พลังงานไฮโดรเจน แรงขับเคลื่อนใหม่ที่ใช้แทนน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การค้นพบวิธีที่จะทำให้เติมไฮโดรเจนเหลวเข้าไปในถังน้ำมันได้โดยตรง โครงการวิจัยใช้เวลาถึง 4 ปีในห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เรียกว่า “น้ำมันไฮโดรเจน” อยู่ในรูปของเกลือ “ไฮไดรด์” กับโมเลกุลเชิงซ้อนจำเพาะที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นแคปซูลกักไฮโดรเจนไว้นำไปใช้สันดาปได้ทันทีในเครื่องยนต์ ทั้งยังช่วยปกป้องไฮโดรเจนจากอากาศขณะยังไม่ผ่านเข้าเครื่องยนต์ ส่งผลให้ไม่มีคุณสมบัติติดไฟ โดยใช้กรรมวิธีผลิตพิเศษ เรียกว่า “อิเล็กโตรสปินนิ่งแบบร่วมแกน” ซึ่งบังคับให้โมเลกุลเกลือไฮไดรด์ถูกผลักให้เข้าไปอยู่ตามรูของแคปซูลโพลิเมอร์จำเพาะเกิดเป็นโมเลกุลเชิงซ้อน มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ราคาราว 1.5 ดอลลาร์ต่อแกลลอน หรือราว 10 บาทต่อลิตร
คุณสมบัติสำคัญของระบบเซลล์เชื้อเพลิงของโตโยต้า
(TFCS) ชื่อ……………………………….เซลส์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota FC Stack)
ประเภท ……………………….เซลส์เชื้อเพลิงโพรลิเมอร์อิเล็กทรอไลต์
ความหนาแน่นต่อปริมาตร…..31 กิโลวัตต์ต่อลิตร
กำลังสูงสุด…………………………114 กิโลวัตต์ 155 แรงม้า
ระบบทำความชื้น…………………แบบระบบหมุนเวียนภายใน humidifier – less
จำนวนถัง……………………………2 ถัง
ถังไฮโดรเจนความดันสูง แรงดัน………………………………70 เมกะปาสคาล 700 บาร์
ความหนาแน่นขแงถังเชื้อเพลิง…..5.7wt%
ปริมาตรภายในถัง ………………..122.4 ลิตร ถังหน้า 60.0 ลิตร ถังหลัง 62.4 ลิตร
มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน
ประเภท…………………………………มอเตอร์ซิงโครนัสแบบกระแสไฟฟ้าสลับ
กำลังไฟสูงสุด………………………..113 กิโลวัตต์ 154 แรงม้า
แรงบิดสูงสุด…………………………..335 นิวตันเมตร 34.2 กิโลกรัมเมตร
แบตเตอรี่………………………………นิกเกิ้ลเมทัลไฮรไดรต์
มิติตัวถัง กว้าง…………………………………..1,815 มิลลิเมตร
ยาว…………………………………….4,890 มิลลิเมตร
สูง……………………………………….1,535 มิลลิเมตร
ระยะฐานล้อ…………………………..2,780 มิลลิเมตร
ระยะห่างฐานล้อ…………………….หน้า 1,535 มิลลิเมตร หลัง 1,545 มิลลิเมตร
ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้อง……….1,30 มิลลิเมตร
ความยาวห้องโดยสาร…………….2,040 มิลลิเมตร
ความกว้างห้องโดยสาร…………..1,465 มิลลิเมตร
ความสูงห้องโดยสาร………………1,185 มิลลิเมตร
น้ำหนักตัวรถ…………………………1,850 มิลลิเมตร
จำนวนผู้โดยสาร…………………….4 นิตยสาร
บลูมเบิร์ก บิซิเนสวีค ฉบับปลายเดือนธันวาคมได้นำภาพ อากิโอะ โตโยดะ ประธานโตโยต้ามอเตอร์ ขึ้นปกเป็นสกู๊ปให้โพสท่าเป็นตุ๊กตาแฮปปี้ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมข้อความว่า “ความฝันของอากิโอะ โตโยดะ รถยนต์ในอาณาจักรของเขา จะไม่มีการใช้นํ้ามันอีกต่อไป” ฝันดีของโตโยต้า แต่เป็นฝันร้ายของกลุ่มโอเปกเลยทีเดียว 13 ม.ค.58 โตโยต้า (Toyota) ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก เปิดตัวรถยนต์ซีดานพลังงานทางเลือกที่ยังไม่มีใครริเริ่มอย่างจริงจังกับพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง โดยรถรุ่นดังกล่าวมีชื่อว่า “โตโยต้า มิราอิ” (Toyota Mirai) ซึ่งเป็นการเผยชื่อ รูปโฉม และสมรรถนะของรุ่นจำหน่ายจริงเป็นครั้งแรก คำว่า มิราอิ ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าอนาคต สื่อถึงอนาคต โดยดีไซน์ของมันพัฒนามาจากรถต้นแบบ โตโยต้า เอฟซีวี (Toyota FCV) ด้านหน้าของมันสะดุดตาด้วยไฟหน้าดวงเล็กยาว พร้อมกรอบสามเหลี่ยมคว่ำด้านข้างและกระจังหน้าสี่เหลี่ยมคางหมู เส้นสายด้านข้างเน้นความปราดเปรียว ซุ้มล้อด้านหลังยื่นออกเพื่อรีดอากาศได้ดี ด้านหลังมาพร้อมไฟท้ายรูปสามเหลี่ยมคว่ำ พร้อมกับเส้นไฟสีแดงยาวตลอดแนว โตโยต้ายังไม่ได้เปิดเผยตัวเลขด้านสมรรถนะของมันมากนัก เพียงแต่เผยว่ามันสามารถวิ่งได้เป็นระยะทางมากถึง 483 กิโลเมตร ต่อการเติมพลังงานไฮโดรเจนครั้งหนึ่ง ส่วนขั้นตอนการเติมไฮโดรเจนนั้นก็ไม่ได้ยาวนานอย่างที่คิด โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีต่อครั้ง ซึ่งทำให้ใช้งานได้สะดวกไม่ต่างจากการเติมน้ำมันเลย Toyota Mirai FCV ใช้ระบบฟิวเซลในการสร้างพลังงานขับเคลื่อน โดยการนำเอาออกซิเจนไปผสมกับไฮโดรเจนสำหรับสร้างกระแสไฟ เพื่อใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าให้รถเคลื่อนที่ ด้านสมรรถนะก็ไม่แพ้น้ำมัน เพราะ Mirai สามารถเร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ได้ในเวลาราว 9 วินาที ขณะที่ระบบฟิวเซลสามารถผลิตกำลังสูงสุดได้ 155 แรงม้า (PS) รวมถึงสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้แม้อุณหภูมิหนาวเหน็บระดับ -22 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์ไฮโดรเจน พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง วิ่งได้เป็นระยะทางมากถึง 483 กิโลเมตร ต่อการเติมพลังงานไฮโดรเจนครั้งหนึ่ง นอกจากการพัฒนารถยนต์แล้ว โตโยต้ายังได้ร่วมมือกับบริษัทพลังงานทั้งหลาย เพื่อพัฒนาโครงสร้างการใช้พลังงานไฮโดรเจน โดยเริ่มจากการลงทุนตั้งสถานีจ่ายไฮโดรเจนให้มากที่สุด ซึ่งเริ่มที่จำนวน 12 แห่ง ในสหรัฐฯ จากความร่วมมือของบริษัทพลังงานในสหรัฐฯ แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยราคาอย่างเป็นทางการในขณะนี้ แต่ก็คาดว่า โตโยต้า มิราอิ จะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 7 ล้านเยน (ประมาณ 1.9 ล้านบาท) ส่วนการส่งมอบคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือน เม.ย.นี้
ขอบคุณเนื้อหาจาก : khaojing