กาเรเวน(Raven)
กาเป็นสัตว์ที่ฉลาด สีขนมันดำราวกับรัตติกาลบวกกับแววตาแวววาวดูลึกลับและเจ้าเล่ห์ บางคนเชื่อว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของยมทูต มันเป็นสัญลักษณ์ของความตาย มันมีอำนาจชั่วร้ายแฝงกาย ยิ่งเป็นกาเรเวน(Raven) ยิ่งน่ากลัวเข้าไปใหญ่
เรื่อง ราวคำสาปของอีกานั้นมีเรื่องเล่าอยู่เกือบทั่วโลก ในกรณีใหญ่และโด่งดังที่สุดคงจะไม่เกินไปกว่าราชวงศ์แฮปสเบิร์กส์ของ ออสเตรียที่รับเคราะห์กรรมเพราะกามาแล้ว
มัน เริ่มต้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในตอนนั้นเคานต์แห่งอัลเตนเบิร์ก(Count v on Altenbourg)หรือชื่อจริงว่ากอนทราน-เลอ-ริซี่(Gontran-le-Riche) ปกครองดินแดนเล็กๆ ใกล้กับบริเวณแม่น้ำอาร์กับแม่น้ำไรน์บรรจบกัน วันหนึ่งเขาออกไปล่าสัตว์ในป่า แต่ตัวเองกลับถูกฝูงนกแร้งไล่ล่าจนได้รับอันตรายจนเกือบถึงชีวิต หากแต่มีฝูงนกกาเรเวนมาขัดขวางเอาไว้เขาจึงได้รอด ท่านเคานต์เป็นหนี้บุญคุณของกา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาได้เลี้ยงดูและปกป้องกา และได้สร้างหอคอนสังเกตการณ์ขึ้นบนเนินสูงที่ยื่นออกไปริมแม่น้ำ ตั้งชื่อว่า ฮาบิชต์สเบิร์ก(Habichtsburg) แปลว่าปราสาทนกแร้ง และชื่อนี้ได้กลายเป็นชื่อราชวงศ์ที่ท่านเคานต์สถาปราขึ้น คือราชวงศ์แฮปสเบิร์ก
ใน ตอนแรกๆ สมาชิกราชวงศ์นี้ดูจะมีเป็นมิตรกับกาดี ปล่อยให้กาเรเวนสร้างรังทุกหนทุกแห่ง แต่ร้อยปีหลังจากนั้นที่กอนทรานสิ้นลม มิตรภาพราชวงศ์กับกาเรเวนก็มีอันสิ้นสุดลงตามไปด้วย อาร์คแอ็บบอต แวร์เนอร์ และรัดบอต อนุชาเป็นผู้ทะเยอทะยานได้เสริมสร้างหอคอนให้กลายเป็นปราสาทใหญ่มีเชิงเทิน หอรบเพียบพร้อมเรียงรายไปตามเนินเขา และตั้งชื่อใหม่ว่า ชลอสส์ แฮปสเบิร์ก(Schloss Hapsburg) ส่วนพวกกาถูกขับไล่ไสส่ง ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอีกต่อไป เมื่อการู้สึกว่าพวกตนถูกละเมิดข้อตกลงจึงเริ่มหันมาทำร้ายผู้ที่อยู่ปราสาท และพวกแฮปสเบิร์กก็ตอบโต้ด้วยการเข่นฆ่ากาบ้าง จนกาเป็นฝ่ายแพ้ ชนิดที่เรียกว่าสองศตวรรษต่อมาไม่ปรากฏกาเรเวนเหลืออยู่ที่ชลอสส์ แฮปสเบิร์กอีกเลย เพราะพวกเขาฆ่าพวกมันจนหมดสิ้น
แม้พวกแฮปสเบิร์กจะฆ่ากาหมดแล้วก็ตาม แต่มันตายแค่ตัว ส่วนวิญญาณนั้นไม่ได้ตายตาม ว่ากันว่าวิญญาณของกายังคงสิงอยู่ที่ปราสาทชลอสส์ แฮปสเบิร์กแห่งนั้น และทุกครั้งที่ออสเตเลียเข้าสงครามอีกาจะปรากฏตัวแทบทุกครั้งและนั้นหมาย ความว่าฝ่ายออสเจเลยต้องประสบความพ่ายแพ้
นอก จากกาแล้วยังมีสุภาพสตรีในชุดขาว ที่ไม่มีใครทราบว่าเป็นใครมาจากไหน แต่เมื่อนางปรากฏกายจะเกิดเหตุร้ายกับราชวงศ์ เหมือนเธอมาเตือนให้รู้ตัวล่วงหน้า ให้ทราบว่าไม่มีทางหนีซะตากรรมของตนได้
คำ สาปเริ่มต้นเมื่อปี 1854 ตอนนั้นจักรวรรดิออสเตเลียอันเก่าแก่ใกล้จะจุดจบ วันหนึ่งรถม้าและกองทหารเกียรติยศได้เดินทางไปตามถนนจากเมืองมิวนิคมุ่งไป ยังเมืองอัชเชิล บนรถม้านั้นมีสุภาพสตรีสามนาง หนึ่งในจำนวนนั้นมี อาร์ชดัชเชล ลูโดวิกา(Archduchess Ludovica) พระชนิษฐาของกศัตริย์ลุดวิกแห่งบาวาเรีย กับพระธาอีกสององค์ องค์โตคือ เจ้าหญิงเฮลีน(Helene)ผู้ซึ่งกำลังเดินทางจะไปเข้า พิธีอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ แห่งออสเตรีย ที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ พระธิดาองค์รองคือ เจ้าหญิงเอลิซเบธ หรือซีซี่ อาร์ชดัชเชสได้ที่ทราบว่ากาได้ไปปรากฏตัวที่ป้อมออลมุตซ์ พระนางก็ได้แต่หวังว่ามันจะไม่ปรากฏตัวที่อัชเชิล
เจ้าหญิงเฮลีนมิได้ทรงปรารถนาจะเป็นจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย ดังนั้นพระองค์จึงตรัสพ้อพระมารดาตลอดทาง แต่พระนางลูโดวิกาก็มิได้สนพระทัยว่าพรธธิดาจะปรารถนาหรือไม่ ตราบใดที่ทำตามที่พระนางบอกเป็นใช้ได้ ความจริงเรื่องอภิเษกสมรสครั้งนี้พระนางลูโดวิกามิได้เป็นคนต้นคิด หากเป็นพระประสงค์ของอาร์ชดัชเชสโซเฟีย สมเด็กป้าของฟรานซ์ โจเซฟ ที่จะดึงแคว้นบาวาเรียเข้ามาช่วยพยุงฐานะของออสเตรีย เพราะใครๆ ก็รู้ว่าในตอนนั้น จักรรดิออสโตร-ฮังการีกำลังแย่ สงครามนโปเลียนที่ผ่านมาทำเอาออสเตรียแทบล้มละลาย
ตรงกันข้ามกับเฮลีนที่กำลังโศกเศร้า ซีซี่ร่าเริงสนุกสนาน ทำให้พระนางลูโดวิกาต้องมองด้วยความสงสัยแล้วพอถึงอัชเชิลความคลางแคลงของ พระนางก็กลายเป็นจริง ในเมื่อจักรพรรดิหนุ่มทรงเลือกซีซี่เป็นคู่อภิเษก ซึ่งเรื่องนี้สร้างความโกรธกริ้วให้กับอาร์ชดัชเชสโซเฟียเป็นอย่างมาก แต่พระนางก็มิอาจทำอะไรได้ งานอภิเษกมีขึ้นที่โบสถ์เซ็นต์ออกัสตินในกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 1854
และ บัดนี้ซีซีได้กลายเป็นจักรพรรดินีเอลิซเบธแห่งออสเตเรีย จักรพรรดิที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปในขณะนั้นไปแล้ว แต่อาร์ชดัชเชสโซเฟียก็จ้องทำลายชีวิตสมรสของจักรพรรดินีลงให้จงได้ พอซีซี่ประสูติพระโอรส พระนางโซเฟียก็แยกพระโอรสออกมาจากซีซี่ โดยอ้างว่าเพื่อจะเลี้ยงดูให้เหมาะสม พระนางจัดหาสาวชาววังที่สวยๆ มาคอยอยู่งานอภิบาลเด็กโดยหวังใช้สาวๆ เหล่านั้นดึงความสนพระทัยจากจักรพรรดิหนุ่มให้มาเสียจากซีซี่ ซึ่งก็ได้ผล ในไม่ช้าซีซี่ต้องรู้สึกทนทุกข์ทรมานถูกโดดเดี่ยว เพื่อคนเดียวที่พระองค์มีคือพระสนองพระโอษฐ์ชื่อ มาร์เกริต คัน ไลฟ์-โอเวน
ในตอนนั้นก็มีข่าวลื่อในหมู่ชาววังว่าทั้งกาและสตรีในชุดขาวได้ ปรากฏตัวออกมาให้เห็น เพื่อหนีจากเรื่องซุบซิบและว้าเหว่ พระนางซีซี่ก็เลยหาเรื่องเสด็จประพาสประเทศต่างๆ ไปเรื่อยๆ มาร์เกริตเล่าว่าครั้งหนึ่งขณะที่ประพาสแคว้นบริตตาเนีย องค์จักรพรรดินีถูกเรียกให้กลับกรุงเวียนนาด่วน ทิ้งมาณืเกริตให้อยู่บริตตาเนียต่อจนจบกำหนดการ
บ่ายวันหนึ่งขณะที่มาร์เกริตกำลังขี่ม้าเล่นอยู่แถวแหลมกีเบอรอน เธอได้เหลือบเห็นสตรีในชุดขาวกำลังยืนเซไปมาอยู่บนเงื้อมผา เธอดึงม้าให้หยุดจนมันหงกหลัง พอเธอตั้งหลักได้อีกหน หันกลัยไปดูที่เดิมก็ไม่เห็นสตรีนั้นเสียแล้ว
คืนนั้น เธอเข้านอนดึกกว่าปกติ เพราะงานเต้นรำคฤหาสน์ เธอนอนได้ไม่นานก็ต้องตื่นขึ้น แล้วก็ได้ยินเสียงแปลก ๆ ตอนแรกคิดว่าเป้นเสียงตีของนาฬิกา แต่แล้วเสียงฝีก้าวเดนอย่างเร็วๆ แสงจันทร์ที่สาดลอดหน้าต่างเข้ามาสว่างพอให้เธอมองเห็นร่างในชุดขาวเหมือน อย่างที่เธอเห็นเมื่อตอนบ่าย เพียงแต่ชัดกว่าสตรีนั้นชี้ให้ดูที่หน้าอก ซึ่งเธอมองเห็นโลหิตหลายหยดไหลออกมาจากบาดแผลรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ เธอนึกถึงจักรพรรดินีทันที
มาร์ เกริตรีบโทรเลขถึงจักรพรรดินีโดยด่วน และก็ได้รับโทรเลขตอบว่าพระนางสบายดี ระหว่างหลายปีมานี้พระนางก็ได้เห็นกาและสตรีในชุดขาวบ่อยๆ
ก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายต่อจักพรรดินี เหตุร้ายก็เกิดขึ้นกับเจ้าชายรูดอล์ฟมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย พระราชโอรส ในคืนวันที่ 30 มกราคม 1898 มงกุฏราชกุมารรูดอล์ฟ ได้เสด็จไปพบศาน์เตสมาเรีย เวตเซรา คนรักของพระองค์ที่ตำหนักล่าสัตว์ในป่าเมเยอลิ่ง ทั้งคู่ต่างรู้ดีว่าไม่มีโอกาสอภิเษกกัน เพราะฝ่ายหญิงแม้จะเคาน์เตสแต่ก็เป็นสามัญชน ทั้ง สองเห็นพ้องกันว่าทางออกมีทางเดียวเท่านั้นคือ การฆ่าตัวตาย
และไม่กี่ชั่วโมงต่อมานานาชาติก็ตกตะลึงเมื่อทราบข่าวว่าพระมกุฎราช กุมารรูดอลฟ์ ใช้พระแสงปืนยิงมาเรียและยิงพระองค์ตายตาม
ถึงตอนนี้จักรพรรดินีเริ่มเสด็จประพาสถี่ขึ้น และสุภาพสตรีในชุดขาวก็ดูเหมือนจะปรากฏตัวถี่ขึ้นเช่นกัน ในคืนครบรอบ 40 ปีการอภิเษกสมรสของพระนางเมื่อปี 1989 ที่ปราสาทฮอฟเบิร์กที่อยู่ติดกับโบสถ์ที่เคยจัดพิธีอภิเษก ทหารยามผู้หนึ่งด้เห็นสตรีนางหนึ่งแต่งชุดขาวถือไฟสำหรับจุดเทียน เธอหันแบะเดินกลับไปทางเดินเข้าไปในห้องสวดมนต์ ทหารยามผู้นั้นตามเธอไปและบอกยามคนอื่นๆ ให้รู้ตัว พวกทหารยามช่วยกันค้นหาจนทั่วทั้งตึกแต่ก็ไม่มีวี่แววของสตรีผู้นั้น ในคืนเดียวกันก็มีผู้พบเห็นสตรีในชุดขาวที่ปราสาทเชินบรุนน์เช่นกัน เพียงแต่เป็นคนละเวลา
และ ในเช้าวันศุกร์อีกห้าเดือนต่อมาขณะที่จักรพรรดินีนีเอลิซเบธประทับพักผ่อน พระอิริยาบถอยู่ที่เฉลียงโรงแรมแกรด์โฮเต็ล เมืองโซกซ์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระนางทอดพระเนตรลงไปแลเห็นสตรีแต่งขาวจ้องมองอย่างประสงค์ร้าย พระนางจึงร้องให้คนช่วย พวกเจ้าหน้าที่ช่วยกันค้นหาจนทั่วก็ไม่พบตัว ตกค่ำนั้นพระนางออกมาที่เฉลี่ยงก็เห็นสตรีคนเดิมอีกแต่คราวนี้มานั่งอยู่ ใกล้ๆ พระนางตกพระทัยร้องให้คนช่วย และคราวนี้ก็เช่นกันไม่มีผู้ใดพบสตรีผู้นั้น
วัน ที่ 9 กันยายน ซึ่งก็เพียงไม่กี่วัดถัดมา ตอนนั้นพระนางประทับชมทิวทัศน์อยู่ที่แตรีเตบนเทือกเขาแอลป์กับ มร.เบเกอร์ พนักงานถวายอักษรชาวอังกฤษซึ่งนำตะกร้าผลไม้มาถวาย แล้วขณะที่ มร.เบเกอร์กำลังอ่านคอร์ลีโอเน่ ซึ่งเป็นนวนิยายเกี่ยวกับพวกมาเฟียที่พยายามปลงพระชนม์พวกเจ้านายถวายอยู่ นั้น พระนางก็ตัดผลท้อซีกหนึ่งให้ มร.เบเกอร์ แต่ยังมิทันได้ส่งก็เห็นนกกาเรเวนตัวใหญ่ถลาลงจากต้นสยมาบินวนรอบพระเศียร ปลายปีกของมันปัดท้อพลันหลุดจากพระหัตถ์ มร.เบเกอร์ตกใจมากเพราะเขารู้ว่าหมายถึงถึงอะไร
บ่ายวันรุ่งขึ้น พระจักรพรรดินีเสด็จออกจากโฮเต็ลที่ประทับในกรุงเจนีวาเพื่อจะประทับเรือ ล่องขึ้นไปตามทะเลสาปเจนีวา มีเคานเตสส์สตาเรย์ นางสนองพระโอษฐ์โดยเสด็จไปด้วย พอไปถึงท่าเรือก็ได้ยินเสียงระฆังเรือเคานเตสส์จึงรีบขึ้นหน้าไปก่อนหมายจะ ไปบอกพวกเจ้าหน้าที่มิให้ยกสะพานออก ทิ้งจักรพรรดินีไว้ลำพัง ทันใดนั้นก็มีชายผู้หนึ่งวิ่งตรงเข้าไปใช้เหล็กหมาดเย็บรองเท้าแทงเข้าที่ พระอุระ และหนีไป ก่อนที่ใครๆ จะรู้ตัวแต่ก็ถูกจับได้ภายหลัง จึงรู้ว่าเป็นชาวอิตาเลียนชื่อลุยจี ลุกเกนี เป็นพวกอนาธิปไตย ส่วนองค์จักรพรรดินีมีผู้ช่วยประคองไว้มิให้ล้ม ตอนแรกคิดว่าพระองค์แค่ถูกล้วงกระเป๋าเท่านั้น พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินต่อ ลงไปประทับเรือไม่นานก็ทรงเป็นลมแน่นิ่งหมดสติ และเมื่อเรือแล่นกลับเข้าฝั่งก็พบว่าพระองค์ถูกแทงทั้งๆ ที่ไม่มีใครเข้าใกล้พระองค์ตอนอประทับบนเรือ หมอมิอาจช่วยอะไรได้ พระนางสิ้นพระชนม์ด้วยพระโลหิตตกใน(และจนกลายเป็นหนึ่งคดีห้องปิดตายที่ผมลง ไปแล้ว)
อ่านที่ http://writer.dek-d.com/dek-d/story/viewlongc.php?id=205702&chapter=329
เหล็กหมาดได้ทำให้เกิดบาดแผลรูปสามเหลี่ยมเล็กและมีโลหิตอูดออกมา เพียงเล็กน้อย ตรงกับที่มาร์เกริต คัน ไลฟ์-โอเวน เห็นที่บริตตานีเมื่อหลายปีก่อนไม่มีผิด
กากับซะตากรรมของราชวงศ์แฮมสเบิร์กไม่จบเพียงแค่นี้ เมื่อตอนเจ้าชายแม็กซิเลียน(Emperador Maximiliano I) พระอนุชาของจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ และชาล็อตต์ พระมเหสี เดินทางออกจากยุโรปเพื่อไปปกครองเม็กซิโกนั้น ก็ได้มีกาเรเวนตัวหนึ่งบินลงมาเกาะบนหลังตู้เบกี้รถไฟที่เจ้าหญิงชาล็อต ประทับ ต่อมาไม่นานแม็กซิมิเลียมก็ถูกฝ่ายปฏิวัติจับสำเร็จโทษ ส่วนพระนางชาล็อตต์ก็เสียพระจริต
แต่ เรื่องราวทั้งหมดนี้ไม่ร้ายแรงเท่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นต่อไปนี้
ฟรานซ์ เฟอร์ดินานFranz Ferdinand Karl Ludwig Joseph von Habsburg-Lothringen) พระนัดดาจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ทรงรักอยู่กับเคานเตสส์โซฟี โชแตก (
แล้ว วันหนึ่งในเดือนมิถุนายน 1914 ขณะที่เจ้าหญิงโซฟีประทับรถพระที่นั่งไปตามถนนในกรุงเวียนนาโดยมีฝูงชนออดู กันตลอดสองข้างทางนั้น พระองค์ก็ได้เห็นฝูงกาบินวนอยู่เหนือท้องฟ้า เจ้าหญิงรู้ว่านี้คือลางไม่ดีเลยยกเลิกหมายกำหนดการทั้งหมด รีบเสด็จไปเมืองโกโนปิชต์ในแคว้นโบฮีเมียโดยด่วน พอถึงก็ตรงไปพบพระสวามีที่กำลังประชุมอยู่กับพวกนายทหาร เจ้าหญิงทรงขอร้องให้พระสวามียกเลิกการเสด็จเยือนเมืองซาราเยโวเสีย
แต่อาร์ชดยุคเฟอร์ดินานมิอาจทำได้ เพราะบอสเนียกำลังก่อกบฏ พระองค์จำเป็นต้องไปปรากฏตัวพระองค์เพื่อปลุกใจฝ่ายที่สนับสนุนนออสเตรี ยก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป อีกทั้งพระองค์ก็ไม่เชื่อเรื่องกา
เมื่อ ขอร้องไม่สำเร็จ เจ้าหญิงเลยตามเสด็จไปด้วย แล้วในขณะที่ทั้งสองพระองค์ประทับรถที่นั่งสีแดงเปิดประทุนไปตามถนนในเมือง ซาราเยโวนั่นเอง ก็มีพวกปฏิวัติโยนระเบิดเข้าใส่ แต่ทั้งสองพระองค์มิได้รับอันตราย แม้จะตกพระทัยอยู่บ้าง แต่ก็ทรงให้ไปต่อ และเมื่อรถขับเข้าถนนรูดอร์ฟ ทั้งสองก็ถูกนักศึกษาหนุ่มหัวอนาธิปไตยชื่อ เกบริล ปรินซิป ใช้ปืนยิง ทั้งสองสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้กลายเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเวลา ต่อมา ที่เป็นเหตุทำให้คนต้องล้มตายหลายล้านคน และทำให้จักรวรรดิราชวงศ์แฮปสเบิร์กต้องพบจุดจบ ความแค้นของอีกาได้ชำระสำเร็จลุล่วงแล้ว
คำสาปอีกาที่โด่งดังอีกเรื่องคืออีกาที่หอคอยลอนดอน (Tower of London) ป้อมปราสาทนี้ เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะถูกใช้เป็นที่คุมขังและ ประหารบุคคลสําคัญๆ ของอังกฤษมากมาย หลายท่าน ณ ลานปราสาทแห่งนี้จะมีการเลี้ยงดูอีกา จํานวน 6 ตัว เนื่องจากมีคําสาปมานานกว่า 900 ปี ว่า ถ้าหากอีกาลดจํานวนลงเมื่อใด เมื่อนั้นความหายนะจะมาเยือน นครลอนดอน และสิ้นสุดพระราชวงศ์แห่งอังกฤษ!
เรื่องนี้มีตํานานปรากฏเป็นเอกสาร ในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ราวศตวรรษที่ 17 ด้วยนะคะ ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอยแต่อย่างใด และทําให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นยาม หรือกษัตริย์ถือเป็นเรื่องจริงจังอย่างเคร่งครัด เช่น ว่า ถ้ามีอีกาตายหนึ่งตัว จะต้องรีบถวายรายงานต่อควีนทันที และต้องจัดหาอีกาตัวใหม่ มาทดแทนโดยด่วน ซึ่งอีกาทุกตัวจะมีชื่อเรียก และถ้าตายก็จะถูกนําไปฝังอย่างมีพิธีการ จะมีการเลี้ยงอีกาไว้สํารองตลอดเวลาถ้าตัวใดล้มป่วย ก็ต้องรีบตรวจสอบ หาไม่ถ้าหากตายโดยโรคติดต่อ (เช่น ไข้หวัดนก) และเช้าขึ้นมาอีกาตายเกลี้ยงละก้อ เชื่อกันว่าทั้งพระราชวงศ์ก็จะอันตรธานไปเช่นกัน
จากต่วยตูน + +
http://www.youtube.com/watch?v=0a0mT1udjZU
http://writer.dek-d.com/