อุจจาระเป็นเลือด สัญญาณเตือนอาจใช่ 'มะเร็งลำไส้ใหญ่' !

หลายคนอาจทราบดีว่าตอนนี้คนไทยเข้าใกล้โรคต่างๆกันมากขึ้น อาจเพราะมีวิถึชีวิตที่เปลี่ยนไปตามชาติตะวันตกของคนไทยด้วย แต่อีกหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าตอนนี้โรคร้ายอีกโรคที่คนไทยควรระวังคือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่


     เพราะจากสถิติในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่กว่า 9,000 ราย เป็นโรคยอดฮิตในอันดับ 3 ของเพศชาย และอันดับ 5 ของเพศหญิง และมีแนวโน้มว่าจะพบเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับมะเร็งเต้านมด้วย ส่วนใหญ่พบมากในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี แต่สามารถพบในอายุน้อยได้ และผู้ที่มีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นโรคหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุราจัด ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย


     ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีอาการ เริ่มจากอุจจาระเหลวและแข็งสลับกัน อุจจาระเป็นเลือดบ้างบางครั้ง รู้สึกปวดเบ่งแต่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียง รู้สึกท้องอืดแน่นท้องตลอดเวลา น้ำหนักลด หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
     โดยการวินิจฉัยนั้น ขั้นแรกผู้ป่วยอาจจะถูกเข้ารับการตรวจเพื่อหาระยะและการกระจายของมะเร็ง โดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ในบางรายอาจได้รับการวินิจฉัยโรคจากการตรวจเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรี่ยม การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของ carcinoembryonic antigen (CEA)  (การตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่) เอกซ์เรย์ทรวงอก และเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและเชิงกรานนอกจากนี้ การตรวจเพื่อหาการลุกลามของมะเร็งอาจใช้ CT scans, MRI หรือการส่องกล้องคลื่นความถี่สูง


    ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่
    ขั้นที่ 0 – พบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่
    ขั้นที่ 1  – พบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2และ3 ของผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่
    ขั้นที่ 2  – มะเร็งลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
    ขั้นที่ 3  – มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น
    ขั้นที่ 4  – มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น เช่น ตับและปอด


การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่
     การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำตามตำแหน่งที่เกิดในลำไส้ เช่น
     1.  การผ่าตัดบริเวณครึ่งขวาของลำไส้  Rt. Extended Hemicolectomy
     2.  การผ่าตัดบริเวณ Transverse  colon Transverse colectomy
     3.  การผ่าตัดบริเวณครึ่งซ้ายของลำไส้  Lt. Hemicolectomy
     4.  การผ่าตัดบริเวณ sigmoid colon Sigmoidectomy
    5.  Sigmoidectomy with Hartman’s pouch
    6.  AP resection ใช้ในกรณีลำไส้ตรง เกิดบริเวณเชิงกรานที่มีโครงกระดูกขนาดใหญ่


การพิจารณาการผ่าตัดมะเร็งออก
     การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นจะพิจารณาตามความรุนแรงของมะเร็ง โดยจะแบ่งเป็นขั้นต่างๆดังนี้
     ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 0 และ 1 ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
     ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 และ 3 ที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก จะทำการฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจใช้ก่อนหรือหลังผ่าตัด แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกทั้งหมด แต่มีก็โอกาสกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึง 50-60% จึงต้องให้ยาเคมีบำบัดจึงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำอีก โดยทั่วไปผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 ที่มีปัญหาลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตัน หรือที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ผิดปกติมาก(จากการตรวจชื้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์) เป็นกลุ่มเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำอีก จะได้รับการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด คือfluorouracil (5-FU) และ leucovorin (LV) เป็นเวลา 6 เดือน  
     ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 3 ได้รับการรักษาด้วย fluorouracil และ leucovorin เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยวิธีการรักษาแบบนี้ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
     ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 4 ใช้การรักษาด้วยการตัดก้อนมะเร็งออกร่วมกับการฉายรังสีรักษา โดยอาจใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย ผู้ป่วยบางคนอาจต้องเข้ารับการจัดการการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะใกล้เคียงด้วย เช่น ตับ รังไข่ เป็นต้น ซึ่งจะรักษาด้วย fluorouracil, leucovorinและirinotecan (CPT-11 หรือ Camptosar) หรือ oxaliplatin (Eloxitin)  และใช้ยาirinotecan ร่วมด้วย เพื่อจะมีผลดีในการรักษาเพิ่มขึ้นกว่าที่ใช้เพียง fluorouracil และ leucovorin เท่านั้น


อ้างอิงข้อมูลจาก  http://www.cynhite.com/3808/


รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมสังเกตตัวเองกันนะคะ ถ้าหากใครมีอาการอย่างที่บอกควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาเลย แต่ถ้าใครยังไม่มีอาการก็อย่าวางใจ เริ่มออกกำลังกาย ไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ เพื่อเลี่ยงไม่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้กัน

29 ก.ค. 59 เวลา 16:28 844
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...