หมอหลายคนที่พยายามไข ความลับของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอินเดีย
ที่มีฝาแฝดกว่า 220 คู่จากเพียง 2,000 ครอบครัว หรือเกือบหกเท่า
ของอัตราการเกิดเฉลี่ยของฝาแฝดทั่วโลก
ต้องกลับออกไปพร้อมความงุนงง สงสัยที่ยังไม่มีวิธีมาคลี่คลาย
ในช่วง 5 ปีล่าสุด
หมู่บ้านโคดินฮีในรัฐเคอราลาทาง ใต้ของแดนภารตะ
(หมู่บ้าน Kodinhi ใน Malapuram ของรัฐ Kerala )ให้ กำเนิดฝาแฝด 60 คู่ สถิตินี้เพิ่มขึ้นทุกปี
เฉพาะปี 2008 มีฝาแฝดคลอดออกมา 15 คู่
จากแม่ 300 คน
และคาดว่าปีนี้สถิติจะสูงขึ้น กว่าเดิม
ดร.กฤษนัน ศรีบิชู แพทย์ในท้องถิ่น
และ ผู้ฝักใฝ่ในเรื่องราวเกี่ยวกับฝาแฝด
ได้ ศึกษาปรากฎการณ์น่าพิศวงทางการแพทย์
ของหมู่บ้านโคดินฮีมาตลอดสองปี
และเชื่อว่าจริงๆ แล้วหมู่บ้านแห่งนี้
น่าจะมีฝาแฝดอยู่ราว 300-350 คู่
จากปากคำของชาวบ้าน ปรากฏการณ์ฝาแฝดเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 60-70 ปี
“การที่ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์รายละเอียดทางชีวเคมี
ทำให้ไม่สามารถระบุเหตุผลที่แน่ นอนได้ แต่ผมคิดว่าน่าจะมาจากสิ่งที่ชาวบ้านดื่มกินกัน
ซึ่งหากเป็นแบบนี้จริงๆ ต่อไปเราอาจมีวิธีใหม่ในการช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาในการมีบุตร”
ดร.ศรีบิชู เชื่อว่านี่เป็นปรากฏการณ์ความผิดปกติตามธรรมชาติ
ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุ กรรมรวมถึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะที่ว่าสาเหตุอาจมาจากมลพิษ
เนื่องจากฝาแฝดส่วนใหญ่ที่เกิด ในหมู่บ้านนี้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี
คุณหมอวัย 40 ปีแจงว่า ลักษณะที่โดดเด่นของปรากฏการณ์ฝาแฝดของหมู่บ้านโคดินฮี
คือ จำนวนฝาแฝดที่อยู่ที่ราว 45:1,000
กรณีการ เกิด ทั้งที่อินเดียหรือกระทั่งเอเชียทั้งหมด
เป็นภูมิภาคที่มีสถิติฝาแฝดต่ำ สุดของโลกคือเพียง 4: 1,000 เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังไม่เคยมีการผสมเทียมในหลอดแก้ว
ในหมู่บ้านแห่งนี้
ขณะที่อัตราการเกิดของฝาแฝดทั่ว โลกที่เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะ ในประเทศตะวันตกนั้น
ส่วน หนึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยี
“ฝาแฝดที่นี่ยังเกิดจากผู้หญิง
ที่มีความสูงเฉลี่ยเกิน 157 เซนติเมตร
โดยผู้หญิงในหมู่บ้านนี้มีความ สูงเฉลี่ย 150 เซนติเมตร”
ปรากฏการณ์ ชวนพิศวงนี้ทำให้ชาวบ้านเรียกขานบ้านเกิดว่า ‘เมืองฝาแฝด’
และถึงขั้นตั้งสมาคม ฝาแฝดและเครือญาติ (ทากะ) ขึ้น มา
เพื่อให้ความช่วยเหลือฝาแฝดและครอบครัวในหมู่บ้าน
“ด้วยความที่เป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ในชุมชน
เราจึงรู้สึกว่าควรจับกลุ่มกัน เพื่อให้แน่ใจว่าฝาแฝดในหมู่บ้านนี้มีศูนย์กลาง
ที่จะมารวมตัวกัน
“ฝาแฝดยังหมายถึงปัญหาทางการเงิน
และปัญหาซับซ้อนทางการแพทย์ สำหรับแม่ผู้ให้กำเนิด
ทา กะสามารถให้ความรู้และความช่วยเหลือ
แก่ประชาชนในหมู่บ้าน
"เพราะเรามีฝาแฝดมากกว่าที่ อื่นใดในโลก”
ปุลานี ภาสการัน วัย 50 ปี
ประธาน สมาคมที่มีลูกฝาแฝดสองคน กล่าว
ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาขึ้นทะเบียนกว่า 220 คู่
อายุตั้งแต่หนึ่งเดือนจนถึง 65 ปี
และอีก 30 คู่ที่อยู่ระหว่างการยื่นเรื่อง
ทา กะคาดว่าจำนวนสมาชิกทั้งหมด
จะเกินกว่า 600 คนเมื่อนับรวมพ่อแม่ของฝาแฝดเข้าไปด้วย
“ผมเริ่มวางแผนเกี่ยวกับสมาคมนี้
มาตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว
และ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม
เพราะ คิดว่าฝาแฝดของที่นี่ควรสมัครสมานสามัคคีกัน
เพื่อค้นหาว่าทำไมพวกเขาถึง ถือกำเนิดขึ้นที่นี่”
ภาสกา รันเสริม
“ “ตอนอยู่โรงเรียนประถม ผมเจอนักเรียนที่เป็นฝาแฝดเหมือนกันอีก 30-40 คู่
อานู ภาสการัน วัย 16 ปี ลูกชายของประธานทากะ เล่า
“ผมรู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษ แต่สิ่งที่ชอบที่สุดจากการเป็นฝาแฝดคือ
การหลอกเพื่อนและครู” อาบี คู่แฝดของอานูสำทับ
“ครูชอบจำเราสลับกัน บางครั้งที่เรารู้สึกแผลงขึ้นมา
เรา จะสลับห้องเรียนกันเพื่อให้เพื่อนๆ กับครูงงเล่น”
ชาฮาลาและชาฮานา คู่แฝดวัย 5 ขวบช่วยกันเล่า
หมู่บ้านโคดินฮี ในรัฐเคราลา ทางใต้ของอินเดีย
ให้ กำเนิดฝาแฝด 230 คู่ ทั้งที่มีประชากรเพียง 15,000 คน
นับเป็นสัดส่วนที่มากกว่าอัตรา การเกิดของฝาแฝดทั่วโลกโดยเฉลี่ยเกือบ 4 เท่า
สร้างความงงงวยให้กับวงการแพทย์
แม้มีหมอท้องถิ่นรายหนึ่งตั้ง ข้อสงสัยว่ากรณีน่าฉงนนี้อาจเกี่ยวข้องกับน้ำก็ตาม
จากตัวเลขล่าสุดของสมาคมคู่แฝดและพี่น้อง ของโคดินฮี(ทีเอเคเอ) --
ซึ่ง ชาวบ้านตั้งข้นมาอย่างเป็นกิจจะลักษณะเพื่อรับลงทะเบียนฝาแฝด
และให้ความ ช่วยเหลือครอบครัวฝาแฝดในหมู่บ้านโคดินฮี --
ที่ทำการสำรวจในช่วงต้นปีที่ ผ่านมาพบว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีฝาแฝด 204 คู่
ทว่านับตั้งแต่นั้นคาดหมายว่า ตอนนี้ตัวเลขได้ขยับเป็น 230 คู่แล้ว
"มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ที่ได้เห็น
เรื่องประหลาดทาง การแพทย์เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทเช่นนี้
เนื่อง จากคนชนบทไม่ได้รับยาหรือสารเคมีอันตรายใดๆ
มันเป็นหมู่บ้านบริสุทธิ์" Dr Sribiju นักวิจัยระบุ
นักวิทยาศาสตร์ที่พยายามเปิดโปงสิ่งลี้ลับว่า
ทำไม หมู่บ้านแห่งนี้ถึงมีคู่แฝดจำนวนมาก
กล่าว ต่ออีกว่า "ตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
เรารู้สึกว่ามีบางอย่างในสิ่ง แวดล้อมที่
อาจเป็นสาเหตุของสิ่งนี้ มันอาจมีอะไรบางอย่างในน้ำ"
Dr Sribiju กล่าวต่อว่า "สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดลูกแฝด
ในโลก ตะวันตก เกือบทุกกรณี
มาจากการใช้ยากระตุ้นการตั้งครรภ์
นิสัยในการกินอาหารที่พวกเขา บริโภค
มากกว่าผลิตภัณฑ์อาหารประจำวัน
และที่ไหนก็ตามที่คู่สมรสอายุ มาก
เพราะการแต่งงานช้ามักจะได้ลูกแฝด"
อย่างไรก็ตามในหมู่บ้านโคดิน ฮี
คู่สามี-ภรรยา เกือบทั้งหมดแต่งกัน
เมื่ออายุระหว่าง 18 ถึง 20 ปีเท่านั้น
"ทุกปัจจัยที่นำไปสู่ลูกแฝดทั่ว โลก เราไม่พบที่นี่เลย
เรา ยังคงไม่ทราบถึงสาเหตุ
ของปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้" เขากล่าว
ด้านชาวบ้านต่างก็เชื่อเช่นกันว่าปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นมีต้นตอมาจากน้ำ
เหตุ หมู่บ้านโคดินฮี ล้อมรอบไปด้วยน้ำที่ท่วมทุ่งหญ้า จนบางครั้งระหว่างฤดูมรสุม
ฝน ที่ตกหนักได้ตัดขาดพวกเขาจากโลกภายนอก