เพรียง (Shipwarm) เป็นสัตว์ประเภทหอยสองฝาที่เจาะไชไม้ และอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ ลำตัวสีค่อนข้างขาวขุ่น เปลือกมี 2 ฝา สีขาว ขนาดสั้นกว่าลำตัวมาก จึงคลุมเฉพาะส่วนต้นของลำตัวที่เหลือเป็นหลอดเป็นหินปูนบาง ๆ หุ้มไว้บริเวณผิว เนื้อไม้จะมีรูปเป็นรูรีเล็ก ๆ จะมีท่อน้ำ และ Pattet โผล่มาเหนือรูเป็นทางน้ำเข้าออก (ชาวบ้านจะมองรูที่เป็นทางน้ำเข้าออกนี้เองเป็นสัญลักษณ์ว่าไม้ท่อนนั้นมีเพรียงอาศัยอยู่)
เพรียงอาศัยอยู่ทั้งน้ำเค็มและน้ำกร่อย พบทั่วไปทั้ง 2 ฝั่งอ่าวไทย เช่น ตราด จันทบุรี และสงขลา พบมากในไม้โกงกาง และไม้ตะบูน ซึ่งอยู่บริเวณป่าชายเลน
ชาวบ้านแถบจังหวัดตราดและจันทบุรีนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีคุณค่า ทางโภชนาการสูง เชื่อว่าบริโภคแล้วร่างกายจะแข็งแรง บำรุงสมอง ส่วนมากนิยม บริโภคช่วงเดือน 5 เดือน 6 เพราะตัวเพียงจะอ่อน หวาน อร่อย แต่ช่วงเดือน 8-10 จะเป็นช่วงที่เพรียงมีไข่จะไม่อร่อย ขม และช่วงเดือน 12 เดือนอ้าย เพรียงจะแก่และ ออกจากรูว่ายตามน้ำชายฝั่ง ตัวสีเขียวเหมือนตะขาบ หากคนไปถูกตัวเพียงจะขาดเป็นท่อน ๆ และตัวอ่อนจะอยู่ในน้ำ และจะเกาะตามไม้โกงกาง ไม้ตะบูน ที่อยู่ในป่าชายเลน
เนื่องจากเพรียงเป็นอาหารเลิศรส จึงทำให้ชาวบ้านชายทะเลมีอาชีพที่ทำรายได้ ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดีเพียงอุปกรณ์คือ มีด หรือขวานก็ไปหาเพรียงได้แล้ว เรียกว่าอาชีพผ่าเพรียง และยังเป็นอาหารที่มีราคาค่อนข้างแพง เพราะปัจจุบันไม่ค่อยมี คนออกไปหากิน อาชีพนั้นจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก: http://kanchanapisek.or.th/kp8/trd/trd708.html