ทินยู(Tinku)
โลกนี้มีประเพณีประหลาดหลายต่อหลายรูปแบบ ครับ โดยเฉพาะประเพณีทินยู (Tinku) ประเพณีในโบลิเวียถือ ได้ว่าเป็นงานประเพณีประลองพลังที่แปลกแหวกแนวที่สุดของโลกที่เดียว
เพราะเล่นกันถึงตาย!!
ก่อนจะเขียนถึงทินยูขอพูดถึงประเทศโบลิเวียก่อนนะครับ ประเทศโบลิเวียหลายคนอาจได้ยินจากทีวีช่วงแข่งขันบอลโซนอเมริกา ครับแน่นอนประเทศโบลิเวียนี้อยู่ในใจกลางค่อนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ทวีปอเมริกาใต้นั้นเอง ซึ่งถูกปิดกั้นโดยประเทศเพื่อนบ้านทั้งสี่ทิศ คือบราซิลทางเหนือและตะวันออก ปารากวัยและอาร์เจนตินาทางใต้ ทำให้กลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลอย่างช่วยไม่ได้
ประเทศ โบลิเวียขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่สูงเกือบที่สุดของโลกเป็นรองแค่ทิเบตเท่า นั้นครับ โดยสูงประมาณ 12,506 ฟุต มีประชากรเพียงแปดล้านคน แต่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติที่สวยสดงดงาม เศรษฐกิจก็ดี เจริญกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เสียอย่างเดียวคือประชาชนชาวโบลิเวียส่วนใหญ่เป็นคนเลือดร้อน ชอบใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเองที่ทำให้เราได้ยินข่าวเรื่องนักโทษในเรือนจำประเทศโบลิเวียประท้วง ด้วยวิธีรุนแรงบ่อยๆ จนเป็นที่ชาชินของชาวโลกครับ
และความชอบกำลังในการแก้ปัญหานี้เองที่ทำให้เกิดประเพณีนี้ ขึ้น....เพื่อแก้ปัญหา(?)
ที่ท้องถิ่นเล็กๆ ในประเทศโบลิเวีย เมืองแอลปาติโน มีหมู่บ้านเล็กๆ หนึ่ง ชื่อ อะคาซิโอ เป็นถิ่นชุมชนเล็ก อยู่เทือกเขาสูงในประเทศโบลิเวีย ย่างนี้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมาช้านาน อีกทั้งมีความเชื่อที่เชื่อกันมาหลายร้อยปีอย่างไม่ลืมเลือน
โดยปกติแล้ว ประชาชนชาวเขาเหล่านั้นก็อยู่ดีกินดีอยู่แล้ว ต่างคนต่างก็ทำมาหากินไม่เดือดร้อนใคร แต่เมื่อใดที่มีเทศกาลที่ชื่อว่า "ทินยู"เวียนมาเมื่อไหร่ละก็ เมื่อนั้นแหละ เลือดต้องออกหัว ตายกันไปข้างแน่นอน
อันประเพณีเริ่มต้นจากชาวถิ่นอะคาซิโอนั้นมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นสองฝ่ายด้วยกันคือ ฝ่ายพวก มาซ่าย่าส์ คือชาวไร่ชาวนาที่ครองพื้นที่ปลูกอุดมสมบูรณ์ กับอีกพวกคือ ฝ่าย อลาซาย่าส์ คือพวกเลี้ยงแกะอยู่พื้นที่ภูเขาสูงๆ ขึ้นไป
ในอดีตกาลนั้นสองเผ่านี้ไม่กินเส้นกันนัก เพราะต่างคนอยากได้อาณาเขตของแต่ละฝ่ายมาครอบครอง จนเกิดสงครามย่อยๆ กระจิบๆ มาจนถึงรุ่นปู่รุ่นหลาน
แม้แต่ปัจจุบันนี้ความแค้นนี้ก็ไม่หืดหาย แต่ไม่ถึงกับไล่บุกฆ่าแกงกันนอกกฎหมาย แต่เมื่อถึงเทศกาลทินยู เมื่อใด ต้องมีอันต้องตบตีต่อสู้กันถึงตายเมื่อนั้น โดยที่ตำรวจประจำถิ่นก็ไม่มีอำนาจพอที่จะห้ามปรามด้วยซ้ำ
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลรองลงมาคือ การถวายความสะใจแก่ "เจ้าแม่พาชามา" เป็นเจ้าแม่ผู้ดลบันดารความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ปลูกตามความชื่อของเผ่า นี้ อีกทั้งยังเป็นการรักษาธรรมเนียมของอินคาที่มีแต่นานนมอีกด้วย
เทศกาลหรือประเพณีทินยูนั้นจัดขึ้นราว 2 ครั้ง ในหนึ่งปี(ถี่กว่าฟุตบอลโลกอีก) และแต่ละครั้งก็ต้องมีการยกพวกตีกันระหว่างสองหมู่บ้านจนถึงเลือดตกยางออก หรือมีการตายทุกครั้งไป
สำหรับผู้คัด เลือกไปเป็นนักสู้ประจำเทศกาล มีทั้งชาย หญิง ครับ มีเกณฑ์คัดเลือกคือ ต้องเถื่อน เกเร บู๊ใช้ได้ พวกนี้แหละเหมาะที่จะเอามาฟาดปากฝ่ายตรงข้าม
เมื่อวันต่อสู้มาถึงจะมีการประจันหน้ากันทั้งสองหมู่บ้าน สองเผ่า พร้อมมีเครื่องดนตรีพื้นบ้านประโคมตีปลุกใจ ระทึกใจตลอด
เสร็จแล้วก็ปฐมนิเทศโดยเจ้าคณะสงฆ์คาทอลิคประจำเมืองโดยมีใจความ สำคัญที่ว่าห้ามมิใช้สิ่งอื่นใด นอกจากอวัยวะของตน ที่ธรรมชาติให้มา เป็นอาวุธ เสร็จแล้วก็มีการอวยพรกันตามลัทธิศาสนาหรือตามธรรมเนียม จากนั้นก็มีการร่ายรำเป็นวงกลมเพื่อประกบคู่ต่อสู้
แล้วก็ถึงเวลาลุย..............!!! ฟาดกันให้ตาย
แม้ว่าการต่อสู้นั้นจะระบุว่า "ห้ามใช้อาวุธ" ก็ตาม แต่ก็มีอยู่เนื่องๆ ที่คนมักจะเอาพวกน๊อต เหล็ก ตะปู ก้อนหิน มาเป็นอุปกรณ์เสริมเพิ่มความสนุกบ่อยครั้งไป
ลืมบอกไป ก่อนการต่อสู้ เขาจะสวมเครื่องป้องกันด้วย คือ "มอนเทราส" เป็นหมวกหนังที่เดินขอบโลหะแข็งขึ้นรูปเอาไว้ แต่ถึงยังไรมันก็ไม่ช่วยป้องกันดีเท่าไหร่เมื่อเจอคู่ต่อสู้ฟาดใส่ปากตรงๆ
การต่อสู้นี้มักจะลามปามถึงผู้หญิงหรือแม้กระทั้งเด็กอีกด้วย แถมไม่แพ้ผู้ชายอีก คือฟาดจนเห็นเลือด
และถ้าปรากฏว่ามีนักสู้คนไหนตาย(มีเกือบทุกครั้งที่จัด เทศกาลนี้ขึ้น)แล้วละก็ ศพของพวกเขาจะได้รับการสดุดีแลพร่ำไห้คร่ำครวญ ถือว่าเป็นการตายอย่างเกียรติ เป็นการสังเวยชีวิตแก่เจ้าแม่ และได้รับการยกย่องเทียบนักบุญ วีรบุรุษ-วีรสตรี
น่าเสียดาย ที่ปัจจุบัน ประเพณีถูกจำกัดด้านกฎหมาย ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้ามาดูแลมากขึ้น ทำให้เดี๋ยวนี้เราไม่เห็นคนตายเพราะประเพณีเสีย แล้ว........................
จบ
ข้อ มูลจากต่วยตูน 328 มิถุนายน 2545
รวม เรื่องโหดเหลือเชื่อ โดยทีมงานเหลอเชื่อ
http://writer.dek-d.com/