู้ในพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวก


เนื่องจากว่า เรด อายฯ เป็นสัตว์ที่ต้องการความชื้นสูง การเลี้ยงในตู้จึงต้องพยามเลียนแบบธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ตู้เลี้ยงยิ่งใหญ่ ยิ่งดี จัดระบบนิเวศน์ให้เหมือนธรรมชาติ คือมีใบไม้ ต้นไม้มากๆ มีพื้นดินชื้นๆ มีถาดน้ำให้เขาแช่บ้าง แต่ปกติ พวกนี้ไม่ได้ลงน้ำหรือว่ายน้ำขนาดนั้น เพียงให้เขาอยู่ใกล้ๆ แหล่งน้ำ มีที่มุดที่ซ่อน ซึ่งการเลี้ยงในตู้ลักษณะนี้เราสามารถเลี้ยงรวมกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่างกบบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่าเรด อายฯ ได้ เพราะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน"
อาหาร ของ"เรด อาย สกิงก์" หรือ "กิ้งก่าจระเข้" :
    จิ้งเหลนจระเข้ ตามธรรมชาติหากินเวลากลางคืน มีอาหารหลักคือ จิ้งหรีด ทาก ลูกกบ หนอน ตั๊กแตน ไส้เดือน หนอนไหมหนูแดง และแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก แต่เมื่อนำมาเป็นสัตว์ภายในบ้าน คุณปิยสิชฌ์ บอกว่า สามารถให้อาหารได้ง่ายๆ โดยให้จิ้งหรีดหรือหนอนนก ซึ่งเป็นอาหารสัตว์ที่หาซื้อได้ง่ายในปัจจุบัน นำมาคลุกกับผงวิตามินรวมหรือผงแคลเซียมก่อนโรยใส่ในตู้เพื่อเสริมแร่ธาตุให้ กับสัตว์เลี้ยงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ควรเลือกหนอนและจิ้งหรีดที่มีขนาดเล็ก

    สัตว์ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิดดูแลง่าย ให้อาหารง่าย ถ้าเราไปต่างจังหวัดหลายวัน สัตว์ก็อยู่ได้ เพราะสามารถอดอาหารได้เป็นอาทิตย์ แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ก็อยู่ได้เป็นเดือน หากสามารถแยกเพศได้จริงๆ ก็ขยายพันธุ์ได้ไม่ยาก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ก็สามารถจับคู่ให้ผสมพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ แต่ต้องมีอุณหภูมิและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย สำหรับ เรด อายฯ หากผสมพันธุ์แล้วมันจะใช้เวลาตั้งท้อง 20 กว่าวัน ช่วงที่ท้องอ่อนจะสังเกตลำบาก ตัวที่เป็นสีดำจึงค่อนข้างลำบากในการมอง แต่ในช่วงไข่แก่เต็มที่ เมื่อคลำดูจะเห็นชัดเจนมากขึ้น พอใกล้ถึงเวลาวางไข่มันจะมีพฤติกรรมลุกลี้ลุกลน จะทำรังทำอะไรเตรียมแอ่งไว้ ถ้าเราเลี้ยงให้มีระบบนิเวศน์ใกล้เคียงก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะการใช้ขุยมะพร้าวรองพื้นตู้เป็นวัสดุในการวางไข่ที่ดีของพวกมัน"
ส่วน เรื่องการซื้อขายในปัจจุบัน :
  จิ้งเหลนจระเข้ มีราคาค่าตัวอยู่ที่ตัวละ 1500 บาทขึ้นไป มีการซื้อขายเฉพาะกลุ่มเท่านั้น คุณปิยสิชฌ์ แนะนำว่าควรเลือกซื้อตัวที่สมบูรณ์ โดยสังเกตจากโครงสร้างโดยรวมและเกล็ดหนามบริเวณแถบหลังว่าครบหรือไม่ หากไม่เรียงเป็นระเบียบหรือเกล็ดใดเกล็ดหนึ่งแหว่งหรือขาดไปแสดงได้ถึงความ ไม่สมบูรณ์ หรือสังเกตที่นิ้วเท้าทั้งสี่และปลายหางว่าครบ ขาดหรือไม่ เพราะตามธรรมชาติหาก เรด อายฯ เจอตัวผู้ด้วยกันอาจมีการต่อสู้ หรืออาจผ่านการเลี้ยงแบบไม่ถูกสุขลักษณะมาก่อน เช่น ปล่อยให้น้ำเน่า และควรเลือกตัวที่มีเนื้อตัวสะอาด ไม่เป็นแผล และมีสีรอบดวงตาเด่นชัด

งูบอล หรือ งูบอลไพธอน (Ball Python)
 




งูบอลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า :  Python Regius
ชื่อ อื่นๆของงูบอล :
Royal Python(ยุโรป), Ball Python(อเมริกา) ส่วนในประเทศไทยนั้นเรียกตามอย่างอเมริกา คือ Ball Python,งูบอลไพธอน,งูบอล

ถิ่นกำเนิดของงูบอล :
ทวีปแอฟริกา โดยพบตั้งแต่แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก

ลักษณะ ของงูบอล :
 งูบอลไพธอนนั้นส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ งูบอลไพธอนนั้นหากมองผิวเผินลักษณะจะดูคล้ายกับงูเหลือมหรืองูหลามในบ้านเรา แต่จะมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ลำตัวที่มีขนาดสั้นกว่างูทั่วไป โดยงูบอลเมื่อโตเต็มที่แล้วความยาวของลำตัวจะอยู่ที่ประมาณ 1.20 เมตร สีของงูบอลนั้นมีอยู่หลายสีและแต่ละตัวลวดลายก็จะไม่เหมือนกัน สีของลำตัวนั้นจะมีตั้งแต่สีน้ำตาลไปจนถึงสีเหลือง ตัดกับลวดลายสีดำทั่วทั้งตัว ด้วยความที่งูบอลเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลี้ยงแปลกๆ จึงได้มีการนำมาเพาะเลี้ยงและพัฒนาสีและสายพันธุ์ในกลุ่ม Bleeder งูบอลในกลุ่มนี้ก็จะมีลวดลายและสีสันที่สวยงามกว่างูบอลตามธรรมชาติ ส่วนงูบอลที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นงูบอลสีธรรมชาติหรือนอมอล ก็คือออกไปทางน้ำตาลเสียส่วนใหญ่เนื่องจากสีอื่นๆมีราคาที่ค่อนข้างสูง

นิสัยของงูบอลไพธอน : งูบอลไพธอนเป็นสัตว์ที่ไม่ กร้าวร้าว ไม่ดุ ส่วนใหญ่รักสงบ แต่จะมีขู่บ้างหากทำให้ตกใจ แต่เมื่อมันได้กลิ่นเจ้าของและจับขึ้นมาแล้วก็จะสงบเป็นปกติ เวลาที่งูบอลตกใจหรือกลัวนั้นมันจะขดตัวกลม ดูแล้วคล้ายกับลูกบอล จึงเป็นที่มาของชื่องูบอลที่เรียกกัน
อาหารของงูบอลไพธอน : อาจจะฟังดูโหดร้ายไปนิดนึงสำหรับคนรักสัตว์เนื่องจากงูบอลไพธอนนั้นชอบกิน หนู และเนื้อสัตว์ต่างๆ(โดยธรรมชาติก็จะกินสัตว์เล็กอื่นๆด้วย) เช่น หนูขาว หรือหนูถีบจักร เนื้อไก่ ฯ



ช่วงลอกคราบของงูบอลไพธอน :
  ช่วงปีแรกของลูกงูบอลนั้นจะมีอัตราการลอกคราบที่ค่อนข้างถี่เฉลี่ยเดือนละ ครั้ง เนื่องจากอยู่ในช่วงกำลังโตทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่เลี้ยงงูบอลด้วย หากผู้เลี้ยงให้อาหารสม่ำเสมอก็จะลอกคราบถี่ขึ้น การสังเกตุงูบอลขณะลอกคราบ ช่วงแรกที่เรียกว่าการเข้าคราบนั้นจะเริ่มจากการที่งูตาขุ่น และไม่กินอาหาร ช่วงที่ตาขุ่นจะกินระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน หลังจากนั้นตาก็จะใสอีก 2-3 วัน จึงจะลอกคราบ คราบของงูที่สุขภาพดีส่วนมากจะต้องลอกออกมาเป็นชิ้นเดียว หากคราบของงูมีลักษณะไม่ต่อกันเป็นชิ้นเดียว แสดงว่างูตัวนั้นค่อนข้างขาดความชื้น ควรเพิ่มความชื้นให้งูโดยการฉีดสเปรย์น้ำให้งูบอลในช่วงที่เข้าคราบ และมีถ้วยใส่น้ำวางไว้ให้ ข้อควรระวังในช่วงที่งูเข้าคราบนั้นผู้เลี้ยงไม่ควรไปรบกวนเพราะงูจะเครียด และอาจฉกกัดเพื่อป้องกันตัวได้

การอาบน้ำงูบอลไพธอน : งูบอลนั้นควรมีการจับอาบน้ำเมื่อเนื้อตัวสกปรกหรือมีกลิ่น เนื่องจากงูบอลจะเลื้อยทับขี้ที่อยู่ภายในกล่อง การอาบน้ำงูบอลนั้นก็แค่เพียงอาบด้วยน้ำสะอาดก็เพียงพอแล้ว

การ เลือกซื้องูบอลไพธอน : สังเกตุได้จากลักษณะภายนอก เช่น การเลื้อยดูแข็งแรง ผิวของเกร็ดงูไม่แห้งหรือเป็นแผล ปากงูบอลต้องสบกันสนิท ตาใส ไม่ผอมเกินไป และควรสอบถามเรื่องอาหารการกินจากผู้ขายด้วยว่าเลี้ยงอะไรก่อนหน้านี้เพื่อ ที่เราจะได้จัดเตรียมได้ถูกต้อง

อุปกรณ์การเลี้ยงงูบอลไพธอน : งูบอลไพธอนนั้นควรเลี้ยงในอุปกรณ์ที่มีฝาปิดเพื่อกันไม่ให้เลื้อยออกไปที่ อื่น เช่น ตู้ปลา กล่องพลาสติก ฯ



 

ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier) เป็นลิงแคระที่หน้าตา...น่ารัก(หรือเปล่า) แต่ดูๆไปมันก็น่ารักดี เป็นสัตว์แปลกอีกประเภท

"ปิ๊กมี่ทาร์เซียร์"สัตว์ประหลาด คล้าย"เกรมลิน"บน เทือกเขารอคาทิมโบ ในเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย นักวิทยาศาสตร์เพิ่งพบตัว "ปิ๊กมี่ทาร์เซีย" สัตว์ตัวจิ๋วที่ไม่เคยมีผู้ใดเห็นมากว่า 80 ปี จนคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว"ปิ๊กมี่ทาร์เซียร์" เป็นสัตว์จำพวกลิงไม่มีหาง ตัวของมันเล็กมาก น้ำหนักประมาณ 50 กรัม เท่านั้น มันมีดวงตาใหญ่โต ดูคล้ายกับตัวเกรมลิน ในหนังเรื่องเกรมลินส์ ดร. ชารอน เกอร์สกาย-โดเยน จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม กล่าวว่า "เราพบปิ๊กมี่ทาร์เซีย 3 ตัว เป็นตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว เราเห็นตัวที่ 4 ด้วย แต่มันหนีไปได้" ดร.เกอร์สกาย-โดเยน ยังกล่าวอีกด้วยว่า "ฉันถูกกัดด้วยนะ ขณะที่ผู้ช่วยกำลังจับตัวมันอยู่ ฉันพยายามใส่ปลอกคอติดตามตัวให้ แต่การที่จะจับปิ๊กมี่ทาร์เซียให้อยู่นิ่งๆ นั้น ยากมาก เพราะมันหมุนคอได้ถึง 180 องศา ก็เลยกัดนิ้วฉันซะเลือดออกเลย"...

ปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier)
  ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier) นั้นเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน พบได้ในเขตตอนกลางของเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพืชพันธุ์ต่างๆอยู่น้อยต่ำกว่าป่าเขตร้อนทั่วไป ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์นั้นมีความเชื่อกันว่ามันได้สุญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ ก่อนศตวรรษที่ 20 หรือตามข่าวก็คือไม่เคยมีผู้ใดเห็นมากว่า 80 ปี จนคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งมีการค้นพบพวกมันอีกครั้งตามข่าว
ลักษณะ ทั่วไปของ ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier)
ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์นั้นมีความยาวลำตัวประมาณ 95-105 ม.ม. (ประมาณ 4 นิ้ว) และน้ำหนักน้อยกว่า 57 กรัม (2 ออนซ์) ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์นั้นมีขนาดตัวเล็กกว่าทาร์เซียร์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีหูขนาดเล็กกว่าทาร์เซียร์ชนิดอื่น ลักษณะขนของมันเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง และหนังที่มีสีเทา หางเป็นสีน้ำตาลยาว โดยที่ความยาวตั้งแต่หัวถึงหางจะยาวอยู่ที่ประมาณ 135-275 ม.ม.  


  ลักษณะเด่นของลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์อยู่ที่ดวงตาที่มีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 16 ม.ม. ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์ยังมีเล็บนิ้วมือทั้งหมด 5 นิ้ว และนิ้วมือมันค่อนข้างยาวเพื่อช่วยในการปีนป่ายต้นไม้ได้รวดเร็วและเพื่อใช้ จับอาหาร

พฤติกรรมของ ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier)
 ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier) พบว่าพวกมันอาศัยอยู่เป็นคู่นานถึง 15 เดือน ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์มี 2 ฤดูกาลผสมพันธุ์ เริ่มต้นในช่วงฤดูฝนและยาวไปอีกประมาณ 6 เดือน ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์ใช้ระยะเวลาในการตั้งท้องใช้เวลา 178 วัน โดยเฉลี่ย และลูกๆของลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์จะคลอดออกมาดูโลกในช่วงเดือนพฤษภาคม และจากพฤศจิกายน-ธันวาคม ลูกของลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์นั้นค่อนข้างมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว โดยที่ลูงลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์จะเริ่มจับเหยื่อเองเมื่ออายุได้เพียง 42 วัน และจะเริ่มการเดินทางไปกับฝูงหลังจากนั้นอีก 23 วัน
    ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier)เป็นสัตว์ออกหากินเวลากลางคืน และใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้ ส่วนในเวลากลางวันพวกมันจะนอนในลักษณะเกาะต้นไม้นอน ลิงปิ๊กมีทาร์เซียร์นั้นจะไม่เหมือนกับลิงทาร์เซียร์ชนินอื่นที่มักใช้ต่อม กลิ่นในการแบ่งอาณาเขต แต่พวกมันจะใช้ลักษณะของการสื่อสารตามแบบฉบับของมัน

อาหาร ของ ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์(Pygmy Tarsier)

ลิงปิ๊กมี่ทาร์เซียร์ เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร พวกมันจะจับพวกสัตว์เล็กและแมลงเป็นอาหาร
 เช่น แมลงต่างๆ นก งู หนู

กิ้งก่าคาเม เลี่ยน(Chameleon)


คาเมเลี่ยน(Chameleon) หรือกิ้งก่าเปลี่ยนสี จัดเป็นกิ้งก่าที่หน้าตาแปลกชนิดหนึ่งมีขนาดลำตัวตั้งแต่ 8-12 นิ้ว เป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ช้ามาก เพราะแต่ละก้าวต้องมาจากความมั่นใจ ด้วยสายตาที่ระแวดระวังภัยทุกด้าน(ตาหมุนได้ 360 องศา) ไม่มีเล็บที่แหลมคมสามารถจับเล่นได้ และปรับเปลี่ยนสีลำตัวต

Credit: http://atcloud.com/stories/84710
#สัตว์แปลก
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
20 มิ.ย. 53 เวลา 22:13 28,131 8 56
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...