เจอรูปแรกก็ เสียวสะดือแล้วไหมครับเพื่อนๆ ไม่ใช่ Long beach อันลือลั่นของ California นะครับ แต่เป็น Huntington beach ครับ เสียดายไม่ระบุปีไว้ รับรองว่าไม่ตัดต่อครับเพราะอึ่งน้อยก็ได้ยินคำบอกเล่าจากคนน้ำมันแก่ๆเก่าๆ ว่าตะก่อนเป็นแบบนี้ เพิ่งเคยเห็นรูปก็คราวนี้แหละครับ
... หาดแบบนี้ ถ้าเป็นพ.ศ.นี้ ใครจะกล้าลงไปว่ายเนี่ย ....
เอา ล่ะพี่น้อง ... น้ำลงแล้ว ถกขากุงเกงเล ขมวดเหน็บไว้ดีๆ
ลงไปดู ใกล้ๆกัน ... อี้ ... ไปงมหอยหลอดขายดีก่า
นี่เลย บรรพชนดินแดนสาวสวย (นางงามจักรวาลเวเนฯ) ลุยไปก่อนเลย แต่ลงทะเลสาบนะครับ ชิวๆ เอาแบบน้ำนิ่งๆ แหม ... คนเรามันก็ต้องพลิก คืบ คลาน ตั้งไข่ เดิน วิ่ง กระโดด จริงป่ะ ค่อยเป็นค่อยไป ....
ตามมาด้วยพี่ โซ(เวียต)เคยได้ยินจากคนเก่าคนแก่ในวงการฯว่าเลื้อยกันยาวเป็นสิบๆกิโลฯ แต่ไม่นึกว่ามันจะถึง 100 กิโลฯ
ปี 1947 ... เฮียเล่นสร้างแท่นลงกลางทะเลแล้วเอาเรือแบกปั่นจั่นไปวางแหมะเอาดื้อๆเลย ครับพี่น้อง
อะ ให้ดูอีกมุม
ครับ ขั้นตอนการติดตั้ง ...
ไม่ต้องถามนะครับว่าติดตั้งยังไง ดูรูปเอาไล่ๆไป เดาๆเอาก็แล้วกัน
โอ้ ... แม่เจ้า ... ใครรับจ้างมั่งงานนี้ ... เล่นเกมหาคนดีกว่า
เจอคนในภาพนี้ กี่คนครับ ผมหาเจอ 3 คนครับ
เสร็จแล้ว หน้าตาก็จะประมาณนี้มัง
อย่า ถามผมนะว่าจะเอามันปักฉึกลงก้นทะเลยังไง ... (ไม่รู้ว่ะ)
เอาไป ออกรายการ Mega Structure ของพี่กรอบเหลือง
(National Geographic) ได้เลย โค-ตะ-ระ จะสร้างกันเลย
ดิ้นรน + พยายามจังเลย มนุษยชาติเรา ...
พอขุดน้ำมันจนแหล่งตรงนั้นแห้งหมดแล้ว
คิดว่าจะไปเช่า ต่อทำภัตราคารดีไหม ท่าทางวิวจะสวย ได้อารมณ์โรแมนติกดีพิลึก หรือ เอามาใช้เป็นที่จัดงานแต่งงานก็ไม่เลวนะ ใต้นำ บนฟ้า ในบอลลูน บนหน้าผา ก็แต่งกันมาแล้ว ยังไม่แต่งงานบนแท่นแบบนี้ แหม... คงเท่ห์ชมัด
นี่แค่ปี 1994 นะครับ ผ่านมาแล้ว 16 ปี ปีนี้ 2010
รับรองพวกเราลงไปลึก(และเสียว)กว่านี้
อืม เพื่อให้เห็นภาพว่ามันเสียวยังไง จุดธูปสักดอกอัญเชิญ เฮียปาสคาลมาจับไข่ เอ๊ยจับเข่าคุยหน่อย เฮียแกว่าไว้ยาวย้วยแต่รวบๆไปเลยก็แล้วกัน ตะแกบอกว่า ความดันที่จุดใดๆของของเหลวเป็นสัดส่วนตรงกับความลึกของจุดๆนั้น และ ความหนาแน่นของของเหลวนั้นๆ และ แรงนมถ่วง เอ๊ย โน้มถ่วงในบริเวณที่ของเหลวนั้นอยู่ โดยสมมุติฐานสำมะคัญคือ แรงโน้ม(แล้ว)ถ่าง เอ๊ย โน้มถ่วง ในของเหลวนั้นต้องเท่ากันทุกจุดนะครับ
ก็แค่ปี 1998 นะครับ ป่านนี้ไปถึงไหนๆแล้ว
(ต่อ) ซึ่งในกรณีของเรา ถือว่าหยวนๆ เพราะก้นทะเลเรายังไม่ลึกไปถึงสะดือโลก ถ้าเป็นงั้นจริง แรงโน้มถ่วงที่ผิวทะเลกับก้นทะเลมันจะไม่เท่ากัน ที่เฮียแกสรุปไว้มันก็ไม่จริงเสียทีเดียว เพราะมันจะไม่ใช่สัดส่วนตรง แต่จะต้อง แบ่งคิดเป็นช่วงย่อยๆแล้วเอามารวมกัน ที่ป๋านิวตันแกว่าไว้ในเรื่องแคลคูลลัสว่าด้วยการอินทิกัล (integral) ใครจำไอ้ถั่วงอกยาขมหม้อใหญ่นี้ได้มั่งยกมือขึ้น
สรุป ... เฮียปาสคาล บอกว่า P = Rho x g x h
เหลือบดูรูปเอาแท่นของ Chevron Texaco ก็แล้วกัน ก้นทะเลอยู่ที่ 534.6 ม. ปัดๆเอาเป็น 550 ก็แล้วกัน ความหนานุ่ม เอ๊ยหนาแน่นของน้ำทะเลก็ราวๆ 1.0 SG ค่า g ก็ 9.8 ตามป๋านิวตันว่าไว้ตอนโดนยัยแอ๊บแป๊ว เอ๊ย เอ๊ปเปิ้ลหล่นลงกลางกระบาล
ดีด ลูกคิดแล้วได้ความดันก้นทะเลตรงนั้น 780 psi ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้ายังนึกไม่ออก ก็คิดถึงยางลมรถเก๋งเราธรรมดาๆล้อล่ะ 30 psi พระเดชพระคุณ เวลายางแตกระเบิดตูม ยังขนาดนั้นแล้ว 780 psi ก็ 26 เท่า ... ขนลุก ...
ไง ครับ อึ้งทึ่งเสียวเข็ดเขี้ยวเยี่ยวเล็ดไหมครับ
ปี 1947 พวกเราเขียนพิมพ์เขียวไว้ล่วงหน้ากว่า 60 ปี เหมือนน้าดาวินชี่แกวาดรูปเฮลิคอปเตอร์ไว้ แล้วเราเพิ่งมาหาวิธีสร้างได้ในอีกหลายร้อยปีถัดมา ...
มาถึงแบบที่สองใน (5 แบบ)
นี่ไงครับ จอดขุดกันอยู่ในคูเอาดื้อๆอย่างนี้แหละ
ท่าทางแถว นั้นคงจะยุงเยอะเนอะ เอายากันยุงตะไคร้หอมโอท๊อปของหมู่เฮาไปขายหรือแลกน้ำมันดิบก็คงจะดีเนอะ
แหม ... เสียดาย ไม่บอกปี และ ภูมิลำเนา เนอะ ...
ต่อ มาก็มาดูวิวัฒนาการตั้งแต่ปี 1950 ถึง 1954 (ตูยังไม่เกิดเลย)
อย่า ถามๆ ว่ามันคืออะไร ....ม่ายรู้ๆๆๆๆๆๆ
ไล่ต่อมาถึง ปี 1963 (ตูก็ยังเป็นวุ้นอยู่ดี)
ใครอย่ารู้ว่าไอ้พวกนี้มันสร้างยังไง แนะนำครับที่ AIT (Asian Ins of Tech)
บ้านเฮามีสอนครับ หลักสูตร ป.โทฯ คุ้นๆว่าชื่อหลักสูตร Offshore tech
แบบที่ 3 semisubmersible....
นี่ ก็แท่นอีกแบบที่แปลแล้วคันสะดือพิก๊นพิกล ... "แบบกึ่งจม"
เออ เอากะมันซิ
ว่า กันง่ายๆมันก็คือแท่นที่อยู่บนลูกโป่งอัดลมที่จมอยู่ในน้ำนั้นแหละครับ
เสียดายไม่บอกปี บอกภูมิลำเนา
ลำนี้น่าจะทันสมัยขึ้นมา หน่อย
แบบกึ่งจมนี่มี 2 แบบย่อยนะครับ แบบที่มีระบบขับเคลื่อนเอง
กับแบบที่ต้องโดนลาก แบบข้างล่างนี่ดูก็รู้ว่าเป็นแบบต้องโดนลาก
แบบที่ 4 Jackups
เอา ว่ามันคือแท่นที่มีขา ตัวแท่นยึดติดกับขา (โดยมากจะมีสามขา)
ตรงที่ขา ยึดกับตัวแท่นจะมีมอเตอร์ตัวเท่าควายติดอยู่กับรอยหยักที่ขา
ฮ่วย ยิ่งอธิบายยิ่งงงงงง
เอ้า ... ดูรูปดีก่า
เห็นชุดเฟืองตัวน้องๆควายไหมครับ มอเตอร์อยู่ข้างหลังตัวเท่าควาย (มองไม่เห็นจากรูป) บางขาก็ 3 เหลี่ยม แต่ในรูปเป็นขาแบบ 4 เหลี่ยม มีมอเตอร์และชุดเฟื่อง 3 ชุดต่อ 1 เหลี่ยม ก็เป็น 12 ชุดต่อ 1 ขา แท่นมี 3 ขาก็ 36 ชุดเฟือง+มอเตอร์ ... ใช้ไฟฟ้าขนาดไหน คิดดูเอาพี่น้องที่เป็นวิศวกรไฟฟ้า ...
แล้วมันทำงานไงฟ่ะ ... ก็ง่ายๆครับพี่น้อง สมมุติตอนนี้ขามันตั้งลงบนพื้นทะเล ยกตัวมันลอยขึ้น เหมือนเอาเอาเก้าอี้ไปวางไว้ในแอ่งที่มีน้ำขังนั่นแหละครับ ถ้าจะเอาตัวแท่นลงก็ให้มอเตอร์หมุนขับเฟืองเลื่อนแท่นลงมาจนท้องแท่นติดน้ำ (จริงๆต้องจมไปหน่อยนึง เหมือนเรือนั่นแหละ) แล้วก็หมุนเฟืองต่อไป คราวนี้แทนที่ตัวแท่นจะต่ำลง มันต่ำลงไม่ได้อีกแล้ว (ตัวแท่นมันถูกออกแบบมาให้ลอยน้ำ) แล้วไงล่ะทีนี้ ขาแท่นก็จะถูกเลื่อน(ยก)ลอยขึ้นมาจากพื้นทะเล คราวนี้จะลากไปไหนก็ได้แล้ว แท่นก็จะกลายเป็นแพดีๆนี่เอง
อีตอนจะเอาขา ลงก็หมุนมอเตอร์กลับด้าน ขามันก็เลื่อน(หย่อน)ลงจนแตะพื้นทะเล แล้วคราวนี้ตัวแท่นก็จะถูกเลื่อน(ยก)ลอยขึ้นเหนือน้ำ หมูๆเนอะ ...
แท่นตัวนี้ดูเก๊าเก่าเนอะ ...
ตัวนี้ดูใหม่ ขึ้นมาหน่อย สังเกตุป่ะว่าถ้าเป็นพวกกึ่งจม หรือ พวกลอยไปลอยมาเราจะเรียกว่า "ลำ" แต่ถ้าเป็นแบบ Jack up เราจะเรียกว่า "ตัว" ... อย่าถามผมว่าทำไม ก็เรียกๆตามคนเก่าๆเขาไปนั่นแหละครับ ...
นี่ไง ครับ พอเอาขาขึ้นสุด หน้าตามันจะตลกๆแบบนี้
แล้วก็ใช้เรือลากเอา ไปไหนไปกันละทีนี้
แบบ สุดท้ายแล้วครับ แบบนี้เราเรียกมันว่าเป็นเรือขุด
เรียกว่าเป็น "ลำ" Drillships
ลำแรกของโลก .... ไม่น่าไปทำเลย(ว่ะ) ไม่มีอินเทอร์เน็ทให้เล่นแน่ๆ ...
ดีที่เกิดไม่ทัน อิอิ
คิด อะไรไม่ออกก็ยกเอาไปวางดื้อๆงั้นแหละ เท่ห์ป่ะพี่น้อง
น่า จะเป็นลำเดียวกันนะ แต่มองคนล่ะมุม
ไม่อยากโม้ ... ลำนี้อึ่งน้อยไปมาแย้ว ....
เอ็งไปขุดได้ ข้าก็ตามไปผลิตได้ ...
ขนมัน ไปไงล่ะ ...ก็ไปกันแบบนี้ไง ...
นี่ก็แท่นอีก แบบหนึ่ง ไม่รู้ให้ดูทำไม นึกไม่ออก เอาว่าดูสวยๆ เป็นแพขุดแบบที่เรียกว่า Tender barge น่ะครับ ก็แพดีๆนี่เอง ขนปั้นจั่นขนอะไรต่อมิอะไรแล้วก็เอาเครนยกไปวางแปะบนแท่นผลิต(ที่สร้างรอไว้ ล่วงหน้าแล้ว)
ในกรณีนี้คือต้องรู้แล้วว่าตรงนั้นมีปิโตรฯที่คุ้มการ ลงทุน เราเรียกการขุดในตอนนี้ว่า development คือ พัฒนาแหล่งขึ้นมา พูดง่ายๆก็ดูดจ๊วบๆขึ้นมาขายนั่นแหละครับ ไม่ใช่แบบไปขุดสำรวจ (คือขุดๆเอาข้อมูลแล้วก็กลบ)
นี่ก็ เป็นแท่นผลิตที่มองจากข้างล่าง เดาว่ารูปนี้ถ่ายจากเรือ
ไม่ใช่ลอย คอถ่ายมา อิอิ เพราะยังไม่เห็นที่แท่นมีไฟไหม้ (ฮ่า)
ระยะของทุ่นส่วนที่จมลงใต้ผิวน้ำเขา เรียกว่า draft ถ้ามันลอยพ้นผิวน้ำขึ้นมา
(อย่างใต้ท้อง jack up) ระยะจากท้องมันถึงผิวน้ำเขาเรียกแอร์แก๊บ (air gap)
ไม่ใช่ "อีแก่" นะครับ กรุณาออกเสียงด้วยความระมัดระวัง (ฮ่า) ดังนั้นถ้าดูตามรูป มันก็ deep draft จริงๆ เพราะมันจมลงในแนวตั้ง (เหลือส่วนลอยน้อยกว่าส่วนจม)
ชื่อนั้นสำคัญ ไฉน อืม ... ชื่อแปลกดี แท่นนี้ชื่อ "หมาบ้า"
เป็น deep draft อีกแบบนึง สังเกตุว่าที่พื้นทะเล(ในแนวตั้งดิ่งจากแท่นลงไป) มีเส้นๆสีดำๆลากลงไป นั่นเป็นหลุมนะครับ มีหลายหลุมเลย ติดตั้งทีเดียวเอาให้คุ้ม หลุมที่เห็นเกือบๆดิ่งนั้น พอลงไปใต้พื้นทะเลแล้วจะสยายไปคนล่ะทิศละทางเพื่อไปแยงทะลุแหล่งน้ำมันที่ อยู่กระจัดกระจายกันไป
ส่วนสายดำๆระโยงระยางกันกระจายไปในแนวเฉียงๆ นั้นก็เคเบิ้ลที่ยึดแท่นไว้ไม่ให้ลอยไปมา
นี่ก็อีกแท่น นึง deefp draft เหมือนกัน
แบบว่าอายุแหล่งสั้น ผลิตไม่นาน (แต่ก็มากพอคุ้มทุน) ลงทุนแบบแท่นถาวรท่าจะไม่คุ้ม ดีดลูกคิดแล้วเช่า FPSO มาดีกว่า หมดแล้วก็เลิกกัน ไม่ต้องมีเก็บไว้เป็นทรัพย์สิน(asset)ทางบัญชี
สำหรับบ.ใหญ่ๆที่มีแหล่งสำรวจและ ผลิตเยอะๆก็ไม่จ้างแต่ซื้อมาเลย เพราะหมดงานนี้ก็ไปที่อื่นต่อ ปัจจัยที่ใช้ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือเช่าก็เหมือนเราจะซื้อรถหรือเช่ารถนั่น แหละครับ
ขอบ คุณคร้าบบบ...ที่แวะมา ยาวหน่อยนะคับ
อยากทราบข้อมูลละเอียด ๆ...แวะไปตามลิงค์นะครับ
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X9364982/X9364982.html
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nong-fern-daddy&month=10-12-2009&group=6&gblog=43
http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=annualReport
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nong-fern-daddy&month=10-12-2009&group=7&gblog=52