เป็นเวลากว่า 40 ปีที่เรา เชื่อกันว่าไลกา ตายในหน้าที่อย่างสงบขณะโคจรรอบโลกหลังปฏิบัติการเริ่มไปได้ราวหนึ่งสัปดาห์ แต่ข้อมูลใหม่ที่ออกมาอาจทำให้คนรักหมาหัวใจสลาย เพราะเป็นไปได้ว่าไลก้าสิ้นลมเพราะอากาศร้อนเกินไปและมีอาการตื่นตระหนกตกใจ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่จรวดถูกปล่อย
ไลก้า (Laika)
หลังจากที่รัสเซียส่งดาวเทียมสปุ ตนิก 1 ขึ้นโคจรในอวกาศเป็นครั้ง แรกของโลก เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 โลกต่างแซ่ซ้อง นายนิกิต้า ครุชชอฟ ประธานาธิบดีโซเวียต ในขณะนั้น จนทำให้ผู้นำโซเวียต มีโครงการที่จะนำดาวเทียมขึ้นไป โคจรบนอวกาศอีกครั้ง เขาจึงสั่งได้สั่งให้นายเซอร์เก โครอลยอฟ บิดาโครงการอวกาศโซเวียต ให้ส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลกอีกครั้งในวันครบรอบการปฏิวัติของบอลเชวิควันที่ 7 พฤศจิกายน เพื่อเฉลิมฉลองวันสำคัญของรัสเซีย
และคำสั่ง นี้จึงเป็นที่มาของ "การเดินทาง อวกาศของไลก้า
โครอลยอฟ มีเวลาไม่ถึง 1 เดือน(หลังการปล่อยสปุตนิก 1) ในการตรียมงานปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 2 ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งปัญหาสำคัญหนึ่งอย่างคือ การส่งดาวเทียมขึ้นไปอีกครั้ง อาจเกิดอุบัติเหตุจนเป็นทำให้ชัยชนะการเดินทางไปอวกาศครั้งแรกของรัสเซีย เกิดความสูญเปล่าได้ แต่กระนั้นเขาก็ไม่อาจโต้แย้งครุชชอฟซึ่งมีอำนาจในขณะนั้นได้
ต่อมามีผู้เสนอแนวคิดแก้หลีก เลี้ยงไม่ให้มีคนตายคือ การนำสุนัขขึ้นไปอวกาศแทนมนุษย์ ซึ่งโครอลยอฟก็ปิ๊งกับ ความคิดนี้ทันที แม้จะไม่ทราบถึงผลกระทบของอวกาศต่อสิ่งมีชีวิต ก็ตาม
ความจริงโซเวียตเคยทำการทดลองนำสุนัขขึ้นไปกับ ขีปนาวุธมาแล้ว สุนัขบางตัวรอดชีวิต โดยสุนัขที่นำมาทดลองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ทาง เพราะเชื่อว่ามีความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมสูง
เพียง 9 วันก่อน "สปุตนิก 2" ออกเดินทาง ดร.วลาดิเมียร์ ยาซดอฟสกี้ เลือก "ไลก้า" สุนัขอายุ 2 ขวบไปกับสปุตนิก ไม่มีใครทราบเหตุผลในการตัดสินใจ บางทีอาจเป็น เพราะว่า "ไลก้า" เป็นสุนัขที่รูปร่างลักษณะดี
ไลก้า เป็นสุนัขเพศเมีย อายุประมาณ 3 ปี หนักประมาณ 6 กิโลกรัม เดิมชื่อว่า Kudryavka (รัส เป็นหมาข้างถนนที่ถูกพบในกรุงมอสโก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นไลก้า ตามชื่อพันธุ์สุนัขที่ใช้ล่าสัตว์ในรัสเซีย ไซบีเรีย และสแกนดิเนเวีย ซึ่งไลก้าเป็นหมาหนึ่งในสามตัวที่ได้รับการฝึกสำหรับปฏิบัติภารกิจนี้ อีกสองตัว มีชื่อว่า เบลก้า(Albina) และ สเตรลก้า(Mushka)(ทั้งสองตัวขึ้นไปอวกาศหลังไลก้า)
ใน บันทึกของยาซดอฟสกี้ระบุว่า รู้สึกสงสาร "ไลก้า" เพราะรู้ว่ามันต้องเสียชีวิตแน่นอน เวลาของมันที่จะอยู่ในโลกเหลืออยู่น้อยเต็มที ในวันก่อนที่จะพามันไปขึ้นอวกาศ เขาพามันกลับบ้านไปเล่นกับลูกๆ ของเขาเป็นครั้งสุดท้าย และวันต่อมา เขาพา "ไลก้า" ไปส่งที่ฐานทดลอง มันเดินเข้าไปประจำในแคปซูลอย่างเงียบๆ และสง่าผ่าเผย
ก่อนเดินทางเกิดอุปสรรคทางเทคนิค เล็กน้อย ทำให้ไลก้าต้องนั่งอยู่ในแคปซูลนานถึง 3 วัน ในขณะนั้นอากาศหนาวมาก จนต้องติดตั้งสายยางจากภายนอกให้เข้าไปในแคปซูลเพื่อให้อากาศอบอุ่น
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 วันที่ 3 พฤศจิกายน มีการส่งสปุตนิก 2 และไรก้าขึ้นสู่อวกาศ ท่ามกลางผู้สนใจ ทั่วโลกต่างร่วมเป็นสักขีพยานและแล้วไลก้า ก็กลายเป็นสุนัขตัวแรกของโลกที่เดินทางไปกับยานอวกาศสปุตนิก 2 ของโซเวียต
เมื่อไลก้าไปถึงอวกาศและสปุตนิก 2 เข้าสู่วงโคจรแล้ว แพทย์ต่างเบาใจเมื่อพบว่า หัวใจของ "ไลก้า" ยังเต้นอยู่ ความดันปกติ มันกินอาหารที่เตรียมไว้ให้ในแคปซูล ในรูปของเยลลี่ นอกจากนั้นก็ยังมีการ ล่ามไลก้าไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มันหมุนตัว นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สร้างออกซิเจนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อป้องกันการ สะสมของสารพิษ รวมทั้งมีพัดลมที่จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิในแคปซูลสูงเกิน 15 องศา เซลเซียส
แต่แล้วประมาณ 1 อาทิตย์ผ่านไป "ไลก้า" ก็เสียชีวิตลง....
ตอนแรกทางการโซเวียตแถลงว่าภารกิจ นี้จะไม่มีการนำไลก้ากลับมายังพื้นโลก มันจะต้องตายในอวกาศ ต่อมาโซเวียตก็แถลงว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ในอวกาศนานถึงสี่วัน ก่อนมันจะตายอย่างสงบ
นั้นเองที่ทำให้องค์กรพิทักษ์ สัตว์ของตะวันตกออกมาประณามโซเวียตอย่างรุนแรง
วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1957 ยานอวกาศ สปุตนิก 2 ซึ่งโคจรรอบโลกเป็นจำนวน 2,570 รอบ ก็ตกลงสู่บรรยากาศโลก
หลังจากนั้น สาเหตุการตายของไลก้าถูกปกปิดเป็นความลับเป็นเวลาหลายปี เมื่อโซเวียตล่มสลายแล้ว ก็มีการเปิดเผยความจริงของการส่ง "ไลก้า" ไปกับ "สปุตนิก 2" โดย Dimitri Malashenkov แห่ง Institute for Biological Problems กรุงมอสโคว์ เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าหลังจากถูกส่งขึ้นไปในอวกาศไม่นาน ไลก้ามีชีพจรสูงผิดปกติ หลังจากอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กลับมีชีพจรต่ำลง แสดงให้เห็นว่าไลก้ามีความเครียดสูง จากนั้นระบบควบคุมอุณหภูมิของยานอวกาศทำงานผิดปกติ ทำให้ไลก้าตายด้วยความร้อนสูง และอาการตื่นตระหนก ประมาณ 5-7 ชั่วโมง หลังจากเริ่มปล่อยยาน
อย่างไรก็ตาม แม้มันจะมีชีวิต อยู่จริงเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ชื่อไลก้าก็ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะสุนัขตัวแรกที่ขึ้นไปยัง อวกาศ และข้อมูลที่ได้จากการเดินทางของไลก้าก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตสามารถ อยู่ในสภาพไร้น้ำหนักได้นาน และเปิดทางต่อการพัฒนาวงการสำรวจอวกาศให้มนุษย์ได้ไป เหยียบอวกาศในเวลาต่อมา
หลังจากการส่งสปุตนิก 2 โซเวียตก็ได้ส่งหมาขึ้นไปในอวกาศอีกครั้ง กับยานอวกาศสปุตนิก 5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1959 พร้อมกับหมาพันธุ์ผสม 2 ตัว ชื่อ เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) กับ หนูและต้นไม้จำนวนหนึ่ง ยานกลับสู่บรรยากาศโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1959 หลังจากนั้น สเตรลก้า มีลูกครอกหนึ่ง ทางการโซเวียตได้จัดส่งลูกของสเตรลก้า ให้เป็นของขวัญแก่ แจกเกอลีน เคนเนดี ภริยาประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี
วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 โซเวียตส่ง "ยูริ กาการิน" มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นไปบนอวกาศ กาการินกล่าวอย่างติดตลกไว้ว่า "ผมไม่เข้าใจว่าผมเป็นใครกันแน่ ระหว่างมนุษย์คนแรกในอวกาศหรือสุนัขตัวสุดท้ายในอวกาศ"
http://tasboard.piesoft.net/message.php?MsgCode=6238
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2_(%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82)
http://writer.dek-d.com/