แต่เดิมพระมหากษัตริย์ไทยจะมีพระมเหสี เจ้าจอม หรือพระสนมเอก จำนวนมาก นับเนื่องจากกษัตริย์สมัยสุโขทัยลงมาจวบจนกระทั่ง ร.6 แต่เมื่อถึง ร.7 พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านรัก ผู้หญิงคนเดียวในชีวิต กุลสตรีสาวสวยที่โชคดีนั่นคือ สมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี
พระองค์ทรง เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ (ต้นสกุลสวัสดิวัฒน์) กับพระองค์วรวงศ์เธอพระองคเจ้าอาภาพรรณี (พระธิดาในกรมหลวงพิชิต-
ปรีชา กร ต้นสกุล คัคณางค์) ท่านหญิงรำไพพรรณีได้ถูกถวายตัวมาอยู่ภายในการดูแลของสมเด็จ พระศรีพัชรินทราฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะในช่วง วัยรุ่นได้มาประทับที่พระราชวังพญาไท ซึ่งมีพระราชนัดดา และหม่อมราชวงศ์ที่สืบสายมาจากสกุลต่างๆมารับใช้ สมเด็จพระศรีพัชรินทร์ฯ
พระบิดาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ และนับเป็นเจ้านายต่างกรมพระองค์เดียวในชั้นพระองค์เจ้าที่ยังไม่ได้เป็นกรม พระยา ที่ได้รับพระอิสริยยศชั้นสมเด็จ นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระราช****สุระ (พ่อตา) ในรัชกาลที่ ๗ ด้วย
รักแรกพบระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณีนั้น เริ่มต้นที่ วังพญาไทนี้เอง เมื่อครั้ง ร.7 ดำรง
พระอิสริยศ เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมสุโทัยธรรมราชา ได้เสด็จนิวัติเมื่องไทย เมื่อปี 2457
หลังจากว่างเว้นภาระกิจต่างๆ พระองค์ทรงเดินทางมาเข้าเฝ้าสมเด็จ พระศรีพัชรินทราฯ ณ วังพญาไท อยู่เนื่องๆ หรือในบางครั้งก็ประทับอยู่ ที่วังหลายวัน จึงได้มี
โอกาส รู้จักหม่อมเจ้าหญิงหลายพระองค์ จากการใกล้ชิดและพูดคุยกัน และด้วยพระองค์ทรงคุยสนุกและไม่ถือ พระองค์ ทำให้พระองค์และหม่อมหญิงรำไพพรรณีสนิทสนมใกล้ชิด และได้
กลายเป็นความ รักผูกพันอย่างลึกซึ้ง และเรื่องราวความรักได้ปรากฏอย่างเด่นชัด ในขณะที่ สมเด็จพระเจ้าน้อง ยาเธอฯ ทรงผนวชจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหยา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2460
สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ในขณะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช ทรงเล็งเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์นี้ ทรงเป็นพระราชกุมารลำดับสุดท้ายในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ที่ร่วมพระราชชนนีเดียวกันถึง 5 พระองค์ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะได้สืบ ราชสมบัติจึงเป็นได้ยาก เพราะต้องทรงผ่านลำดับถึง 4 พระองค์
วันหนึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯได้กราบทูลเชิญพระองค์ให้คงอยู่ ในสมณเพศตลอดไป เพื่อได้ทรงเป็นประมุขปกครองฝ่ายศาสนจักรต่อไป แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ โดยทรงมี
พระราชดำรัสว่า ทรงมีรักผูกพันกับหญิง ไว้แล้วคนหนึ่ง และหญิงท่านนั้นคือ หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี หรือ ท่านหญิงนา นั่นเอง หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระชาธิปก-
ศักดิเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้ทรงลาผนวช ได้เข้ารับราชการในกรมทหาร ปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ตามปกติ
ในปี 2461 พระองค์ได้ทรงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิง
รำไพพรรณี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตและ ในพระราชพิธีสมรสในครั้งนี้ ได้เป็นครั้งแรกที่ทรงริเริ่มให้มีการจด ทะเบียนสมรสในหมู่พระราชวงศ์ไทย
ในเวลาต่อมา เมื่อพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสงขลา นครินทร์ ได้เสด็จขึ้นเป็นสมเด็จ
พระปกเกล้าเข้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ได้รับพระราชอิสริยายศ เป็น สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ใน เวลา 10 ปีที่ พระองค์ทรงครองราชย์ เรื่องที่ดูหนักหนาสาหัสที่สุด คือ การปฏิวัติที่เกิดขึ้นโดยคณะราษฎร์ ในปี 2475 ซึ่งขณะนั้นทั้งสอง พระองค์ ทรงประทับอยู่ที่ พระราชวังไกลกังวล
ได้ มีคณะตัวแทนคณะราษฎร์ กราบบังคับทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จ กลับพระนคร ซึ่งในตอนนั้น พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสถามความ เห็นจาก
สมเด็จฯ ในฐานะคู่ชีวิตว่า "หญิงว่ายังไง" ทางด้านสมเด็จฯนั้น แม้จะทรงเป็นสตรีเพศ แต่ได้กราบบังคมทูลด้วยความเด็ดเดี่ยวไปว่า "เข้าไปตาย
ไม่เป็นไร แต่ต้องมีศักดิ์ศรีมีสัจจะ" ซึ่งทำให้พระเจ้าอยู่หัว ตัดสินพระทัยเสด็จกลับพระนคร
และทั้งสองพระองค์เสด็จกลับ มาเป็นพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และแล้วในวันที่ 12 มกราคม 2476 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเยือนยุโรป
และ นั่นเป็นการอำลาสยามครั้งสุดท้ายของรัชกาลที่ 7 เนื่องจากขณะที่ พระองค์ทรงรักษาพระเนตรจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศอังกฤษ ได้ทรงขัดแย้งกับคณะรัฐบาล จึงตัดสิน พระราชหฤทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 ณ พระตำหนัดโนล
ในขณะ ที่ทั้งสองพระองค์มิได้เป็น คิงส์และควีนแห่งสยาม นับเป็นช่วง เวลาที่สงบสุข ณ พระตำหนักเวนคอร์ต ประเทศอังกฤษ
"เรื่องที่มีคนรู้ไม่มากนัก คือตอนนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ความเป็นอยู่ของรัชกาลที่ 7 ที่อังกฤษค่อนข้างอัตคัดลำบาก ตำหนักเล็กๆ ที่ท่านอยู่ ตอนหลังถูกทางการอังกฤษยึด
ไปให้ทหารเพื่อเอาไปตั้ง เป็นที่ทำการ ท่านต้องย้ายถึง 2-3 หน วันหนึ่งท่ามกลางระเบิดที่ลงทั่วไป ท่านตื่นบรรทมแต่เช้า ทรงพระสนับเพลากางเกงแพร เสื้อคอกลม รับสั่งว่าวันนี้อากาศดี
เป็นห่วงบ้านหลังเก่าที่ถูกทางการอังกฤษยึดไป จึงให้พระนางเจ้ารำไพฯ เข้าไปดูหน่อยว่าบ้านช่องเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพบดอกไม้สวยๆ โดยเฉพาะดอกทิวลิปที่ทรงโปรดก็ให้ตัดมาปักแจกันถวายด้วย"
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ ทรงถามว่าประทับอยู่พระองค์เดียวได้หรือ ท่านตรัสว่า
"อยู่ได้ ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง จะอ่านหนังสือพิมพ์"
แล้วสมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ ก็ประทับ รถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์เสด็จออกไป แต่ไปได้ไม่ไกลนักตำรวจก็เบรกรถทุกคันพร้อมได้กราบบังคมทูลว่า
"พระสวามีมีพระอาการทรุดหนัก ให้รีบกลับพระตำหนักด่วน" พระนางเจ้ารำไพฯ รีบกลับตำหนักทันที เพราะได้รับโทรศัพท์แจ้งข่าวร้าย เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
เสด็จฯ ถึงปรากฏว่าสวรรคตไปแล้วแต่เพียงพระองค์เดียว ไม่มีใครได้ทันเห็นพระทัย ในวันที่ 30 พฤษภาคม ปี 2484 นั่นเอง หนังสือพิมพ์ตกอยู่ข้างพระองค์
หลังการเสด็จสวรรคต 3 วัน มีการถวายพระเพลิงที่สุสานเล็กๆ ไม่มีพระมาสวดแม้แต่รูปเดียว ท่านเคยรับสั่งไว้ก่อนเสด็จสวรรคตว่า ไม่ต้องมีพระบรมโกศ ไม่ต้อง
ทำอะไร ไม่ต้องเป่าปี่ ไม่ต้องประโคม ให้ใส่***บแล้วก็เผา...
"ที่ จริงท่านสั่งไว้ด้วยว่าไม่ให้นำกระดูกกลับประเทศไทย ท่านขอเพียงอย่างเดียว ขอเพลงบรรเลงไวโอลินเพราะๆ หวานๆ สักเพลง"
ถึงกระนั้นพอปี 2491 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จฯกลับประเทศไทย แล้วนำพระบรมอัฐิกลับมาเพื่อทำพิธีให้สมพระเกียรติยศ
เรียกว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ เสด็จสวรรคตโดยที่ไม่ได้ลงพระบรม โกศทั้งที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่และเสียสละต่อคนไทยมาก เพราะถ้าท่านไม่เสียสละ หรือคิดอะไรอีก
สักอย่างหนึ่งประวัติศาสตร์จะเปลี่ยนหมด จะไม่เป็นอย่างนี้ ทรงเป็นกษัตริย์ที่น่าสงสารและอาภัพ