1.ช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำในระบบระบายความร้อนให้สูงขึ้น ส่งผลให้น้ำเดือดช้าลงและถ่ายเทความร้อนในระบบหล่อเย็นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเรื่องการลดการสึกหรอและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
2.ป้องกันการเกิดตะกอน ตะกรัน สนิมในระบบหล่อเย็น ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้หม้อน้ำ แผงหม้อน้ำ และทางเดินน้ำเกิดการอุดตันหรือรั่วซึม
3.เมื่อเกิดอาการน้ำรั่ว น้ำซึม สีของน้ำยาหล่อเย็นจะเป็นที่สังเกตได้ง่ายว่ารั่วซึมที่จุดไหน และแก้ปัญหาได้รวดเร็ว เครื่องยนต์จะไม่เสียหายมาก
4.ในประเทศที่มีอากาศเย็นจัดจะใช้น้ำยาหล่อเย็นเพื่อป้องกันการแข็งตัวของน้ำในระบบหล่อเย็น (ซึ่งในประเทศไทยคงไม่ได้ใช้ประโยชน์ในข้อนี้)
ชนิดของน้ำยาหล่อเย็นแบ่งแบบง่ายๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ
1.แบบพร้อมใช้ คือผสมมาให้เรียบร้อย ใช้งานได้ทันที เพียงถ่ายน้ำในระบบหล่อเย็นออก แล้วจึงใส่น้ำยาหล่อเย็นแบบผสมเรียบร้อยเข้าไปแทนที่
2.แบบเข้มข้น ซึ่งต้องนำมาผสมเองกับน้ำที่อยู่ในระบบหล่อเย็น ในอัตราส่วนที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ซึ่งไม่ควรเติมมากหรือน้อยจนเกินไป เพราะการเติมน้ำยาหล่อเย็นในอัตราส่วนที่ผิดเพี้ยน อาจก่อให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ในระบบหล่อเย็นในระยะยาวได้