ผ่าตัด มะเร็งเต้านม แบบใหม่

ลดอาการแขนบวมหลังผ่าได้ดีขึ้น

     ปัจจุบัน นี้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอยู่ที่ 7 คนต่อวัน และจะมีผู้ป่วยหน้าใหม่เพิ่มขึ้นปีละ 10,000 คน มะเร็งเต้านมจึงถือว่าใกล้ตัวผู้หญิงมาก และการจะตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งที่เต้านมหรือไม่ จะต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองออกมา ซึ่ง การ เลาะต่อมน้ำเหลืองนี่เองที่จำให้เกิดผลข้างเคียงคือ อาการแขนบวม รู้สึกชาใต้ท้องแขน การต้องค้างสายระบายน้ำเหลืองนานๆ และภาวะหัวไหล่ติด และที่แย่คือเราจะพบคนที่เป็นมะเร็ง 20-30% เท่านั้น นั่นเท่ากับว่าอีก 70-80% ที่ไม่ได้เป็นมะเร็งจึงเจ็บตัวฟรีกับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองแบบเดิม

     ดังนั้นทางการแพทย์จึงพยายามหาวิธีการแบบใหม่ นั่นก็คือการเลาะต่อมน้ำเหลืองแบบเซนตินอล ซึ่งเพียงมี 2 ขั้นตอน

+ ขั้นตอนที่ 1 ศัลยแพทย์ จะฉีดสีพิเศษหรือสารกัมมันตรังสีเข้าไปที่บริเวณเต้านม เพื่อศึกษาทางเดินน้ำเหลืองว่ามะเร็งจะเคลื่อนที่ไปตามทางเดินน้ำเหลืองทาง ไหน ทิ้งไว้แค่ประมาณ 5-10 นาที
+ ขั้นตอนที่ 2 แพทย์ จะผ่าตัดด้วยแผลขนาดเล็กที่รักแร้ เพื่อตัดต่อมน้ำเหลืองที่ติดสีหรือตรวจพบกัมมันตภาพรังสี หรือที่เรียกว่าต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลนี่แหละแค่ 1-2 เม็ด แล้วก็ส่งให้พยาธิแพทย์ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ว่ามีการกระจายของเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่ตัดออกมาหรือไม่ ซึ่งจะทราบผลภายในเวลา 30-40 นาที

     ถ้า พยาธิแพทย์ตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปเลาะต่อมน้ำเหลืองที่เหลืออยู่ ในระดับลึกลงไปออก ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดลักษณะนี้ จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แบบเดิม เช่น อาการแขนบวม รู้สึกชาใต้ท้องแขน การต้องค้างสายระบายน้ำเหลืองนานๆ และภาวะหัวไหล่ติดได้ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและพักฟื้นของผู้ป่วยด้วย

     ปัจจุบัน นี้ทางสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบใหม่นี้ กับแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศทั้ง 8 จังหวัด คือเชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม สามารถได้รับการรักษาอย่างมีมาตรฐานที่ดีขึ้น

25 ส.ค. 52 เวลา 18:16 7,794 4 124
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...