ชนเผ่าอีบัน (Iban).. เพื่อนบ้าน นักล่าหัวมนุษย์

 

 


แผนที่รัฐซาราวัค

รัฐซาราวัคเป็นอีกรัฐหนึ่ง ที่มีประชากรหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในรัฐซาราวัคมีชาติพันธุ์ต่างๆ

เช่น ชาวพื้นเมือง ชาวจีน ชาวอินเดีย สำหรับชนพื้นเมืองในรัฐซาราวัคนั้น มีจำนวนนับสิบชนเผ่า เช่น
1. Kenyah
2. Melanau
3. Lun Bawang
4. Iban
5. Penan
6. Kedayan
7. Kayan
8. Kelabit
9. Murut
10.Bidayuh
11.และ อื่นๆ


ผู้เฒ่าชาวอีบัน


การเล่นดนตรีของชาวอีบัน

ชนเผ่าอีบัน (Iban)
เป็นชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานอยู่ทั้งในประเทศมาเลเซีย และอินโดเนเซีย เฉพาะในรัฐซาราวัคมีประชากรประมาณ 600,000 คน ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์และยึดถือความเชื่อประจำเผ่า จะมีภาษาพูดของตนเองนั้นคือภาษาอีบัน เดิมจะรู้จักในนามของชนเผ่าดายัก (Dayak) เป็นชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาราวัค แต่ด้วยชาติพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้ตำแหน่งประมุขของรัฐซาราวัคต้องเป็นของชนเผ่ามลาเนา (Melanau) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เพราะรัฐธรรมนูญของรัฐซาราวัคกำหนดให้ประมุขหรือผู้ว่าการรัฐเป็นชาวมุสลิม ถึงแม้ว่าชาวอีบันจะนับถือศาสนาคริสต์ แต่ยังคงมีการประกอบพิธีตามความเชื่อของชนเผ่าอยู่ รวมทั้งบางส่วนก็ยังคงนับถือความเชื่อประจำเผ่า


การแต่งกายของชาวอีบัน


การแต่งกายของชาวอีบัน

งานฉลองวันกาวัย (Perayaan Gawai)
งานวันกาวัย ถือเป็นงานที่สำคัญมากสำหรับชนชาวอีบัน งานวันกาวัยเป็นเฉลิมฉลองการเกี่ยวข้าว

( Pesta Menuai ) ซึ่งงานวันกาวัย มีหลายประเภท เช่น
Gawai Burung,
Gawai Batu,
Gawai Kenyalang และ
Gawai Antu สำหรับกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ใน งานเฉิมฉลองวันกาวัย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การดื่มน้ำมะพร้าวหมัก (Tuak) เป็นน้ำที่ทำมาจากข้าวกับแป้งหมัก


การรำงายัต (Ngajat)ในงานวันกาวัย

ชาวอีบัน ในชนบทยังอยู่อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก้อนในหลังเดียวที่มีลักษณะยาว

แบ่งพื้นที่กันในแต่ละครอบครัว บ้านลักษณะนี้เรียกว่า บ้านยาว หรือ Rumah Panjang (Long House)


ลักษณะบ้านยาวของชาวอีบัน


อีกหนึ่งบ้านยาวของชาวอีบัน

ภาษาอีบันที่ชาวอีบันพูด ส่วนหนึ่งจะมีความเหมือนกับภาษามลายู ชาวอีบันมีอักขระเป็นของตนเอง อักขระในภาษาอีบันมีทั้งหมด
59 ตัว โดยชาวอีบันใช้บันทึกความเป็นมาของวงศ์ตระกูล และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชนชาวอีบัน

ความเชื่อ ของชาวอีบัน
ชาวอีบันจะยึดถือความเชื่อที่ได้รับตกทอดมาจาก บรรพบุรุษ โดยความเชื่อเหล่านี้ถูกบันทึกลงบนแผ่นที่เรียกว่า Papan Turai ผู้ที่บันทึกความเชื่อเหล่านี้คือผู้นำเผ่า ที่เรียกว่า Tuai raban bansa หรือ Chief Paramount
ส่วนหนึ่งของความเชื่อดังกล่าวเป็นการชี้นำของ ผู้นำชนเผ่าในอดีต เช่น

ในการสร้างบ้านนั้น ต้องมีการตรวจสอบสภาพพื้นที่ที่จะสร้างบ้านก่อน ด้วยชาวอีบันในสิ่งที่เรียกว่า Petanda หรือสิ่งบอกเหตุการณ์ เชื่อหรือสังเกตจากเสียงนก หรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่จะบอกถึงความปลอดภัยในการสร้างบ้านต่อไป

การ ล่าหัวมนุษย์

ในอดีตนั้นชาวอีบันจะถูกเรียกว่า ชนเผ่านักล่าหัวมนุษย์ โดยชาวอีบันจะล่าหัวศัตรู แล้วนำกะโหลกของศัตรูมาเก็บไว้


ผู้เฒ่าชาวอีบันกับสองกะโหลกที่เก็บไว้


ลักษณะกะโหลกที่เก็บรักษาไว้


หนึ่งในลักษณะการเก็บรักษากะโหลก

เมื่อชาวอีบัน ฆ่าศัตรูได้แล้ว ก่อนอื่น จะดื่มเลือดศัตรู 2-3 หยด หลังจากนั้นนำหัวศัตรูไปต้มให้สุก เมื่อหัวกะโหลกสุกแล้วจึงนำมาเลาะ เนื้อและทุกสิ่งที่อยู่ในกะโหลก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงนำกะโหลกไปเก็บไว้ ถือเป็นความภาคภูมิในความกล้าหาญของตนเอง ในปัจจุบันชาวอีบันไม่มีการล่าหัวมนุษย์อีกแล้ว แต่กะโหลกที่ล่าได้ในอดีตก็ยังคงเก็บไว้อยู่

Credit: http://nikrakib.blogspot.com/
19 มิ.ย. 53 เวลา 21:21 12,922 11 194
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...