ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ทำไมสยามสละ นครวัด ?

วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 11 ศิลปวัฒนธรรม
ไกรฤกษ์ นานา
วารสาร "นักล่าอาณานิคม" ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ทำไมสยามสละ "นครวัด"?


เรื่องของเมืองเขมรที่ เกี่ยวข้องกับสยาม ดูผิวเผินเหมือนจบลงตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ การ
ที่ สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ พระราชบุตรบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงตัดสิน พระทัยขอความคุ้มครองจากฝรั่งเศส และตัดความสัมพันธ์กับทางกรุงเทพฯ อย่างไม่เหลือเยื่อใย

King 
Norodom.jpg
พระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี


การ โยกย้ายเมืองหลวงเก่าที่สยามตั้งให้จากอุดงมีชัยมาเป็นพนมเปญ จบลงด้วยการที่สยามเสียดินแดน
เขมรส่วนนอกในรัชกาลนั้น พงศาวดารไทยก็แทบจะไม่กล่าวถึงราชสำนักเขมรอีกเลย จวบจนปี พ.ศ. ๒๔๔๙
เหตุการณ์ บางอย่างกดดันให้ครอบครัวขุนนางสยามสายสกุลอภัยวงศ์ต้องอพยพออกมาจากเมือง พระตะบอง

และ สยามจำต้องสละเมืองเสียมราฐ อันเป็นที่ตั้งของมรดกโลกคือนครวัดอย่างอาลัยอาวรณ์
ซึ่งทั้งหมดมาสิ้น สุดเอาเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ นี่เอง เกิดอะไรขึ้นกับประวัติศาสตร์อันสับสนช่วงนั้น?
บทความนี้คือองค์ความรู้ที่ขาดหายไป
เมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้วนับถึงปีนี้ คือวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ (นับอย่างตะวันตก คือปี ค.ศ. ๑๙๐๖)
สยามและฝรั่งเศสตกลงทำสัญญาฉบับหนึ่งร่วมกัน ใจความสำคัญในสัญญามีผลให้สยามได้จังหวัดตราดคืน

แต่ ต้องสูญเสียเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาในวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙
สัญญาฉบับนี้ได้รับการอนุมัติ (หรือที่เรียกให้สัตยาบัน-ผู้เขียน) โดยรัฐสภาฝรั่งเศส
ครั้นต่อมาในวัน ที่ ๖ กรกฎาคม ปีเดียวกัน ทางการของทั้งสองฝ่ายจึงรับและส่งคืนดินแดนให้แก่กัน

อย่าง เป็นทางการ อันเป็นสาเหตุให้ "นครวัด" ซึ่งอยู่ ณ เมืองเสียมราฐต้องหลุดลอยไปด้วย

เกิดอะไรขึ้นในปีนั้น ที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน? และสัญญาฉบับนี้สำคัญอย่างไรถึงขนาดที่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว


พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปลงพระนามกำกับถึงกรุงปารีส?
เป็นเหตุการณ์ที่ น่าพิจารณาอย่างยิ่ง และเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลำดับเรื่องราวก่อน-หลังทัน

ภาพ การรบระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ปากน้ำเมืองสมุทรปราการ ซึ่งนำไปสู่การเสียดินแดนของไทยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก

มี ความจำเป็นต้องอธิบายที่มาของดินแดนเจ้าปัญหาตั้งแต่ต้นดังนี้

พงศาวดารเขมร
ในประวัติ ศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์การเมืองของเขมรที่เกี่ยวข้องกับสยาม เริ่มประมาณสมัยอยุธยาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖
(ต่อไปจะใช้ปี ค.ศ. เพื่อให้สอดคล้องกับเอกสารฝรั่งเศส-ผู้เขียน) เมื่อนักองค์จัน (Ang Chan)
กษัตริย์ เขมรผู้เข้มแข็งและมีอำนาจที่สุดใน "ยุคหลังนครวัด" รุกล้ำเข้ามาหลายครั้ง
และ กลายเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ต่อมาแม้เมื่อสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์องค์นั้นแล้ว
ความกดดันจากเขมรใน ช่วงดังกล่าวเกิดขึ้นระยะเดียวกับที่สยามเผชิญกับการคุกคามของพม่า
จน ต้องเสียกรุงครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๕๖๙ แต่ภายหลังที่พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung)
กษัตริย์พม่าสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. ๑๕๘๑ อำนาจพม่าที่มีต่อสยามก็เสื่อมคลายลง
และเป็นโอกาสให้สยามได้หันมาต่อสู้ อย่างเต็มที่ต่อการคุกคามจากเขมร โดยในปี ค.ศ. ๑๕๙๓
สมเด็จพระนเรศวร มหาราชทรงจัดทัพไปตีเขมรยึดได้เสียมราฐ (Siemreab) จำปาศักดิ์
(Champassak- ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของลาว และเคยเป็นศูนย์อำนาจสำคัญของเขมรโบราณ-ผู้เขียน)
รวมทั้งพระตะบอง (Battambang) และโพธิสัตว์ (Pursat)

สรุปได้ว่า เหตุการณ์ช่วงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระตะบองได้กลายเป็นศูนย์กลางของ อิทธิพลของสยาม
และได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของ ทั้งสองประเทศ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙
ปัญหาเขมรกลายเป็นชนวน สำคัญของการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสยามกับญวน และดินแดนภาคตะวันตก
ของ กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระตะบอง" ก็กลายมาเป็นฐานปฏิบัติการของสยามสำหรับการเข้าไป มีบทบาทในเขมร(๘)



เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก (ครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก)เสด็จออกไป ปราบกบฏเมืองเขมรปี ค.ศ. ๑๗๘๐ ไม่ทันไรก็ต้องเสด็จกลับเข้ามาระงับยุคเข็ญในกรุงธนบุรีเมื่อกองทัพสยาม กลับมาแล้ว ประเทศเขมรก็ตกอยู่ในอำนาจของเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ผู้สำเร็จราชการเมืองเขมรและสมเด็จเจ้าพระยา (ซู) ขุนนางเขมร สมเด็จ เจ้าพระยา (ซู) ลอบมีหนังสือเข้ามาทูลขอพระยายมราช (แบน)ผู้เป็นเพื่อน กันให้ออกไปปราบพวกกบฏที่เหลืออยู่ พระยายมราช (แบน) จึงยกทัพไปยังเมืองพระตะบองเป็นครั้งแรกและได้ปะทะกับทัพเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) จับตัวได้แล้วฆ่าเสีย แล้วพระยายมราช (แบน)
ก็ทำการในตำแหน่งผู้ สำเร็จราชการประเทศเขมรไปพลางๆ

ต่อมาประเทศเขมรก็แตกแยกกัน เป็นก๊กเป็นเหล่า ประจวบกับมีสงครามแขกจามจะยกมาตีเขมรพระยายมราช (แบน) เห็นจะสู้ไม่ได้จึงพาเจ้านายเชื้อพระวงศ์เขมรที่เหลืออยู่มีนักองค์เองเจ้า ชายองค์น้อยมีพระชันษาเพียง ๑๐ ปี อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ ๑ได้ทรงพระ กรุณาชุบเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรม นอกจากนั้นเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของนักองค์เองอีก ๒ องค์ คือ นักองค์อีและนักองค์เภานั้น สมเด็จพระอนุชา ธิราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)

ทรงรับไปเลี้ยง เป็นพระสนมเอก ส่วนพระยายมราช (แบน) ได้รับแต่งตั้งจากความดีความชอบเป็นเจ้า พระยาอภัยภูเบศร์ ต้นตระกูลอภัยวงศ์ นับแต่นั้นเมื่ออำนาจแขกจามในเขมร เสื่อมลง เหล่าขุน นางจึงได้ร้องขอพระราชทานรัชทายาท คือนักองค์เองออก ไปครองประเทศเขมร รัชกาลที่ ๑ ยังไม่ทรงอนุญาตเพราะทรงเห็นว่านักองค์เองยังทรงพระเยาว์อยู่มากเกรงจะ มีอันตราย แต่ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ออกไปรั้งราชการกรุงกัมพูชาอยู่ณ เมืองอุดงฤาชัย ตั้งแต่ปีมะโรงฉศก ตรงกับปี ค.ศ. ๑๗๘๔ ต่อมาเมื่อนักองค์เองทรงเจริญพระชันษาและได้ทรงผนวช แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกมาครองเขมรสืบทอดต่อมา โดยได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จ พระนารายณ์รามาธิบดี(๔)

จากการที่สมาชิกในราชวงศ์เขมรเข้ามาสมาน สัมพันธ์กับพระราชวงศ์จักรีทั้งทางตรงคือนักองค์อีและนักองค์เภาได้เป็น พระสนมเอกในกรมพระราชวังบวรฯ และทางอ้อมคือนักองค์เองได้รับสถาปนาเป็นพระราชบุตรบุญธรรมในรัชกาลที่ ๑ ทำให้เชื้อพระวงศ์เขมรถือเป็นประเพณีที่จะจัดส่งกุลบุตรกุลธิดาเข้ามาฝากตัว ในราชสำนักกรุงเทพฯและพระเจ้าแผ่นดินไทยได้กลายเป็นผู้อุปถัมภ์และผู้ แต่งตั้งกษัตริย์เขมรนับแต่นั้น การเมืองที่เกิดจาก
ระบบพ่อปกครองลูกได้ ผูกมัดจิตใจให้เกิดความจงรักภักดีระหว่างสองราชอาณาจักตลอดมา กษัตริย์ เขมรที่เคยเสด็จมาพำนักและเจริญพระชันษาในกรุงเทพฯ สืบสันตติวงศ์ต่อกันมาในระยะนั้นมีสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองค์เอง) สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง)สมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดี) และสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์)

 

รักสามเส้า 
สยาม-เขมร-ฝรั่งเศส สมัย ร.๔

ใน สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงตระหนักถึงพิษภัยจากการคุกคามของฝรั่งเศสมีมากกว่าอังกฤษ ในขณะที่พระองค์ทรงแสวง หาหนทางที่จะป้องกันมิให้ฝรั่งเศสคุกคามสยามประเทศพระองค์ ก็ยังต้องทรงพะว้าพะวังกับการกีดขวางมิให้เขมรหันไปคบค้ากับฝรั่งเศส ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะไม่ทรงสามารถต้านทานความดื้อดึงของฝรั่งเศสได้ ท่าทีของสยามในยุคนี้ดำเนินอยู่แบบรักสามเส้าคือไม่มีใครสมหวังได้ทั้ง หมด กล่าวคือถึงแม้ว่ารัชกาลที่ ๔ จะทรงรักษาสัมพันธภาพกับฝรั่งเศสไว้ได้พระองค์ ก็ต้องทรงยอมให้ฝรั่งเศสเฉือนประเทศเขมรออกไปจากขอบขัณฑสีมาด้วยความขมขื่น พระทัย

เมื่อสิ้นสมเด็จพระหริรักษ์ฯ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระนโรดมฯผู้ซึ่งเติบโตในกรุงเทพฯ ให้ออกไปครองเมืองเขมร พระราชทานพระนามว่าสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์กรุง ปารีสเห็นเป็นจังหวะดีจึงส่งนายพลกรองดิแยร์เข้ามาขอเฝ้ากษัตริย์เขมรองค์ ใหม่ แล้วเลยถือโอกาสแย้มให้เห็นผลประโยชน์ที่เขมรจะได้รับถ้าทำสัญญา กับฝรั่งเศส ข่าวนี้รั่วไหลเข้ามายังกรุงเทพฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเล็งเห็นถึงอันตรายที่เมืองประเทศราชเขมรอันเป็นที่รักกำลังใกล้ที่จะแยก ตัวออกไปในไม่ช้า

ในปีเดียวกันนั้นเอง มีพระราชดำริให้รื้อปราสาทเขมร ๒ องค์ เข้ามาไว้ในกรุงเทพฯ
เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการรำลึกถึงตลอดไป ทรงกำหนดให้ขนย้ายมาไว้ที่เขามหาสวรรค์องค์หนึ่งและที่วัดปทุมวันอีก องค์หนึ่ง ทรงคัดเลือกปราสาทตาพรหมอันงดงามเป็นองค์แรกแต่ก็ไม่สำเร็จบังเอิญ เกิดอาเพศมีกองทหารเขมรโบราณฮือออกมาจากป่าฆ่าขุนนางไทยผู้ควบคุมการรื้อถอน จนเสียชีวิตจึงโปรดให้ระงับแผนทั้งหมดทันที แล้วโปรดให้จำลองปราสาทนครวัดอย่างย่อ เข้ามาสร้างไว้แทนภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

กระทั่งปี ค.ศ. ๑๘๖๓ สมเด็จพระนโรดมฯ ทรงยอมทำสัญญาอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของรัฐบาลกรุงปารีสฝ่าย ฝรั่งเศสประกาศว่าเป็นไปโดยความสมัครใจของสมเด็จพระนโรดมฯ เอง เพราะอยู่ภายใต้อารักขาของสยามไม่ผาสุก ในขณะที่ตัวสมเด็จพระนโรดมฯ ทรงส่งพระราชสาส์นเข้ามากราบทูลว่า ถูกแม่ทัพฝรั่งเศสบีบบังคับให้ทำ สัญญาฉบับนี้ นายเดวิด แชนด์ เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญพงศาวดารเขมรบันทึกเพิ่มเติมอีกว่าสมเด็จพระนโรดมฯ ทรงยอมยกกรุงกัมพูชาให้อยู่ในความคุ้มครองของฝรั่ง เศส เพื่อปกป้องความมั่นคงของ
ราชบัลลังก์และพิทักษ์อำนาจสิทธิ์ขาดในการ ปกครองของพระองค์ แต่ก็ระบุไว้อย่างสงสัยว่าไม่มีใครรู้อย่างแน่ชัดถึง พระราชประสงค์ที่แท้จริงในการตัดสินพระทัยครั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะรักษาฐานะเจ้าอธิราชอันชอบธรรมของพระองค์ไว้เพื่อ ผูกมัดราชสำนักเขมรไว้กับสยามต่อไป จึงได้ทำ "สัญญาลับ" กับเขมรขึ้นฉบับหนึ่งในวันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๓ ในสัญญานั้น ฝ่ายสยามอ้างสิทธิ์ในการประกอบพิธีราชาภิเษกกษัตริย์เขมรซึ่งในขณะนั้น พระนโรดมฯ ยังไม่ได้รับการราชาภิเษก แต่ฝรั่งเศสก็หาทางขัดขวางไว้เช่นเคย ในที่สุดฝ่ายไทยก็ต้องยอมให้พระนโรดมฯ ทำพิธีราชาภิเษกที่เมืองอุดงมีชัยในเขมรแทนที่กรุงเทพฯ

กงสุลฝรั่งเศสชื่อนายโอบาเร ต์ (M. Aubaret) พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้สัญญาลับฉบับนี้เป็นโมฆะเพื่อ ให้รวดเร็วขึ้นฝรั่งเศสส่งเรือรบชื่อ "มิตราย" เข้ามาข่มขู่ในน่านน้ำเจ้าพระยา ในที่สุดเจ้าพระยากลาโหม(ช่วง บุนนาค) จำยอมลงนามในสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ค.ศ. ๑๘๖๕ สาระสำคัญ
มีเพียง ๔ ข้อ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เขมรและสยามขาดกันโดยเด็ดขาด คือ

๑. พระเจ้าแผ่นดินไทยยอมรับว่าเขมรตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส

๒. สัญญาลับระหว่างสยามกับเขมรเป็นโมฆะ

๓. อาณาจักรเขมรเป็นอิสระ อยู่ระหว่างดินแดนในครอบครองของฝรั่งเศสและสยาม

๔. เขตแดน "เมืองบัตบอง นครเสียมราบ" และเมืองลาวของสยาม ซึ่งติดต่อเขตแดนเขมรฝรั่งเศสยอมรับให้คงอยู่ กับสยามต่อไป(๕)

นับแต่นั้นมาฝรั่งเศสก็เดินหน้าขยายอำนาจในอินโดจีนให้ เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีเขมรเป็นที่มั่นใหม่และฐานส่งกำลังบำรุงอันแข็ง แกร่ง ในขณะที่ฝ่ายสยามหันหลังกลับไปล้อมรั้วเมืองพระตะบองและเสียมรา ฐให้มั่นคง เพียงแค่รักษากรรมสิทธิ์ของขุนนางสยามเอาไว้ แต่ก็แทบจะไร้ความหมายในระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคตกะทันหัน ในปี ค.ศ. ๑๘๖๘ ภายหลังเสด็จไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศักยภาพของสยามเหนือเขมรเข้าสู่ยุคอ่อนแอแบบไม่ทันตั้งตัวจนแทบจะเอาตัว ไม่รอดเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสวยราชย์ขณะพระชนมายุ เพียง ๑๕ พรรษา พระองค์ทรงไม่แข็งแรงพอที่จะเป็นเสาหลักให้หัวเมืองประเทศราชยึดเหนี่ยวได้ เหมือนรัชกาลก่อนๆ

ความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ราชสำนักขาดสะบั้นลงแบบหักลำ เขมรส่วนในบัดนี้ตกอยู่ในความดูแลของครอบครัวเจ้า พระยาอภัยภูเบศร์โดยสิ้นเชิง ตามกติกาเดิมสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ทุกฝ่ายยืนยันที่จะเคารพต่อไปแต่ท่ามกลางบรรยากาศอึมครึมเต็มที

ความตกลงฉันมิตร อังกฤษ-ฝรั่งเศส กดดันให้สยามหาทางออกเรื่องเมืองเขมรในสมัยรัชกาลที่ ๕ฝรั่งเศส ยังเป็นประเทศที่น่ากลัว และแสดงความก้าวร้าวเชิงนโยบายอย่างไม่ลดละภาย หลังการเสด็จประพาสยุโรป ในรัชกาลที่ ๕ ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๙๗ สถานภาพของสยาม

เริ่ม เป็นที่ยอมรับของผู้นำยุโรปชั้นแนวหน้ามากขึ้น แต่ชั่วเวลาไม่ถึง ๗ ปี หลังจากนั้นเมื่อปรากฏว่าอิทธิพลของมหาอำนาจขั้วใหม่ คือรัสเซียและเยอรมนีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคแถบนี้ อังกฤษ-ฝรั่งเศสจึง หาวิธี ปรองดองกันเพื่อกีดกันกระแสนิยมของชาติยุโรปอื่นๆ ออกไป


Anglo-French Entente หรือบางทีเรียก Entente Cordiale 1904 เป็นความตกลงระหว่าง
อังกฤษ กับฝรั่งเศส ภายหลังจากที่ทั้งสองมหาอำนาจตระหนักว่าผลประโยชน์ของตน
เร่ง เร้าให้ต่างฝ่ายต่างต้องสามัคคีกันแทนที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อกันดังที่แล้วๆ มา
โดยมีเจตนารมณ์แห่งการประนีประนอม เพื่อขจัดปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับอียิปต์ โมร็อกโก
แอฟริกาตะวันตก มาดากัสการ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเทศสยาม(๗)

ท่ามกลางบรรยากาศของความ สมานฉันท์ ซึ่งเป็นอานิสงส์ที่ได้มาจากการที่ฝรั่งเศสเองก็ต้องการปรับ ความเข้าใจกับอังกฤษ ตามแนวคิดของความตกลงฉันมิตรนั่นเอง ในปีเดียวกันนั้นรัฐบาลสยามก็สามารถตกลงกับทางฝรั่งเศส เพื่อผ่อนปรนความเสียเปรียบบางประการโดยเฉพาะเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี อันเป็นหอกข้างแคร่ของฝ่ายไทยตั้งแต่อนุสัญญา ฉบับ ร.ศ. ๑๑๒ ถูกบังคับใช้เป็นต้นมา ข้อผ่อนผันนี้เรียกอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ฝรั่งเศส เร่งรัดอนุสัญญาฉบับนี้ให้เสร็จเร็วขึ้น ก็เพื่อรีบจัดโซนแนวชายแดนกับอังกฤษให้เป็นสัดส่วน
โดยเร็วตามข้อตกลง อังกฤษ-ฝรั่งเศส

ทว่าอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ ก็ยังมีจุดอ่อนเป็นข้อผูกมัดที่ฝ่ายไทยกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่ดีกล่าว คือ ฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี แต่มีข้อแม้ว่าจะสามารถไปตั้งค่ายใหม่ไว้ที่ตราดแทนนอกจากนั้นยังแสดง ว่า ฝรั่งเศสเองก็ยังมีแผนการที่จะคงไว้ซึ่งอิทธิพลของตนในเขตแดนเขมรของไทยต่อ ไปเช่น การเรียกร้องสิทธิ์ที่จะสร้างทางรถไฟ เส้นทางฮานอย-พนมเปญ-พระตะบอง และร้องขอสิทธิ์ในการบังคับบัญชาตำรวจ ท้องที่ ในเขตเขมรส่วนในซึ่งที่จริงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของสยาม

ความ ตั้งใจของฝรั่งเศสในการครอบครองเขมรส่วนที่เหลือ กดดันให้สยามผ่อนปรนอภิสิทธิ์เหนือเขตปกครองพิเศษพระตะบองและเสียมราฐ ฝรั่งเศสเกรงว่าการผูกขาดของสยามแต่เพียงผู้เดียวย่อมเป็นตัวถ่วงความเจริญมิ ให้อาณาจักรอินโดจีนของฝรั่งเศสครบถ้วนสมบูรณ์ได้ จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะยกเลิกเอกสิทธิ์พิเศษของขุนนางตระกูลอภัยวงศ์ในรัช สมัยนี้

 

เอกสารที่จิตร ภูมิศักดิ์ ตามหา


จิตร ภูมิศักดิ์ นักประวัติศาสตร์ไทยวิจารณ์ประเพณีกินเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ใน หนังสือโฉมหน้าศักดินาไทยเขียนพาดพิงถึงเขตปกครองพิเศษด้านพระตะบองและเสียม ราฐเอาไว้ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเนื้อหาน่ารู้ จึงนำมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
"การแบ่งสัดส่วนที่ดินยกให้แก่ข้าราชบริพารครอบครอง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ก็คือ การยกเขตแดนเมืองพระตะบองและเสียมราฐให้แก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)ใน สมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ครั้งนั้นทรงพระราชดำริว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)ได้รั้งราชการกรุงกัมพูชาอยู่ช้านาน มีบำเหน็จความชอบแต่มิใช่พวกนักองค์เอง ซึ่งเป็นเจ้ากรุงกัมพูชาขึ้นใหม่จึง มีพระราชดำรัสขอเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ให้เจ้า พระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เป็นผู้สำเร็จราชการขึ้นตรงต่อ
กรุงเทพฯ นักองค์เองก็ยินดีถวายตามพระราชประสงค์ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) จึงได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง และเป็นต้นตระกูลวงศ์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม) ซึ่งได้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองสืบมา

นี่เป็นหลักฐานเพียงบางส่วน เท่าที่หาได้จากเอกสารอันกระท่อนกระแท่นของเรา และก็เพราะเรามีเอกสารเหลือ อยู่น้อยนี้เอง จึงทำให้เรามองไม่ค่อยเห็นกระจ่างชัดนักว่าเราได้เคยมีการมอบที่ดินให้แก่ กันจริงจังในครั้งใดเท่าใด และบางทีก็มองไม่เห็นว่าจะมอบให้กันอย่างไร แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราจะหันไปมองดูในประวัติศาสตร์ต่างประเทศที่มี การเก็บรักษาเอกสารไว้อย่างครบถ้วน เราก็จะมองเห็นได้ชัดขึ้น"(๒)
ความรู้ที่ได้จากสำนวนนี้ คือ

๑. การครอบครองพระตะบองและเสียมราฐของขุนนางไทย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ครั้งยิ่งใหญ่
ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตรงนี้เราไม่เคยทราบมาก่อน

๒. ข้อมูลเชิงลึกในเอกสารบ้านเราหาอ่านไม่ค่อยได้ ทำให้ต้องวิเคราะห์หาความจริงเอาเอง
ในขณะที่เอกสารจากต่างประเทศเปิด กว้างมากกว่า แต่ก็หาอ่านลำบากอยู่ดี
วารสารร่วมสมัยที่พบต่อไปนี้ จึงน่าจะเป็นฐานข้อมูลที่คุณจิตรถามหาอยู่บ่อยๆ ในสมัยของคุณจิตร

วารสาร นักล่าอาณานิคม ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ค.ศ. ๑๙๐๗
การตอบโต้ความตกลงฉัน มิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ คือการนำเอานโยบาย "ลู่ตามลม"กลับมาใช้ ตามแผน "ยุทธศาสตร์กันชน" อีกครั้ง เพื่อที่จะอยู่ได้ท่ามกลางมวลหมู่จักรวรรดินิยมที่จ้องเอารัดเอาเปรียบ ตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรปอีก เป็นครั้งที่ ๒ ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ก็เพื่อเดินหน้าหาเสียงสนับสนุนจากบรรดาผู้นำประเทศในยุโรปทีฝรั่งเศส เกรงใจ และต่อรองกับฝรั่งเศสโดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาเก่าๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้การเสด็จไปเยือนผู้นำยุโรปของรัชกาลที่ ๕ ในครั้งนี้สร้างความหนักใจให้ทางฝรั่งเศสอย่างมากพันโทแบร์นาร์ (Colonel Bernard) หัวหน้าคณะปักปันเขตแดนของฝรั่งเศสเตือนรัฐบาลกรุงปารีสว่า
การเสด็จมาจะ เป็นอันตรายต่อแผนการของฝรั่งเศส เพราะพระเจ้าแผ่นดินสยามสามารถร้องขอความเป็นธรรมให้ชาติที่เป็นกลาง (หมายถึง เยอรมนี เดนมาร์ก และอิตาลี) ยอมสละสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของตนอัน จะเป็นการทำให้สิ่งที่ฝรั่งเศสพร้อมที่จะเสนอให้สยามหมดคุณค่าไป ดังนั้นการเจรจาใดๆเพื่อให้รัชกาลที่ ๕ ทรงตัดสินพระทัยโดยรีบด่วน จึงมีความสำคัญเพื่อตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนการเสด็จประพาสยุโรปจะเกิด ขึ้น

วารสารนักล่าอาณานิคม ชื่อ La D"pche Coloniale ฉบับวันที่ ๓๐ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๗ชี้เบื้องหลังการเสด็จฯ ครั้งนี้ว่ามีเหตุผลทางการเมืองแฝงอยู่อย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศทาง การเมืองที่เปลี่ยนไปในยุโรป โดยเฉพาะความตกลงฉันมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔เพิ่มความกดดันให้ผู้นำประเทศเล็กๆ แสวงหาความชอบธรรมที่จะคงอยู่บนแผนที่โลกต่อไปหนึ่งในหนทางที่เลือกใช้กันก็ คือ "การประนีประนอม"(๙)"แท้จริงแล้ว สนธิ
Credit: http://atcloud.com/stories/77719
#นครวัด
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
15 มิ.ย. 53 เวลา 04:57 5,430 5 120
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...