เชื่อหรือไม่หลาย สิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลจากความผิดพลาดโดยแท้ โดยความผิดพลาดที่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ การค้นพบทวีปอเมริกาของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
บาง ครั้งความบังเอิญอาจเป็นสิ่งที่โชคดีมากกว่าโชคร้ายก็ได้ เมื่อความบังเอิญแต่ละเรื่องเกิดเปลี่ยนโลก จากความผิดพลาดเล็กๆ กลับกลายเป็นว่าเป็นต้นกำเนิดสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย ที่แต่ละอย่างจำเป็นในชีวิตประจำวันแทบทั้งสิ้น
และนี้คือตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญและเปลี่ยน โลกอย่างไม่น่าเชื่อ
เริ่มต้นจากปี 1886 เมื่อ แพทย์และเภสัชกรนาม จอห์น เพมเบอร์ตัน เอาใบต้นโกโก้อเมริกาใต้มาผสมกับผลของต้นโคลา ที่รู้กันดีว่ามีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง และชิมดูแล้วเกิดติดใจ เขาเชื่อว่า หัวเชื้อน้ำเชื่อมหรือไซรัปที่คิดค้นขึ้นมาได้โดยบังเอิญนี้จะช่วยบรรเทา ความเครียด ความเหนื่อยล้า และอาการปวดฟันได้ เพมเบอร์ตันนำส่วนผสมนี้ไปยังร้านขายยาใหญ่ที่สุดในแอตแลนตา และจำหน่ายไซรัปครั้งแรกในราคาแก้วละ 5 เซ็นต์แต่ แล้วเหตุการณ์กลับพลิกผันเมื่อพนักงานขายคนหนึ่งกดหัวฉีดผิด ดันไปผสมไซรัปกับโซดาแทนที่จะเป็นน้ำเปล่า และนี่เองคือต้นกำเนิดของโคคา-โคล่า
คุกกี้ช็อกโกแลตชิปเป็นที่โปรดปรานของอเมริกันชนมา เนิ่นนาน ขนมนี้ปรากฏตัวครั้งแรกในทศวรรษ 1930 เมื่อ รูท เวกฟิลด์ เจ้าของโรมแรมเล็กๆ แห่งหนึ่งในแมสซาชูเซตส์ ตัดสินใจสับช็อกโกแลตแท่งเป็นชิ้นเล็กๆ และผสมลงในแป้งดิบที่เตรียมไว้ทำคุกกี้เนย เวกฟิลด์คิดว่า ช็อกโกแลตจะละลายและทำให้คุกกี้มีสีน้ำตาลและมีรสชาติของช็อกโกแลต แต่กลับกลายเป็นว่า เธอประดิษฐ์คุกกี้ชนิดใหม่ที่มีเกล็ดช็อกโกแลตอยู่ข้างในซึ่งได้รับความนิยม อย่างเหลือเชื่อ
กระดาษโน้ตโพสต์-อิตก็เช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลจากการทดลองที่โชคร้ายของสเปนเซอร์ ซิลเวอร์จากบริษัท 3M ในปี 1968 ตอนนั้น สเปนเซอร์พยายามทำให้เทปที่มีใช้กันอยู่เหนียวติดทนนานยิ่งขึ้น โดยใช้วัสดุที่หนาจนไม่ยอมจมลงในพื้นผิว ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตเทปได้ การค้นพบนี้ถูกลืมไปจนกระทั่งวันหนึ่งเพื่อนร่วมงานของสเปนเซอร์นึกถึงวัสดุ ดังกล่าวขึ้นมา เพราะเกิดความรำคาญที่ที่คั่นหนังสือชอบเลื่อนหล่นไปจากหน้าเพลงสรรเสริญพระ เจ้าที่เขาไปร้องในโบสถ์ แต่เมื่อนำวัสดุของสเปนเซอร์มาใช้ ที่คั่นหนังสือก็ไม่เลื่อนหล่นหายอีก ปี 1980 โพสต์ อิตเปิดตัวในตลาดครั้งแรก
ปี 1884 นักประดิษฐ์ นาม ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ค้นพบวิธีนำกำมะถันไปผสมกับยางโดยบังเอิญ ทำให้ยางไม่อ่อนตัวเมื่อเจออากาศร้อน และไม่เปราะในสภาพอากาศหนาวเย็น นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อวงการยานยนต์แล้ว การค้นพบของกู๊ดเยียร์ยังมีคุณูปการอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่นำยางไปใช้เป็นฉนวน
อีกหนึ่งการประดิษฐ์คิดค้นที่ดูเหมือนมาจากความผิดพลาดก็คือ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ปี 1941 วิศวกรไฟฟ้านาม จอห์น ฮอปส์ ได้รับมอบหมายจากกองทัพเรือให้วิจัยปัญหาอุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ เขาพยายามค้นคว้าหาวิธีที่ดียิ่งขึ้นในการปรับอุณหภูมิในร่างกายของคนที่ อยู่ในน้ำหรือในอากาศหนาวเย็นนานๆ ให้อบอุ่นอย่างรวดเร็ว ฮอปส์เลือกใช้การกระจายคลื่นวิทยุความถี่สูง และทันใดนั้นเขาสังเกตว่า การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าทำให้หัวใจเต้นอีกครั้งหลังจากหยุดไปเพราะอากาศหนาวเย็น จัด ในปี 1950 เครื่องกระตุ้นหัวใจเครื่องแรกถูก สร้างขึ้นโดยอิงกับการค้นพบของฮอปส์ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวเทอะทะเกินไป ซ้ำบางครั้งยังทำให้ผิวหนังคนไข้ไหม้
ดร.วิลสัน เกรตแบตช์ เป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญอีกเช่นกันในการพัฒนาอุปกรณ์บันทึกอัตราการเต้นของ หัวใจ จากการสอดตัวต้านทานกระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ผิดตัว ทำให้สามารถจับจังหวะการสั่นของเครื่องวัดกำลังไฟฟ้าที่คล้ายกับการเต้นของ หัวใจ สองปีหลังจากนั้น เกรตแบตช์สร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบปลูกถ่ายในร่างกายสำเร็จโดยนำความผิด พลาดนี้มาประยุกต์
ซิลแวน โกลด์แมน เจ้าของสแตนดาร์ด ฟูด มาร์เก็ตส์ในโอกลาโฮมา ซิตี้ สหรัฐฯ ประดิษฐ์รถเข็นซื้อสินค้าเป็นรายแรกในปี 1936 จากการเห็นลูกค้ารายหนึ่งวางถุงของชำหนักอึ้งบนของเล่นที่ใช้ เชือกลากของลูก โกลด์แมนได้ไอเดียทันที เขานำล้อเล็กๆ มาติดกับตะกร้าจ่ายตลาดธรรมดา ก่อนจะคิดค้นต้นแบบรถเข็นทันสมัยโดยอาศัยความช่วยเหลือจากวิศวกรเครื่องจักร กล กระทั่งมีการผลิตรถเข็นสินค้ากันเป็นล่ำเป็นสันในปี 1947
แฮร์รี่ วาสิลิกประดิษฐ์ถุงขยะขึ้นมาครั้งแรกในปี 1950 เมื่อเทศบาลเมืองวินนิเพ็ก แคนาดา ขอให้วิศวกรรายนี้ผลิตอะไรสักอย่างมาช่วยป้องกันไม่ให้ขยะหล่นร่วงเมื่อใช้ เครื่องเก็บขยะ แรกทีเดียว วาสิลิกต้องการออกแบบเครื่องทำความสะอาดระบบสุญญากาศเพื่อเก็บขยะที่ยังร่วง จากเครื่องเก็บขยะ แต่ทันใดนั้นเขาได้ยินคนรู้จักร้องว่าอยากได้ถุงขยะ เขาจึงตระหนักทันทีว่า ก่อนอื่นต้องเก็บขยะใส่ถุงโพลีเอทิลีน เพื่อให้เครื่องเก็บขยะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อันดับ 5 เตาไมโครเวฟ(The Microwave Oven)
เตาไมโครเวฟ คลื่นไมโครเวฟ ที่ใช้ในการอบข้าวโพดคั่วร้อนๆ นี้ ครั้งหนึ่งเคย เป็นอาวุธสงครามมาก่อน
เพอร์ซี สเปนเซอร์ (Percy LeBaron Spencer) เป็นวิศวกรทำงานด้านเทคโนโลยีเรดาร์ในบริษัทเรธีออน (Raytheon) ตอนนั้นเขากำลังประดิษฐ์แมกนีตรอนสำหรับระบบเรดาห์เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้ง ที่ 2 จนกระทั้งวันหนึ่งในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่ กับเรดาร์อยู่นั้น เขาเกิดสังเกตซ็อกโกแลตในกระเป๋าเสื้อของเขาเกิดละลาย ซึ่งแทนทีเขาจะคิดว่าเพื่ออากาศร้อนมั้งที่ทำให้ละลาย เขากลับคิดว่าต้องมีรังสีที่ล่อนหนแน่ๆ เลยที่ทำให้ “มันสุก” ทันใด
และแล้วเขาก็เริ่มทดลอง โดยอาหารชนิดแรกที่อบโดยตู้อบไมโครเวฟ คือ ข้าวโพดคั่ว และ ชนิดที่สองคือ ไข่ ผลทดลองปรากฏว่าได้ข้าวโพดคั่วอร่อยหอมกรุ่น ส่วนไข่นั้นเกิดระเบิดตูม!!!
ในปี ค.ศ. 1946 เรธีออน ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการใช้คลื่นไมโครเวฟในการอบอาหาร ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 เรธีออกก็ได้ผลิตเตาอบไมโครเวฟเครื่องแรก เพื่อการพาณิชย์ ชื่อ Radarange ซึ่งมีขนาดใหญ่ สูงถึง 6 ฟุต (1.8 เมตร) และ หนัก 750 ปอนด์ (340 กิโลกรัม) ซึ่งสูงกว่าเตาอบไมโครเวฟที่เราใช้กันทุกวันนี้ ถึง 3 เท่า การประดิษฐ์นี้ประสบความสำเร็จทางการตลาดมาก และพัฒนาจนเป็นเตาไมโครเวฟที่ใช้ในครัวเรือนจนถึงทุกวันนี้
อันดับ 4 กาวตราช้าง (Krazy Glue and/or Super Glue)
เรื่องราวของกาวตราช้างหรือไซยาโนอะคริเลต (cyanoacrylate) ไซยาโนอะคริเลตเป็นหนึ่งในสารยึดติด เริ่มขึ้นในปี 1942 แฮร์รี คูเวอร์ (Harry Coover) และอีสต์แมน โคแด็ก (Eastman Kodak) กำลังทำงานในโกดังของบริษัทอาวุธแห่งหนึ่ง(น่าจะ ใช่) งานของพวกเขาคือวิจัยค้นคว้าการผลิตเลนส์พลาสติกสำหรับลำกล้องของอาวุธปืน เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำงานดันผิดพลาดเล็กน้อยเมื่อวัสดุที่พวกเขาสร้าง ขึ้นกลายเป็นว่าทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เคยบรรจุหรือจับวัสดุนั้นยึด ติดกันหมด และไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องเลนส์เลย
ไซยาโนอะคริเลตออกขายสู่ตลาดอุตสาหกรรม เป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า แฟลชกลู (Flash Glue) ซึ่งยังคงมีการขายอยู่กระทั่งปัจจุบัน
ไซยาโนอะคริเลตในฐานะกาวแบบแห้งเร็วได้ รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1956 และออกขายสู่ตลาดผู้อุปโภคบริโภคในชื่อ อีสต์แมน 910 ใน ค.ศ. 1958 กาวชนิดใหม่นี้ได้แสดงประสิทธิภาพสู่สายตาสาธารณชนในรายการโทรทัศน์ I've Got a Secret โดยมีแกร์รี มัวร์ (Garry Moore) เป็น ดารารับเชิญ ซึ่งมัวร์นั้นถูกดึงขึ้นกลางอากาศด้วยแผ่นเหล็กกล้าสองแผ่นโดยใช้ อีสต์แมน 910 เพียงหนึ่งหยดเท่านั้น
อันดับ 3 กระจก นิรภัย(Safety Glass)
กระจก นิรภัยคือแก้วที่ใช้เป็นส่วนประกอบของรถยนต์และอาคารบ้านเรือน แนวคิดของกระจกที่แม้แต่กระสุนเจาะไม่เข้านี้ มาจากอุบัติเหตุแท้ๆ เมื่อค.ศ.1903 นักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า นายเฮ็ดวาร์ด เบเน ดิกตัส (Edouard Benedictus) ชายคนหนึ่งที่ทำงานคล่องแคล่ว ก่อนที่จะมาสะดุดเมื่อเขาเกิดไปชนแก้วทดลองตกลงพื้น ขวดแก้วแตก แต่เหลือเชื่อเมื่อเขาสังเกตว่าชินส่วนของขวดแก้วกลับไม่แตกกระจายจากกันเลย
เบเนดิกตัสแปลกใจในสิ่งที่เห็นตรง หน้า เขาจึงวิเคราะห์ทันที จึงรู้ว่าขวดแก้วนี้ก่อนตกแตกนั้น ได้บรรจุสารละลายของพลาสติกเหลว ซึ่งสารนี้ได้ระเหยไปในอากาศช้าๆ คงทิ้งพลาสติกเคลือบแก้วเอาไว้
เบเนดิกตัสนำผลการค้นคว้านี้ไปเสนอให้บริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง ให้สร้างกระจกหน้าของรถเป็นกระจกเคลือบพลาสติก เพื่อช่วยลดอันตรายจากการอุบัติเหตุ แต่บริษัทรถยนต์แห่งนั้นไม่สนใจ เพราะคิดว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องของคนขับรถไม่ใช่เรื่องของบริษัท อีกอย่างทางบริษัทก็ไม่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ผลการค้นคว้าของเบเนดิกตัสเกือบลงหลุมแล้วแท้ๆ ถ้าไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เมื่อ กองทัพสหรัฐอเมริกาได้นำสารเคลือบพลาสติกมาเคลือบหน้ากากทหารเพื่อป้องกัน หน้ากากแตก นั่นแหละบริษัทรถยนต์แห่งนั้นจึงได้ ตระหนักถึงความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ และสนใจเร่องกระจกนิรภัยอีกครั้ง จนพวกมันถูกนำมาติดกับรถใน ค.ศ.1918 และช่วยผู้คน นับหมื่นๆ ล้านรอดพ้นจากอุบัติเหตุจนถึงถึงปัจจุบัน
อันดับ 2 เพนนิซิลิน(Penicillin)
อเล็ก ซานเดอร์ เฟลนมิง(Alexander Fleming )นักวิจัยชุลชีววิทยาชาวสก็อต เขาอาจเป็นคนขี้หลงขี้ลืมนิดหน่อย แต่กระนั้นเขาก็เป็นคนแรกที่ค้นพบสิ่งสุดยอดที่รู้จักกันมากที่สุดในศตวรรต ที่ 20 นามเพเนซีลีนหรือยาปฏิชีวนะ
ในวันนั้นเป็นปี ค.ศ.1928 ที่ประเทศอังกฤษ ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ เฟลนมิงกำลังเพาะเชื้อแบคทีเรียสแตฟไฟไลคอกโคบนจานแก้วในห้องแล็บนั้น จู่ๆ เขาเกิดคิดได้ว่าเขาติดทำธุระบนชั้นสองเขาออกไปข้างนอกโดยลืมที่จะทำความ สะอาดโต๊ะทำงานของเขาและลืมปิดฝาจานแก้วไว้ ทำให้เชื้อราชนิดหนึ่งที่เฟลนมิ่งเก็บไว้ บังเอิญปลิวลอยตามลมและตกลงบนจานเพาะนั้น
วัน รุ่งขึ้น เฟรนมิงพบว่าพื้นที่จุดหนึ่งบนจานว่างเปล่าไร้แบคทีเรียเมื่อวิเคราะห์ดู แล้วจึงรู้ว่าเพนนิซิลินในเชื้อราได้สังหารแบคทีเรียดังกล่าว
และนี้คือ การค้นพบยาปฏิชีวนะขนานแรกของโลกซะงั้น
อันดับ 1 ไวอากร้า (Viagra)
แรกเดิมทีเดียว ยาไวอากร้ามีชื่อสามัญว่า Sildenafil ทาง แผนกวิจัยของบริษัทไฟเซอร์ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ในการรักษาโรค Angina (เจ็บหน้าอก เนื่องจากเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจตีบตัน) เพราะยาตัวนี้ช่วยขยายเส้นเลือดทำให้เลือดไหลผ่านไปได้ แต่ผลการทดลองปรากฏว่า ตัวยาไม่ขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจให้ผลดังเป้าหมาย แต่กลับไปขยายเส้นเลือดที่บริเวณองคชาตของผู้ชายทำให้เลือดไปคั่งบริเวณนั้น ยังผลให้เกิดการแข็งตัวอยู่นาน.............
และนื้คือจุดเริ่มต้นของไวอากร้า
นับจากนั้นเป็นต้นมาไวอากร้า กลายเป็นตัวยายอดนิยมที่มีสถิติการจำหน่ายสูงสุดนำหน้ายาขนานอื่นในสหรัฐ อเมริกาเองนับตั้งแต่การวางตลาดเมื่อวันที่ 10 เมษายน จนถึงสิ้นปี ค.ศ.1998 ประชาชนชาวอเมริกันซื้อยานี้หมดเงิน มากกว่า 441 ล้านเหรียญดอลลาร์ บริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) คาดว่ายอดจำหน่ายแต่ละปีในสหรัฐอเมริกาจะตกประมาณ 600 ล้านเหรียญดอลลาร์ และในทวีปยุโรปรวมทั้งแถบเอเชียคงมียอดขายใกล้เคียงกับจำนวนนี้เช่นกัน
ดัดแปลงจาก+ BODY{ background:url(http://image.dek-d.com/15/604393/14413924); background-attachment:fixed; }+
http://www.baanmaha.com/community/16715-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.html
http://writer.dek-d.com/