https://www.yaklai.com/featured/kingdom-joseon-racist/
ย้อนรอยแดนโสม…ระบบชนชั้นใน ‘อาณาจักรโชซอน’
จริงๆ แล้วระบบชนชั้นของเกาหลีได้ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรโครยอ แต่เพิ่มจะมาลงตัวในสมัยโชซอน โดยได้แบ่งผู้คนออกเป็น 4 ชนชั้นใหญ่ด้วยกัน คือ
1 ขุนนางชนชั้นสูงหรือยังบัน โดยชนชั้นนี้ยังแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่ม ได้แก่ ฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ถ้าจะให้พูดอย่างชัดเจนก็คงจะเป็น ผู้ที่เป็นยังบันจะต้องเป็นขุนนาง อำมาตย์มีตำแหน่งในราชการ และผ่านการสอบคัดเลือกในความรู้ลัทธิขงจื้อใหม่ที่มีอยู่ถึง 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และในระดับราชวัง แต่จะเปิดกว้างสำหรับยังบันและชุงอิน(ขุนนางระดับกลาง)เท่านั้น เนื่องจากยังบันถือเป็นชนชั้นนำผู้มีอำนาจปกครองประเทศแท้จริง
2 ชุงอิน ขุนนางระดับกลางซึ่งเป็นผ็ชำนาญการ และผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งยังบัน โดยจะประกอบไปด้วย นักดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีความจำเป็นสำหรับการเกษตร แพทย์ ล่าม นักกฎหมาย โหร และทหารอาชีพ ช่างหลวง ซึ่งชนชั้นนี้จะมีบทบาทมากในการปกครองท้องถิ่น ซึ่งทั้งยังบันและชุงอินถือได้ว่าเป็นชนชั้นผู้ปกครอง แต่มีสัดส่วนเพียง 10 เปอร์เซ็ตน์ของจำนวนประชากรทั้งหมด
3 ชังมิน หรือสามัญชน โดยชนชั้นนี้จะต้องรับภาระในการเสียภาษี และเป็นทหารเมื่อเกิดศึกสงคราม ซึ่งชนชั้นนี้จะประกอบอาชีพเป็นชาวนา ช่างฝีมือและพ่อค้าเป็นส่วนใหญ่
4 ชอนมิน หรือพวกกระดูกต่ำต้อย ในส่วนของชนนั้นนี้นั้นจะมีประชากรราวๆ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด บางแห่งอาจจะมีถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่ชนชั้นนี้จะเป็นทาสหรือโนบี นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบอาชีพอื่นอีกด้วย อย่างเช่น คนทรงเจ้า หญิงให้บริการ ช่างรองเท้า โดยชนชั้นนี้ไม่ถือว่าเป็นบุคคล สามารถซื้อขายได้เหมือนสัตว์สิ่งของ และไม่ต้องเสียภาษี
การจัดระบบนี้จะช่วยสร้างรัฐบาลที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นการจัดระบบสังคมในรูปแบบของระบบฟิวดัน หรือระบบที่ครอบคลุมทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง สังคม และ เศรษฐกิจ นั่นเอง แต่ระบบนี้ประสบความสำเร็จดี โดยเฉพาะในช่วง 200 ปีแรก
ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือสงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น สำนักพิมพ์มติชน