สัตว์ทดลอง (Laboratory Animal)
องค์ประกอบหลักประการหนึ่งที่ช่วยให้ "เทคโนโลยีการ แพทย์" ของโลกเจริญรุดหน้าดังเช่นปัจจุบัน ต้องยกความดีความชอบให้กับ "สัตว์ทดลอง" หลายล้านตัวที่ต้องจบชีวิตเพื่อแลกกับการพัฒนาวัคซีนและเทคนิคการแพทย์ใหม่ๆ เพื่อรักษาชีวิตมนุษย์
สัตว์ทดลอง หมายถึง สัตว์ที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในที่กักขัง สามารถสืบสายพันธุ์ได้ ซึ่งมนุษย์นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา
ตามหลักฐานที่มีปรากฏพบว่าได้มีการนำหนูมาใช้ในการทดลองตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2164 โดย 2 นัก วิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนคือ Theophilus Muller และ Johannes Faber ได้ทดลองโดยผ่าตัดหนูเพื่อทำการศึกษาถึงอวัยวะ ภายใน
หลัง จากนั้นได้มีการนำหนูมาใช้ในการทดลองบ่อยขึ้น เช่นการนำหนูมาเลี้ยงในห้องทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของการขาดอาหารและออกซิเจนต่อคุณภาพชีวิตของหนู หรือการนำไข่ของพยาธิตัวตืดมาให้หนูกิน หลังจากนั้นพบว่าหนูเป็นมะเร็งตับภายในเวลา 6 เดือน คุณประโยชน์ที่ได้จากการทดลองจากหนูเกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศึกษาสาเหตุ และการรักษาโรคความดัน,การ ปลูกถ่ายอวัยวะ โรคเยื่อสมองอักเสบ โรคผิวหนัง โรคกระเพาะ โรคตับ และโรคไขกระดูก
ทำไมต้องหนูตะเภา
เหตุผล สำคัญที่หนูกลายเป็นสัตว์ทดลองอันดับต้นๆ เพราะหนูเป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสไว ในสมัยก่อน ชาวเรือมักจะใช้หนูเป็นสัญญาณเตือนภัย เพราะหนูจะสละเรือก่อนเรือล่มเสมอ นอกจากนี้แล้วประสาทสัมผัสของหนูถือว่าไวกว่ามนุษย์หลายเท่านักก่อนจะเกิด แผ่นดินไหวหนูจะวิ่งกันพล่าน ความเหมือนของหนูกับมนุษย์อีกอย่างคือหนูมีจำนวนยีนส์พอๆ กับมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวิวัฒนาการของมนุษย์กับหนูแยกกันเมื่อประมาณ 80 ล้านปี ก่อนหน้านี้ นักวิทยา ศาสตร์รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาถือกันว่าสัตว์ทดลองเป็นอาจารย์ใหญ่หากไม่มี พวกเขาเหล่านั้นวิทยาการของมนุษย์อาจจะล้าหลังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรก็เป็น ได้ เพราะการนำยา หรือนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้กับมนุษย์โดยตรงออกจะดูเป็นการสุ่มเสี่ยงถึงผล กระทบที่อาจจะตามมา
จริงๆ แล้วนิยามของสัตว์ทดลองไม่ได้จำกัดอยู่แค่กระต่ายหรือหนูตะเภาเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการทดลอง ไม่ว่าจะเป็น ช้างม้า วัว ควาย หรือลิงซิมเปียนซี
ยาปฏิชีวนะ "เพนนิซิลิน" ปี 2471 อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ค้นพบว่า เชื้อรา "เพนนิซิเลียม" มีความสามารถในการกินเชื้อแบคทีเรีย "สเตปฟิโลคอกคัส" ซึ่งถ้ามนุษย์ติดเชื้อตัวนี้เข้าไปแล้วจะทำให้เลือดเป็นพิษถึงตาย ในขณะนั้นเฟลมมิ่งสกัดเชื้อราออกมาเป็นยาชื่อเพนนิซิลิน แต่การทดลองยังไม่สัมฤทธิผล
กระทั่งปี 2483 นักวิทยา ศาสตร์รุ่นหลังสังกัดมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดจึงทดลองฉีดเชื้อแบคทีเรียสเตปฟิ โลคอกคัสหลายร้อยล้านโดสเข้าไปใน "หนูทดลอง" เพื่อศึกษาการใช้เพนนิซิลิน จนประสบความสำเร็จกลายเป็นยาเพนนิซิลินเช่นทุกวันนี้
การถ่ายเลือด วิธีการถ่ายเลือดของสิ่งมีชีวิตประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 2457 ภายหลังจากนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีถ่ายเลือดออกจาก ตัว "สุนัข" ก่อนจะนำเลือดกลับเข้าไปในตัวมันใหม่ โดยเทคนิคอยู่ที่การผสม "ซิเตรท" เข้าไปในเลือด
ถัดมาอีก 1 ปี แพทย์จากสถาบันร็อกกี้เฟลเลอร์ สหรัฐ ทดลองดูดเลือดสุนัขและกระต่ายมาเก็บไว้นอกร่างกายของมันถึง 3 อาทิตย์ โดยผสมซิเตรทกับน้ำตาลเอาไว้ในเลือดเพื่อรักษาเม็ดเลือดแดงและถ่ายกลับเข้า ไปในตัวมันใหม่ ปรากฏว่าสัตว์รอดชีวิต และเทคนิคนี้ก็พัฒนานำมาใช้กับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยมะเร็ง และอีกหลายโรค
วัณโรค ย้อน กลับไป 100 ปีก่อน ใครเป็นวัณโรคนั้นต้องเตรียมขุดหลุมศพรอสถานเดียว ต่อมาในปี 2486 นักจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ สหรัฐ ทดลองฉีดยาปฏิชีวนะ "สเตร็ปโตมัยซิน" ที่สกัดจากไก่ที่ป่วยด้วยเชื้อวัณโรคเข้าไปในตัวหนูทดลอง ซึ่งมีเชื้อวัณโรคอยู่แล้ว ผลลัพธ์พบว่ายาสามารถยับยั้งเชื้อวัณโรคได้โดยไม่ทำอันตรายต่อหนูทดลอง
การทดลองยาปฏิชีวนะต้องทำในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะไม่มีทางรู้ว่าตัวยาจะทะลุทะลวงเข้าไปถึงชั้นเนื้อเยื่อที่ถูก เชื้อโรคเล่นงานหรือไม่
โรคจุดรับภาพดวงตาเสื่อม "โรคจุดรับภาพในดวงตาเสื่อม" เป็นโรคที่พบบ่อยในหมู่ประชากรวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาศัยอยู่ในชาติกำลังพัฒนา มีสาเหตุจากการที่เส้นเลือดหลังจอรับภาพของดวงตาเติบโตผิดปกติ
ปี 2541 คณะนักวิทยาศาสตร์ จากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ นำลิง แมว และกระต่าย มาใช้ในการทดลองผ่าตัดดวงตาเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าว โดยวิธีผ่าตัดทำโดยการเลาะ "เรตินา" ออกเพื่อเย็บกลับเข้าไปใหม่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เทคนิคการผ่าตัดแบบนี้จะไม่มีวันสมบูรณ์ถ้าไม่มีการฝึกฝนกับสัตว์ทดลองมา ก่อน
โรคหืด ช่วงทศวรรษที่ 1960 นักวิทยาศาสตร์ทดลองใช้สารเคมีหลายชนิดเพื่อผลิต "ยาขยายหลอดลม" ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและปอดของมนุษย์ นอกจากนั้นตัวยายังต้องออกฤทธิ์นานพอสมควรอีกด้วย ดังนั้นการทดลองจึงต้องทำกับสิ่งมีชีวิต เช่น กบและหนูตะเภา
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จัดเป็นโรคอีกประเภทที่อันตรายอย่างยิ่งต่อคนเรา โดยเฉพาะเด็กๆ โรคนี้เกิดจากการที่ร่างกายถูกไวรัสและแบคทีเรียโจมตี
แบคทีเรีย "Haemophilus Influenza" หรือ "Hib" นับเป็นต้นตอโรคเยื้อหุ้มสมอง ที่พบบ่อย แต่ก็สามารถคิดค้นวัคซีนขึ้นมากำราบได้สำเร็จ โดยการทดลองวัคซีนนั้นทำในหนูและกระต่าย เหตุที่ต้องใช้สัตว์ทั้งตัวมาทดลองแทนที่จะทดสอบวัคซีนกับเนื้อเยื่อเฉพาะ ส่วน เพราะต้องดูพัฒนาการของโรคที่สามารถแพร่กระจายไปได้ทั้งร่างกาย
ผ่าตัดเปลี่ยนไต แพทย์ลงมือทดลองผ่าตัดเปลี่ยนไตในสุนัขและหมูได้สำเร็จเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน จึงเริ่มการผ่าตัดกับมนุษย์ แต่ก็ยังเผชิญกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเราต่อต้านไตที่ผ่าตัดเปลี่ยนเข้าไป ทำให้ในปี 2515 ต้องมีการทดลองสกัดสาร "Cyclosporine" จากเชื้อรา ซึ่งมีคุณสมบัติ "กด" ภูมิต้านทานของหนู
เมื่อนำเทคนิคผ่าตัดเปลี่ยนไตที่ทำกับสุนัขมาผสาน กับการจ่ายสารดังกล่าวให้คนไข้ พบว่าโอกาสมีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้น 3 เท่า
โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดกับระบบประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวเชื่องช้าและมีอาการสั่นของอวัยวะ ดร.ทิปู อาซิส แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด คิดค้นวิธีรักษาอาการสั่นด้วยการนำ "ลิง" มาช็อกด้วยขั้วไฟฟ้า ก่อนลงมือทดลองกับผู้ป่วยจริงๆ
สาเหตุที่จำเป็นต้องใช้ลิงในการทดลองเพราะมีอาการ ของโรคพาร์กินสันใกล้เคียงกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการสั่น
นับ แต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน สัตว์หลากชนิดจำนวนหลายสิบล้านตัวได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัย งานทดสอบ และงานสอนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ความจำเป็นที่จะต้องใช้สัตว์เพื่อการนี้ยังมีอยู่ต่อไป เนื่องจากในหลายๆ กรณียังไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะนำมาใช้ทดแทนได้ดีกว่าหรือดีเท่า
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาผ่านมา สัตว์ทดลองจำนวนมากต่างตายลงด้วยวิธีที่โหดร้าย และหลายฝ่ายละเลยคุณธรรมที่พึงมีต่อสัตว์ ไม่คำนึงถึงชีวิตสัตว์ที่จะต้องสูญเสียไปในการทดลองแต่ละครั้งไม่คำนึงถึง ความกดดันที่สัตว์ได้รับเนื่องจากถูกกักขังสูญเสียอิสรภาพ และไม่ถึงถึงการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าที่ถูกนำออกจากป่ามาใช้โดยไม่มีการเพาะ ขยายพันธุ์เพิ่ม ด้วยเหตุนี้กลุ่มพิทักษ์สิทธิของสัตว์ กลุ่มต่อต้านการทรมานสัตว์ และกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า จึงต่อต้านในรูปแบบต่างๆ บางครั้งมีการทำลายทรัพย์สิน บางครั้งรุนแรงถึงกับเสียเลือดเนื้อและชีวิต กลุ่มผู้ใช้สัตว์และผู้รักษากฎหมายจึงกำหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งออกฎหมายบังคับใช้ เช่น ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2419 และปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2529 จนเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่มีการควบคุมการ ใช้สัตว์ในงานวิจัยที่เข้มงวดที่สุด
http://www.yenta4.com/webboard/viewtopic.php?cate_id=64&post_id=1242004&order_reply=0+ +
http://writer.dek-d.com/